ผู้ใช้มือใหม่ควรเลือกคอมพิวเตอร์แบบใด

7.1 สำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์

ผู้ใช้มือใหม่ควรเลือกคอมพิวเตอร์แบบใด

การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (Basic User) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์ (Graphic User) และผู้ใช้งานในระดับสูง (Advanced User) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา เพื่อสามารถกำหนดสเป็คเครื่องที่เหมาะสมได้ต่อไป

1)       สำหรับ ผู้ใช้มือใหม่ ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง จึงอาจทำให้เครื่องมีปัญหาได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นที่มีราคาแพง

2)       สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ จะคล้ายกับผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เน้นการทำงานเอกสารหรืออาจจะใช้ Photoshop แต่ง ภาพเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะใกล้เคียงกับผู้ใช้มือใหม่ เพียงแต่ปรับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเพิ่มไดรว์ CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล

3)       สำ หรับนักศึกาามหาวิทยาลัย ผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาจะเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้นสามารถใช้งานโปรแกรม ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้ระดับนี้อาจจะประกอบเครื่องใช้เองได้ เพราะจะทำให้ตนเองมีความรู้มากขึ้น การใช้งานเน้นไปทางพิมพ์งานส่งอาจารย์

4)       สำหรับผู้ใช้งาน Windows Vista จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงในระดับหนึ่ง ด้วยการเป็นซีพียู Dual Core พร้อมแรม 1 GB ขึ้นไป ฮาร์ดิสก์ 250 GB หากตรงตามมาตรฐาน Window Vista Premium ต้องใช้ฮาร์ดิสก์แบบไฮบริดเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกฮาร์ดดิสก์แบบไฮบริดจะมีราคาแพงมาก

5)       สำหรับผู้ใช้งานระดับสูง หรือผู้ที่ชอบเล่นเกมส์จะต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง การประกอบเครื่องเองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

ดังนั้นก่อนอื่นควรศึกษาและสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก่อนว่า แต่ละอย่างมีคุณสมบัติอย่างไร และราคาเท่าไร จากนั้นจึงหันกลับมาดูถึงความต้องการว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอะไร อย่างไร จากนั้นจึงเลือกสเป็คให้พอดีกับความต้องการ ส่วนเรื่องบริษัทที่ผลิต (ยี่ห้อ) และราคาจะเป็นปัจจัยในการเลือกรองลงมา

7.2 วิธีกำหนดสเป็กเครือง (speccification)

หลัง จากรู้ลักษณะการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วว่าจะอยู่ในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดสเป็คเครื่องที่รองรับการทำงานประจำที่จะเกิดขึ้นกับ เครื่องพีซีนั้น ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดสเป็คของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เหมาะสมแตกต่างกัน ไป โดยมีแนวทางในการเลือก

เครื่องซีพีสำหรับงานพื้นฐาน

ผู้ใช้มือใหม่ควรเลือกคอมพิวเตอร์แบบใด

งานที่ใช้จะเป็นเอกสาร รายงาน ฟังเพลง ชมวีซีดี เล่นอินเตอร์เน็ต

เครื่องซีพีสำหรับงานกราฟฟิก

เป็นซีพีเกี่ยวกับผู้ชื่นชอบการติดตามเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ตกแต่งงานกราฟฟิก การเขียนโปรแกรม เล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง

เครืองซีพียูประสิทธิภาพสูง

เป็นซีพีเกี่ยวกับการสร้างกราฟฟิกสูง การติดต่อเสียง ไฟล์วีดีโอ การสร้างภาพ 3 มิติ

สเป็กคอมพิวเตอร์สำหรับ windows 7

Operation system= OS) ตัวล่าสุดของ Windows ออกมา นั่นก็คือ “Windows7″ ซึ่งได้รับการพูดถึงว่า เป็นตัวที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง รวมถึงราคาของตัวรุ่น Starter Edition ก็อยูในแค่หลัก 1,xxx บาท  รวมถึงประกอบกับการมีข่าวในเรื่องของการจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้คนเริ่มที่จะหันมามอง Windows7 มากขึ้น หลายคนหันมาใช้ซ้อเจ็ด (Windows7 นั้นแหละ) โดยก้าวกระโดดมาจาก Windows XP

7.3 ลักษณะการซื้อเครื่องซีพียู

สำหรับการเลือกซื้อ ซีพียู  ซึ่งเป็นที่ที่สำคัญที่สุดซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเพราะซีพียูเป็นตัวที่จะกำหนดอุปกรณ์อื่นๆด้วย  และเป็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์  การที่เครื่องเราจะแรงและเร็วแล้ว  ซีพียูเป็นตัวกำหนดหลักแทบทั้งสิ้น   เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้กำหนด  สเป็กการซื้อคอมพิวเตอร์  จากตัวซีพียูก่อนะครับ  จะขอเรียงลำคับการพิจารณาการเลือกซื้อดั้งต่อไปนี้

