การ ทำ ส ญญา ย ม เง น โดยเซ นแทนคนก

สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา ซึ่งปัจจุบันราชินีพระองค์ใหม่ไม่ทรงมีสตรีชั้นสูงเป็นนางสนองพระโอษฐ์ตามธรรมเนียม

31 ธันวาคม 2023

ในรอบปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญมากมายที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ของสถาบันกษัตริย์และราชวงศ์ต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการผลัดแผ่นดินหลังสิ้นสุดรัชสมัยที่ยาวนานของ “ควีน” แห่งสหราชอาณาจักร ไปจนถึงการหวนคืนประเทศบ้านเกิดของเชื้อสายพระราชวงศ์ไทยในต่างแดน ซึ่งบีบีซีไทยได้รวบรวมมาให้อ่านกันอย่างจุใจดังต่อไปนี้

สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ขี้นครองราชย์

หลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งปิดฉากรัชสมัยอันยาวนานถึง 70 ปีของ “ควีน” ลงในที่สุด สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชมารดา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ใจกลางกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566

บัดนี้นับเป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว ที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ต้องทรงเข้ารับหน้าที่ประมุขของสหราชอาณาจักรและประเทศเครือจักรภพ ซึ่งเป็นพระราชภารกิจที่เริ่มต้นขึ้นทันทีหลังการจากไปของพระราชมารดา ทำให้ในตอนแรกหลายฝ่ายมองว่า มีความเสี่ยงที่กษัตริย์พระองค์ใหม่จะทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เทียบเท่า “ควีน” พระองค์ก่อน และอาจทรงริเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ที่ทำให้ราชบัลลังก์ต้องสั่นคลอนได้

อย่างไรก็ตาม หนึ่งปีหลังการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 กษัตริย์พระองค์ใหม่ได้ทรงแสดงให้โลกเห็นว่า ทรงปรีชาสามารถในด้านบริหารจัดการความสัมพันธ์กับมวลชน และทรงมีความระมัดระวังรอบคอบในขนบธรรมเนียมประเพณีของราชวงศ์ยิ่งกว่าที่หลายคนเคยคิดกันไว้

ศาสตราจารย์ พอลีน แม็กคลาแรน นักประวัติศาสตร์และผู้วิจารณ์ข่าวราชวงศ์ จากวิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ซึ่งเป็นสถาบันในเครือของมหาวิทยาลัยลอนดอน บอกกับบีบีซีว่า ในปีแรกของการขึ้นครองราชย์ “คิงชาร์ลส์” ทรงมีภาพลักษณ์ที่เหมาะสมต่อการเป็นผู้สืบทอดจริยวัตรอันดีงามของพระมารดา รวมทั้งทรงประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์อังกฤษในช่วงเปลี่ยนผ่านเอาไว้ ทำให้พสกนิกรส่วนใหญ่ยอมรับนับถือพระองค์ในฐานะประมุขของชาติได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนประเมินว่า ทรงรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี โดยในปีแรกของการครองราชย์นี้ ทรงหนักแน่นในการสืบทอดวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ เช่นการละเว้นไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแทรกแซงกับประเด็นทางการเมือง แต่ก็ทรงริเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลง “แบบเบา ๆ” ไปด้วยเล็กน้อย เพื่อเตรียมปูพื้นฐานให้สถาบันกษัตริย์ปรับตัวเข้ากันได้กับโลกสมัยใหม่

ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่การประกาศลดจำนวนพระราชวงศ์ที่ทรงงานอย่างเป็นทางการลง เพื่อให้รัฐบาลไม่ต้องถวายเงินสนับสนุนก้อนโตโดยไม่จำเป็น รวมทั้งโครงการในพระราชดำริที่ทรงบริจาคเงินซื้อตู้แช่แข็งขนาดใหญ่เกือบพันเครื่อง เพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ต และให้องค์กรการกุศลนำอาหารดังกล่าวไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลนและคนไร้บ้าน ซึ่งแสดงถึงความห่วงใยของสถาบันกษัตริย์ต่อประชาชนที่กำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ

หลายฝ่ายคาดว่า มีแนวโน้มที่เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้นี้ โดยพระราชดำรัสของ “คิงชาร์ลส์” ในการประชุม COP28 ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไปไม่นาน ได้ส่งสัญญาณว่าจะทรงเข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งทรงเชื่อว่าเป็นหนทางที่เหมาะสมในการช่วยให้สถาบันกษัตริย์มีความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อคนรุ่นใหม่ แม้จะทรงยืนยันไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองระดับชาติอย่างที่ผู้คนเคยหวั่นเกรงกันก็ตาม

ชีวิตผกผันและฝันสลายของ “แฮร์รี-เมแกน”

การ ทำ ส ญญา ย ม เง น โดยเซ นแทนคนก

ที่มาของภาพ, GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์เลือกใช้ภาพนี้เป็นบัตรอวยพรเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ 2024

หลังดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ ทรงลาออกจากการเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษที่ต้องทรงงานอย่างเป็นทางการ รวมทั้งตัดสินพระทัยโยกย้ายไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ในแบบกึ่งสามัญชน โดยทั้งสองพระองค์ทรงหวังว่า จะสามารถประกอบสัมมาชีพในแวดวงบันเทิงฮอลลีวูด เพื่อเลี้ยงตนเองได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นนัก

ทว่าชีวิตอิสรเสรีนอกรั้วพระราชวังบักกิงแฮมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่ได้สวยงามราบรื่นอย่างที่คิด โดยล่าสุดนิตยสาร The Hollywood Reporter ได้มอบตำแหน่ง “ผู้แพ้รายใหญ่ที่สุดของวงการฮอลลีวูด ประจำปี 2023” ให้กับทั้งคู่ เนื่องจากทรงสูญเสียรายได้ก้อนโตเพราะยอดบริจาคของมูลนิธิส่วนพระองค์ลดลง รวมทั้งข้อตกลงทางธุรกิจบางส่วนก็ล้มเหลวหรือไม่ทำกำไรไปหลายล้านปอนด์ โดยที่การลงทุนทั้งหมดนี้ไม่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ หรือทำให้ความเป็นดาวเด่นของทั้งสองพระองค์ฉายแสงเจิดจรัสขึ้นมาเลย

เอสเธอร์ คราคู นักวิจารณ์ข่าวการเมืองทางโทรทัศน์ของอังกฤษบอกว่า แม้ผลสำรวจความนิยมชื่นชอบในตัวดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ของชาวอเมริกันจะเพิ่มสูงขึ้น แต่เสียงตอบรับจากทั่วโลกรวมทั้งจากชาวอังกฤษเอง กลับเป็นไปในทางที่ไม่ค่อยดีนัก นับตั้งแต่การให้สัมภาษณ์เจาะลึกชีวิตส่วนพระองค์กับโอปราห์ วินด์ฟรีย์ ในปี 2021, การสตรีมมิ่งภาพยนตร์สารคดีว่าด้วยชีวิตครอบครัวทางเน็ตฟลิกซ์เมื่อปลายปี 2022, และการเปิดตัวหนังสือบันทึกความทรงจำ “ตัวสำรอง” (Spare) ของเจ้าชายแฮร์รีเมื่อช่วงต้นปีนี้

แม้หนังสือจะขายดิบขายดีติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ และเจ้าชายแฮร์รีเพิ่งชนะคดีที่ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจากสื่อในเครือหนังสือพิมพ์มิร์เรอร์ที่ดักฟังโทรศัพท์ แต่ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์กลับต้องล้มเหลวในการทำสัญญากับสื่อช่องทางต่าง ๆ และสินค้าหรูแบรนด์ดังหลายรายที่เคยเสนอตัวเป็นสปอนเซอร์อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเอเจนซีหรือบริษัทที่เป็นนายหน้าหางานในวงการบันเทิงและวงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับทั้งคู่ ถึงกับยอมรับว่าจนปัญญาที่จะช่วยผลักดันทั้งสองพระองค์ต่อไปได้

บางกระแสข่าวเล่าลือกันว่า เจ้าชายแฮร์รีและเมแกนผู้เป็นพระชายาเชื่อว่าความล้มเหลวทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการวิ่งเต้นล็อบบี้เพื่อแก้แค้นจากฝีมือของสำนักพระราชวังและสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ หลังจากทั้งคู่ออกมา “แฉ” เรื่องที่สร้างภาพลบมากมายให้กับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งการบีบให้พวกเขาต้องประสบวิกฤตทางการเงินนี้ ถึงกับทำให้เมแกนต้องทบทวนจุดยืนของตนเองใหม่ โดยอาจต้องเริ่มสงบปากสงบคำและหาทางงอนง้อขอคืนดีกับราชวงศ์ เพื่อที่จะขอโอกาสกลับเข้าไปพำนักในพระราชวังเคนซิงตันในบางช่วงของแต่ละปี ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก

อย่างไรก็ตาม คราคูชี้ว่าเรื่องดังกล่าวอาจไม่ใช่การแก้แค้น แต่ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์เดินเกมผิดพลาดเอง เพราะไม่เข้าใจและไม่ปฏิบัติตามกฎเหล็กแห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ที่ว่า “อย่าบ่น อย่าอธิบาย” (never complain, never explain) อันเป็นแนวทางปฏิบัติต่อสาธารณชนของบรรดาพระราชวงศ์ยามพบเจอกับปัญหา ซึ่งหลักการนี้ถือเป็นรากฐานสำคัญ ที่ประคับประคองให้สถาบันกษัตริย์อังกฤษอยู่รอดมาได้ตั้งแต่ยุควิกตอเรียนมาจนถึงยุคปัจจุบัน

เจ้าหญิงลูกนอกสมรสประท้วงราชวงศ์เบลเยียม

การ ทำ ส ญญา ย ม เง น โดยเซ นแทนคนก

ที่มาของภาพ, GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหญิงเดลฟีนแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก พระราชธิดานอกสมรสของอดีตกษัตริย์เบลเยียม

เจ้าหญิงเดลฟีนแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก (Delphine of Saxe-Coberg) เคยเป็นเพียงนางสาว “เดลฟีน เบิล” ประติมากรสามัญชนคนธรรมดาทั่วไปของเบลเยียม แต่ในวันที่ 20 พ.ย. 2020 เมื่อเธอมีอายุได้ 52 ปี เดลฟีนได้รับการยืนยันสถานะสมาชิกใหม่ของราชวงศ์แซกซ์-โคเบิร์ก ที่มีเชื้อสายเยอรมันและเป็นพระญาติใกล้ชิดกับราชวงศ์วินด์เซอร์ของอังกฤษ หลังศาลมีคำตัดสินว่าเธอคือพระราชธิดานอกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบรต์ที่ 2 ผู้สละราชสมบัติไปตั้งแต่ปี 2013

ผลตรวจดีเอ็นเอพิสูจน์ว่า เจ้าหญิงเดลฟีนคือเลือดเนื้อเชื้อไขของอดีตกษัตริย์กับสตรีชั้นสูง บารอนเนส ซีบิล เดอ เซลีส ลองฌองป์ ซึ่งทั้งสองมีสัมพันธ์ลับกันยาวนานถึง 18 ปี ทำให้เธอกลายเป็นเจ้าหญิงพระองค์ใหม่ ผู้มีฐานะเป็นขนิษฐาต่างมารดากับสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป กษัตริย์เบลเยียมองค์ปัจจุบัน

ตอนที่ชนะคดีในศาล เจ้าหญิงเดลฟีนเคยตรัสว่า “ฉันก็ยังคงเป็นเดลฟีน...เป็นตัวเองเหมือนอย่างเคย โลกภายนอกอาจมองว่าฉันได้เปลี่ยนไปแล้วด้วยฐานันดรศักดิ์นี้ แต่อันที่จริงไม่ใช่”

อย่างไรก็ตาม สามปีหลังจากนั้นดูเหมือนว่าเจ้าหญิงจะทรงเริ่มมีความเปลี่ยนแปลง และมีความปรารถนาเพิ่มเติมบางประการเกี่ยวกับสถานะใหม่ของพระองค์ โดยเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทรงมอบหมายให้ทนายความยื่นร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเบลเยียม ว่าทรงมีความคับข้องพระทัยต่อกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบรรดาพระราชวงศ์ โดยไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับเจ้านายที่เป็นพี่น้องร่วมพระราชบิดาเดียวกัน ทั้งแทบจะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานพระราชพิธีหรืองานสังสรรค์ส่วนพระองค์อื่น ๆ นอกจากงานวันชาติเบลเยียมและพิธีพระศพของพระญาติบางพระองค์เลย

ก่อนหน้านี้สื่อของเบลเยียมรายงานว่า สาเหตุที่เจ้าหญิงเดลฟีนไม่ได้ “ออกงาน” อย่างเท่าเทียมกับพระราชโอรสและพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีเพาลา คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายของอดีตกษัตริย์เบลเยียม เป็นเพราะรัฐบาลไม่ได้ถวายเงินปีให้ในฐานะพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ต้องทรงงานอย่างเป็นทางการ แต่ทนายความของเจ้าหญิงเดลฟีนแย้งว่า นั่นไม่ควรเป็นสาเหตุที่ทำให้ทรงถูกกีดกันจากเหล่าพระราชวงศ์เบลเยียม

มกุฎราชกุมารีสเปนปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ

เจ้าหญิงเลโอนอร์ มกุฎราชกุมารีแห่งสเปน ผู้ดำรงพระอิสริยยศ “เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส” (Princess of Asturius) ซึ่งเป็นตำแหน่งรัชทายาทของราชบัลลังก์สเปนมาแต่โบราณ ทรงเข้าพิธีปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญของชาติและถวายความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ผู้เป็นพระราชบิดา (La jura de la Constitución) เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 18 พรรษา ซึ่งถือว่าได้ทรงบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายแล้ว

การ ทำ ส ญญา ย ม เง น โดยเซ นแทนคนก

ที่มาของภาพ, GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหญิงเลโอนอร์ มกุฎราชกุมารีแห่งสเปน ทรงรับพระราชทานสร้อยพระศอจากพระราชบิดา

พิธีดังกล่าวเป็นรัฐพิธีซึ่งยืนยันความเป็นรัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์อย่างเป็นทางการ โดยจัดขึ้นที่รัฐสภาในกรุงมาดริด ซึ่งในการนี้สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 พระราชบิดาผู้เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีเลติเซีย พระราชมารดา และเจ้าหญิงโซเฟียหรือ “อินฟันตา โซเฟีย” พระขนิษฐา ได้เสด็จไปเป็นสักขีพยานในรัฐพิธีดังกล่าวด้วย

องค์มกุฎราชกุมารีทรงกล่าวปฏิญาณ ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญสเปน มาตรา 61 ว่า “ข้าพเจ้าจะปฏิบัติภารกิจอย่างแน่วแน่ซื่อตรง เพื่อรักษาและอุปถัมภ์บำรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งเคารพต่อสิทธิของพลเมืองและสิทธิของบรรดาแคว้นปกครองตนเอง โดยขอถวายความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์”

หลังรัฐพิธีดังกล่าวสิ้นสุดลง เจ้าหญิงเลโอนอร์จะทรงสามารถออกปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในฐานะองค์รัชทายาทได้อย่างเป็นทางการ รวมทั้งการเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์ได้ทันที เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทำให้พระราชบิดาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประมุขของชาติได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่อย่างใด

ปัจจุบันเจ้าหญิงเลโอนอร์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศณียบัตรขั้นสูงเทียบเท่าอนุปริญญา จากวิทยาลัยนานาชาติในแคว้นเวลส์ของสหราชอาณาจักร และเพิ่งเริ่มการฝึกอบรมวิชาทหารในกองทัพสเปนตามพระราชโองการของพระราชบิดา ซึ่งจะทรงใช้เวลาฝึกฝนกับทุกเหล่าทัพเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ปี

ทรงเป็นความหวังใหม่ในการฟื้นฟูความนิยมของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์สเปน หลังภาพลักษณ์ของราชวงศ์ต้องเสียหายไปอย่างหนัก จากกรณีการคอร์รัปชันของอดีตกษัตริย์ฮวนคาร์ลอส พระอัยกา ซึ่งปัจจุบันประทับอยู่นอกประเทศสเปนเป็นการถาวร

เผยนามพระธิดาองค์น้อยแห่งราชวงศ์ภูฏาน

การ ทำ ส ญญา ย ม เง น โดยเซ นแทนคนก

ที่มาของภาพ, QUEEN JETSUN PEMA / INSTAGRAM

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา แห่งราชอาณาจักรภูฏาน กับพระราชธิดาพระองค์เล็ก

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ราชอาณาจักรภูฏานได้มีพระราชพิธีเฉลิมพระนามพระราชธิดาองค์ใหม่ ในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก ตามธรรมเนียมโบราณ ซึ่งจะไม่เปิดเผยพระนามของพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเมื่อแรกประสูติ แต่จะรอจนกว่าทรงมีพระชนมายุได้ครบ 3 เดือนเสียก่อน

เจ้าหญิงน้อยเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องใน “ดรุก กยาลโป” หรือ “ราชามังกร” ซึ่งเป็นพระสมัญญานามของกษัตริย์ภูฏาน เจ้าหญิงประสูติเมื่อวันที่ 9 ก.ย. ของปีนี้ จึงมีการจัดพระราชพิธีเฉลิมพระนามในวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวาระมหามงคลครบรอบ 17 ปี แห่งการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชาธิบดีอีกด้วย

พระราชธิดาทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า “โซนัม ยังเดน วังชุก” ซึ่งพระนาม “โซนัม” นั้นหมายถึงบุญบารมี โชคลาภ และความมีอายุยืนยาว ส่วนพระนาม “ยังเดน” หมายถึงอัญมณีล้ำค่า ทำให้เป็นชื่อที่มีความหมายมงคล โดยสื่อถึงความมั่งคั่งและการมีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ส่วนคำว่า “วังชุก” นั้นเป็นพระนามราชสกุล ซึ่งในภูฏานมีเพียงพระราชวงศ์เท่านั้นที่ใช้พระนามราชสกุลดังกล่าว โดยจะมีคำว่า “วังชุก” ต่อท้ายพระนามเสมอ

สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา ซึ่งในปีนี้มีพระชนมพรรษาครบ 33 พรรษา ได้ทรงเผยพระรูปของเจ้าหญิงโซนัมทางอินสตาแกรม ซึ่งเป็นพระรูปที่ทรงฉายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากงานศิลปะด้านจิตรกรรมและการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกที่ทรงโปรดปรานอย่างยิ่ง

ก่อนหน้านี้สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา ได้ทรงให้กำเนิดพระราชโอรสแล้วสองพระองค์ ได้แก่เจ้าชายกยาลเซ จิกมี นัมเกล หรือ “เจ้าชายมังกร” องค์รัชทายาทพระชนมายุ 7 ชันษา และเจ้าชายจิกมี อุกเยน พระอนุชาผู้มีพระชนมายุ 3 ชันษา

สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เสด็จขึ้นครองราชย์บน “บัลลังก์ทอง” แห่งราชวงศ์ภูฏานเมื่อปี 2006 หลังจากพระราชบิดา อดีตสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก หรือ “ราชามังกรที่ 4” ทรงสละราชสมบัติ อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันได้เคยมีพระราชดำรัสว่า จะไม่ทรงตามรอยธรรมเนียมโบราณด้วยการอภิเษกสมรสกับสตรีหลายคนที่เป็นพี่น้องกัน อย่างเช่นที่พระราชบิดาทรงเคยแต่งตั้งสมเด็จพระราชินีถึง 4 พระองค์ด้วยกัน

ปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีทรงเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของชาวภูฏาน เนื่องจากทรงมีพระจริยวัตรที่งดงามไม่ด่างพร้อย ทั้งทรงงานเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนและนำพาประเทศไปสู่ความเป็นสมัยใหม่

“ท่านอ้น” หวนคืนประเทศไทย

“คุณค่าของมรดก มาจากผู้สืบทอด” (The value of heritage comes from its inheritors.) คือข้อความที่ วัชเรศร วิวัชรวงศ์ เผยแพร่ผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวในวันที่ 9 ส.ค. 2566 พร้อมโพสต์รูปขณะเดินทางไป “บ้านแห่งความหวัง” ของมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ วัชเรศร ทำระหว่างเดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังรอคอยกลับแผ่นดินเกิดมายาวนานกว่า 27 ปี

การ ทำ ส ญญา ย ม เง น โดยเซ นแทนคนก

ที่มาของภาพ, VACHARAESORN VIVACHARAWONGSE / FACEBOOK

คำบรรยายภาพ,

วัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือ “ท่านอ้น”

วัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือที่ประชาชนคนไทยคุ้นเคยในชื่อ “ท่านอ้น” เกิดเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2524 เป็นโอรสหรือลูกชายคนรอง ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งเกิดกับ สุจาริณี วิวัชรวงศ์ โดยมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันอีก 4 คน ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ พี่ชายคนโต, นพ.จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ น้องชายคนกลาง, ดร.วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ น้องชายคนเล็ก และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา กนิษฐาองค์สุดท้อง

สี่พี่น้องชายล้วนพร้อมด้วยมารดา ได้โยกย้ายไปใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2540 โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามสกุล “วิวัชรวงศ์” แก่พวกเขาทั้งหมด ซึ่งในประเด็นนี้วัชเรศรเล่าว่า หลังลงหลักปักฐานในดินแดนแห่งใหม่ เขาต้องทำงานพิเศษนอกเวลาเรียนเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือจุนเจือครอบครัวและเก็บเป็นค่าเล่าเรียนของตนเองด้วย แม้จะต้องเผชิญความยากลำบาก แต่ก็สามารถคว้าปริญญาตรีและโท สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสเต็ตสัน (Stetson University) และเข้าสู่เส้นทางอาชีพทนายความในบริษัทที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ

วัชเรศรมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องของกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกิจการผู้ลี้ภัย ทั้งยังเป็นประธานและผู้ก่อตั้งกองทุนการศึกษา Thai Heritage Scholarship Fund of New York ซึ่งมอบทุนการศึกษา “มรดกไทย” ให้กับนักเรียนไทยที่ขาดแคลน เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้ระลึกถึงประเทศบ้านเกิดของตัวเองและทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

นอกจากนี้ วัชเรศร ยังมีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมงานเผยแผ่พุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างแดน โดยเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความสามัคคีและยึดมั่นในสถาบันที่เป็นศูนย์รวมใจของชาวไทย ทั้งในนครนิวยอร์ก นครลอสแอนเจลิส และในประเทศอื่น ๆ

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ของปีนี้ วัชเรศรได้เดินทางกลับไทยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 27 ปี และได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวต่างประเทศว่า “เหมือนฝันที่เป็นจริงที่ได้กลับมา” โดยได้เดินทางเข้ากราบสมเด็จพระสังฆราช และตระเวนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล จนในวันที่ 13 ส.ค. “ท่านอ่อง” นพ.จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ได้เดินทางมาสมทบที่ประเทศไทยเพื่อรับพี่ชายกลับไปยังสหรัฐฯ ด้วย

วัชเรศรยังได้เดินทางกลับไทยอีกครั้งเป็นการส่วนตัว เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ของปีนี้ โดยได้เข้าร่วมกิจกรรม “วันพ่อ” และทำบัตรประชาชนไทยเป็นครั้งแรกที่จังหวัดนนทบุรี พร้อมทั้งเดินทางไปทำบุญและเยี่ยมเยียนพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ก่อนจะเดินทางกลับสหรัฐฯ ในคืนวันที่ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา