ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

Show

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

ฟินเทค กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงกับระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเงินโลก บทความชุด “ฟินเทคเปลี่ยนโลก” ชุดนี้จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก Mega Trend ในเรื่องนี้กันครับ ซึ่งเริ่มต้นในตอนแรกเราไปรู้จักกันก่อนเลยครับว่าเจ้าฟินเทคนี่มันคืออะไรกันแน่

Fintech คือการผสมระหว่างคำว่า Finance กับคำว่า Technology หรือการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบการสื่อสารออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุน โดยมากกว่าการประยุกต์แล้วในหลายครั้งยังเป็นการ Disrupt ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากแบบเดิมไปสู่สิ่งใหม่อีกด้วย คล้ายๆ กับวันที่ Apple ผลิต iPhone ออกมาและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคจากการใช้มือถือแบบมีปุ่มกดเป็นมือถือระบบสัมผัสอย่างนั้นน่ะครับ ส่วน Startup นั้นหมายถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับผู้บริโภคที่สามารถทำการขยายได้ในวงกว้าง

สำหรับ Fintech ในเมืองไทย ตื่นตัวกันมาซักพัก มาปีนี้เรียกว่าคึกคักกันเป็นอย่างมากครับ ตัวอย่างที่ใกล้ตัวมาก ๆ เช่น การใช้โปรแกรม Streaming ในการซื้อขายหุ้นที่เริ่มมีความนิยมในการใช้เทรดหุ้น แทนการซื้อขายในห้องค้ามากขึ้น บริษัทอย่าง StockRadar ที่ทำโปรแกรมทางมือถือสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการซื้อขายหุ้น ระบบ Payment API อย่าง Omise รวมไปถึงระบบ Crowd Funding ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนผ่านระบบ Online ซึ่งล่าสุดทางสำนักงาน กลต.ก็ได้ออกกฎหมายมารองรับแล้ว

ผมเคยได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ Jamie Dimon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMorgan ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ท่านพูดเลยว่าคู่แข่งสำคัญของ JPMorgan ที่สำคัญจากนี้ไปไม่ใช่ธนาคารใหญ่ๆ ในอเมริกาอีกต่อไปแล้วแต่เป็นเหล่าบริษัท Fintech Startup ที่กำลังบ่มเพาะกันอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในแถบ Silicon Valley ในสหรัฐ

ผมมองว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นแน่ครับ อยู่ที่ว่าจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบการชำระเงินด้วยเครดิต จากเดิมที่ยักษ์ใหญ่ในโลกคือ VISA แต่เดี๋ยวนี้ มีระบบการชำระเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่าง Blockchain ซึ่งมีค่าธรรมเนียมถูกกว่ามาก ในธุรกิจซื้อขายหุ้นก็เช่นกัน เริ่มมีบริษัท Fintech หลายเจ้า อย่างเช่น Robinhood ซึ่งให้บริการซื้อขายหุ้นแบบ Zero Commission ซึ่งก็เติบโตเป็นยูนิคอร์น หรือบริษัทที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1 พันล้านเหรียญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถ้าเข้ามาในเมืองไทยนี่เราต้องปรับตัวกันมากเลยทีเดียว แน่นอนว่าผู้บริโภคย่อมได้ประโยชน์ แต่ผู้ให้บริการต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ครับงานนี้

ในส่วนของประเทศไทย เกิดการตื่นตัวกันอย่างชัดเจนสำหรับเรื่องของ Fintech ในบ้านเรา โดยล่าสุดธนาคารพาณิชย์ชั้นนำได้เริ่มเคลื่อนไหวกันเต็มสูบแล้ว ตั้งแต่การตั้ง Lab ในการค้นคิดผลิตภัณฑ์ด้าน Fintech การจัด Training กันอย่างต่อเนื่องโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากฟากฝั่ง Tech มาให้ความรู้ การตั้งทีมภายในของธนาคารแต่ละสายงานเพื่อดูช่องโหว่หรือรอยรั่วของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของตัวเอง ไปจนถึงการตั้งบริษัทที่เป็น Venture Capital เตรียมพร้อมที่จะเข้าลงทุนใน Fintech เกิดใหม่ในประเทศไทย

ปัจจุบันฟินเทคไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 100 บริษัท เมื่อเทียบในช่วงปีที่ผ่านมา (2559) มีอยู่ประมาณ 40 บริษัท ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่ต้องยอมรับว่า ฟินเทคไทยมีความแตกต่างจากหลายๆ ประเทศ คือโดยมากจะเป็นบริษัทที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่ได้มีฐานลูกค้ามากมายเป็นของตัวเอง ผมจึงเชื่อว่าสถาบันการเงินไทยโดยเฉพาะธนาคารจะเป็นผู้นำการผลักดันการใช้ FinTech ในประเทศไทย โดยจะเป็นภาพของการจับมือกันระหว่างพี่ ๆ สถาบันการเงิน และน้อง ๆ ผู้ประกอบการ FinTech Startup ในการเติบโตไปด้วยกันครับ

ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640829

ผู้เขียน

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

FundTalk

คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็น CEO ของ FINNOMENA โดยคุณเจษฎา มีประสบการณ์ยาวนานในสายงานผู้จัดการกองทุน มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก และการเจาะลึกเพื่อเลือกหุ้นรายตัว

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

ฟินเทค (Fintech) คืออะไร? 

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

ฟินเทค (Fintech) มาจากการรวมของ 2 คำ คือ “Financial” และ “Technology” หมายถึง เทคโนโลยีทางการเงินหรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อย ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ในยุคแรก ๆ อย่างเช่น ตู้เอทีเอ็ม ตู้เติมเงิน หรือตู้จ่ายเงินค่าบริการต่าง ๆ จนกระทั่งถึงบริการทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ช่วยให้ทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกรวดเร็ว และช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถทำรายการได้ด้วยตนเอง โดยลดการพึ่งพาธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงิน

7 รูปแบบของบริการฟินเทค (FinTech)

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาสูงขึ้นมาก ทำให้นวัตกรรมทางการเงินที่ก้าวล้ำไปอีกขั้น ทำให้มีรูปแบบบริการของฟินเทคมีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย หลายคนอาจจะคุ้นในรูปแบบของ Mobile Banking ของแต่ละธนาคาร หรือการชำระผ่าน Paypal, TrueMoney Wallet, Alipay, Rabbit LINE Pay  ซึ่งจริง ๆ แล้ว ฟินเทคนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ และแบ่งประเภทได้หลากหลายวิธีเช่นกัน แต่หากจำแนกตามจุดประสงค์ในการใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 แบบ ดังนี้

1. Banking Technology

เพราะเชื่อว่าในโทรศัพท์ของทุกคนตอนนี้คงมีแอพของธนาคารติดอยู่กับเครื่อง  เพราะมีบริการที่เป็นฟังก์ชันเดียวกับธนาคาร ไม่ต้องไปที่สาขา ไม่ว่าจะเป็นการเช็กยอดบัญชี ฝากเงิน หรือการการกู้เงิน  โดยทั้งหมดที่สามารถทำธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัลได้โดยที่ไม่ต้องไปที่สาขาของแต่ละธนาคารอีกต่อไป 

2. คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding Platforms)

เทคโนโลยีเพื่อการระดมทุน เป็นแพลตฟอร์มตัวกลางระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน เพื่อให้เกิดระดมทุนหรือกู้ยืมได้จากนักลงทุนจำนวนมากได้ แทนที่ผู้ประกอบการจะต้องไปขอกู้สินเชื่อกับธนาคาร หรือหากอยากเป็นนักลงทุนเอง ก็สามารถเลือกลงทุนในธุรกิจตัวเองสนใจได้ผ่านแพลตฟอร์มนั้น ๆ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในเรื่องการสมัครขอระดมทุน ตรวจสอบเครดิตและอนุมัติได้อีกด้วย

3. คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) 

