รูปแบบระบบเศรษฐกิจโลกมีระบบใดบ้าง

เศรษฐกิจ

สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และมีอำนาจทางเศรษฐกิจในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต่อบุคคลคิดเป็นจำนวน 63,543.6 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2563) ในระบบเศรษฐกิจเสรีทางการตลาดนี้ ทั้งปัจเจกบุคคลและบริษัทมีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจด้วยตนเอง โดยรัฐบาลกลางจะจัดซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชน บริษัทในสหรัฐฯ จึงสามาถใช้สิทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างเต็มที่มากกว่ากลุ่มบริษัทที่ตั้งในประเทศคู่ค้าดังเช่นยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตัดสินใจในทางธุรกิจ การวางรกรากทางการลงทุน การปลดลูกจ้างพนักงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ มีข้อเสียเปรียบคือต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านกำแพงการค้าซึ่งกีดขวางการเข้าสู่ตลาดของคู่ต่อสู้

นับตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ เป็นผู้นำและมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจในเวทีเศรษฐกิจโลกเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ อวกาศ และยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Recession) ระหว่างปี 2550-2552 อันเนื่องมาจากภาวะฟองสบู่แตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้มีการยุบตัวลงของสถาบันการเงินต่างๆ และบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้ที่ถึงแม้ว่าจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตามยังคงส่งผลกระทบระยะยาวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงานที่เรื้อรัง ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหารายได้ประชาชาติที่ลดลงในกลุ่มชนชั้นล่างและกลาง และปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลของกลุ่มวัยทำงานจากการกู้ยืมเงินทางการศึกษา เป็นต้น

นโยบายทางเศรษฐกิจ

ปี 2564 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ได้ประกาศแนวทางการฟื้นฟูและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้ 3 แผนงานที่สำคัญ ได้แก่

The American Rescue Plan

เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีชาวสหรัฐฯ จำนวน 4 ล้านคนต้องตกอยู่ในสภาวะการว่างงานเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ชาวสหรัฐฯ จำนวน 15 ล้านคนไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยได้ และมีประชากรทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกกว่า 30 ล้านคนต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหาร โดยแผนงาน American Rescue Plan จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประชากรชาวสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ

  • การให้เงินช่วยเหลือทางตรงแก่ครัวเรือนชาวสหรัฐฯ
  • การขยายระยะเวลาการให้สวัสดิการจากการว่างงาน
  • การให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
  • การให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร
  • การให้คืนเครดิตภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร
  • การให้ความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงดูบุตร

The American Jobs Plan

“American Jobs Plan” มีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ การสร้างงาน และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับโลก โดยแบ่งการปฏิรูปออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
  • โครงสร้างพื้นฐานสำหรับที่พักอาศัย
  • โครงสร้างการบริการและการจ้างงานด้านการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • การส่งเสริมการลงทุนเพื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี การผลิต ธุรกิจขนาดย่อม และแรงงาน

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดน ยังได้เสนอแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีควบคู่ไปกับแผนเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินตามแผนงานด้วย

The American Families Plan

“American Families Plan” มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนครอบครัวชาวอเมริกัน โดยเฉพาะครัวเรือนระดับชนชั้นกลาง ในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการปฏิรูประบบภาษี โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่

  • การสนับสนุนด้านการศึกษา อาทิ การเข้ารับการศึกษาแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โครงการทุนการศึกษา
  • การสนับสนุนครอบครัว เด็ก และเยาวชน อาทิ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก โครงการด้านอาหาร
  • การให้เครดิตภาษีและเงินช่วยเหลือ
  • การปฏิรูปโครงสร้างภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดหางบประมาณ อาทิ การเพิ่มอัตราการเรียกเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง

ที่มา:

  • Thai Business Information Center, Royal Thai Embassy, Washington, D.C.
  • White House

 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด: สิงหาคม 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบเศรษฐกิจ คือ ระบบผลิตและกระจายสินค้าและบริการ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรในสังคมหนึ่ง ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยการรวมสถาบัน หน่วยงานและผู้บริโภคซึ่งประกอบเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชุมชนหนึ่ง มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง คือ วิถีการผลิต

การศึกษาระบบเศรษฐกิจ เช่น หน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้เกี่ยวโยงกันอย่างไร การไหลของสารสนเทศระหว่างหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ เป็นอย่างไร และความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบเศรษฐกิจ (รวมทั้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและโครงสร้างการจัดการ)

ในบรรดาระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่ มีการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์แตกต่างกันไป เช่น เศรษฐศาสตร์สังคมนิยมและธรรมศาสตร์เศรษฐกิจอิสลาม (Islamic economic jurisprudence) ปัจจุบัน การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจรูปแบบที่พบมากที่สุดในระดับโลกอาศัยเศรษฐกิจแบบผสมที่เน้นตลาดทุนนิยม[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. • Paul A. Samuelson and William D. Nordhaus (2004). Economics, McGraw-Hill, Glossary of Terms, "Mixed economy"; ch. 1, (section) Market, Command, and Mixed Economies.
      • Alan V. Deardorff (2006). Glossary of International Economics, Mixed economy.

ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด เพราะเหตุใด

4. ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด เพราะเหตุใด แนวค ำตอบ เศรษฐกิจแบบผสม เพราะสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น

ระบบเศรษฐกิจโลกมี 3 ระบบ อะไรบ้าง

3. ระบบเศรษฐกิจ.
1. ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (Free Economy) หรือทุนนิยม (Capitalism).
2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy).
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้คือ.
3.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism).

ระบบเศรษฐกิจมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ หมายถึง ส่วนประกอบที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งได้ 3 ส่วนคือ การผลิตและการบริการ, ตลาดสินค้าและบริการ และปัจจัยการผลิตและการจำแนกแจกจ่ายผลผลิต แยกพิจารณาในแต่ละส่วนได้ดังนี้

ระบบเศรษฐกิจของไทยมีกี่ระบบ

ประเภทระบบเศรษฐกิจ ในปัจจุบันแบ่งระบบเศรษฐกิจเป็น 3 ประเภท 1. ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับหรือสังคมนิยม 2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาด 3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม