ข้อใดที่ต้องคิดแบบวิภัชชวาท

ข้อใดที่ต้องคิดแบบวิภัชชวาท
ข้อใดที่ต้องคิดแบบวิภัชชวาท

Show

เพื่อชีวิตที่มีคุณค่าควรปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธอย่างไร? (ตอน๘)

13 กันยายน 2553

แชร์

ปุจฉา : ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ...

ปุจฉา : ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ...

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ...จะได้มั่นคงดำรงอยู่ในโลกปัจจุบันได้อย่างไม่วุ่นวาย ไม่เร่าร้อน เพื่อความสงบสุขของชีวิต...
พระสีวลีเถระ/มหาโพธิสมาคม พุทธคยา อินเดีย

วิสัชนา : ๗.วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม เป็นการคิดเพื่อพินิจพิจารณาให้เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคใช้สอย เพื่อการเข้าถึงคุณค่าประโยชน์ที่แท้จริง เป็นการนำไปสู่การปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างเข้าใจประโยชน์ เพื่อความสุขโดยธรรม ทั้งต่อตนและผู้อื่น...

๘.วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม เป็นการคิดแบบเร้ากุศล สร้างศรัทธา เพิ่มพูนฉันทะในธรรมอยู่ตลอดเวลา อันจะนำไปสู่ความเพียรอันชอบยิ่งๆ ขึ้น เป็นแนวความคิดที่ใช้บรรเทาและขัดเกลาความทะยานอยากอำนาจจิตอกุศลที่คิดปรุงแต่งในทางไม่ดีไม่งาม ฯลฯ

๙.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ อันเป็นไปตามหลักการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อการสกัดกั้นความคิดที่มักจะเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ปรุงแต่งที่เกิดจากอำนาจแห่งตัณหา ซึ่งมักจะอาลัยเกาะติดกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หรือเรียกหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง จนขาดปัญญาที่จะรู้จริงในความเป็นจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน หากแต่ว่าเมื่อการคิดพิจารณานั้นนำไปสู่ปัญญา ไม่ว่าเรื่องราวในการใด โดยนำมากำหนดรู้พิจารณาอยู่เฉพาะหน้าอย่างมีสติปัญญา ก็ย่อมไม่ถือว่าเป็นการคิดออกไปจากปัจจุบันธรรม

๑๐.วิธีคิดแบบวิภัชชวาท เป็นวิธีการจำแนกแจกแจงโดยการแถลงแสดงเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นการพูดอันใกล้ชิดกับความคิดที่รู้จักพูด หรือกล่าวแสดงด้วยการจำแนกแจกแจง ซึ่งจะต้องรู้จักวิเคราะห์ในเรื่องนั้นๆ จนเข้าถึงชั้นของความจริงแท้ ซึ่งสามารถนำมาจำแนกแจกแจง แยกแยะให้เห็นได้ในแต่ละแง่ แต่ละด้าน ไม่พูดคลุมเครือ หรือแสดงออกมาเพียงแง่เดียว จะพบวิธีการดังกล่าวในพระพุทธศาสนา จนกลายเป็นนามเรียกพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาที ซึ่งจะพบบ่อยๆ ในรูปการปุจฉาวิสัชนาธรรม หรือวิธีตอบปัญหาของพระพุทธองค์ (ปัญหาพยากรณ์) ซึ่งมี ๔ อย่างคือ
เอกังสพยากรณ์    การตอบแง่เดียว (ตอบ  อย่างเดียว เด็ดขาด)

วิภัชชพยากรณ์   การแยกแยะตอบ

ปฏิปุจฉาพยากรณ์    การตอบโดยย้อนถาม

ฐปนะพยากรณ์    การไม่ตอบ

จากกระบวนการคิดพิจารณาโดยแยบคายตามที่กล่าวมา เพื่อนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อปัญญาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการคิดนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบัน ที่มากไปด้วยสิ่งเร้าอันนำไปสู่ อกุศลจิต ซึ่งสามารถสร้างความคิดที่ผิดทำนองคลองธรรมได้อย่างไม่ยาก และเมื่อความคิดผิดความเห็นผิดไปแล้ว

ข่าวล่าสุด

'ฟิล์ม รัฐภูมิ'ตาม'ประวิตร'ตรวจราชการคาดย้ายซบพลังประชารัฐ

NOBLE บุกอสังหาริมทรัพย์เต็มสูบ จ่อเปิด 10 โครงการใหม่ มูลค่าย 23,300 ล้านบาท

กรมขนส่งทางบก สั่งถอดป้ายโฆษณา “กองสลากพลัส” ทั้งหมดภายในม.ค.นี้

'จุรินทร์-เฉลิมชัย' ดัน โครงการโค 5 หมื่นตัว สร้างเงินชายแดนใต้

'วราวุธ' เปิดแคมเปญเลือกตั้ง ชู10นโยบาย 'ชาติไทยพัฒนา' ทำได้จริง

10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท ความจริงวิภัชชวาท ไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูดหรือการแสดงหลักการแห่งคำสอนแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การคิดกับการพูดเป็นกรรมใกล้ชิดกันที่สุด ก่อนจะพูดก็ต้องคิดก่อน สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น ในทางธรรมก็แสดงหลักไว้ว่า วจีสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งคำพูด) ได้แก่วิตกและวิจาร ดังนั้น จึงสามารถกล่าวถึงวิภัชชวาทในระดับที่เป็นความคิดได้ ยิ่งกว่านั้นคำว่าวาระต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่าวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความหมายลึกซึ้งเล็งไปถึงระบบความคิดทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาแห่งระบบคำสอนทั้งหมด ที่เรียกกันว่าเป็นลัทธิหนึ่ง ศาสนาหนึ่งหรือปรัชญาสายหนึ่ง เป็นต้น คำว่าวาทะ จึงเป็นไวพจน์แห่งกันและกันของคำว่า ทิฏฐิ ทิฐิ หรือทฤษฎี เช่น สัพพัตถิกวาท คือ สัพพัตถิกทิฏฐิ นัตถิกวาท คือนัตถิกทิฏฐิ สัสสตวาท คือสัสสตทิฏฐิ อุจเฉทวาท คืออุจเฉททิฏฐิ อเหตุกวาท คืออเหตุกทิฏฐิ เป็นต้น คำว่าวิภัชชวาทนี้ เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นคำสำคัญคำหนึ่งที่ใช้แสดงระบบความคิดที่เป็นแบบของพระพุทธศาสนาและวิธีคิดแบบวิภัชชวาท ก็มีความหมายคลุมถึงวิธีคิดแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วได้หลายอย่าง การกล่าวถึงวิธีคิดแบบวิภัชชวาท นอกจากทำให้รู้จักวิธีคิดแง่อื่น ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะช่วยให้เข้าใจวิธีคิดบางอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นชัดเจนขึ้นอีกด้วย

