กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร

สาเหตุของ การชำระกฎหมายตราสามดวง

ก่อน พ.ศ. ๒๓๔๗ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงครองราชสมบัติอยู่นั้น ได้เกิดกรณีผู้พิพากษาตัดสินคดีหย่าร้างเรื่องหนึ่ง โดยไม่เป็นธรรมเรื่องมีว่า นายบุญศรี  ช่างเหล็กหลวง ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระองค์ อ้างเหตุว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสินคดีของผู้พิพากษา โดยระบุว่า ภรรยาของนายบุญศรีชื่ออำแดงป้อม ประพฤติตนไม่สมควรโดยเป็นชู้กับนายราชาอรรถ แต่อำแดงป้อมกลับมาฟ้องหย่านายบุญศรี พระเกษมซึ่งทำหน้าที่ผู้พิพากษา กลับเข้าข้างอำแดงป้อมและยังพูดจาเกี้ยวพาราสีอำแดงป้อม แล้วพิพากษาให้อำแดงป้อมหย่าขาดจากนายบุญศรีได้ทั้งที่นายบุญศรีไม่มี ความผิด คดีดังกล่าวมีการอ้างตัวบทกฎหมายว่า แม้ชายผู้เป็นสามีไม่มีความผิด หากหญิงผู้เป็นภรรยาขอหย่าก็ให้ศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายได้

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมาย และประกาศใช้กฎหมายตราสามดวง
เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๓๔๗ (ในสมัยนั้น การขึ้นปีใหม่ เริ่มเมื่อเดือนเมษายน)
ในสมัยนั้นตัวบทกฎหมายจะเก็บรักษาไว้ ที่ศาลหลวงฉบับหนึ่ง ที่ข้างพระที่ในพระบรมมหาราชวังอีกฉบับหนึ่ง และที่หอหลวงอีกฉบับหนึ่ง รวม ๓ แห่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำตัวบทกฎหมายที่เก็บรักษาไว้ทั้ง ๓ แห่ง มาตรวจสอบทานกัน ปรากฏว่า มีข้อความตรงกันทุกฉบับว่า "ชาย หาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้"

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงมีพระราชดำริว่า ตัวบทกฎหมายเช่นนี้ไม่มีความยุติธรรม คงมีความฟั่นเฟือนวิปริตไป เหตุคงมาจากผู้ที่มีความโลภหลงไม่รู้จักละอายต่อบาปจ้องแต่จะหาประโยชน์ ส่วนตัว ทำการแต่งกฎหมายตามใจชอบ มาพิพากษาคดีให้เสียความยุติธรรม โดยทรงยกตัวอย่างว่า ในทางพุทธจักรได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระสะสางพระไตรปิฎก เพื่อเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนามาแล้ว ในทางอาณาจักรนี้ ก็ต้องดำเนินการเช่นกัน คดีหย่าร้างเรื่องนายบุญศรีกับอำแดงป้อม จึงเป็นเหตุให้เกิดการชำระสะสางกฎหมายครั้งใหญ่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งผู้ชำระกฎหมายจำนวน ๑๑ คน ประกอบด้วยอาลักษณ์ (ผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก) ๔ คน ลูกขุน (ปัจจุบันคือ ผู้พิพากษา) ๓ คน และราชบัณฑิต ๔ คน รวมเป็น ๑๑ คน นำตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมด มาตรวจสอบเนื้อความจัดเป็นหมวดหมู่ ชำระดัดแปลงเนื้อความที่วิปริตผิดความยุติธรรมออกเสีย ตัวบทกฎหมายที่นำมาชำระ ก็เป็นกฎหมายเก่าตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่

กฎหมายตราสามดวง (๑๗ มกราคม ๒๕๕๗)

กฎหมายตราสามดวง

         กฎหมายตราสามดวง  ประกอบด้วยคำว่า  กฎหมาย กับ ตราสามดวงกฎหมาย หมายถึง  ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นสำหรับใช้ในการบริหารประเทศ.  ตราสามดวง  หมายถึง  ตราพระราชสีห์ สำหรับตำแหน่งสมุหนายก  ตราพระคชสีห์ สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม  และตราบัวแก้ว สำหรับตำแหน่งพระโกษาธิบดีหรือตำแหน่งพระคลังซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศด้วย.  กฎหมายตราสามดวง เป็นประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์เพื่อให้ถูกต้องและเป็นธรรม  เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์  พระคชสีห์  และบัวแก้วไว้เป็นสำคัญ  จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

☰แชร์เลย >  
กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร

Advertisement


กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร

Advertisement


กฎหมายตราสามดวง โดย นายกฤษฎา บุณยสมิต

          คือ ชื่อประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวน ๑๑  คน นำตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มาชำระ และปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่างๆ ให้มีความยุติธรรมและเหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ชำระขึ้น และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม  พ.ศ. ๒๓๔๗*  นอกจากจะนำกฎหมายเก่าที่ใช้กันในสมัยอยุธยามาชำระแล้ว ก็ยังได้ตรากฎหมายใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย

          ประเทศไทยใช้กฎหมายตราสามดวงเป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งไทยต้องเผชิญกับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษในพ.ศ. ๒๓๙๘  และทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับชาติตะวันตกอื่นๆ  ชาติตะวันตกเหล่านั้นมีระบบกฎหมายที่แตกต่างไปจากกฎหมายของไทย  และมองว่ากฎหมายไทยป่าเถื่อน จึงเรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจากไทย เพื่อจะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทยและศาลไทย  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องเร่งรีบปฏิรูปกฎหมาย และการศาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก เพื่อไทยจะได้เอกราชทางกฎหมายและการศาลคืนมา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระกฎหมาย และจัดทำประมวลกฎหมายใหม่ขึ้น การชำระและการร่างกฎหมายใหม่นั้นได้กระทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะๆเมื่อกฎหมายลักษณะใดเสร็จ ก็ประกาศใช้ไปพลางๆ ก่อน จนใน พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงประกาศใช้กฎหมายใหม่ได้ครบทุกลักษณะ  และกฎหมายตราสามดวงก็ได้ยกเลิกไปในที่สุด

ที่มาของกฎหมายตราสามดวง

          การทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของกฎหมายตราสามดวงนั้น ควรเข้าใจความหมายของคำว่า “กฎหมาย” ก่อน  ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของกฎหมายว่า“กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ” ดังนั้นที่มาของตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ใช้กันมานานกว่า ๔๐๐  ปีในสังคมไทย และได้นำมาประมวลไว้ในกฎหมายตราสามดวง   จึงสะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ  สังคม และวัฒนธรรมของไทย ในสมัยอยุธยากฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยผ่านมาทางมอญ  คือ “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” ซึ่งมอญเรียกว่า “คัมภีร์ธัมมสัตถัม” คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อว่ามิได้เกิดขึ้นจากสติปัญญาของ มนุษย์ แต่เป็นผลงานที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้เป็นหลักในการอำนวยความยุติธรรมของพระมหากษัตริย์ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้เผยแพร่ไปในดินแดนต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งกฎหมายของอยุธยาที่ได้มีการประกาศใช้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๑๒) ก็ได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เช่นกัน และได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลักษณะต่างๆ หลายครั้งในรัชกาลต่อๆ มา รวมทั้งมีการตรากฎหมายใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย กฎหมายต่างๆ ที่เป็นการสืบสาขาคดี โดยยึดมูลคดีตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นหลักนั้น เรียกว่า “พระราชศาสตร์”

          ขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละพระองค์ก็ได้ทรงออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่มีกำหนดไว้ในมูลคดีตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ รวมถึงการวินิจฉัยคดีความต่างๆ รวบรวมเป็นกฎหมายของแผ่นดินอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่า “พระราชนิติศาสตร์ หรือพระราชนิติคดี”  ดังนั้นตัวบท กฎหมายต่างๆ ในกฎหมายตราสามดวงจึงเป็นทั้ง “พระธรรมศาสตร์” และ “พระราชศาสตร์”  และ  “พระราชนิติศาสตร์ หรือ พระราชนิติคดี” ผสมผสานกันโดยมีคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์เป็นแกนหลักที่สำคัญ

          เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสื่อมอำนาจและสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชได้ทรงกอบกู้ชาติจนได้รับอิสรภาพกลับคืนมา และทรงเร่งบูรณะฟื้นฟูบ้านเมืองตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี จนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสมัยรัตนโกสินทร์ พระองค์ก็ได้ทรงทำนุบำรุงประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะสรรพวิชาการความรู้ต่างๆ ที่ขาดตอนไป เนื่องจากการเสียกรุงศรีอยุธยาดังกล่าวมาแล้ว


กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


"บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย
เปิดอ่าน 25,763 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
เปิดอ่าน 15,476 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


24 กันยายน วันมหิดล
เปิดอ่าน 18,842 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


เทศกาล "ไหว้บะจ่าง"
เปิดอ่าน 7,522 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


หลักเกณฑ์ใหม่ในการตั้งชื่อวัด
เปิดอ่าน 15,212 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


กาลามสูตร
เปิดอ่าน 55,347 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย
เปิดอ่าน 18,400 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


วันวิสาขบูชา คือวันอะไร
เปิดอ่าน 2,634 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


เหรียญชัยสมรภูมิ
เปิดอ่าน 17,161 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


โบราณคดีพระราชวังจันทร์ พิษณุโลก
เปิดอ่าน 36,994 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
เปิดอ่าน 34,054 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ
เปิดอ่าน 17,501 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
เปิดอ่าน 11,493 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


เกร็ดประวัติวัดโพธิ์
เปิดอ่าน 21,671 ครั้ง

กฎหมายที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่าอะไร


เพลงประจำอาเซียน
เปิดอ่าน 14,587 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กฎหมายตราสามดวงในรัชกาลที่ 1 ประกอบไปด้วยตราอะไรบ้าง

คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นปบีบีกันหนาเล่นขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ สมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการ ...

กฎหมายที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้ชําระขึ้นเรียกว่าอะไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วนำมารวบรวมเป็นหมวดหมู่ เป็นสัดเป็นส่วน รวม ...

กฎหมายตราสามดวงชื่ออะไรบ้าง

กฎหมาย หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นสำหรับใช้ในการบริหารประเทศ. ตราสามดวง หมายถึง ตราพระราชสีห์ สำหรับตำแหน่งสมุหนายก ตราพระคชสีห์ สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และตราบัวแก้ว สำหรับตำแหน่งพระโกษาธิบดีหรือตำแหน่งพระคลังซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศด้วย.

เพราะเหตุใด รัชกาลที่ 1 จึงให้มีการตรวจชำระกฎหมายใหม่

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงมีพระราชดำริว่า ตัวบทกฎหมายเช่นนี้ไม่มีความยุติธรรม คงมีความฟั่นเฟือนวิปริตไป เหตุคงมาจากผู้ที่มีความโลภหลงไม่รู้จักละอายต่อบาปจ้องแต่จะหาประโยชน์ ส่วนตัว ทำการแต่งกฎหมายตามใจชอบ มาพิพากษาคดีให้เสียความยุติธรรม โดยทรงยกตัวอย่างว่า ในทางพุทธจักรได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระสะสางพระ ...