เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

Skip to content

เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

“ดอกเบี้ยนโยบาย” มีไปเพื่ออะไร?

December 13, 2018 10:26 AM

เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

หลังจากข่าวการขึ้นอัตรา "ดอกเบี้ยนโยบาย" ในรอบ 7 ปี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 61 ที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี และให้มีผลทันที วันนี้ #aomMONEY เลยอยากชวนมาทำความเข้าใจกันว่า... 1. ดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร? ทำไมถึงมีความสำคัญ? 2. การขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลอะไรต่อเรากันบ้าง? 3. กระทบต่อเศรษฐกิจรวมทั้งเราทุกคนอย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าดอกเบี้ยนโยบาย ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศกำหนดขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (เป็นเหมือนดอกเบี้ยขั้นต่ำ) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ อย่างที่เรารู้กันว่าดอกเบี้ยเป็นอีกหนึ่งมาตรการหรือเครื่องมือในการควบคุมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยแบงก์ชาติมีหน้าที่คอยติดตามและประเมินผล เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยกลางที่สมดุลกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจช่วงนั้น ๆ ในครั้งนี้เพราะสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจสูงเกินไป อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น แบงก์ชาติจึงทำการ ปรับสมดุลให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพโดยเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้นนั่นเอง ในทางปฏิบัติแล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนในการทำธุรกิจ เมื่อดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเปลี่ยนไป ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตร จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับดอกเบี้ยนโยบาย ฉะนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ? อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร กลไกเมื่อปรับ เพิ่ม-ลด ดอกเบี้ยนโยบาย โดยหลักการแล้ว แบงก์ชาติจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (ลดดอกเบี้ยนโยบาย) ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อกระตุ้นให้เศรษบกิจฟื้นตัว และจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว (เพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย) ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปเพื่อชะลอความร้อนแรง เมื่อปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น

ธนาคารปรับขึ้นดอกเบี้ยตามนโยบาย -> คนกู้เงินน้อยลง, คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง -> ปริมาณเงินในระบบลด -> ราคาสินค้าถูกลง -> เงินเฟ้อลด = เศรษฐกิจโตน้อยลง (ลดความร้อนแรงเศรษฐกิจ)

เมื่อปรับดอกเบี้ยนโยบายลด

ธนาคารปรับลดดอกเบี้ยตามนโยบาย -> คนกู้เงินมากขึ้น -> ปริมาณเงินในระบบเพิ่ม -> คนมีเงินมากขึ้น  -> เงินเฟ้อขึ้น = เศรษฐกิจโตมากขึ้น (กระตุ้นเศรษฐกิจ)

หากเทียบอัตราดอกเบี้ยของไทยกับต่างประเทศตามที่แบงก์ชาติ ระบุว่าไทยยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มในประเทศเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย 6%, ฟิลิปปินส์ 4.75%, จีน 4.35%, มาเลเซีย 3.25% เป็นต้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ จะส่งผลต่ออะไรบ้าง?

เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
1. ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน คอนโดมิเนียม ผู้ที่กำลังผ่อนบ้าน หรือมีแผนจะกู้เงินอยู่ จะได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะเมื่อธนาคารต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย (ล้อตามดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อรักษาสมดุลและทำกำไร) ใครที่ทำสัญญาดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวไว้ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับการกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดก็จะทำให้ภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายเพิ่มตามดอกเบี้ย แต่หากใครเป็น ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ ที่มักเป็นสัญญากู้ซื้อรถ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบ 2. ดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารต่าง ๆ ทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตามไปด้วย จะทำให้คนอาจจะย้ายเงินจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ มาฝากกับธนาคารมากขึ้น เพราะได้ผลตอบแทนที่ดีและน่าสนใจกว่า 3. นักลงทุนที่จะกู้เงินมาลงทุน, SME บริษัทไหนที่กู้เงินกับธนาคารมาลงทุนอยู่ ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตและบริหารจัดการสูงขึ้น 4. ผลตอบแทนพันธบัตร เมื่อดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้น พันธบัตรรัฐบาล / ตราสารหนี้ต่าง ๆ ที่มีผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ย จะให้ผลตอบแทนพันธบัตรในอนาคตสูงขึ้นตาม 5. ตลาดหุ้น เมื่อการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล / ตราสารหนี้ และการฝากเงิน จะดูน่าสนใจมากขึ้น คนก็จะย้ายเงินจากตลาดหุ้นไปลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวบ้าง แต่ก็จะมีหุ้นบางกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นประกันชีวิต เป็นต้น นักลงทุนควรเลือกลงทุนแบบ Selective เนื่องจากแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบที่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกัน 6. เงินเฟ้อ - ราคาสินค้าโดยรวม การเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายในท้ายที่สุดจะนำไปสู่การชะลออัตราเติบโตของเศรษฐกิจ อย่างที่อธิบายไปด้านบนว่าสุดท้ายแล้วคนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เมื่ออิงตามหลักกลไกราคาแล้ว ราคาสินค้าก็จะถูกลงตาม เกิดเป็นเงินเฟ้อต่ำลง (ฝืดขึ้น) จะเห็นได้ว่าผลจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้มีหลายอย่างที่ใกล้ตัวเรา เพราะเรื่องเงินเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต ดังนั้นต้องติดตามข่าวความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจเลือกปรับพฤติกรรมและเตรียมพร้อมกับปีหน้ามากขึ้น #aomMONEY

◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =

เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ชอบกด Like โดนใจ กด Share

และอย่าลืม

เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
See First

เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢

.

ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

.

สนใจโฆษณาติดต่อ :

เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
Tel: 088-099-9875 (แน้ม)

เพราะเหตุใด รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
Email:

Related Story