การสร้างสกุลเงินดิจิทัล คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ไม่มีตัวตน แล้วทำให้ใช้งานได้เหมือนเงินจริง สามารถใช้จ่ายได้ รวมถึงเก็งกำไรได้ด้วย  หรือที่รู้จักในนาม Bitcoin (BTC)  ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะเป็น Technology Disruptive ที่ใหญ่ที่สุดในอนาคต  และในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เจาะลึกลงในด้านนี้อีกด้วยเช่น Decentralised finance (DeFi), GameFi ฯลฯ

4. ระบบการจ่ายเงิน (Payment Technology) 

ระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี ซึ่งในยุคที่เป็นสังคมไร้เงินสด คนส่วนมากทำทุกอย่างผ่านโทรศัพท์มือ ทำให้หลายคนคงจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เช่น การจ่ายบิลหรือโอนเงินเด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Internet Banking, Paypal, TrueMoney Wallet, Alipay, Rabbit หรือ LINE Pay  ซึ่งระบบ Payment จะต่างจาก Mobile Banking ตรงที่เจ้าของแพลตฟอร์มไม่ใช่ธนาคาร และให้บริการเฉพาะการใช้จ่ายเท่านั้น

5. ซอฟต์แวร์ทางการเงิน (Enterprise Financial Software)

ซอฟต์แวร์ทางการเงินสำหรับธุรกิจ เป็นซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการในการจัดการทางด้านการเงิน เช่น การจัดการบัญชี ระบบจ่ายเงินเดือน-ภาษีและการจัดการพนักงาน ครอบคลุมถึงสวัสดิการพนักงานด้านการเงิน โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องทำเอกสารในรูปแบบเดิม ๆ โดยการจดบันทึกไว้เองในกระดาษหรือสมุด  โดยเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ประสิทธิภาพภายในธุรกิจดีขึ้น ช่วยลดเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้งาน 

6. ระบบจัดการการลงทุน (Investment Management) 

เทคโนโลยีที่จะช่วยจัดการทางด้านลงทุน จากเดิมที่ต้องไปที่สาขาธนาคารเพื่อฝากเงินลงทุน

แต่ในปัจจุบันมีมีแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันทางการเงินที่เข้ามาช่วยจัดการการลงทุนมากขึ้น เช่น ทองคำ, กองทุนรวม รวมถึงแพลตฟอร์มที่ใช้ AI ช่วยในการวิเคราะห์หุ้น หรือการนำเทคโนโลยีอย่าง Robo Advisor มาช่วยในการจัดพอร์ตการลงทุนได้อีกด้วย

7. ประกันภัยแบบดิจิทัล (Insurtech)

ประกันภัยแบบดิจิทัล Insurtech (Insurance Technology) เป็นการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้ในระบบการคำนวณเบี้ยประกัน ผลตอบแทน ความเสี่ยง ที่มีความซับซ้อน รวมถึงอัตราส่วนลดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เปลี่ยนประสบการณ์การซื้อประกันภัยของคุณให้ง่ายขึ้น ทุกวันนี้แค่เพียงคลิกผ่านแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันก็ซื้อได้ จากเดิมที่ต้องออกจากบ้านไปซื้อหรือต้องคุยเพื่อทำการซื้อผ่านตัวแทน   

ปัจจุบัน Credit OK ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทางการเงินที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ทางการเงินและประกันภัย ได้เปิดตัวบริการใหม่ “คุ้มครองก่อน จ่ายทีหลัง (Protect Now, Pay Later)” อีกทั้งคุณยังสามารถผ่อนจ่ายเบี้ยประกันได้ แม้คุณไม่มีบัตรเครดิต  โดยใช้ Machine Learning และ Data Analytics มีระบบในการยืนยันตัวตน เพื่อลดความเสี่ยงในการประเมินสินเชื่อผ่อนเบี้ยประกัน สามารถอนุมัติการผ่อนได้ทันที เป็นการเพิ่มความสะดวก โดยที่ลูกค้าสามารถเลือกซื้อประกันภัยได้เองบนแพลตฟอร์ม Credit OK หรือสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อเปรียบเทียบแผนความคุ้มครองให้ตรงกับความต้องการและเช็คเบี้ยประกันเบื้องต้น สนใจซื้อประกันหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.creditok.co

จากทั้ง 7 รูปแบบของฟินเทค (Fintech) จะสังเกตได้ว่าเป็นเทคโนโลยีทางการเงินที่ค่อย ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต ช่วยให้เรื่องการเงินเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงบริการทางการเงิน การลงทุน การขอสินเชื่อ หรือแม้แต่เรื่องยาก ๆ อย่างการซื้อประกันภัยก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ผู้ประกอบการจากที่เคยต้องจ้างพนักงานมาดูแลด้านการเงิน ตอนนี้ก็สามารถเช็คการเงิน ดูรายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน หรือวิเคราะห์ผลประกอบการ ทำทุกอย่างผ่านทางโทรศัพท์ได้

ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากฟินเทค (Fintech) ได้อย่างไร?

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

1. ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้า

ส่วนใหญ่แล้วบริการฟินเทค (Fintech) เป็นธุรกรรมที่ใช้งานผ่านมือถือหรือใช้งานผ่านออนไลน์ อย่างเช่น การมี QR Code ให้ลูกค้าสแกนจ่าย หรือมีแอปพลิเคชันในรูปแบบ E-walllet ผ่านโทรศัพท์  เพียงแค่ดาวน์โหลดก็สามารถใช้งานได้ทันที ช่วยให้สามารถทำธุรกรรมทางด้านการเงินหรือการลงทุนได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสะดวกรวดเร็วมาก

2. ประหยัดค่าดำเนินงานและลดค่าเสียเวลา

จากเดิมการทำธุรกรรมทางการเงินนั้นต้องเดินทางไปธนาคาร และใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่การมี ฟินเทค (Fintech) ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางไปธนาคารรวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งสามารถใช้งานผ่านแพลตฟอร์มได้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เพราะส่วนใหญ่ทุกธนาคารมักให้ค่าธรรมเนียนมฟรี ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายดำเนินงานและลดค่าเสียเวลา

3. ลูกค้าเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น

เนื่องจากฟินเทค (Fintech) เป็นธุรกรรมที่ทำผ่านออนไลน์ได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของคนยุคสมัยนี้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นชีวิตประจำวัน ทำให้ธุรกิจหลายธุรกิจก็ต้องปรับตัวไปตาม ๆ กันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ทันได้ หากธุรกิจไหนเข้าใจลูกค้าและได้เร็วกว่า ผลตอบแทนที่ธุรกิจจะได้รับไม่ได้มีเพียงแค่กำไร แต่ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจอีกด้วย

4. สร้างความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ

ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของการทำธุรกรรมทางด้านการเงินหรือการลงทุน เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญมากที่สุด เสมือนเครื่องหมายการันตีความปลอดภัยข้อมูลเราได้แน่นอน ให้มีระบบที่ตรวจสอบ ไว้วางใจได้ หรือมีระบบที่เสถียรภาพยากต่อการแฮ็คข้อมูลได้ เช่น การสแกนม่านตา การจดจำใบหน้า การสแกนนิ้ว ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจ ทำให้ลูกค้าไว้วางใจกับธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

จะเริ่มต้นนำฟินเทค (FinTech) มาใช้กับธุรกิจอย่างไร?

ข้อใด คือ การใช้ fintech ในการซื้อประกันภัย

ผู้ประกอบการที่จะนำฟินเทค (FinTech) มาใช้กับธุรกิจจะต้อง

1. ทำความเข้าใจและศึกษา

ทำความเข้าใจและศึกษาเครื่องมือด้านฟินเทค (FinTech)  ให้มากขึ้น รวมถึงต้องลองและก้าวผ่านข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง เพราะจริง ๆ  แล้วทุกธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็สามารถนำประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้ประโยชน์ หรือหากลักษณะของงานห่างไกลกับเรื่องของเทคโนโลยีมาก จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องทำให้ช่องว่างระหว่างคนกับเทคโนโลยีแคบลง

2. ปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ 

สำหรับผู้ประกอบการที่กังวลเรื่องของการนำข้อมูลบริษัทเข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล แล้วกังวลในเรื่องการรั่วไหลของข้อมูล ต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ เพราะที่ผ่านมา ได้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายให้ทันสมัยและรองรับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธปท. ก.ล.ต. และ ปปง. 

หรือแม้กระทั่งการสร้างฟอร์ม เช่น  UpPass แพลตฟอร์มที่สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างฟอร์มได้เอง โดยที่ไม่ต้องเขียน Code เอง หรือจ้างทีม Developer เพิ่ม  ในการที่จะ verify ตัวตนด้วย AI  หรือด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ เพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้บัญชีหรือการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ  ช่วยคุณจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทดลองใช้ฟรีได้ที่ www.uppass.io

เพราะธุรกิจ SME เป็นส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ จึงไม่ควรที่จะหยุดเรียนรู้และพัฒนาธุรกิจอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ ด้าน หากพบว่าธุรกิจของเรายังใช้อะไรที่เป็นรูปแบบเดิม ๆ ควรเร่งปรับตัว เพราะเทคโนโลยีจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจรวดเร็วขึ้น ทำให้ความต้องการของบริโภคก็เปลี่ยนไปด้วย

อาจจะเริ่มศึกษาคู่แข่งว่ามีการนำฟินเทค (Fintech) มาใช้อย่างไรบ้างหรือหาข้อมูลที่สนใจเพิ่มเติม  อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สตาร์ทอัพ (Startup) ทั้งในไทยและต่างประเทศมีบริการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การให้บริการลูกค้าและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านความสะดวก รวดเร็ว ในต้นทุนที่ต่ำลง

ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการทำธุรกิจ SME เพิ่มเติมได้ที่ https://blog.creditok.co/ 

ที่มา

https://spdload.com

#Fintech #ธุรกิจSME #ผู้ประกอบการ #พัฒนาธุรกิจ #ฟินเทค #แพลตฟอร์ม

อะไรคือ การใช้ Fintech ในการซื้อประกันภัย

Insurtech ต่างกับ Fintech ตรงที่ Insurtech คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในธุรกิจประกัน ส่วน Fintech คือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในธุรกิจการเงิน โดยทั้ง 2 อย่างสามารถช่วยทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกที่มากขึ้นและยังเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจให้มากขึ้นไปด้วย ซึ่ง Insurtech ถือเป็นส่วนย่อยที่อยู่ใน Fintech อีกทีหนึ่ง

ข้อใดคือประโยชน์ของ Fintech

FinTech ช่วยให้การบริการจัดการง่ายขึ้น จากเดิมหากผู้บริหารต้องการตรวจสอบงบการเงินของบริษัทอาจจะต้องรอฝ่ายบัญชีเก็บข้อมูลซึ่งอาจจะล่าช้า แต่ปัจจุบันสามารถใช้เครื่องมือ FinTech เพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ทันที จึงนำมาสู่การตัดสินใจที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น และผลลัพท์จะตามมาด้วยรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น”

ข้อใดคือการใช้Fintech

ชื่อเต็มคือ Financial Technology แปลตรงตัวคือ เทคโนโลยีทางด้านการเงิน ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจแบบเดิมที่มีช่องทางการขายแบบเก่า เก็บแค่เงินสด เกิดวันหนึ่งเขาอยากจะมีช่องทางการขายที่มากขึ้น มีช่องทางการจ่ายเงินที่มากขึ้น เลยใช้การโอนผ่านธนาคาร จ่ายผ่านมือถือ ผ่าน QR Code นั่นแหละเรียกว่า ฟินเทค

ฟินเทค (Fintech) หมายถึงข้อใด *

ในโลกการเงินปัจจุบัน หนึ่งในคำที่ได้ยินบ่อย คือ ฟินเทค หรือ เทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งถ้าตีความกว้าง ๆ คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็ว ความปลอดภัย ลดต้นทุนที่เกิดขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการได้ดียิ่งขึ้น BOT พระสยาม ...