วิภัชชวาท เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา หรือเป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิดของพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็น วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาที และคำว่า วิภัชชวาท หรือวิภัชชวาทีนั้น ก็ได้เป็นคำเรียกพระพุทธศาสนา หรือคำเรียกพระนามของพระพุทธเจ้าซึ่งได้ใช้อ้างกันมาในประวัติการณ์แห่งพระพุทธศาสนา เช่น ในคราวสังคายนาครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสงฆ์ในการสังคายนาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร พระเถระทูลตอบว่า “มหาบพิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาที”

วิภัชชวาท มาจาก วิภัชช + วาท วิภัชช แปลว่า แยกแยะ แบ่งออก จำแนก หรือแจกแจงใกล้กับคำที่ใช้ในปัจจุบันว่าวิเคราะห์ วาท แปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน วิภัชชวาทจึงแปลว่า การพูดแยกแยะ พูดจำแนก หรือพูดแจกแจง หรือแสดงคำสอนแบบวิเคราะห์ ลักษณะสำคัญของความคิดและการพูดแบบนี้คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ละด้านครบทุกแง่ทุกด้าน ไม่ใช่จับเอาแง่หนึ่งแง่เดียว หรือบางแง่ขึ้นมาวินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างนั้นทั้งหมด หรือประเมินคุณค่าความดีความชั่วเป็นต้น โดยถือเอาส่วนเดียวหรือบางส่วนเท่านั้นแล้วตัดสินพรวดลงไปวาทะที่ตรงข้ามกับ วิภัชชวาท เรียกว่า เอกังสวาท แปลว่า พูดแง่เดียว คือจับได้เพียงแง่หนึ่ง ด้านหนึ่งหรือส่วนหนึ่งก็วินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างเดียวทั้งหมด หรือพูดตายตัวอย่างเดียว ;

เพื่อให้เข้าใจความหมายของวิภัชชวาท ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจำแนกแนววิธีคิดของวิภัชชวาท นั้นออกให้เห็นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

ก. จำแนกโดยแง่ด้านของความจริง แบ่งซอยได้เป็น 2 อย่างคือ
– จำแนกตามแง่ด้านต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้น ๆ คือมองหรือแถลงความจริงให้ตรงตามที่เป็นอยู่ในแง่นั้นด้านนั้น ไม่ใช่จับเอาความจริงแง่หนึ่งด้านหนึ่งหรือแง่อื่นด้านอื่นมาตีคลุมเป็นอย่างนั้นไปหมด เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าเขาดีหรือไม่ดี ก็ชี้ความจริงตามแง่ด้านที่เป็นอย่างนั้นว่าแง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้น เขาดีอย่างไร หรือไม่ดีอย่างไร เป็นต้น ไม่ใช่เหมาคลุมง่าย ๆ ทั้งหมด ถ้าจะประเมินคุณค่า ก็ตกลงกำหนดลงว่าจะเอาแง่ใดด้านใดบ้าง แล้วพิจารณาทีละแง่ ประมวลลงตามอัตราส่วน ตัวอย่างวิภัชชวาทในแง่นี้ เช่น คำสอนเกี่ยวกับ กามโภคี หรือชาวบ้าน 10 ประเภทที่จะกล่าวต่อไป

– จำแนกโดยมองหรือแสดงความจริงของสิ่งนั้น ๆ ให้ครบทุกแง่ทุกด้าน คือ เมื่อมองหรือพิจารณาสิ่งใดไม่มองแคบ ๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียวแง่เดียวของสิ่งนั้น หรือวินิจฉัยสิ่งนั้นด้วยส่วนเดียวแง่เดียวของมัน แต่มองหลายแง่หลายด้าน เช่นจะว่าดีหรือไม่ดี ก็ว่า ดีในแง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้นไมดีในแง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้น สิ่งนี้ไม่ดีในแง่นั้น แต่ดีในแง่นี้ สิ่งนั้นดีในแง่นั้น แต่ไม่ดีในแง่นี้เป็นต้น การคิดจำแนก แนวนี้ มองดูคล้ายกับข้อแรก แต่เป็นคนละอย่าง และเป็นส่วนเสริมกันกับข้อแรกให้ผลสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่นคำสอนเกี่ยวกับกามโภคี คือชาวบ้าน 10 ประเภทนั้น และเรื่องพระบ้านพระป่าที่ควรยกย่องหรือติเตียนเป็นต้น การคิดแนวนี้ มีผลรวมไปถึงการเข้าใจในภาวะที่องค์ประกอบต่าง ๆ หรือลักษณะด้านต่าง ๆ มาประมวลกันเข้าโดยครบถ้วน จึงเกิดเป็นสิ่งนั้น ๆ หรือเหตุการณ์นั้นและการมองสิ่งหนึ่ง ๆ เหตุการณ์หนึ่ง ๆ โดยเห็นกว้างออกไปถึงลักษณะด้านต่าง ๆ และองค์ประกอบต่าง ๆ ของมัน

ข. จำแนกโดยส่วนประกอบ คือวิเคราะห์แยกแยะออกไปให้รู้เท่าทันภาวะที่สิ่งนั้น ๆ เกิดขึ้นจากองค์ประกอบย่อย ๆ ต่าง ๆ มาประชุมกันเข้า ไม่ติดตันอยู่ภายนอกหรือถูกลวงโดยภาพรวมของสิ่งนั้น ๆเช่น แยกแยะสัตว์บุคคลออกเป็นนามและรูป เป็นขันธ์ 5 และแบ่งซอยแต่ละอย่าง ๆ ออกไป จนเห็นภาวะที่ไม่เป็นอัตตา เป็นทางรู้เท่าทันความจริงของสังขารธรรมทั้งหลาย วิภัชชวาทแง่นี้ตรงกับวิธีคิดอย่างที่ 2 (วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ) ที่กล่าวแล้วข้างต้น จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีก เดิมทีเดียวคำว่าวิภัชชวาท ท่านไม่ได้มุ่งใช้ในความหมายแง่นี้ แต่ในคัมภีร์รุ่นหลังท่านใช้ศัพท์คลมุถึงด้วย จึงนำมากล่าวรวมไว้

ค. จำแนกโดยลำดับขณะ คือ แยกแยะวิเคราะห์ปรากฏการณ์ตามลำดับความสืบทอดแห่งเหตุปัจจัย ซอยออกไปเป็นแต่ละขณะ ๆ ให้มองเห็นตัวเหตุปัจจัยที่แท้จริง ไม่ถูกลวงให้จับเหตุปัจจัยสับสนการคิดแบบนี้เป็นด้านหนึ่งของการคิดจำแนกโดยส่วนประกอบและการคิดจำแนกตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย แต่มีลักษณะและการใช้งานพิเศษ จึงแยกออกมาแสดงเป็นอย่างหนึ่ง เป็นวิธีที่ใช้มากในฝ่ายอภิธรรม ตัวอย่างเช่น เมื่อโจรขึ้นปล้นบ้านและฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย คนทั่วไปอาจพูดว่า โจรฆ่าคนตายเพราะความโลภ คือ ความอยากได้ทรัพย์เป็นเหตุให้ฆ่าเจ้าทรัพย์ คำพูดนี้ใช้ได้เพียงในฐานะเป็นสำนวนพูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ แต่เมื่อวิเคราะห์ทางด้านกระบวนธรรมที่เป็นไปภายในจิตอย่างแท้จริง หาเป็นเช่นนั้นไม่ ความโลภเป็นเหตุของการฆ่าไม่ได้ โทสะจึงจะเป็นเหตุของการฆ่านั้นเมื่อวิเคราะห์โดยลำดับขณะแล้วก็จะเห็นว่า โจรโลภอยากได้ทรัพย์ แต่เจ้าทรัพย์เป็นอุปสรรคต่อการได้ทรัพย์นั้น ความโลภทรัพย์จึงเป็นเหตุให้โจรมีโทสะต่อเจ้าทรัพย์ โจรจึงฆ่าเจ้าทรัพย์ด้วยโทสะนั้น โจรโลภอยากได้ทรัพย์ หาได้โลภอยากได้เจ้าทรัพย์แต่อย่างใดไม่ ตัวเหตุที่แท้ของการฆ่าคือโทสะ หาใช่โลภะไม่ โลภะเป็นเพียงเหตุให้ลักทรัพย์เท่านั้น แต่เป็นปัจจัยให้โทสะเกิดขึ้นต่อสิ่งอื่นซึ่งขัดขวางหรือไม่เกื้อกูลต่อความมุ่งหมายของมัน อย่างไรก็ตาม ในภาษาสามัญจะพูดว่า โจรฆ่าคนเพราะความโลภก็ได้ แต่ให้รู้เข้าใจเท่าทันความจริงในกระบวนธรรมที่เป็นไปตามลำดับขณะดังที่กล่าวมาแล้ว ว่าความโลภเป็นตัวการเริ่มต้นในเรื่องนั้นเท่านั้น การแยกแยะหรือวิเคราะห์โดยขณะเช่นนี้ทำให้ในสมัยต่อมา มีคำเรียกพระพุทธศาสนาว่าเป็น ขณิกวาท

ง. จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือสืบสาวสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมาของสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทำให้มองเห็นความจริงที่สิ่งทั้งหลายไม่ได้ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นอิสระจากสิ่งอื่น ๆ และไม่ได้ดำรงอยู่โดยตัวของมันเอง แต่เกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัย จะดับไปและสามารถดับได้ด้วยการดับที่เหตุปัจจัย การคิดจำแนกในแง่นี้ เป็นวิธีคิดข้อสำคัญมากอย่างหนึ่ง ตรงกับวิธีคิดแบบที่1 ที่กล่าวแล้วข้างต้น คือวิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย หรือวิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา ซึ่งนอกจากจะได้บรรยายในวิธีคิดแบบที่ 1 แล้ว ยังได้อธิบายไว้อย่างยืดยาวในบทว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ยึดถือสัสสตวาท มองเห็นว่ามีอัตตาที่ตั้งอยู่เที่ยงแท้นิรันดร หรือยึดถืออุจเฉทวาทมองเห็นว่าอัตตาต้องดับสิ้นขาดสูญไป ทั้งนี้เพราะเมื่อเผลอลืมมอง ความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย ก็มองเห็นสิ่งนั้นตั้งอยู่ขาดลอยโดด ๆ แล้วความเห็นเอียงสุดอย่างใดอย่างหนึ่งก็จึงเกิดขึ้น แต่ภาวะที่เป็นจริงของสิ่งทั้งหลายไม่ได้ขาดลอยอย่างที่คนตัดตอนมองเอาอย่างนั้น สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์กัน ขึ้นต่อกัน และความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางสืบทอดกัน เนื่องด้วยปัจจัยย่อยต่าง ๆ ความมีหรือไม่มีไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดลอยตัว ภาวะที่เป็นจริงเป็นเหมือนอยู่กลางระหว่างความเห็นเอียงสุดสองอย่างนั้น ความคิดแบบจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยช่วยให้มองเห็นความจริงนั้น และตามแนวคิดนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่าเป็นกลาง ๆ คือไม่กล่าวว่า สิ่งนี้มี หรือว่าสิ่งนี้ไม่มี แต่กล่าวว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หรือว่านี้มีในเมื่อนั้นมี นี้ไม่มีในเมื่อนั้นไม่มี การแสดงความจริงอย่างนี้ นอกจากเรียกว่าอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบาทแล้ว ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามัชเฌนธรรมเทศนา จึงอาจเรียกวิธีคิดแบบนี้อีกอย่างหนึ่งด้วยว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมเทศนา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิธีคิดเแบบมัชเฌนธรรมการจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น นอกจากช่วยไม่ให้เผลอมองสิ่งต่าง ๆ หรือปัญหาต่าง ๆ อย่างโดดเดี่ยวขาดลอย และช่วยให้ความคิดเห็นได้เป็นสายไม่ติดตันแล้ว ยังครอบคลุมไปลึงการที่จะให้รู้จักจับเหตุปัจจัยได้ตรงกับผลของมัน หรือให้ได้เหตุปัจจัยที่ลงตัวพอดีกับผลที่ปรากฏด้วย ความที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับความสับสนที่มักเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป 3 อย่างคือ

1) การนำเอาเรื่องราวอื่น ๆ นอกกรณี มาปะปนสับสนกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี เช่น เมื่อบุคคลที่ไม่สู้ดีคนหนึ่ง ได้รับผลอย่างหนึ่งที่คนเห็นว่าเป็นผลดี มีคนอื่นบางคนพูดว่า นาย ก. หรือนาย ข.ซึ่งเป็นคนดีมาก มีความดีหลายอย่าง อย่างนั้นอย่างนี้ ทำไมจึงไม่ได้รับผลดีนั้นบางทีความจริงเป็นว่า ความดีของนาย ก. หรือนาย ข. ที่มีหลาย ๆ อย่างนั้น ไม่ใช่ความดีที่สำหรับจะให้ได้รับผลเฉพาะอันนั้น วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้แยกเอาเรื่องราวหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากเหตุปัจจัยที่แท้จริงของกรณีนั้นได้ ความหมายข้อนี้รวมถึงการจับผลให้ตรงกับเหตุด้วย คือเหตุปัจจัยใดเป็นไปเพื่อผลใด หรือผลใดพึงเกิดจากเหตุปัจจัยใด ก็มองเห็นตรงตามนั้นไม่ไขว้เขวสับสน

2) ความไม่ตระหนักถึงภาวะที่ปรากฏการณ์หรือผลที่คล้ายกัน อาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างกัน และเหตุปัจจัยอย่างเดียวกัน อาจไม่นำไปสู่ผลอย่างเดียวกัน เช่น ภิกษุอยู่ป่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญก็มี ไม่สรรเสริญก็มี โดยทรงพิจารณาสุดแต่เหตุคือเจตนา อีกตัวอย่างหนึ่ง ได้ทรัพย์มา อาจเกิดจากการขยันทำการงาน จากการทำให้ผู้ให้ทรัพย์พอใจ หรือการลักขโมยก็ได้ คนได้รับการยกย่องสรรเสริญอาจเกิดจากการทำความดีในสังคมที่นิยมความดี หรือเกิดจากทำอะไรบางอย่างแม้ไม่ดีแต่เป็นประโยชน์หรือเป็นที่ชอบใจของผู้ยกย่องสรรเสริญนั้นก็ได้ ในกรณีเหล่านี้จะต้องตระหนักด้วยว่า เหตุปัจจัยต่างกันที่ให้เห็นผลเหมือน ๆ กันนั้น ยังมีผลต่างกันอย่างอื่น ๆ ที่ไม่ได้พิจารณาในกรณีเหล่านี้ด้วย ในทำนองเดียวกัน คนต่างคนทำความดีอย่างเดียวกัน คนหนึ่งทำแล้วได้รับการยกย่องสรรเสริญ เพราะทำในที่เขานิยมความดีนั้น หรือทำเหมาะกับกาลเวลาที่ความดีนั้นก่อประโยชน์แก่คนที่ยกย่อง อีกคนหนึ่งทำแล้วกลับไม่เป็นที่ชื่นชม เพราะทำในที่เขาไม่นิยมความดีนั้น หรือทำแล้วเป็นการทำลายประโยชน์ของคนที่ไม่พอใจ หรือมีความบกพร่องในตนเองอย่างอื่นของผู้กระทำความดีนั้น ดังนี้เป็นต้น ในกรณีเหล่านี้ จะต้องตระหนักด้วยว่า เหตุปัจจัยอย่างเดียวกันที่ยกขึ้นพิจารณานั้น ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยทั้งหมดที่จะให้ได้รับผลอย่างนั้น ความจริงสภาพแวดล้อมและเรื่องราวอื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยร่วมด้วยที่จะให้เกิดหรือไม่ให้เกิดผล อย่าง นั้น

3) การไม่ตระหนักถึงเหตุปัจจัยส่วนพิเศษนอกเหนือจากเหตุปัจจัยที่เหมือนกัน ข้อนี้เกี่ยวเนื่องกับความตอนท้ายของข้อ 2) กล่าวคือคนมักมองเฉพาะแต่เหตุปัจจัยบางอย่างที่ตนมั่นหมายว่าจะให้เกิดผลอย่างนั้น ๆ ครั้นต่างบุคคลทำเหตุปัจจัยอย่างเดียวกันแล้ว คนหนึ่งได้รับผลที่ต้องการ อีกคนหนึ่งไม่ได้รับผลนั้น ก็เห็นไปว่าเหตุปัจจัยนั้นไม่ให้ผลจริง เป็นต้น เช่น คนสองคนทำงานดีเท่ากัน มีกรณีที่จะได้รับการคัดเลือกอย่างหนึ่ง เป็นธรรมดาที่คนหนึ่งจะได้รับเลือก อีกคนหนึ่งไม่ได้รับเลือก ถ้าไม่ใช้วิธีเสี่ยงทายโดยจับสลาก ก็จะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น คนหนึ่งสุขภาพดีกว่า หรือรูปร่างดีกว่า และคุณธรรมหรือความบกพร่องของผู้คัดเลือก เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยได้ทั้งสิ้น

ตัวอย่างที่ยกมาในที่นี้ เกี่ยวกับหลักกรรมทั้งนั้น แม้ตัวอย่างที่เป็นไปตามกฎอย่างอื่น ก็พึงเข้าใจในทำนองเดียวกัน

จ. จำแนกโดยเงื่อนไข คือมองหรือแสดงความจริงโดยพิจารณาเงื่อนไขประกอบด้วย ข้อนี้เป็นวิภัชชวาทแบบที่พบบ่อยมากอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าถูกถามว่า บุคคลนี้ควรคบหรือไม่ ถิ่นสถานนี้ควรเข้าเกี่ยวข้องหรือไม่ พระภิกษุเป็นผู้ตอบ ก็อาจกล่าวตามแนวบาลีว่าถ้าคบหรือเข้าเกี่ยวข้องแล้วอกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่ออม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าเกี่ยวข้อง แต่ถ้าคบหรือเข้าเกี่ยวข้องแล้วอกุศลกรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ควรคบ ควรเกี่ยวข้อง หรือถ้าถามว่าภิกษุควรถือธุดงค์หรือไม่ท่านก็จะตอบว่า ภิกษุใดถือธุดงค์แล้ว กรรมฐานดีขึ้น ภิกษุนั้นควรถือ ภิกษุใดถือแล้ว กรรมฐานเสื่อมภิกษุนั้นไม่ควรถือ ภิกษุใดจะถือธุดงค์ก็ตาม ไม่ถือก็ตาม กรรมฐานก็เจริญทั้งนั้น ไม้เสื่อม ภิกษุนั้นเมื่อจะอนุเคราะห์ชนรุ่นหลัง ควรถือ ส่วนภิกษุใดจะถือธุดงค์ก็ตาม ไม่ถือก็ตาม กรรมฐานย่อมไม่เจริญภิกษุนั้นก็ควรถือ เพื่อเป็นพื้นอุปนิสัยไว้ หรือถ้ามีผู้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าเป็นอุจเฉทวาทหรือไม่ ถ้าตอบตามพระองค์ ก็ว่า ถ้าใช้คำนั้นในความหมายอย่างนี้ ๆ ก็ใช่ ถ้าใช้ในความหมายว่าอย่างนั้น ๆ ก็ไม่ใช่หรือถ้าถามว่า ภิกษุที่ชอบอยู่ผู้เดียวจาริกไปรูปเดียว ชื่อว่าปฏิบัติถูกต้องตามคำสอนชองพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ ก็ต้องตอบอย่างมีเงื่อนไขเช่นเดียวกัน

ยกตัวอย่างทางวิชาการสมัยใหม่ เช่น อาจพิจารณาปัญหาทางการศึกษาว่า ควรปล่อยให้เด็กพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในสังคม เช่น เรื่องราวและการแสดงต่าง ๆ ทางสื่อมวลชน เป็นต้น อย่างอิสระเสรีหรือไม่หรือแค่ไหนเพียงไร ถ้าตอบตามแนววิภัชชวาท ก็จะไม่กล่าวโพล่งลงไปอย่างเดียว แต่จะวินิจฉัยได้โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ คือ

1) ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่าง ๆ ซึ่งเด็กได้สั่งสมไว้โดยกาอบรมเลี้ยงดูและอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็นต้น เท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น (พูดด้วยภาษาทางธรรมว่า สังขารที่เป็นกุศลและอกุศล คือแนวความคิดปรุงแต่งที่ได้สั่งสมเสพคุ้นเอาไว้ ) ว่า พื้นของเด็กที่จะแล่นไป

2) โยนิโสมนสิการ คือ เด็กรู้จักใช้โยนิโสมนสิการอยู่โดยปกติหรือไม่ และแค่ไหนเพียงไร

3) กัลยาณมิตร คือมีบุคคลหรืออุปกรณ์ที่จะช่วยแนะแนวทางความคิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็น หรือที่จะชักนำให้เด็กเกิดโยนิโสมนสิการอย่างได้ผล หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นกัลยาณมิตรในครอบครัว ในสื่อมวลชนนั้น ๆ หรือทั่ว ๆ ไปในสังคม ก็ตาม

4) ประสบการณ์คือสิ่งที่ปล่อยให้แพร่ หรือให้เด็กพบเห็นนั้น มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เร้าหรือยั่วยุเป็นต้น รุนแรงมากน้อยถึงระดับใด

ทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นตัวแปรได้ทั้งนั้น แต่ในกรณีนี้ ยกเอาข้อ 4) ขึ้นตั้งเป็นตัวยืน คำตอบจะเป็นไปโดยสัดส่วนซึ่งตอบได้เอง เช่น ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการดีจริงๆ หรือในสังคมหรือโดยเฉพาะที่สิ่งมวลชนนั้นเอง มีกัลยาณมิตรที่สามารถจริงๆ กำกับอยู่ หรือพื้นด้านแนวความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศลซึ่งได้สั่งสมอบรมกันไว้โดยครอบครัวหรือวัฒนธรรมมีมากและเข็มแข็งจริงๆ แม้ว่าสิ่งที่แพร่หรือปล่อยให้เด็กพบเห็นจะล่อเร้ายั่วยุมาก ก็ยากที่จะเป็นปัญหา และผลที่ต่างๆ ก็เป็นอันหวังได้ แต่ถ้าพื้นความโน้มเอียงทางความคิดกุศลก็ไม่ได้สั่งสมอบรมกันไว้ โยนิโสมนสิการก็ไม่เคยฝึกกันไว้ แล้วยังไม่จัดเตรียมให้มีกัลยาณมิตรไว้ด้วย การปล่อยนั้น ก็มีความหมายเท่ากับเป็นการสร้างเสริมสนับสนุนปัญหา และเป็นการตั้งใจทำลายเด็กโดยใช้ยาพิษเบื่อเสียนั่นเอง

ฉ. วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง วิภัชชวาทปรากฏบ่อย ๆ ในรูปของการตอบปัญหาและท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิธีตอบปัญหา 4 อย่าง มีชื่อเฉพาะเรียกว่า วิภัชชพยากรณ์ ซึ่งก็คือการนำเอาวิภัชชวาทไปใช้ในการตอบปัญหา หรือตอบปัญหาแบบวิภัชชวาทนั่นเอง

เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ พึงทราบวิธีตอบปัญหา (ปัญหาพยากรณ์) 4 อย่างคือ
1. เอกังสพยากรณ์ การตอบแง่เดียว คือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด
2. วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยะตอบ
3. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม
4. ฐปนะ การยั้งหรือหยุด พบปัญหาเสีย ไม่ตอบ

วิธีตอบ 4 อย่างนี้แบ่งตามลักษณะของปัญหา ดังนั้น ปัญหาจึงแบ่งได้เป็น 4 ประเภทตรงกับวิธีตอบเหล่านั้น จะยกตัวอย่างปัญหาตามที่แสดงไว้ในคัมภีร์รุ่นหลังมาแสดงประกอบความเข้าใจ

1. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบอย่างเดียวเด็ดขาด เช่น ถามว่า จักษุไม่เที่ยงใช่ไหม ? พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่า ใช่

2. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรแยกแยะหรือจำแนกตอบ เช่น ถามว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงได้แก่จักษุใช่ไหม พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไมเที่ยง

3. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม เช่น จักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้นโสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม ? พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถ้าถามโดยหมายถึงแง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยง ก็ใช่

4. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้ง หรือพับเสีย ไม่ควรตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระคือสิ่งเดียวกัน ใช่ไหม? พึงยับยั้งเสีย ไม่ต้องตอบ

นี่เป็นเพียงตัวอย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น เมื่อว่าโดยใจความ ปัญหาแบบที่ 1ได้แก่ปัญหาสิ่งไม่มีแง่ที่จะต้องชี้แจงหรือไม่มีเงื่อนงำ จึงตอบแน่นอนลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ทันทีเช่นอีกตัวอย่างหนึ่งว่า คนทุกคนต้องตายใช่ไหม ? ก็ตอบได้ทันทีว่า ใช่ ปัญหาแบบที่ 2 ได้แก่เรื่องซึ่งมีแง่ที่จะต้องชี้แจง โดยใช้วิธีวิภัชชวาทแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาแบบที่ 3 พึงย้อนถามทำความเข้าใจกันก่อนจึงตอบ หรือตอบด้วยการย้อนถาม หรือสอบถามไปตอบไป อาจใช้ประกอบไปกับการตอบแบบที่ 2 คือควบกับวิภัชชพยากรณ์ ในบาลี พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีย้อมบ่อย ๆ และด้วยการทรงย้อนถามนั้นผู้ถามจะค่อย ๆ เข้าใจสิ่งที่เขาข้ามไปเอง หรือช่วยให้เขาตอบปัญหาของเขาเองโดยพระองค์เพียงทรงชี้แนะแง่คิดต่อให้ไม่ต้องทรงตอบ ส่วนปัญหาแบบที่ 4 ซึ่งควรยับยั้งไม่ตอบ ได้แก่คำถามเหลวไหลไร้สาระจำพวกหนวดเต่า เขากระต่ายบ้าง ปัญหาที่เขายังไม่พร้อมที่จะเข้าใจ จึงยับยั้งไรก่อน หันไปทำความเข้าใจเรื่องอื่นที่เป็นการเตรียมพื้นของเขาก่อน แล้วจึงค่อยมาพุดกันใหม่ หรือให้เขาเข้าใจได้เองบ้าง ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาไม่ถูก โดยคิดขึ้นจากความเข้าใจผิด ไม่ตรงตามสภาวะหรือไม่มีตัวสภาวะอย่างนั้นจริง เช่นตัวอย่างในบาลีมีผู้ถามว่า ใครผัสสะ หรือผัสสะของใคร ใครเสวยอารมณ์หรือเวทนาของใครเป็นต้น ซึ่งไม่อาจตอบตามที่เขาอยากฟังได้ จึงต้องยับยั้งหรือพับเสีย อาจชี้แจงเหตุผลในการไม่ตอบ หรือให้เขาตั้งปัญหาเสียใหม่ให้ถูกต้องตามสภาวะ

ต่อไปนี้ จะยกข้อความในบาลีแหล่งต่าง ๆ มาแสดงตัวอย่างแห่งวิภัชชวาท
“สารีบุตร แม้รูปที่รู้ได้ด้วยตา เราก็กล่าวเป็น 2 อย่างคือ ที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี คำที่ว่านี้เรากล่าว โดยอาศัยเหตุผลอะไร? เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมหาย, รูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างนี้ ไม่ควรเสพ; เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างไร อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมหาย กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น รูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างนี้ควรเสพ…

“สารีบุตร แม้เสียง…แม้กลิ่น..แม้รส…แม้สิ่งต้องกาย…แม้ธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ เราก็กล่าวเป็น 2 อย่างคือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี….”

“ภิกษุทั้งหลาย แม้จีวร เราก็กล่าวเป็น 2 อย่างคือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี; คำที่ว่าดังนี้ เรากล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร? บรรดาจีวรเหล่านั้น หากภิกษุทราบจีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมหาย จีวรอย่างนี้ไม่ควรเสพ; บรรดาจีวรเหล่านั้น หากภิกษุทราบจีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ เมื่อเราเสพจีวรนี้ เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมหาย กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้นจีวรอย่างนี้ควรเสพ….

ภิกษุทั้งหลาย แม้บิณฑบาต….แม้เสนาสนะ…แม้หมู่บ้านและชุมชน…แม้ท้องถิ่นชนบท…แม้บุคคลก็กล่าวเป็น 2 อย่างคือ ที่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มีง..”

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอยู่อาศัยแดนป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเธอเข้าอยู่อาศัยแดนป่านั้นสติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็ไม่กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นก็ไม่ถึงความหมดสิ้นไป, ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุดที่ยังไม่ได้บรรลุ เธอก็หาบรรลุไม่, อีกทั้งสิ่งเกื้อหนุนชีวิต ที่บรรพชิตพึงเก็บรวบรวมได้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเครื่องหยูกยาทั้งหลาย ก็มีมาโดยยาก, ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นดังนี้…จะเป็นกลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม พึงหลีกไปเสียจากแดนป่านั้น ไม่พึงอยู่

“….เมื่ออยู่อาศัยแดนป่านั้น สติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็ไม่กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่หมดสิ้น ก็ไม่ถึงความหมดสิ้นไป, ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุดที่ยังไม่ได้บรรลุ เธอก็หาบรรลุไม่, แต่สิ่งเกื้อหนุนชีวิต….มีมาโดยไม่ยาก; ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นดังนี้…..ตรองตระหนักแล้ว พึงหลีกไปเสียจากแดนป่านั้น ไม่พึงอยู่

“….เมื่ออยู่อาศัยแดนป่านั้น สติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น ก็ถึงความหมดสิ้นไป, ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุด ที่ยังไม่บรรลุ เธอก็ค่อยบรรลุ, แต่สิ่งเกื้อหนุนชีวิต…มีมาโดยยาก; ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นดังนี้ว่า….เราออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริก มิใช่เพราะเห็นแก่จีวร มิใช่เพราะเห็นแก่บิณฑบาต มิใช่เพราะเห็นแก่เสนาสนะ มิใช่เพราะเห็นแก่เครื่องหยูกยา ก็แต่ว่า เมื่อเราอยู่อาศัยแดนป่านี้ สติที่ยังไม่กำกับอยู่ก็กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น…. ภิกษุนั้นตรองตระหนักแล้ว พึงอยู่ในป่านั้น ไม่พึงหลีกไป

“…เมื่ออยู่อาศัยแดนป่านั้น สติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น, อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป ก็ถึงความหมดสิ้น, ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุดที่ยังไม่ได้บรรลุ เธอก็ค่อยบรรลุ, อีกทั้งสิ่งเกื้อหนุนชีวิต…ก็มีมาโดยไม่ยาก; ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้…พึงอยู่ในป่านั้นแม้จนตลอดชีวิต ไม่พึงหลีกไป”

พระพุทธเจ้า: อานนท์ ศีลวัตร การบำเพ็ญพรต พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งบูชา มีผลทั้งนั้นหรือ?
พระอานนท์: พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ จะตอบลงไปข้างเดียวไม่ได้
พระพุทธเจ้า: ถ้าอย่างนั้น จงจำแนก
พระอานนท์: เมื่อเสพศีลวัตร การบำเพ็ญพรต พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งบูชา อย่างใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมหาย, ศีลวัตร การบำเพ็ญพรต พรหมจรรย์ การบวงบำเรอ อย่างนี้ ไม่มีผล เมื่อเสพศีลวัตร การบำเพ็ญพรต พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งบูชา อย่างใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมหาย กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น ศีลวัตร การบำเพ็ญพรต พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งชูชา อย่างนี้มีผล

ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลข้อความนี้แล้ว พระบรมศาสดาทรงพอพระทัย
ปริพาชก: นี่แน่ะท่านคหบดี ทราบว่า ท่านพระสมณโคดม ทรงติเตียนตบะหมดทุกอย่าง, ทรงค่อนว่ากล่าวติผู้บำเพ็ญตบะทั้งหมด ผู้เป็นอยู่คร่ำๆ โดยส่วนเดียว ใช่ไหม?

วัชชิยมาหิตะ: ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงติเตียนตบะหมดทุกอย่าง ก็
หาไม่, จะทรงค่อนว่า กล่าวติผู้บำเพ็ญตบะทั้งหมดผู้เป็นอยู่คร่ำๆ โดยส่วนเดียว ก็หามิได้, พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนตบะที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญตบะที่ควรสรรเสริญ, พระผู้มีพระภาคทรงเป็นวิภัชชวาที ทรงติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคมิใช่เป็นเอกังสวาที (ผู้กล่าวส่วนเดียว)

สุภมาณพ: ท่านพระโคตรมะผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เป็นผู้บำเพ็ญกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้ บรรพชิตหาใช่เป็นผู้บำเพ็ญกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้ไม่: ในเรื่องนี้ ท่านพระโคตรมะผู้เจริญกล่าวไว้อย่างไร?

พระพุทธเจ้า: ดูกรมาณพ ในเรื่องนี้เราเป็นวิภัชชวาท เรามิใช่เป็นเอกังสวาท: เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิด ไม่ว่าของคฤหัสถ์ หรือของบรรพชิต, คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติผิดแล้ว เพราะการปฏิบัติผิดเป็นสาเหตุ จึงเป็นผู้บำเพ็ญกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จไม่ได้; เราสรรเสริญการปฏิบัติชอบ ไม่ว่าของคฤหัสถ์ หรือของบรรพชิต, คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติชอบแล้ว เพราะการปฏิบัติชอบเป็นสาเหตุ จึงเป็นผู้ยังกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้

สุภมาณพ: ท่านพระโคตรมะผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า การงานฝ่ายฆราวาสนี้ เป็นเรื่องใหญ่ เป็นกิจใหญ่ มีเรื่องราวมาก มีการระดมแรงมาก จึงมีผลมาก การงานฝ่ายบรรพชานี้เป็นเรื่องเล็กน้อยเป็นกิจน้อย มีเรื่องราวน้อย มีการระดมแรงน้อย จึงมีผลน้อย, ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมกล่าวไว้อย่างไร?

พระพุทธเจ้า: ดูกรมาณพ แม้ในเรื่องนี้เราก็เป็นวิภัชชวาท เรามิใช่เอกังสวาท:การงานที่เป็นเรื่องใหญ่
เป็นกิจใหญ่ มีเรื่องราวมาก มีการระดมแรงมาก เมื่อไม่สำเร็จ เป็นสิ่งมีผลน้อย ก็มี, การงานที่เป็นเรื่องใหญ่
เป็นกิจใหญ่ มีเรื่องราวมาก มีการระดมแรงมาก เมื่อสำเร็จ เป็นสิ่งมีผลมาก ก็มี, การงานที่เป็นเรื่องเล็กน้อย
เป็นกิจน้อย มีเรื่องราวน้อย มีการระดมแรงน้อย เมื่อไม่สำเร็จ เป็นสิ่งมีผลน้อย ก็มี, การงานที่เป็นเรื่องเล็กน้อย
เป็นกิจน้อย มีเรื่องราวน้อย มีการระดมแรงน้อย เมื่อสำเร็จ เป็นสิ่งมีผลมาก ก็มี,

ปริพาชก: แน่ะท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรมประกอบด้วยเจตนา ทางกาย วาจา ทางใจแล้วเขาจะเสวยอะไร?

พระสมิทธิ: แน่ะท่านโปตลิบุตร บุคคลทำกรรมประกอบด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เขาย่อมได้เสวยทุกข์

ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบการสนทนานี้ และตรัสว่า
“อานนท์ ปัญหาที่ควรแยกแยะตอบ โมฆบุรุษสมิทธินี้ ตอบแก่โปรตสิบุตรปริพาชก แง่เดียวเสียแล้ว”
และต่อมาตรัสอีกว่า

“…อานนท์ เบื้องต้นทีเดียว โปตลิบุตรปริพาชก ถามถึงเวทนา 3, ถ้าโมฆบุรุษสมิทธินี้ถูกถามอย่างนั้นแล้ว จะพึงตอบแก่โปตลิบุครปริพาชกนั้นว่า; แน่ะท่านโปตสิบุตร บุคคลทำกรรมประกอบด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เขาย่อเสวยสุข, บุคคลทำกรรมประกอบด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เขาย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมประกอบด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุทกขมสุขเวทนา เขาย่อมเสวยทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข); เมื่อตอบอย่างนี้ โมฆบุรุษสมิทธิ ก็จะพึงตอบแก่โปตลิบุตรปริพาชก โดยถูกต้อง….”

พระอานนท์ไปบิณฑบาต และได้เข้าไปในบ้านของอุบาสิกา ชื่อมิคสาลา อุบาสิการนั้นได้กล่าวกะพระอานนท์ว่า

“พระคุณเจ้าอานนท์ผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วนี้ จะพึงเข้าใจอย่างไรกัน ในกรณีที่บุคคลผู้เป็นพรหมจารี กับบุคคลผู้ไม่เป็นพรหมจารี ทั้งสองคน จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในเบื้องหน้า; ท่านปุราณะบิดาของดิฉัน เป็นพรหมจารี มีความประพฤติเหินห่าง ว่างเว้นแล้วจากเมถุน ซึ่งเป็นเรื่องของชาวบ้าน ท่านบิดาของดิฉันนั้น ถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า สัตว์ผู้เป็นสกทาคามีเข้าถึงดุสิตกายแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักแห่งท่านบิดาของฉัน เป็นผู้สันโดษด้วยภรรยาของตน ไม่เป็นพรหมจารี แม้ท่านอิสิทัตตะนั้นก็ถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า สัตว์ผู้เป็นสกทาคามีเข้าถึงดุสิตกายแล้ว พระคุณเจ้าอานนท์ผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้จะพึงเข้าใจอย่างไรกัน ในกรณีที่บุคคลผู้เป็นพรหมจารี กับบุคคลผู้ไม่เป็นพรหมจารี ทั้งสองคน จักเป็นผู้มีคติเสมอกัน ในเบื้องหน้า”

พระอานนท์รับทราบแล้ว ไม่ได้ตอบว่ากระไร แต่ได้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงชี้แจงว่า ความเข้าใจเรื่องนี้ต้องอาศัยความรู้จักความแตกต่างระหว่างบุคคล (ปุริสปุคคลปโรปริยญาณญาณที่หยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนของแต่ละบุคคล) แล้วตรัสแสดงตัวอย่างบุคคล 6 จำพวก จัดเป็น 3 คู่และบุคคล 10 จำพวก จัดเป็น 5 คู่ แต่ล่ะคู่มีคุณสมบัติบางออย่างเสมอกัน โดยเฉพาะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นหรือด้านสังคม แต่มีคุณสมบัติบางออย่างพิเศษกว่ากัน โดยเฉพาะคุณสมบัติส่วนเฉพาะตัวที่ตรงกับผลซึ่งจะพึงได้รับ พวกนักวัดคน ก็มาวัดกันว่า คนของคนนั้นมีคุณสมบัติเหมือนกัน ทำไมคนหนึ่งได้รับผลดีกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งการวัดเช่นนั้นไม่เป็นผลดีแก่ผู้ชอบวัดเลย ในที่สุดทรงสรุปว่า ปุราณะประกอบด้วยศีลอย่างใด อิสิทัตตะก็ประกอบด้วยศีลอย่างนั้น อิสิทัตตะประกอบด้วยปัญญาอย่างใดปุราณะก็ประกอบด้วยปัญญาอย่างนั้น

ข้อใด คือ วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

10) วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คำว่าวิภัชชวาท แปลว่า การพูดแยกแยะจำแนกแจกแจง แถลงความ แบบวิเคราะห์ เป็นการมองและแสดงความจริงโดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ แต่ละ ด้านให้ครบทุกด้าน มีความหมายครอบคลุมวิธีคิดที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นหลาย ๆ อย่าง วิธีคิดแบบ นี้ทำให้ความคิดและการวินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ ชัดเจนตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง ...

ข้อใดคือความหมายของ วิธีคิดแบบวิภัชชวาที

10.วิธีคิดแบบวิภัชชวาที (Well-Rounded Thought)คือการคิดแบบองค์รวมโดยไม่เหมารวม คือการพิจารณาสิ่งต่างๆเป็นกรณีๆไป หรือการคิดแบบเทียบเคียงความจริงเฉพาะหน้า คือการพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้นั่นเอง เป็นการพิจารณาความเข้ากันได้หรือเข้ากันไม่ได้ของข้อมูล วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่าสมมุติเกิดการฆาตกรรมขึ้น ฝ่ายสืบสวน ...

การคิดแบบโยนิโสมนสิการมีอะไรบ้าง

2. หลักโยนิโสมนสิการ มีรูปแบบวิธีคิด 10 ประการ ได้แก่ 1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย 2. วิธี คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ 3. วิธีคิดแบบสามัญ ลักษณ์ 4. วิธีคิดแบบอริยสัจจ์/คิดแบบแก้ปัญหา 5. วิธี คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ 6. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษ และทางออก 7. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม 8. วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม 9. วิธีคิด ...

ข้อใดเป็นการคิดแบบคุณ

6. วิธีคิดแบบคุณ โทษและทางออก คือ การมองให้ครบทั้งข้อดี ข้อเสีย และทางแก้ไข หาทางออกให้หลุดรอดปลอดพ้นจากข้อบกพร่อง ต่างๆ เน้นวิธีมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เน้นการศึกษา และยอมรับความเป็นจริง ตามที่ สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้รู้ และเข้าใจ ถูกต้องตามความเป็นจริงทั้งด้านดี ด้านเสีย จุดอ่อน