ผู้ทำงานควรยึดหลักธรรมข้อใด

จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาคือความประพฤติ และธรรม คือเครื่องรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตามผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึกถึงผลกระทบต่อสังคมภายนอกเสมอ ทั้งนี้ก็คือจะต้องไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติฉะนั้นจริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีดังนี้

1. ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

2. ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำนึกในหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานของตน

3. ช่วยส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี

4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนี้ต้องยึดหลักโดยคำนึกถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ

5. ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น อาชีพ (Occupation) ดำรง ฐานดพี (2536 : 2) ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทุกประเภทและเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นคำว่าอาชีพจึงครอบคลุมไปถึงงานที่ใคร ๆ ก็ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดมาก่อน เช่น งานที่ต้องใช้แรงงาน (Manual works) และเป็นงานที่ผู้กระทำจะต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษหรือเป็นงานที่ใช้ทักษะและการฝึกหัดขั้นสูง (Technic worls)”

อาชีพมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมเป็นอย่างมาก ในทัศนะของนักสังคมวิทยานั้น อาชีพอาจก่อให้เกิดผลต่อสังคมได้ ดังนี้

1. อาชีพสามารถแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคมออกเป็นส่วน ๆ ตามสาขาอาชีพ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร ผู้ประกอบธุรกิจการบริการ ข้าราชการ เป็นต้น ในกลุ่มอาชีพดังกล่าวสามารถแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น ข้าราชการก็มีทั้งข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรก็มีทั้งชาวนา ชาวสวน ชาวประมง เป็นต้น

2. อาชีพแต่ละอาชีพนั้นก่อให้เกิดเป็นแหล่งรวมผู้คนจากถิ่นต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ และความสนใจไปในแนวเดียวกัน

3. อาชีพมีผลต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล

4. อาชีพมีส่วนเชื่อมโยงบุคคลรวมกันเป็นสังคม

5. อาชีพก่อให้เกิดความสามารถและความชำนาญแก่ผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ วิธีการสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ วิธีการสร้างจริยธรรมต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลัก ปัจจุบันนี้โลกเรากำลังมีปัญหาด้านศีลธรรม ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม ในหลาย ๆ อาชีพ ฉะนั้นจะต้องมีการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และสร้างเสริมเติมต่อสิ่งที่ยังขาดอยู่ให้มีขึ้น

วิธีการที่นำมาใช้สร้างจริยธรรมสามารถทำได้ ดังนี้

1. การอบรมตามหลักของศาสนา

2. การปลูกฝังพฤติกรรมที่พึงประสงค์

3. การสอนให้รู้จักความเมตตาต่อผู้อื่น

4. การสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์

5. การใช้อิทธิพลของกลุ่มให้เกิดความคล้อยตาม

6. การใช้หลักมนุษยสัมพันธ์

7. การจัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ในทางที่ดี จริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพควรประพฤติ

หลักในการยึดถือปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพทั่วไปพึงกระทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตน และร่วมรับผิดชอบในสังคม ควรมีดังนี้

หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ ไว้ตลอดวัน ว่า เราจะเมตตาสงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะ ไม่สร้างความลำบากให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ความทุกข์ที่เขามี เราก็มีเสมอเขา ความสุขที่เขามี เราก็สบายใจไปกับเขา รักผู้อื่นเสมอด้วยรักตนเอง
      กรุณา แปลว่า ความสงสารหมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความสงสารปรานีนี้ก็ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกัน สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์
      มุทิตา แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยา เจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีความโชคดีด้วยทรัพย์ มีปัญญาเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข สงบ ปราศจากอันตรายทั้งปวง คิดยินดี โดยอารมณ์พลอยยินดีนี้ไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน การแสดงออกถึงความยินดีใน พรหมวิหาร คือไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
      อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบความวางเฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึง เฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

      "ถ้าเรายิ้มให้เขา เราก็จะได้ยิ้มตอบ คุณแม่จะสอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพราะทุกคนที่มาทำงานกับเราแต่ละคนมีความจำเป็นพื้นฐาน ถ้าเราช่วยได้ก็ช่วยกัน ทำทุกอย่างเท่าที่เราทำไหว วันไหนที่เราตื่นมาหงุดหงิด เดินชนโน่นชนนี่ ก็ให้ระลึกถึงสิ่งที่เราทำดีอยู่เนืองๆ จะทำให้เกิดความปีติ" คุณหมอ วัย 66 ปี กล่าว

วางเป้าหมายสู่อิทธิบาท 4

      หลักธรรมสำคัญถัดมา ได้แก่ อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย
     
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้ ข้อนี้เป็นกำลังใจอันแรกที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
      วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การกระทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย
      จิตตะ หมาย ถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์นั้นให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
       วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

      "การจะทำงานให้สำเร็จได้นั้น เราต้องวางเป้าหมายไว้ เพราะหากทำไม่สำเร็จ ก็เหมือนเป็นการหยิบโหย่ง ขาดความน่าเชื่อถือ การเป็นผู้บริหารต้องทำให้ลูกน้องมั่นใจว่าเราทำสำเร็จ ให้มีความสุขกับการทำงานและเมื่องานนั้นสำเร็จเราก็จะมีความสุข

     
นอกจากนี้ เมื่อผู้บริหารมีงานมาก ก็จำเป็นต้องหาผู้ช่วย และมีสายตาที่ยาวไกลโดยพยายามกระจายงานตามศักยภาพ เมื่อใดที่ลูกน้องทำผิดแล้ว ดุเขาต่อหน้าคนอื่น เขาจะรู้สึกไม่ดีไปตลอด ในขณะที่การชื่นชมลูกน้อง ต่อหน้าคนอื่น จะทำให้เขารู้สึกดี" ตรงนี้ถือเป็นเคล็ดลับอีกขั้นหนึ่งที่ผู้บริหารพึงมี

สังคหวัตถุ 4 มีดีอะไร

      มาถึง สังคหวัตถุ 4 ซึ่งหมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

     
ทานคือ การให้ การเสียสละหรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของของตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
      ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วย ความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูด ให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ
      อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิด  หรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
      สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอหรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

ผู้ทำงานควรยึดหลักธรรมข้อใด

ธรรมสำหรับการครองเรือน

      ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักธรรมสำคัญเช่นกันสำหรับการครองเรือน และครองใจคน ซึ่งประกอบด้วย

     
สัจจะ คือ ความจริง ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง
 

      ทมะ คือ การฝึกฝน การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
 

      ขันติ คือ ความอดทน ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยัน หมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
 

      จาคะ คือ ความเสียสละ สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้างพร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว

อริยสัจ 4

      ท้ายสุด คือ "อริยสัจ 4" ได้แก่

     
ทุกข์ ความทุกข์ของผู้บริหารมีหลายอย่างอาทิ สิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้เกิดปัญหา ดังนั้นก็ต้องหาหนทางแก้ไข
 

      สมุทัย คือ การเกิดขึ้น หรือสาเหตุแห่งทุกข์
 

      นิโรธ คือ ความดับทุกข์
 

      มรรค คือ ทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์

คุณธรรมสำหรับหมอ

      หลักธรรมนำชีวิตที่ชาวพุทธยึดถือปฏิบัติ เป็นสิ่งพึงกระทำทุกจังหวะ แห่งชีวิต แต่สำหรับบุคคลที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นอย่างแพทย์นั้น ใช้หลักธรรมดังต่อไปนี้

     •  ความอดทนต่อความยากลำบากทั้งปวง
 

     •  ความเมตตาต่อผู้ป่วย
 

     •  การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
 

      เอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง นั่นหมายถึงการลดอัตตาของตนเอง โดยคิดถึงผู้ป่วยเป็นหลัก ให้การรักษาที่ดีและถูกต้อง และต้องบรรเทาความทุกข์ของ ผู้ป่วยได้

     
"การจะปฏิบัติเรื่องเหล่านี้ได้ เราจะต้องพุ่งเป้าไปที่วัตถุประสงค์ก่อน ว่าเราทำเพื่ออะไร มุ่งสู่อะไร และมีแผนการไปสู่ตรงนั้นอย่างไร และวิเคราะห์ว่าจะทำได้ไหม "เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จในวิชาชีพแพทย์ได้อย่างมั่นคงและ ยั่งยืน