1.ความเร็วของ ซีพียู

ความเร็วของซีพียู   ซึ่งใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดนะครับ  โดยมีหน่วยเป็น “เฮิรตซ์ (Hz)”  ก็คือการที่ซีพียูทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีนั้นเอง  แต่ในปัจจุบันซีพียูนั้นมีความเร็วมากอยู่ในระดับ “กิกะเฮิรตซ์ (GHz)” แล้ว  เช่น 1 กิกะเฮิรตซ์  คือซีพียูทำงานได้ถึง 1 พันล้านครั้ง  ต่อวินาที  ยิ่งมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น เช่น AMD Phenom 9650 2.3GHz

2.หน่วยความจำแคช(Cache)

ผู้ใช้มือใหม่ควรเลือกคอมพิวเตอร์แบบใด

หน่วยความจำแคชก็เป็นหน่วยความจำหนึ่งที่ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ  เพราะแคชมีหน้าที่ในการจัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ได้ใช้บ่อยๆ  เพื่อส่งไปยังซีพียู  ซึ่งแคชเองทำงานร่วมกับแรมเพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์  ให้เชื่อมต่อกันเพราะฉะนั้นแล้วยิ่งมีแคชมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเร็วเท่านั้นด้วย
ในปัจจุบันเองได้มีการเพิ่มเทคโนโลยี Pre-Fetch ในบางรุ่นจะมี ที่มีแคชถึงระดับ L3 ทำหน้าที่ในการคอยอ่านข้อมูลจากแรมมายังแควตลอกเวลา  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น  โดยความเร็วทั้ง 3 ระดับดังนี้

แคชระดับที่ 1 (L1) เป็นแคชขนาดเล็ก  เป็นแคชที่มีขนาดเล็กที่สุด  อยู่แค่ 32-128 KB เท่านั้น  และอยู่ใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุด

แคชระดับที่ 2 (L2) จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเพราะจะทำการเก็บข้อมูลจากแรมเป็นหลัก

แคชระดับที่ 3 (L3) อยู่คั่นกลางระหว่างแรมกับแคช L2 โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อนซึ่งมีประมาณ 2-8 MB และจะอยู่ใกล้กับบัสเพื่อสามารถที่จะถ่ายโดยข้อมูลไปยังส่วนต่างๆได้ง่ายขึ้น

3.บัส(BUS)

ถือได้ว่ามีความสำคัญเหมือนกัน เพราะ บัสคือ นำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)  จะมีค่า FSB อย่างเช่น FSB 1066 เป็นต้น

4.ซีพียู จากค่ายต่างๆ

สำหรับซีพียูนี้ก็มี 2 ค่า ใหญ่ที่ผลิตออกมาให้เราได้ใช้กันคือ Intel และ AMD

Intel เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แล้วยังเป็นผู้ผลิต ซีพียูรายแรกอีกด้วย  สำหนับซีพียู  ที่ Intel ผลิตนั้นก็มีหลาย รุ่นออกมาให้เลือก และต่างมีเทคโนโลยีที่ต่างกัน ผมจะขอยกตัวอย่าง ซีพียูที่ทาง Intel ผลิตดังนี้คือ

1.CELERON-D

เป็นซีพียูที่อยู่ในตลาดระดับล่าง  โดยจะออกแบบให้ใช้กับการทำงานพื้นฐานต่างๆ  และมีราคาที่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการอะไรมากนัก  ใช้โปรแกรมทางด้านพื้นฐานเป็นพอ ทั้ง ดูหนังฟังเพลง  หรือแค่เล่นอินเตอร์เน็ต  เล่นเกมส์เฟรชบาง  สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาเลยครับ


  1. CELERON-Duo Core

    สำหรับCELERON-Duo Coreนี้ได้พัฒนามาจาก CELERON-D  รุ่นเดิม แต่เปลี่ยนมาผลิตจากที่เป็น ซิงเกอร์คอร์มาเป็น ดูอัลคอร์  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานดีขึ้น

3.INTEL Duo Core

เป็นซีพียูที่มีความเร็วมากกว่า CELERON ตอบสนองการใช้งานได้มากกว่า  โดยได้พัฒนาจาก ซีพียูรุ่น Pentiumนั้นเอง  โครงสร้างก็เป็นแบบ Duo Core คือมีลักษณะเป็น 2 หัว

4.INTEL CORE 2 DUO

เป็นซีพียูที่พัฒนามาจาก INTEL Duo Core โดยจะมีเลข 2  ก็หมายถึง พัฒนามาเป็นรุ่นที่ 2 นั่นเองครับ  โดยจะมีการเพิ่ม L 2  เพิ่มขึ้นจาก Duo Core มีอยู่ 2MB มาเป็น 3MB และมีความเร็วบัสเพิ่มขึ้นด้วย

5.INTEL CORE 2 QUAD

เป็นซีพียูที่ได้มีการพัฒนาจาก INTEL CORE 2 DUO โดยการนำ INTEL CORE 2 DUO มารวมกันเป็น เป็น 1ตัวได้ทั้งหมดถึง 4 หัวเลย  และยังช่วยการใช้พลังงานที่ลดลงกว่า  เดิมอีกด้วย

  1. CORE 2 QUAD Extreme

เป็นการนำเอา INTEL CORE 2 DUO มารวมตัวกันโดยเป็นการแยกการทำงานโดยอิสระ  และมีการแบ่งการทำงาน ของ L2 เป็น 2 ส่วน ซึ่งเป็น ซีพียูทีมีราคมสูงมาก


7.Intel Core i7

เป็นซีพียูที่ ใหม่ล่าสุดที่เริ่มขายแล้ว  ซึ่งยังมีราคาที่สูงอยู่  และถือได้ว่าเป็น ซีพียูที่มีความเร็วสูงที่สุดเลยก็ว่าได้  โดยมีการเพิ่ม แคชระดับ L3 ที่นำมาใช้ถึง 4-8 MB และมีการลองรับ Dual Channel DDR3 เป็นครั้งแรก  ซึ่งจะต้องทำงานกับแรม 3 แผงขึ้นไป  เพราะฉะนั้นเราต้องใช้แรม 3 แผงเป็นอย่างต่ำ

AMD เป็นผู้ผลิตที่นอกเหนือจาก Intel ที่เข้ามาแย่งตลาดกัน โดยจะมีราคาที่ถูกกว่าเมือเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพ  โดยจะมีซีพียูของด้วย AMD ดั้งนี้

  1. SEMPRON

Sempron เป็นซีพียูที่อยู่ในตลาดระดับล่างของ AMD เป็นซีพียูที่มาราคาถูกและตอบสนองการใช้งานด้านพื้นฐานต่างๆได้ดี

  1. AMD 940 X2

เป็นซีพียู ที่มีความเร็วมากกว่า Sempron ขึ้นมาอีกหน่อย  เพรำหรับคนที่ใช้งานพื้นฐานทั่วไปและก็เล่นกราฟิกบาง  เป็นหรือเกมส์บ้างพอสมควร  ที่ราคาไม่แพง  รองรับ HyperTransport

  1. PHENOM X3

เค้าบอกว่า 3 หัวดีกว่า 2 หัว ก็เลยได้มีการผลิต 3 หัวออกมาจำหน่วยกัน โดยพัฒนามาจากCPU AMD 940 X2 เพิ่มมาอีก 1หัว

  1. PHENOM X4

สำหรับตัวนี้มีการเพิ่มมาอีก 1 หัวเพื่อเพิ่มไประสิทธิภาพในการทำงานแต่ราคานั้นสูงอยู่แต่ถ้าใครต้องการก็สามารถที่จะซื้อมาได้เลยครับ

HyperTransport เป็นเทคโนโลยีของ AMD ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างอิสระ ระหว่าง คอร์ต่าง ๆ และหน่วยความจำภายในเครื่อง  ซึ่งสามารถ  ปรับความกว้างของการรับ/ส่งของของข้อมูล เป็นระบบบัสที่พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า FBS

 7.4 ตัวอย่างการดูสเป็กเครืองจากไบโบรชัวร์สินค้า

ควรพิจารณาในการเลือกซื้อก่อนจะเข้าไปดูรายละเอียดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แต่ละชื้น

7.5 การตรวจสอบอุปกรณ์ 

1 สภาพของอุปกรณ์ เป็นการตรวจสอบร่องรอยการนำไปใช้ ว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมาใหม่หรือแกะกล่องหรือไม่

2 ส่วนรับประกัน ปัจจุบันใช้เป็นสติกเกอร์

สติกเกอร์รัปประกัน

– สติกเกอร์ที่ระบุเวลาเริ่มต้นการรับประกัน

– สติกเกอร์กำหนดเงลาสิ้นสุดการรับประกัน

7.6 เลือกซื้อซีพียู

การเลือกซื้อ ซีพียู(CPU)

สำหรับการเลือกซื้อ ซีพียู  ซึ่งเป็นที่ที่สำคัญที่สุดซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเพราะซีพียูเป็นตัวที่จะกำหนดอุปกรณ์อื่นๆด้วย  และเป็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์  การที่เครื่องเราจะแรงและเร็วแล้ว  ซีพียูเป็นตัวกำหนดหลักแทบทั้งสิ้น   เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้กำหนด  สเป็กการซื้อคอมพิวเตอร์  จากตัวซีพียูก่อนะครับ  จะขอเรียงลำคับการพิจารณาการเลือกซื้อดั้งต่อไปนี้

1.ความเร็วของ ซีพียู

ความเร็วของซีพียู   ซึ่งใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดนะครับ  โดยมีหน่วยเป็น “เฮิรตซ์ (Hz)”  ก็คือการที่ซีพียูทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีนั้นเอง  แต่ในปัจจุบันซีพียูนั้นมีความเร็วมากอยู่ในระดับ “กิกะเฮิรตซ์ (GHz)” แล้ว  เช่น 1 กิกะเฮิรตซ์  คือซีพียูทำงานได้ถึง 1 พันล้านครั้ง  ต่อวินาที  ยิ่งมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น เช่น AMD Phenom 9650 2.3GHz

2.หน่วยความจำแคช(Cache)

หน่วยความจำแคชก็เป็นหน่วยความจำหนึ่งที่ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ  เพราะแคชมีหน้าที่ในการจัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ได้ใช้บ่อยๆ  เพื่อส่งไปยังซีพียู  ซึ่งแคชเองทำงานร่วมกับแรมเพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์  ให้เชื่อมต่อกันเพราะฉะนั้นแล้วยิ่งมีแคชมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเร็วเท่านั้นด้วย

7.7 การเลือกซื้อเมนบอร์ด

คนส่วนใหญ่ที่กำลังจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มักหาข้อมูลทำการบ้านแต่เฉพาะในส่วนหลักสองส่วนใหญ่ ก็คือ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด ซึ่งก็จริงที่ทั้งสองส่วนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ได้ฟังสเปกสองตัวนี้ถึงกับร้องอู้หู้เมื่อได้ยินว่าเราใช้ Intel® Core i7 940 หรือ ได้ยินว่าเราใช้กราฟฟิคการ์ด NVIDIA Geforce295GTX เพราะทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวที่ตอบสนองความแรงในการประมวลผลไม่ว่าด้านตัวเลข หรือ ภาพ 3D แต่เคยมีใครได้สังเกตไหมว่าจริงๆ แล้วเรายอมลดสเปกอุปกรณ์บางอย่างลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดที่แรง แต่เรากลับไม่ได้สนใจว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อเพื่อใช้กับซีพียูและกราฟฟิกการ์ดนี้ มีประสิทธิภาพที่จะดึงความสามารถของซีพียู กราฟฟิกการ์ด และ ทนทานต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องของเราเพียงใด เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร มีซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย และ ความสะดวกให้กับเราไหม เพราะตอนนี้ซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดอาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกใช้เมนบอร์ดด้วยส่วนหนึง เกริ่นมาซะเยอะแล้ว วันนี้ผมจะใคร่ขออาสานำความรู้ดีๆ ในการตัดสินใจเลือกซื้อเมนบอร์ดคุณภาพ

7.8 การเลือกซื้อแรม

สำหรับแรมผมได้กล่าวไว้แล้วว่ามีหน้าอะไรบ้าง  สำหรับแรมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกันเพราะฉะนั้นแล้วเราควรเลือกให้ถูกวิธีด้วย  สำหรับขึ้นตอนการเลือกซื้อแรม  มีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้

1.ประเภทของแรม

แน่นอนครับสำหรับประเภทของแรมนั้น  ก็จะถูกจำกัดด้วยเมนบอร์ดที่เราจะเลือกซื้อเช่นกัน  โดยเมนบอร์ดก็จะต้องถูกบังคับจากซิปเซต  สำหรับคนที่จะซื้อในขนาดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผมจะแนะนำนะครับ ซึ่งทั้ง 2 มีความเร็วที่แต่ต่างกัน

1.1 DDR 2

สำหรับ DDR 2 นั้นมีความนิยมเป็นอย่างยิ่งในขนาดนี้ถือเป็นแรมตลาดเลยที่เดียว  เพราะในปัจจุบันนี้เมนบอร์ดเองก็สามารถรองรับการทำงานของแรมชนิดนี้ได้หมดแล้ว  แล้วราคาในขณะนี้ก็มีราคาที่ไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ  และในเรื่องของความเร็วก็สามารถใช้ได้เร็วมากเลยที่เดียว  มีความเร็วตั้งแต่ 400-1,066 MIz ใช้แรงดันไฟฟ้า 1.8 V

1.2  DDR3

เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย  ซึ่งมีความเร็วสูงสุด  ถึง 1,600-2,000 MHz เลยทีเดียวครับ  แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าทุกประเภทแต่ปัจจุบันนี้ได้มี DDR4 มาแล้วเอาไว้คราวหน้าตอนที่มีคนใช้เยอะๆ  จะมาเล่าให้ฟังนะครับ ส่วนราคาตอนนี้ยังสูงอยู่  แต่ถ้าใครต้องการซื้อหรือมีตังพอไม่ขัด ครับ  เพราะว่ากำลังจะเป็นที่นิยมกันแล้ว  แต่ต้องดูด้วยว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับหรือไม่  เพราะว่ายังมีเมนบอร์ดที่ยังไม่รองรับอีกเยอะครับ  ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด

7.9 การเลือซื้อฮาร์ดดิสก์

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบกระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE) มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน ทำให้อุตสาหกรรม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบันและอนาคต เพราะเทคโนโลยี Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ท่านจะได้รับจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปเต็มๆ

ส่วนประกอบของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter) ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วยว่าได้มีการ กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจานดิสก์ (Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 และ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบกระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE) มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน ทำให้อุตสาหกรรม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบันและอนาคต เพราะเทคโนโลยี Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ท่านจะได้รับจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปเต็มๆ

ส่วนประกอบของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter) ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วยว่าได้มีการ กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจานดิสก์ (Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 และ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบกระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE) มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน ทำให้อุตสาหกรรม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบันและอนาคต เพราะเทคโนโลยี Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ท่านจะได้รับจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปเต็มๆ

ส่วนประกอบของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter) ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วยว่าได้มีการ กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจานดิสก์ (Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 และ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย

7.10 การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล

  1. ตรวจสอบชนิดการเชื่อมต่อการจอภาพที่คุณต้องการ รูปแบบการเชื่อมต่อที่เมนบอร์ดรองรับ หรือหากซื้อเมนบอร์ดแล้วให้พิจารณาว่าจะใช้การ์ดแสดงผลที่เชื่อมต่อในรูปแบบใด หรืออาจจะพิจารณาเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ จากนั้นจึงซื้อเมนบอร์ด และซีพียูก็ได้
  2. ตรวจสอบการเข้ากันได้ของการ์ดแสดงผล โดยการ์ดแสดงผลจะมี AGP2x/4x/8x นอกจากนี้ยังมีแรงดันไฟที่ต่างกัน เช่น 3.3 โวลต์อีกด้วย
  3. พิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้เมนบอร์ดที่รองรับการ์ดแสดงผลแบบใด แล้วจึงเลือกการ์ดแสดงผลที่ต้องการ หรือหากต้องการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ก็ต้องเลือกตั้งแต่เมนบอร์ดเลยทีเดียว
  4. ตรวจสอบให้ดีว่าโปรแกรมหรือเกมที่คุณใช้นั้น รองรับเทคโนโลยีใดบ้าง แล้วจึงเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราใช้จริง

คุณสมบัติต่าง ๆ ที่เราควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลในปัจจุบัน จะใช้มาตรฐาน PCI Express ส่วนรุ่นเก่าจะใช้มาตรฐาน AGP ซึ่งมีอยู่ 3มาตรฐานด้วยกัน คือ AGP 2X, AGP 4X, และ AGP 8x  ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 133 MHz, 266MHz และ 533 MHz ตามลำดับ    เราจำเป็นต้องเลือกการ์ดที่สนับสนุนการทำงานร่วมกับเมนบอร์ดด้วย   เพราะหากซื้อการ์ดที่ทำงานด้วยความเร็วสูงกว่า    ก็ไม่สามารถทำ

งานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ดีนั่นเอง
ชนิดของแรมบนการ์ด

แรมที่มีการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลนั้น   ป้จจุบันนิยมใช้อยู่  3   แบบคือ DDR-SDRAM, DDR2 และ DDR3 และมาตรฐานในปัจจุบันคือ DDR2 และ DDR3
ขนาดแรมบนการ์ด
นอกจากประเภทของแรมแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องดูก็คือขนาดความจุของแรมที่ใช้ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเร็วในการทำงานของการ์ดแสดงผลด้วย    ยิ่งแรมมากเท่าไร  ก็จะช่วยให้เราสามารถปรับความคมชัดของสี/ค่าความลึกของสีได้มากขึ้น (ปัจจุบันอยู่ที่ 128 MB หรือสูงกว่า
7.11 การเลือกซื้อจอแสดงผล

ของหน้าจอแสดงผล ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ในการเลือกซื้อ จอ LED ด้วยเช่น กัน ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบจอแบบเคลือบเงา หรือที่เรียกว่า ?จอกระจก? จอแบบดังกล่าวนี้ มีคุณสมบัติ ที่ดีในการชมภาพยนตร์ และเล่นเกม เนื่องจากให้สีสันที่สดใส และแสงที่สว่าง จึงมักได้รับความนิยมหมู่คน ที่ชอบความบันเทิงเป็นหลัก แต่ราคาก็ต้องสูงขึ้นไปด้วยอย่างแน่นอน ส่วนอีกแบบหนึ่ง เป็นจอธรรมดา คุณสมบัติที่ดีอยู่ที่การให้ความคมชัดที่สูงไม่เน้นที่ความสว่างมากนัก จึงเหมาะกับผู้ที่ใช้ งานอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ยังไม่มีการสะท้อนรบกวนของแสงเช่นเดียวกับจอกระจก อีกทั้งจอแบบดังกล่าวยังมีราคาที่ไม่สูงอีกด้วย ทั้งสองแบบนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ส่วนการจะเลือกแบบใดนั้นให้ดูที่ความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวัน เป็นหลัก

1. รูปลักษณ์ และความสวยงาม
หลายครั้งที่เรามักจะให้ความรู้สึกในเรื่องรูปลักษณ์เหนือกว่าประสิทธิภาพที่จะได้ รับ เช่นเดียวกับจอแอลอีดีก็เช่นกัน ที่ผู้ใช้มักจะเอาความสวยงามมาเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้เป็น เรื่องที่ผิดเสียทีเดียว เพราะเรื่องของดีไซน์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ต้องสัมผัส และพบเจอในการใช้งานอยู่ทุกวัน หากไม่สวยโดนใจ หรือไม่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านมันก็คงดูขัดตา
นอกจากนี้ เรื่องของการออกแบบก็ยังรวมไปถึงฟังก์ชัน สำหรับการใช้งานต่าง ๆ เช่นผู้ที่นำไปใช้ใน การพรีเซนเทชั่นอาจเลือกเป็นจอที่ปรับมุมมองซ้าย – ขวา หรือก้มเงยได้สะดวก หรือบางคนอาจต้องการ ขนาดที่บางเพื่อที่จะจัดวาง หรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้งด้านขอบจอที่บางก็ทำให้ หลายคนชอบเช่นกัน ในกรณีที่ใช้จอสองตัวในการเล่นเกม หรือทำงานกราฟิก ซึ่งถ้าเป็นรูปแบบเหล่านี้ ก็นำมาใช้ในการพิจารณาได้ดี

2. ความละเอียด (Resolution)
คงเคยเห็นบ่อย ๆ สำหรับ Resolution ที่มักจะต่อท้ายรายละเอียดของรุ่นต่าง ๆ ของจอแอลอีดี จะได้รู้กันละครับว่าปกติแล้ว Resolution ของจอแอลซีดีปกติแล้วมีความละเอียดเท่าไหร่ ความละเอียดส่วน ใหญ่ถูกกำหนดด้วยขนาดของจออยู่แล้ว เช่น จอขนาดเล็ก 15 นิ้ว ก็จะให้ความละเอียดที่ 1024×768 แต่ถ้า เป็น 18.5 นิ้ว จะอยู่ที่ 1600×900 และ 21.5 นิ้วขึ้นไป 1920×1080 ซึ่งการจะเลือกใช้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมชมภาพยนตร์ งานเอกสาร ตัดต่อ กราฟิกก็ล้นแต่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป

3. Response Time สำคัญเพียงใด
เป็นอัตราความเร็วในการตอบสนองของเม็ดสี ในการเปลี่ยนสีจากดำมาเป็นขาวแล้วกลับเป็นดำ (B/W) หรือบางครั้งอาจเป็นจากสีเทามาเป็นเทา (G/G) โดยการบอกเวลาเป็นวินาทีซึ่งตัวเลขยิ่งน้อย ก็จะ ส่งผลให้การแสดงภาพมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากตัวเลขมากหรือช้า อาจเกิดอาการที่เรียกว่า ภาพซ้อน หรือ Ghost เกิดขึ้น จนทำให้การเล่นเกมหรือการชมภาพยนตร์เสียอรรถรสไป ดังนั้นการเลือกซื้อปัจจุบัน ควรจะอยู่ที่ 2-8 ms

4. Contrast Ratio
ค่า Contrast Ratio เป็นค่าที่นำมาใช้ในการวัดอัตราส่วนของความสว่าง และความมืด ว่ามีมากน้อย เพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความคมชัด สมจริงที่เกิดขึ้นในภาวะแสงต่าง ๆ การเลือกให้ดูตัวเลขที่สูงเป็นหลัก โดยปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่ 12,000,000 : 1ไปจนถึงบางค่ายมีให้เลือกถึง 100,000,000 : 1 ซึ่งก็แล้ว แต่การวัดว่าเป็นแบบ Dynamic หรือ Mega

5. พอร์ต D-Sub DVI, HDMI
ในส่วนของพอร์ตแสดงผล หากเป็นไปได้ควรเลือกจอที่มีพอร์ตแบบ DVI มาให้หรือมี 2 แบบคือ ทั้ง D-Sub และ DVI เนื่องจากปัจจุบัน แม้ว่าการแสดงผลจะยังมีพอร์ต D-Sub ให้ใช้อยู่ก็ตาม แต่แนวโน้มในไม่ช้า กราฟิกการ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมานั้น จะมีแต่พอร์ตที่เป็น DVI เป็นส่วนใหญ่ครับ ซึ่งการ์ดหลายรุ่นจะเป็น แบบ Dual DVI อีกด้วยจึงไม่จำเป็นต้องหาตัวแปลงสัญญาณมาใช้ นอกจากนี้ DVI ยังให้สัญญาณที่นิ่งกว่า เนื่องจากไม่ต้องแปลงจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อกไปมาอีกด้วย HDMI จะมีสัญญาณทั้งภาพและเสียงออกมาพร้อมกัน HDMI จะเสถียรกว่า DVI

6. วิธีการเช็ค Dead Pixels และการรับประกัน Dead Pixels คือ จุดสีดำ Bright คือ จุดสี
การตรวจสอบ Dead หรือ Dot Pixel ก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ทางร้านจะมีการทดสอบให้ อยู่แล้ว ถ้าไม่มีโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบโดยตรง อาจใช้วิธีเบื้องต้นในการทดสอบง่าย ๆ โดยเปลี่ยน สีหน้าจอเดสก์ทอปให้เป็นสีขาว เหลือง แดง น้ำเงิน และดำ ทีละสีแล้วกวาดสายตาไปให้ทั่ว ๆ จนแน่ใจว่า ไม่มีจุดสีที่แปลกเด่นขึ้นมาทำไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบร้อน หลังจากนั้นให้ปรับค่า Default ของหน้าจอให้เป็น แบบมาตรฐาน ดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ขอบของจอผิดเพี้ยน ความสว่างไม่เท่ากันหรืออื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมี 4 จุดขึ้นไปถึงจะเปลี่ยนให้ ยกเว้นบางแบรนด์ 1 จุด จะเปลี่ยนให้ เงื่อนไขให้สอบถามทางร้านที่ซื้ออีกทีนึง

7.12 การเลือกซื้อไดรว์ดีวีดีอาร์ดับบลิว

CD-RW (ซีดี-อาร์ดับบลิว) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกซ้ำและลบข้อมูลทิ้งได้ โดยที่แผ่นซีดีนี้สามารถแบ่งการบันทึกเป็นหลายๆ Session ได้เช่นเดียวกับแผ่น CD-R แตกต่างกันตรงที่แผ่น CD-RW สามารถบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลทิ้งได้ อย่างไรก็ตาม การนำแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาบันทึกซ้ำ หรือนำแผ่นที่มีข้อมูลเต็มแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง คุณจำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งแผ่นทิ้งไปก่อน แล้วนำกลับมาใช้เหมือนแผ่นเปล่า — และด้วยความสามารถที่เหนือว่าแผ่น CD-R จึงทำให้แผ่น CD-RW มีราคาที่สูงกว่าแผ่น CD-R

หากว่ากันในโลกของซีดีอาร์ดับบลิวแล้ว ยามาฮ่าเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรก ๆ ที่พัฒนาไดร์ฟซีดีอาร์ ออกวางตลาดโดยล่าสุดนั้นมักจะเป็นไดร์ฟที่นิยมกันและได้รับความเชื่อถือกันอย่างกว้างขวาง เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นอย่างไรมาติดตามในก้าวทันไอทีค่ะ สำหรับเครื่องที่เป็นแบบ External ซึ่งเรียกได้ว่าไม่มีใครเกินไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวยี่ห้อนี้ และเมื่อกระแสของการป้องกัน Buffer Under Run เกิดขึ้น ยามาฮ่าก็ได้พัฒนาเทคโนโลยี SafeBurn มาเพื่อใช้กับไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวของตน เทคโนโลยี SafeBurn Buffer Management System (เรียกสั้น ๆ ว่า SafeBurn ) หลักการทำงานเริ่มแรกก็จะตรวจสอบความสามารถของแผ่นซีดีที่จะบันทึกและจะจัดการเลือกความสามารถในการ บันทึกให้ตรงกับซีดีแผ่นนั้น ๆ จากนั้นจะคอยจัดการในเรื่องการทำงานไปด้วย ทำให้ทำงานได้ทั้งในการเขียนแผ่นซีดีและก็ทำงานอย่างอื่น ๆ ได้พร้อมกัน ซึ่งไดร์ฟนี้ก็มีจุดเด่นตรงที่บัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ 8 เมกะไบต์ ทำให้รองรับข้อมูลที่ไหลมาเก็บได้มากกว่า – ความนิยมของไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิว – วันนี้มาถึงเรื่องของการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของการใช้งานไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิว เรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามในก้าวทันไอทีวันนี้ค่ะ ความนิยมของการใช้งานไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวนั้น หากดูกันในท้องตลาดที่นิยมกันเป็นหลัก ก็จะเป็นรุ่นแบบติดตั้งภายในที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบ IDE เป็นหลัก เหมือนกันฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ซึ่งไดร์ฟแบบนี้มีข้อดีตรงที่ความเร็วในการทำงานค่อนข้างสูง ราคาประหยัด สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ทันที และโอเอสสามารถตรวจพบเห็นไดร์ฟได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานง่าย ข้อดีก็คือความเร็วในการเขียนปัจจุบันสูงถึง 32* แล้ว แต่ข้อเสียก็คือเคลื่อนย้ายไม่สะดวกเพราะติดตั้งอยู่ภายในตัวของเครื่อง ไดร์ฟแบบที่สองที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมกันมากขึ้น ก็คือ ไดร์ฟแบบต่อจากภายนอก ผ่านทางพอร์ต USB โดยไดร์ฟแบบนี้ความเร็วในการเขียนจะต่ำกว่าเพราะอินเทอร์เฟซของ USB มาตรฐาน ปัจจุบันนั้นยังคงอยู่ที่เวอร์ชั่น 1.1 ซึ่งทำให้ไดร์ฟที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบนี้สามารถทำความเร็วในการเขียนได้เพียง 4*4*24 เท่านั้นเอง ส่วนไดร์ฟที่ใช้มาตราฐาน USB 2.0 นั้น ก็เริ่มมีวางจำหน่ายบ้างแล้วเหมือนกัน เพียงแต่มาตราฐาน USB 2.0 ยังไม่แพร่หลายเท่านั้นเอง ซึ่งทำให้ฟังก์ชั่นการใช้งานแบบเคลื่อนย้ายนั้นยังคงไม่สะดวกเท่าไหรนัก นอกจากอินเทอร์เฟซสองมาตราฐานที่นิยมกันแล้ว ยังมีอินเทอร์เฟซอีกมาตราฐานหนึ่ง แต่มักจะได้รับความสนใจจากบรรดาเหล่าผู้ใช้ไม่มากนัก เนื่องจากราคาแพงและต้องใช้ฮาร์ดแวร์ต่างหากเพิ่มเติม เช่น อินเทอร์เฟซแบบ SCSI และ Firewire หรือ IEEE1394 ซึ่งมักจะมีใช้กับคอมพิวเตอร์ในระดับเซิร์ฟเวอร์หรือแมคระดับเพาเวอร์แมคเท่านั้น

7.13 การเลือกซื้อเครืองพิมพ์

เมื่อหลายปีที่ผ่านมาการเป็นเจ้าของเครื่องพิมพ์สักเครื่องเป็นเรื่องที่ลำบากมาก เพราะว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างแพง อาจจะแพงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำไป จากนั้นหลายปีผ่านไปราคาของเครื่องพิมพ์ก็ลดลงมาอย่างน่าใจหาย โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทบางรุ่นก็มีการจัดโปรโมชันและขายกันที่ราคาต่ำกว่าหนึ่งพันบาทก็มี

สำหรับประเภทของเครื่องพิมพ์นั้นมันก็จะมีอยู่สามประเภทใหญ่ๆ ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานของมันเอง อย่างแรกก็คือเครื่องพิมพ์แบบดอทแมทริก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการพิมพ์แบบดังเดิมอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนามาโดยมีเครื่องพิมพ์ดีดเป็นต้นแบบ แต่ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบดอทแมทริกนั้นไม่ได้เป็นสินค้ายอดนิยมเหมือนในอดีต แต่เป็นสินค้าที่ใช้งานแบบเฉพาะด้านมากว่า เช่นงานด้านบัญชี ธุรการ ที่ต้องการพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีสำเนาในตัวแบบหลายๆ แผ่น

เครื่องพิมพ์แบบที่สองก็คือเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นก็ได้รับความนิยมค่อนข้างมากทั้งในการใช้งานแบบส่วนตัวที่บ้าน และการใช้งานในระดับสำนักงาน ซึ่งเทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ก็มีการแตกออกไปอีกเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่พิมพ์เฉพาะสีขาวดำ และเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่พิมพ์ได้ทั้งขาวดำและพิมพ์สี

เครื่องพิมพ์แบบที่สามก็คือเครื่องพิมพ์ชนิดอิงค์เจ็ท ซึ่งต้องบอกว่าเป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มียอดจำหน่ายสูงสุด แต่เป็นเครื่องพิมพ์ที่สร้างกำไรสูงสุดให้กับผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เลยก็ว่าได้