ใครมีหน้าที่บังคับใช้ประมวลรัษฎากร

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481

1. เกริ่นนำ

        กฎหมายภาษีอากรสมัยใหม่ถูกบัญญัติขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร์ และรัฐบาลในขณะนั้น เพื่อความทันสมัยการบริหารแผ่นดิน และมีเงินรายได้ (Revenue) เพียงพอต่อการใช้จ่ายงบประมาณ เริ่มตั้งแต่ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติภาษีการค้า พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและประกันภัย พ.ศ. 2476 ซึ่งใช้ควบคู่กันไปกับกฏหมายภาษีอากรดั้งเดิมของประเทศไทยที่มีต่อเนื่องมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาทิ พระราชบัญญัติเงินรัชชูปการ พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่านา พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บภาษีค่าที่ไร่อ้อย พ.ศ. 2464 พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีการเก็บภาษียา ร.ศ. 119 และ ประกาศพระราชทานยกเงินอากรสวนใหญ่ค้างเก่า และเดินสำรวจต้นผลไม้ใหม่ สำหรับเก็นเงินอากรสวนใหญ่ ร.ศ. 130 ตามที่มีการยกเลิกโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481

        การมีกฎหมายภาษีอากรที่มุ่งจัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรหรือประชาชนหลายฉบับ เป็นสิ่งที่ไม่สะดวกในการบังคับใช้ และอาจสร้างความแตกต่างของมาตรฐานในการบริหารการจัดเก็นภาษีอากรได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 ขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2481 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 หรือในอีก 1 ปีถัดมา เพื่อการเตรียมการใช้บังคับ และให้โอกาสแก่ประชาชนได้ศึกษาและรับทราบถึงเนื้อหาของกฎหมายภาษีอากรสมัยใหม่ทั้งหมด ในรูปของ "ประมวลรัษฎากร"

        คำว่า "รัษฎากร" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "ราษฎร" สนธิกับคำว่า "อากร" โดยเปลี่ยนสระอา เป็นสระอะ ลดรูปเป็นไม้หันอากาศเพราะมีตัวสะกด ตัด "ร" และ "อ" ออก แล้วสนธิเข้ากัน เป็น "รัษฎากร" ซึ่งแปลว่า ภาษีอากรที่จัดเก็บจากราษฎรหรือประขาชน ดังนั้น "ประมวลรัษฎากร" จึงหมายถึง กฎหมายภาษีอากรที่จัดเก็บจากราษฎรในรูปพระราชบัญญัติหลายฉบับที่ถูกรวบรวมเข้ามาไว้เป็นกฎหมายฉบับเดียวในรูปของ "ประมวลกฎหมาย" หรือ ประมวลกฎหมายภาษีอากรทั้งหลายบรรดาที่จัดเก็บจากราษฎร

        เป็นธรรมเนียมปฏบัติของการตรา "ประมวลกฎหมาย" ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ที่กำหนดให้ต้องมี "พระราชบัญญัติให้ใช้" ซึ่ง "ประมวลรัษฎากร" ก็เป็นเช่นนั้นโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 ลำดับศักดิ์ของ "ประมวลรัษฎากร" จึงเทียบเท่ากับ "พระราชบัญญัต" หรือ "พระราชกำหนด" การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร จึงต้องแก้ไขด้วยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากัน คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. .... หรือกฎหมายอื่นที่มีศักดิ์เทียยเท่าพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ (ปว.) ประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นต้น  

2. รูปแบบของกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัวทรงตราขึ้น

        2.1 มีคำว่า "พระราช" นำหน้าชื้อกฎหมาย เว้นแต่รัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการปกครองประเทศ เว้นคำว่า "พระราชนำหน้า" แต่ก็ต้องตราขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน 

        2.2 ท้ายชื่อกฎหมาย ระบุปีพุทธศักราช ที่ทรงตรากฎหมายนั้น ซึ่งสัมพันธ์ปีที่ทรงขึ้นครองราชย์ โดยจะเปลี่ยนแปลงในทุกวันที่ 1 ของปีพุทธศักราชที่ทรงครองราชย์ เช่น ปีพุทธศักราช 2481 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หมายความว่า ทรงครองราชย์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ให้นับปีพุทธศักราชที่ทรงขึ้นครองราชย์เป็นปีที่ 1 เมื่อเปลียนปีพุทธศักราชก็ให้นับเป็นปีที่ 2 และนับเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป

พระราชบัญญัติ

ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร

พุทธศักราช 2481

-----------------------------------------

ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2481
เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน

         2.3 โดยทั่วไปในการตรากฎหมายนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ตามพะราชบัญญัติให้ใช่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 นั้น ผู้ที่ลงพระนาม ได้แก่ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ประกอบด้วย พลโท พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เนื่องจากในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ยังทรงพระเยาว์ และเสด็จนิวัติยังต่างประเทศ 

        2.4  เจตนารมย์ในการตรากฎหมาย จะแสดงไว้ที่หมายเหตุท้ายกฎหมายฉบับนั้น แต่สำหรับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 ได้แสดงไว้ที่ย่อ หน้าแรกของกฎหมาย 

        2.5 มาตราแรกของกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตราขึ้น โดยทั่วไปจะเป็น "ชื่อกฎหมาย" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร

        2.6 มีการระบุวันที่กฎหมายใช้บังคับโดยแสดงให้เห็นชัดแจ้งในกฎหมาย

        2.7 มีผู้สนองพระบรมราชโองการ ตามหลัก The King can do no Wrong. ซึ่งปกป้องพระมหากษัตริย์ที่จะไม่ทรงถูกฟ้องร้องบังคับดดี จากการบัญญัิตกฎหมย ได้แก่ 

             (1) นายกรัฐมนตรี สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจในการบริการราชการแผ่นดิน

             (2) ประธานรัฐสภา สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจในทางนิติบัญญัติ

             (3) ปรธานศาลฎีกา สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจในทางตุลาการ 

             (4) ประธานองคมนตรี สำหรับกฎหมายที่ด้วยองคมนตรี 

3. เจตนารมณ์ในการตรา "ประมวลรัษฎากร" 

        เจตนารมณ์ในการตรา "พระราชบัญญัติให้ใช่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 นับกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อการตรา “ประมวลกฎหมาย” ฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงกาปกครอง และเป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน สามารถนำไปปรับใช้กับประมวลกฎหมายฉบับอื่นๆ ได้ มีเจตนา เพื่อรวบรวมกฎหมายภาษีอากรทั้งหลายบรรดาที่จัดเก็บจากประชาชน ที่รวมเรียกว่า “ภาษีสรรพากร” มาบัญญัติรวมกันไว้เป็นกฎหมายเพียงฉบับเดียว โดยคำนึงถึงหลักภาษีอากรที่ดิ และนำลักษณะภาษีอากรที่ดีทั้งหลายมากำหนดเป็นเจตนรมณ์ของกฎหมาย และเป็นมาตรฐานในการบัญญัติและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ความสำคัญของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร คือ มาตรา 3 ที่กำหนดให้ใช้ประมวลรัษฎากรตามที่ตราไว้แต่ท้ายพระราชบัญญัติฯ เป็น "กฎหมาย" อันเป็นรูปแบบที่สำคัญของ "ประมวลกฎหมาย" ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นผลให้ประมวลรัษฎากร มีศักดิ์เป็น พระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังได้เห็นรอยต่อของกฎหมายภาษีอากรดั้งเดิม กับกฎหมายภาษีอากรสมัยใหม่ ที่ชัดเจนในปี พ.ศ. 2482 เป็นต้นมา