สีขั้นที่ 2 เกิดจากแม่สี 2 สีผสมกันใน อัตราส่วน เท่าไร

แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ในวงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.     วงจรสี   ( Colour Circle)

สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
         สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
         สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
         สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว

สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6  สี คือ
        สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
        สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
        สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
        สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
        สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
        สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง

2.     สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ (Comprementary Colour) หมายถึง สีที่อยู่ใน

ตำแหน่งตรงข้ามกันในวงจรสี และมีการตัดกันอย่างเด่นชัดซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน หากนำมาผสมกันจะได้สีกลาง (เทา) ซึ่งมีทั้งหมด 6 คู่ ได้แก่

- สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง

        - สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว

- สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม

- สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง

- สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน

- สีม่วงน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้มเหลือง 

การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้

1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย

2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี

3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี

3.     สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา สีน้ำตาล

เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยนแปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล

สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา

4.     โทนของสี หรือวรรณะของสี (Tone of Colour)

วรรณะสี คือ ความแตกต่างของสีแต่ละกลุ่ม ในวงจรสีโดยแบ่งตามความรู้สึกด้านอุณหภูมิ จะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่สีม่วงกับสีเหลือง โดยแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ

1. สีวรรณะร้อน (Warm Tone) ประกอบด้วยสีเหลือง, ส้มเหลือง, ส้ม, ส้มแดง, แดง และม่วงแดง สีวรรณะร้อนให้ความรู้สึกตื่นตา มีพลัง อบอุ่น สนุกสนาน และดึงดูดความสนใจได้ดี โครงสีร้อนนี้สภาพโดยรวมจะมีความกลมกลืนของสีมากควรมีสีเย็นมาประกอบบ้างทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้น

2. สีวรรณะเย็น (Cool Tone) ประกอบด้วยสีม่วง, ม่วงน้ำเงิน, น้ำเงิน, เขียวน้ำเงิน, เขียวและเขียวเหลืองคือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น โครงสีเย็นให้ความรู้สึกสุภาพ สงบ ลึกลับ เยือกเย็น ในทางจิตวิทยาสีเย็นมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกหดหู่ เศร้า โครงสีเย็นควรมีสีร้อนแทรกบ้างจะทำให้ผลงานดูน่าสนใจมากขึ้น

5.     สีข้างเคียง ( Analogous Colour)

สีข้างเคียง หมายถึง สีที่อยู่เคียงข้างกันทั้งซ้ายและขวาในวงจรสี มีความคล้ายคลึงกันหากนำมาจัดอยู่ด้วยกันจะมีความกลมกลืนกัน หากอยู่ห่างกันมากเท่าใดความกลมกลืนก็จะยิ่งน้อยลงความขัดแย้งก็จะมีมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นสี ในวรรณะเดียวกัน (ภาพที่ 6) สีข้างเคียงได้แก่

1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดงสีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น (ดูเรื่อง แสงสี )

2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้ งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ในวงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้            

- วงจรสี   ( Colour Circle) 

วงจรสี ( Colour Circle)

สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่

สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้ม

สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีม่วง

สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีเขียว

สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6 สี คือ

สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สี ส้มแดง

สีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง

สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง

สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำเงิน

สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงน้ำเงิน

สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง

- สีและอารมณ์ของสีที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก

- การใช้สีน้ำและสีโปสเตอร์ การระบาย การผสม

สีโปสเตอร์(Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า “สีแป้ง”

การเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์เป็นงานจิตกรรมที่เป็นกระบวนการสืบเนื่องจากการวาดภาพแรเงา เช่นเดียวกับการเขียนด้วยสีน้ำ คือเปลี่ยนจากการใช้ดินสอระบายน้ำหนักลงบนรูปร่าง รูปทรงที่วาด มาเป็นการใช้สีโปสเตอร์แทน

สีโปสเตอร์เป็นสีที่มีลักษณะขุ่นทึบ เนื้อสีมีลักษณะคล้ายแป้ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของสีน้ำที่โปร่งใสไม่มีเนื้อสี สีโปสเตอร์เหมือนกันกับสีน้ำตรงที่เมื่อจะใช้ในการระบายภาพวาดจะต้องผสมน้ำก่อน

การฝึกเขียนสีโปสเตอร์ในเบื้องต้นก็เช่นเดียวกับการฝึกเขียนสีน้ำ มักนิยมเขียนจากหุ่นนิ่งเพื่อให้เกิดชำนาญมีทักษะรู้จักสังเกตเห็นลักษณะของสีและค้นพบเทคนิคการระบายสีด้วยตนเอง จากนั้นจึงใช้เทคนิคการเขียนสีโปสเตอร์มาเขียนภาพสื่อความคิด จินตนาการเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆได้ ตามความต้องการ

การเดรียมวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์ จะกระทำเช่นเดียวกับการเขียนภาพด้วยสีน้ำ

การระบายสีโปสเตอร์ขั้นพื้นฐาน มีวิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน 2 วิธี ดังนี้

1) การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน

2) การรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรื่อสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำัดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี

ข้อควรรู้่กี่ยวกับสีโปสเตอร์

เมื่อซื้อสีโปสเตอร์มาใหม่ ให้เปิดขวดใช้ไม้กวนสีในขวดให้ทั่วจนสีเป็นเนื้อเดียวกัน

พู่กันสำหรับสีโปสเตอร์ ใช้ได้ทั้งชนิดปลายกลมและปลายแบน ควรมีขนที่อ่อนนุ่ม พู่กันแบบเบอร์เล็ก เช่น เบอร์ 4,5,6 ใช้เกลี่ยไล่ให้สีกลืนได้ดีในการวาดแบบมีแสงเงา

จานสีที่ใช้ควรเป็นจานสีที่มีหลุมกลมลึก ไม่ควรใช้จานสีที่เป็นช่องสี่เหลี่ยม เพราะเวลาที่กวนสีจะทำให้สีไม่เข้ากันดี เวลาระบายจะทำให้สีด่าง จานสีที่มีสีขาวจะช่วยให้ผสมสีไม่ผิดเพี้ยน

การผสมสีโปสเตอร์ควรผสมน้ำให้พอเหมาะ คือ ไม่ข้นหรือเหลวเกินไป แล้วต้องมีการกวนสีให้มากๆ ไม่ว่าจะใช้สีใดควรมีสีขาวผสมอยู่ด้วย ที่กล่าวมาคือวิธีที่จะทำให้ระบายสีได้เรียบสวยงาม

ถ้าต้องการระบายสีโปสเตอร์ให้เกิดแสงเงามีวิธีระบาย คือลงสีอ่อนก่อนไปหาสีแก่หรือลงสีเข้มแล้วไล่หาสีอ่อน  แต่วิธีที่แนะนำคือให้สังเกตหาสีกลาง ระบายสีกลางนั้นก่อนแล้วจึงไล่เงาสีเข้ม  ส่วนแสงลงด้วยสีอ่อนเกลี่ยให้กลืนกัน

การใช้ฟองน้ำแทนพู่กัน ใช้ปลายนิ้วบีบฟองน้ำ (สำหรับล้างจาน) ให้แน่นเล็กจะตามต้องการเช็ดให้หมาด แล้วนำไปแตะซ้ำๆ กัน บนภาพตามแสงเงา จะได้ภาพสวยงามไม่แพ้พู่กันกลม (AIR BRUSH)

ในงานที่ไม่พิถีพิถันมากนัก หรือเพื่อความประหยัด ใช้สีโปสเตอร์ผสมน้ำแล้วไปกรองด้วยผ้าสกรีนหรือผ้าอื่น นำไปใช้กับพู่กันกลมได้

ถ้าไม่สามารถเขียนสีโปสเตอร์ให้มีกรอบที่คมชัดได้ ก็ใช้เครื่องทุนแรงช่วย เช่นใส่สีในปากกาตีเส้นปรับขนาดเส้นตามต้องการ หรือใช้กระดาษกาวสำหรับกันสี หาซื้อได้จากร้านเครื่องก่อสร้างนำมากันส่วนที่ไม่ต้องการ หรือ กันสีด้วยแผ่นฟิล์มที่ใช้สำหรับงานพู่กันกลมก็ได้แต่ราคาแพงหน่อย ทางที่ดีนักเรียนนักศึกษาควรฝึกใช้ฝีมือจะดีที่สุด

สีโปสเตอร์ผสมกับปูนพลาสเตอร์ แล้วใช้เกรียงเพนท์บนวัสดุต่างๆ เมื่อแข็งตัวจะได้งานที่นูนสวยงามไม่แพ้สีน้ำมัน เป็นที่ระลึกได้

ถ้าจะประหยัด ใช้สีโปสเตอร์ระบายหรือตกแต่งวัสดุต่างๆ เช่น กระเบื้องไม้ฯลฯ ก็สามารถทำได้ เสร็จแล้วใช้แลคเกอร์สเปย์พ่นทับเสียเพี่อความทนทาน

สีโปสเตอร์นั้นทึบแสง การเขียนภาพแล้วใช้สีโปสเตอร์สีขาว ระบายตกแต่งส่วนที่เป็นแสงจัดหรือส่วนที่เป็นแสงสะท้อนได้อย่างดี แต่อย่าใช้ในงานสีน้ำแนวจิตรกรรม ส่วนงานออกแบบไม่ว่าเป็นสีอะไรก็ทับได้

- ความขัดแย้ง (Contrast)   

         ความขัดแย้ง หมายถึง ความแตกต่าง (Opposition) ของ ส่วนประกอบมูลฐานที่อยู่ร่วมกัน (Juxtaposition) เช่น ขนาดใหญ่ / เล็ก, รูปร่างเหลี่ยม / มน, พื้นผิวหยาบ / ละเอียด ,น้ำหนักอ่อน / แก่ ,ทิศทางของเส้นตั้ง / นอน ,สีที่แตกต่างในวงล้อสี เช่น เขียว /แดง , น้ำเงิน / ส้ม เป็นต้น รวมทั้งความแตกต่างระหว่างส่วนประกอบมูลฐาน กับหลักการทัศนศิลป์ เพื่อสร้างให้ผลงานนั้น มีความงามเด่นชัด ช่วยเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในจุดสำคัญของการ ออกแบบ ให้เป็นจุดสน ใจขึ้น ทำให้ งานออกแบบนั้นมองดูไม่น่าเบื่อ ไม่ซ้ำซาก ไม่จำเจทำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้างานออกแบบนั้น ขาดความแตกต่าง หรือ มีความกลมกลืนกันมากเกินไป ก็จะ ทำให้การออกแบบนั้นน่าเบื่อ ซ้ำซากจืดชืด ไม่น่าสนใจ แต่ก็มีข้อควรระวังในการ สร้างความแตกต่างก็คือ หากในงานทัศนศิลป์นั้น มีความแตกต่างมาก และอยู่อย่าง กระจัดกระจายแล้ว จะเป็นการทำลาย เอกภาพของงานศิลปะนั้น ฉนั้นการสร้างความแตกต่าง ย่อมอยู่ภายใต้ กฎเกณฑ์ของ เอกภาพ (Unity) ด้วย

- ความกลมกลืน (Harmony

โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง

เมื่อนำแม่สี 2 สีมาผสมกันเกิดเป็นขั้นใด

สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้ม สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีม่วง

ข้อใดเป็นแม่สีขั้นที่ 2

สีขั้นที่สอง (secondary colours) มี 3 สี เกิดจากการนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันเข้าทีละคู่ก็จะได้สีออกมาดังนี้ – สีเหลือง + สีแดง > สีส้ม – สีเหลือง + สีน้ำเงิน > สีเขียว – สีแดง + สีน้ำเงิน > สีม่วง

แม่สีธรรมชาติขั้นที่ 2 เกิดขึ้นได้อย่างไร

สีขั้นที่๒ (Secondary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สีสีจะได้สีเพิ่มขึ้นอีก ๓ สีคือสีเขียว สีส้ม สีม่วง

สีแดงผสมสีน้ําเงินจะได้สีอะไร และเป็นขั้นที่เท่าไรของวงจรสี

สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีม่วง สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีเขียว สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้ม 1.3 สีขั้นที่ 3 (Tertiary Colours)