วิธี แก้แค้น เพื่อนร่วมงาน

ถ้าคุณเคยถูกเพื่อนบางคนใน Facebook คอยเอาเปรียบ หรือพยายามเอาชนะคุณอยู่เสมอนั้น 😤

คงไม่ใช่เรื่องยากนัก… ที่จะกด Block หรือเลิกคบเป็นเพื่อนกับคนๆ นั้น

แต่ในชีวิตจริง กับการทำงานที่ต้องเจอกับเพื่อนร่วมงานที่คอยเอาเปรียบและเอาชนะอยู่เป็นประจำ

ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ… ที่จะปฏิเสธการทำงานร่วมกับคนๆ นั้นได้เลย

วิธีแก้ไขปัญหาที่หลายๆ คนต้องตัดสินใจทำก็คือ
ขอย้ายฝ่าย หรือย้ายสาขา
หนักเข้าก็คือลาออกเพื่อหางานใหม่กันเลยทีเดียว

แต่จริงๆ แล้วยังมีอีก 3 วิธี ที่จะช่วยรับมือเมื่อต้องร่วมงานกับคนที่ชอบเอาเปรียบอยู่ด้วย ลองมาดูทั้ง 3 วิธีนี้กันก่อนค่ะ

  1. #ลองคิดถึงแรงจูงใจ
    หลายๆ ครั้งคุณอาจเกิดความรู้สึกไม่พอใจ หรือแอบเคืองอยู่เบาๆ เมื่อรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ หรือมีเพื่อนร่วมงานพยายามที่จะเอาหน้าเมื่องานในทีมสำเร็จ แต่การโกรธคงไม่ช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นใช่ไหมล่ะ ลองเปลี่ยนจากความโกรธมาเป็น การคิดถึงเหตุผล และแรงจูงใจว่าทำไมเขาคนนั้นถึงต้องพยายามที่จะเอาเปรียบคุณอยู่เสมอ

บางครั้งเหตุผลของการเอาเปรียบ หรือพยายามเหนือกว่าก็มาจากอายุงานที่มากกว่า ทำให้เขาต้องพยายามที่จะสร้างผลงาน เพื่อให้มีโอกาสในการเติบโตมากยิ่งขึ้นก็เป็น เมื่อรู้ถึงแรงจูงใจแล้ว ก็ทำให้เราสามารถรับมือได้ง่ายขึ้นด้วย

  1. #อย่าพยายามโต้ตอบด้วยการเอาคืน
    แทนที่จะพยายามโต้ตอบด้วยการใช้อารมณ์ หรือระเบิดพลังของคุณเข้าใส่ และแม้แต่การเอาคืนด้วยวิธีเอาเปรียบคืนบ้าง ให้ลองเปลี่ยนมาเป็นการใช้ความสามารถและพลังของคุณ เต็มที่กับการทำงาน เพื่อให้ผลงานเป็นสิ่งที่บอกกับผู้จัดการของคุณเองดีกว่า ว่าคุณมีดีแค่ไหน และเต็มที่กับการทำงานมากกว่าการพูดหรือไม่

เพราะคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ หากคุณกับเพื่อนร่วมงานต้องทะเลาะกัน หรือมีปัญหาขัดแย้งจนผู้จัดการต้องมาเคลียร์ปัญหาแทน

  1. #พิจารณาดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลกระทบมากขนาดไหน
    คงไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ๆ หากว่าคุณเดินเข้าห้องผู้จัดการแล้วบอกกับเขาว่า คุณกำลังถูกเอาเปรียบจากเพื่อนร่วมงานอย่างมาก เพราะถ้าสิ่งที่เห็นคืองานยังคงดำเนินต่อไปได้ และไม่ได้มีปัญหาโดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม

แต่ในทางกลับกันหากคุณไตร่ตรองและพิจารณาดูแล้วว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น มีผลต่อภาพรวมของงานเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบกับทีมงานคนอื่นๆ อีกด้วย

หากเป็นเช่นนี้แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมต้องรีบแก้ไขในทันที ซึ่งก็เป็นโอกาสเหมาะที่คุณจะสามารถเปิดใจคุยกับหัวหน้างานของคุณถึงผลกระทบจากผู้ที่สร้างปัญหาให้กับหัวหน้ารับรู้ได้แล้วล่ะ

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องเพื่อนร่วมงานนั้น สิ่งสำคัญคือการคิดและไตร่ตรองถึงปัญหาให้ดีที่สุดเสียก่อน เพราะผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ปัญหาด้วยอารมณ์และความรุนแรงนั้นไม่เคยจบลงด้วยดีอย่างแน่นอน

.
.

PRTR #PeopleAreKey

Recruitment #TotalHRSolutions #หาคน #หางาน

.
.
สร้างโปรไฟล์สมัครงาน http://job.prtr.com/user/register
เช็คตำแหน่งงานว่างได้ที่ http://job.prtr.com/
อัพเดทตำแหน่งงานว่างได้ที่ Line@: http://line.me/ti/p/~@prtr

เรื่องราวจาก #kyutaeoppa เมื่อวันหนึ่งรู้ว่าเพื่อนร่วมงานปลอมใส่!

คิวเท นักยูทูปเบอร์ชื่อดังติดเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังลงคลิปที่มีชื่อว่า “ทีมงานผมเป็นโจรครับ…และเขาก็อยู่กับผมมาตลอด 3 ปี” 

วิธี แก้แค้น เพื่อนร่วมงาน

โดยเรื่องราวคร่าวๆ ที่คิวเทเล่ามีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 4 คน คนแรกทำงานในตำแหน่ง Video Editor ซึ่งเป็นเด็กที่จบการศึกษาระดับม.6 และแม้ว่าก่อนเข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้จะไม่มีพื้นฐานด้านนี้ แต่ก็ได้เงินเดือน 3 หมื่น

คนต่อมาเป็นเลขาที่เพิ่งสำเร็จการศึกษามาหมาดๆ ไม่มีประสบการณ์ทำงาน และได้มีการแอบนำข้อมูลบริษัทไปแชร์ที่อื่น ส่วนอีกคนเปิดช่องของตัวเอง ทำให้งานที่ทำกับคิวเทคุณภาพถดถอยลง และคนสุดท้ายเป็นตากล้องที่มีประเด็นขโมยข้าวของของคิวเทไปขาย ซึ่งทำมาเป็นเวลานาน เสียหายหลายแสน

ซึ่งจากที่คิวเทเล่าคือ ทีมงานมีการวางแผนรวมหัวกันต่อว่าคิวเทเพื่อจะขอเงินเดือนเพิ่ม อีกทั้งในแชทกลุ่มก็ได้มีการนินทาว่าร้ายคิวเทกันอย่างสนุกปาก

เมื่อพูดถึงเพื่อนร่วมงานแล้ว แน่นอนว่าหลายคนคงเจอเพื่อนร่วมงานดีๆ ในชีวิต แต่ก็มีบางคนที่เป็นเหมือนฝันร้ายของชีวิตการทำงาน ทำให้เรามีช่วงเวลาที่ไม่ดีในออฟฟิศ และหนึ่งในสิ่งที่แย่ที่สุดคือ ‘เพื่อนร่วมงานจอมปลอม’

หากคนระดับ CEO เจอคนแย่ๆ อย่างมากก็ไล่ออกได้ แต่พนักงานธรรมดาๆ อย่างเราจะจัดการอย่างไรเมื่อเจอเพื่อนร่วมงานที่พูดต่อหน้าเราอย่างหนึ่ง แต่พูดลับหลังเราอีกอย่างหนึ่ง เราควรยิ้มเสแสร้งแกล้งทำและทำตัวปลอมเหมือนเพื่อนร่วมงานคนนั้น หรือเผชิญหน้าไปกับเขาตรงๆ เลยดี หรือเราควรเดินไปบอกเจ้านายไหม?

นี่คือเคล็ดลับ 5 ข้อที่จะช่วยให้เรารับมือกับเพื่อนร่วมงานจอมปลอมได้อย่างถูกวิธี

1. ยืนยันข้อสงสัย

ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าจะถอยห่างหรือเผชิญหน้ากับบุคคลนั้น สิ่งสำคัญคือเราต้องตรวจสอบก่อนว่าสิ่งที่เรารับรู้มาเป็นความจริงหรือไม่ แน่นอนว่าการซุบซิบนินทาในที่ทำงานเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ควรเช็กก่อนว่าเราเห็นหรือได้ยินด้วยตัวเอง หรือฟังมาจากคนอื่นอีกที แล้วสิ่งที่ได้ยินมาจากคนอื่นจริงเท็จแค่ไหน

2. รักษาระยะห่าง

เมื่อรู้จริงๆ แล้วว่าเพื่อนร่วมงานคนนั้นปลอมใส่ สิ่งที่ควรทำคือต้องสร้างระยะห่างระหว่างเรากับเพื่อนร่วมงานคนนั้น เพราะเรารู้แล้วว่าคนนั้นไม่จริงใจ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ด้วย โดยเราไม่จำเป็นต้องหยาบคายใส่เขา แค่หลีกเลี่ยงและรักษาระยะห่างเวลาเจอกันก็พอ

3. เก็บหลักฐาน

เราต้องเก็บหลักฐานที่เพื่อนร่วมงานว่าร้ายหรือสิ่งเชิงลบอื่นๆ ไว้ เพราะไม่ว่าเราจะตัดสินใจเผชิญหน้ากับบุคคลนั้นโดยตรงหรือตัดสินใจเดินไปบอกหัวหน้า สิ่งสำคัญที่เราต้องมีคือหลักฐาน เพื่อเพิ่มความชอบธรรมให้กับตัวเอง

พยายามพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานจอมปลอมในที่ที่จะเก็บหลักฐานได้ เช่น อีเมล เพราะจะทำให้เรามีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หากมีอะไรเกิดขึ้นระหว่างพูดคุยกัน เราก็จะจับโป๊ะคนนั้นได้ทันที

4. พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา

หากปัญหายังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ก็คงถึงเวลาที่เราต้องพูดคุยอย่างตรงไปตรงมากับเพื่อนร่วมงานที่ก่อให้เกิดปัญหา โดยการหาพื้นที่ส่วนตัวคุยกันเงียบๆ ไม่ต้องถึงขนาดจะไปเปิดฉากต่อสู้ ถ้าพูดคุยกันแล้วปัญหาต่างๆ ไม่ดีขึ้น ก็คงต้องรายงานหัวหน้าเป็นขั้นตอนต่อไป

5. หลีกเลี่ยงการแก้แค้น

ไม่ว่าสิ่งต่างๆ จะดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นก็ตาม ก็อย่าหันไปทำแบบที่เราเคยโดนมา แม้ว่าเพื่อนร่วมงานเราจะทำตัวไม่เหมาะสม ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องลดตัวไปเป็นคนแบบนั้นตาม 

การรับมือกับเพื่อนร่วมงานจอมปลอมไม่ใช่เรื่องสนุก แต่ก็เป็นเรื่องที่ใครหลายๆ คนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากเราสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง รักษาระยะห่าง เก็บหลักฐาน และมีการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาได้ ก็จะทำให้เราจัดการกับสถานการณ์ตึงเครียดในที่ทำงานได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น

อ้างอิง The Muse 

วิธี แก้แค้น เพื่อนร่วมงาน