ผู้นําแบบประชาธิปไตย ข้อดี

                ผู้นำแบบเน้นงาน (Structure) ผู้นำเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์โดยการให้พนักงานยุ่งอยู่เสมอ และสามารถกระตุ้นให้พนักงานทำงานได้มากๆ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้นำและพนักงานห่างกัน เพราะผู้นำจะมุ่งเน้นไปที่จำนวนตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของผลผลิต แต่ตัวพนักงานจะไม่รู้สึกมีความสุข เพราะจะทำให้เกิด แรงกดดันหากไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่ผู้นำกำหนดไว้  

ผู้นำที่ชอบใช้ความคิด ตัดสินใจทำอะไรเองคนเดียว มักไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเสนอความคิดเห็นใดๆ หรือถามถึงความรู้สึกของคนในทีม

ข้อดี :  เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการจัดการปัญหา

ข้อเสีย :
– ส่งผลให้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไม่เกิด
– องค์กรยากที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว

เหมาะกับ : องค์กร หรือทีมที่กำลังเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น มีวิกฤต หรือกำลังย่ำแย่
ยกตัวอย่างผู้นำ : Donald Trump

2. ผู้นำแบบโน้มน้าว (Autocratic Leadership) :

ผู้นําแบบประชาธิปไตย ข้อดี

ผู้นำเช่นนี้ เขาจะพยายามโน้มน้าวให้ทุกคนมุ่งหน้าไปสู้เป้าหมายไปด้วยกัน

ข้อดี : ในระยะยาวจะทำให้ทุกคนในทีมซึมซับสิ่งเหล่านี้ไปทุกวันๆ จนเชื่อว่าพวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายได้

ข้อเสีย :
– อาจไม่เหมาะกับคนในทีมที่มั่นใจในตัวเองสูงมากๆ จนไม่ยอมฟังใคร วิธีการนี้อาจใช้ไม่ได้ผล

เหมาะกับ : องค์กรที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง แต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ช่วยให้ทีมรู้ว่าจะต้องเดินหน้ากันต่อไปยังไง
ยกตัวอย่างผู้นำ : Steve Jobs

3. ผู้นำแบบคนในองค์กรต้องมาก่อน (The Affiliative Style) :

ผู้นําแบบประชาธิปไตย ข้อดี

ผู้นำที่ชอบสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับคนในทีม โดยเขาจะสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม และป้องกันการเกิดความขัดแย้งระห่างคนในทีม

ข้อดี : ผู้นำจะเข้าใจ และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนในทีม

ข้อเสีย : การมัวแต่โฟกัสที่คน แต่ไม่โฟกัสที่งาน อาจทำให้คนในทีมขาดแรงกระตุ้นในการทำงาน

เหมาะกับ : ช่วงที่ทีมเกิดเรื่องขัดแย้ง ความเห็นไม่ตรงกัน หรือต้องการให้กำลังใจทีมที่กำลังเจอกับความเครียด ความกดดัน
ยกตัวอย่างผู้นำ : Sundar Pichai CEO Google

4. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) :

ผู้นําแบบประชาธิปไตย ข้อดี

ผู้นำที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับฟัง แสดงความคิดเห็น และหัวหน้าจะตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย

ข้อดี : ทุกคนได้มีโอกาสออกสิทธิ์ออกเสียง เสนอความคิดเห็นของตัวเองได้

ข้อเสีย :
อาจทำให้มีการประชุมอย่างไม่หยุดหย่อน
–  คนในทีมอาจจะรู้สึกว่าผู้นำไม่ได้ช่วยตัดสินใจเท่าที่ควร

เหมาะกับ : ทีมที่มีแรงจูงใจ มีความรู้ และความสามารถในการทำงานและผู้นำมีความคิดที่ชัดเจน แต่เพียงต้องการไอเดียเพิ่มเติมบางอย่าง
ยกตัวอย่างผู้นำ : John F. Kennedy

5. ผู้นำแบบสร้างมาตรฐาน (The Pacesetting Style) :

ผู้นําแบบประชาธิปไตย ข้อดี

สไตล์การนำแบบนี้เน้นการทำให้ดู มากกว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอน ผู้นำมักจะพยายามแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานของการทำงานและต้องการให้คนในทีมทำตามให้ได้

ข้อดี : หัวหน้าจะพยายามผลักดันคนในทีมให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาอันสั้น

ข้อเสีย :
การพูดคุยและการให้ feedback ระหว่างกันมีน้อย ระยะห่างอาจเกิดขึ้นในทีม
– อาจสร้างความคาดหวัง และความกดดันมากเกินไป

เหมาะกับ : การทำงานที่มีการแข่งขันสูง และคนในทีมมีทักษะ ความสามารถสูง เช่น งานกฎหมาย หรืองานวิจัยและพัฒนา
ยกตัวอย่างผู้นำ : Jack Welch อดีต CEO ของ General Electric

6. ผู้นำแบบสอนงาน (The Coaching Style) :

ผู้นําแบบประชาธิปไตย ข้อดี

ผู้นำที่เน้นการพูคุยกับคนในทีม และชอบ “สอน” ให้สมาชิกเป็นคนที่เก่งขึ้น และดีขึ้นกว่าเดิม

ข้อดี : โฟกัสที่พัฒนาการของทีมแต่ละคน ช่วยให้คนในทีมพัฒนาจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้น หรือเข้าใจจุดอ่อนของตัวเองมากยิ่งขึ้น

คำว่าผู้นำนั้นมีอยู่หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นชีวิตการทำงาน ครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนฝูง ก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีผู้นำในด้านใดด้านหนึ่งที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้นำนั้นก็เปรียบเสมือนกับหัวเรือใหญ่ในการนำทัพให้ธุรกิจ ชีวิตครอบครัว หรือกลุ่มสังคมต่างๆประสบความสำเร็จ และหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อความอยู่รอดของคนในทีมที่เหมาะสมที่สุด โดยในปัจจุบัน ผู้นำสามารถออกได้เป็น 8 ประเภทด้วยกัน คือ

1. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)

เมื่อเห็นชื่อก็สามารถบอกได้ชัดเจนแล้วว่าผู้นำลักษณะนี้จะเป็นอย่างไร โดยผู้นำแบบประชาธิปไตยนั้นจะตัดสินใจเรื่องใดๆก็ตามจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากสมาชิกในทีม ที่ทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเรื่องต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน ผู้นำในแบบนี้นับเป็นหนึ่งในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุด จากการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีหน้าที่การงานที่ต่ำกว่าได้เรียนรู้หรือฝึกฝนในการเสนอความคิดเห็น เผื่อว่าในสักวันพนักงานเหล่านั้นอาจต้องขึ้นมาทำหน้าที่ผู้นำในด้านต่างๆแทน

2. ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership)

ผู้นำประเภทนี้จะตรงกันข้ามกับผู้นำแบบประชาธิปไตย นั่นก็คือ ชอบใช้ความคิดตัวเองไม่มีการเปิดโอกาสให้คนอื่นเสนอความคิดหรือความเห็นใดๆ และไม่มีการสอบถามถึงผลกระทบหรือผลลัพธ์ใดๆจากคนรอบข้าง เรียกได้ว่าตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเองคนเดียว หากองค์กรมีผู้นำประเภทนี้ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว เพราะไม่มีพนักงานคนใดรับกับพฤติกรรมได้จนอาจส่งผลให้พนักงานลาออกจากการทำงาน

3. ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-Faire Leadership)

ผู้นำที่ปล่อยอิสระให้พนักงานทำอะไรได้เต็มที่ หรือเรียกได้ว่ามอบอำนาจให้พนักงานแทบจะทั้งหมด ซึ่งเราจะเห็นได้จากบริษัทประเภทสตาร์ทอัพที่มีพนักงานเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ที่ไม่ได้เอาเรื่องเวลาการทำงานเป็นตัววัดผล แต่ให้ความเชื่อมั่นในผลงานของตัวพนักงานมากกว่า แต่ว่าผู้นำลักษณะนี้ก็อาจจะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานไปบ้าง หากพนักงานเกิดไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ตามมาตรฐาน

4. ผู้นำแบบมีกลยุทธ์ (Strategic Leadership)

ผู้นำที่รักษาสมดุลระหว่างการดำเนินงานภายในและโอกาสในการเติบโตขององค์กร ที่แบกรับและมองทั้งมุมของผู้บริหารในด้านภาระค่าใช้จ่าย การสร้างผลงาน และจำเป็นต้องดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อให้พนักงานทุกคนมีความสะดวกสบายในการทำให้ผลงานออกมาดี ซึ่งเป็นผู้นำที่หลายๆองค์กรต้องการ เพราะทักษะในเชิงกลยุทธ์จะสามารถช่วยสนับสนุนพนักงานได้หลายประเภทในครั้งเดียว แต่ก็อาจจะมีข้อเสียอยู่บ้างเล็กน้อยหากไม่สามารถสนับสนุนหรือช่วยเหลือพนักงานกลุ่มอื่นๆได้อย่างทันท่วงที

5. ผู้นำความเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)

ผู้นำที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา โดยเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีต่อองค์กรหรือการคิดนอกกรอบเดิมๆเพื่อให้พนักงานไม่ยึดติดกับเนื้องานเดิมๆหรือติดอยู่กับ Comfort Zone ซึ่งเป้าหมายในการทำงานก็จะท้าทายและยากขึ้นอยู่เรื่อยๆ โดยผู้นำประเภทนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่มีจิตวิญญาณที่มุ่งมั่นในการเติบโตของธุรกิจ เพราะมันกระตุ้นให้พนักงานเห็นและดึงศักยภาพของตัวเองออกมาได้ แต่ผู้นำประเภทนี้ก็อาจทำให้พนักงานไม่สามารถไปได้สุดกับสิ่งที่ตัวเองถนัด เพราะต้องเปลี่ยนแปลงไปทำอย่างอื่นอยู่บ่อยๆ

6. ผู้นำด้านการทำธุรกรรม (Transactional Leadership)

ผู้นำด้านนี้เราจะเห็นได้เป็นปกติในทุกๆวัน ซึ่งมักจะให้รางวัลกับพนักงานที่ทำงานได้ตามเป้าหมาย เช่น การให้โบนัสพิเศษเมื่อทำเป้าได้เหนือกว่าที่ตั้งไว้ ผู้นำประเภทนี้มักจะเสนอแผนการมอบสิ่งจูงใจเป็นรูปแบบของเงินรางวัลพิเศษ หากเราสามารถทำสิ่งต่างๆได้ตามเป้าหมายหรือเกินกว่าเป้าหมายตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามาทำงาน ซึ่งถือเป็นการตั้งบทบาทหน้าที่ให้กับพนักงานทุกคนและกระตุ้นให้พนักงานมีความพยายามในการสร้างผลงานให้คุ้มค่าอยู่ตลอดเวลา

7. ผู้นำที่ชอบสอนงาน (Coach-Style Leadership)

ขึ้นชื่อว่าโค้ชหรือผู้สอนงานแล้ว ผู้นำประเภทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของทีมงานแต่ละคน เพื่อสร้างให้เกิดความแข็งแกร่งในการทำงานเป็นทีม โดยลักษณะผู้นำแบบนี้จะคล้ายๆกับผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) กับ ผู้นำแบบมีกลยุทธ์ (Strategic Leadership) แต่เน้นไปทางการเพิ่มศักยภาพพนักงานรายบุคคล

ผู้นำในลักษณะนี้จะไม่ใช่แค่มุ่งเน้นไปที่ทักษะที่ถนัดของแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังสร้างทีมด้วยการค้นหาว่าใครมีความสามารถอื่นๆที่ใช้ต่อยอดเรื่องต่างๆได้ ด้วยการมอบหมายงานใหม่ๆ การให้คำปรึกษาหรือแนวทางในการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้ทีมงานสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากเพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ

8. ผู้นำแบบราชการ (Bureaucratic Leadership)

ผู้นำที่ยึดตำราเป็นหลักที่ยังเปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน แต่จะปฏิเสธทันทีหากมีข้อที่ขัดต่อระเบียบหรือนโยบายองค์กร ซึ่งจะเห็นได้จากองค์กรเก่าแก่ที่มีผู้อาวุโสบริหารงาน รวมไปถึงหน่วยงานราชการ ความคิดใหม่ๆที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรมักจะถูกปฏิเสธเพราะขัดกับธรรมเนียมปฏิบัติเดิมๆ ซึ่งอาจพูดได้ว่ายึดถือความสำเร็จแบบเดิมๆในอดีตและคิดว่ายังใช้ได้อยู่ตลอดไป โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงใดๆ

พนักงานที่อยู่ภายใต้ผู้นำในลักษณะนี้ จะรู้สึกเหมือนถูกควบคุมให้อยู่ในระเบียบ คิดอะไรที่ออกนอกกรอบไม่ได้ โดยได้แต่ทำตามหน้าที่ให้เสร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งจะทำให้พนักงานหมดพลังและแรงกระตุ้นในความก้าวหน้าในอาชีพ

ทั้งหมดนั้นเป็นรูปแบบของผู้นำที่เราเห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ว่าใครจะทำอาชีพอะไรก็ตามก็ต้องมีโอกาสได้เป็นหัวหน้าหรือบริหารคน ดังนั้นลองตรวจสอบและตั้งคำถามให้กับตัวเองดูครับว่า เราเป็นคนแบบไหนและอยากเป็นผู้นำแบบไหนกับความเป็นผู้นำในบริบทต่างๆ

ใครคือผู้นําแบบประชาธิปไตย

ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย หมายถึง พฤติกรรมความสามารถของผู้นำที่ให้ความสำคัญ ต่อการทำงานเป็นหมู่คณะ เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้ปรึกษา หารือ แสดงความคิดเห็นอย่าง รอบด้าน และหาข้อสรุปในการการทำงานร่วมกันก่อนการดำเนินงาน มีส่วนร่วมและรับผิดชอบ การดำเนินงานกับหมู่คณะ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่อการแก้ไขปัญหา และการขจัดอุปสรรค ...

ผู้นำแบบสร้างมาตรฐาน (The Pacesetting Style) มีข้อดีอย่างไร

Pacesetting leader จะทำงานโดยคาดหวังประสิทธิภาพสูงสุดของคนในทีม เป็นผู้นำแบบโฟกัสไปที่ประสิทธิภาพการทำงานและการบรรลุเป้าหมาย จะทำทุกอย่างให้มั่นใจว่างานออกมาสำเร็จ ผู้นำลักษณะนี้เหมาะกับสถานการณ์ที่ต้องการผลลัพธ์ที่คุณภาพสูง รวดเร็ว ทีมงานมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียตรง ทำให้สมาชิกเหนื่อย หมดแรงและนำ ...

ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยมแตกต่างจากผู้นำแบบอื่นอย่างไร

3) ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยม (Laissez-Faire Leaders) จะให้อิสระกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มที่ในการตัดสินใจแก้ปัญหา จะไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน ไม่มี หลักเกณฑ์ ไม่มีระเบียบ จะทำให้เกิดความคับข้องใจหรือความไม่พอใจของผู้ร่วมงานได้ และได้ผลผลิตต่ำการทำงานของผู้นำลักษณะนี้เป็นการกระจายงานไปที่กลุ่ม ถ้ากลุ่มมีความ ...

ภาวะผู้นํามีกี่แบบ อะไรบ้าง

ลิปปิทท์ (Lippitt) แบ่งประเภทของผู้นํา เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ผู้นําแบบเผด็จการ (The Autocratic Leader) 2. ผู้นําแบบประชาธิปไตย (The Democratic Leader) 3. ผู้นําแบบตามสบายหรือแบบเสรี (The Laissez –faire. Leader) Type of Power.