ในสังฆคุณ 9 ประการ ข้อใดที่หมายถึง

ในสังฆคุณ 9 ประการ ข้อใดที่หมายถึง
ฟังบทความข่าว

(*)พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมาก ในการสืบต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี ๙ ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ

  1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    แปลว่า : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
  2. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    แปลว่า : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ
  3. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    แปลว่า : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
  4. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    แปลว่า : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในศีลสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้อยู่ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย, รู้จักประพฤติกิริยาสำรวมระวังทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดย สำรวมใจไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่, มีใจกว้างไม่คับแคบเห็นแก่ตัว
  5. อาหุเนยฺโย แปลว่า : เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
    หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวาย และได้รับการแสดงความเคารพ ด้วยเครื่องสักการะเนื่องในวาระต่าง ๆ
  6. ปาหุเนยฺโย แปลว่า : เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
    หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้ที่เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติยินดีที่ได้พบเห็น อันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง
  7. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า : เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน
    หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน
  8. อญฺชลิกรณีโย แปลว่า : เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้
    หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ด้วยศีลธรรม ตั้งตนประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง
  9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า : เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่านย่อมมีอานิสงส์มาก ดุจผืนนาที่มีดินดีสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอันเป็นธาติอินทรีย์ เมล็ดพืชที่หว่านหรือปลูกลงบนผืนดินนี้ ย่อมผลิตผลอย่างสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย พระสงฆ์สาวกเหล่านี้จึงเป็นปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่ปลูกฝังความดีงามและเป็นที่รักษาไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง

(*)พระสงฆ์สาวกที่มาในบทสังฆคุณ 9 บทนี้ ท่านหมายเอา *พระอริยบุคคล* 4 คู่ 8 บุคคล ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น คือ

คู่ที่ 1 คือ พระโสดาปัตติมรรค / พระโสดาปัตติผล
คู่ที่ 2 คือ พระสกทาคามิมรรค / พระสกทาคามิผล
คู่ที่ 3 คือ พระอนาคามิมรรค / พระอนาคามิผล

คู่ที่ 4 คือ พระอรหัตตมรรค / พระอรหัตตผล…


[307] �ѧ��س 9 (�س�ͧ���ʧ�� � virtues of the Sangha; virtues or attributes of the community of noble disciples)
�������1. �ػ�Ի��� ���� ��ǡʧ�� (���ʧ����ǡ�ͧ��м���վ���Ҥ �繼�黯ԺѵԴ� � Of good conduct is the community of noble disciples of the Blessed One)
�������2. �تػ�Ի��� (�繼�黯ԺѵԵç � of upright conduct)
�������3. ��»�Ի��� (�繼�黯ԺѵԶ١�ҧ � of right conduct)
�������4. ���ըԻ�Ի��� (�繼�黯Ժѵ������ � of dutiful conduct; of proper conduct)
�����������·Է� ��ڵ��� ������ؤҹ� ͯڰ ����ʻؤڤ�� (���� ������� 4 ��Ǻؤ�� 8 � namely, the four pairs of men, the eight types of individuals.)
�������������� ���� ��ǡʧ�� (���ʧ����ǡ�ͧ��м���վ���Ҥ��� � This community of the disciples of the Blessed One is)
�������5. ��������� (�繼������ͧ�ӹѺ ��ͤ���Ѻ�ͧ����ҹ��Ҷ��� � worthy of gifts)
�������6. ��������� (�繼�������õ�͹�Ѻ � worthy of hospitality)
�������7. ��ڢ������ (�繼������ѡ�Գ�, �����ͧ�Ӻح � worthy of offerings)
�������8. ͭڪ�աó��� (�繼�������÷��ѭ���, ������á�Һ���� � worthy of reverential salutation)
�������9. ͹صڵ�� �حڭ��ࢵڵ� �š��� (�繹Һح�ѹ�ʹ�������ͧ�š, �����觻�١�ѧ������������շ���ʹ�������ͧ�š � the incomparable field of merit or virtue for the world)

���ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ��� �������駷�� �� �.�. ����
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=307

April 4, 2014

สังฆคุณ  คือ คุณของพระสงฆ์ ในที่นี้หมายถึงพระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นโสดาบันเป็นต้นไป คุณสี่ข้อแรกเป็นคุณประโยชน์ส่วนตัว ส่วนห้าข้อหลังเป็นคุณที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น  มี 9 ประการ ดังนี้

  1. สุปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
  2. อุชุปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
  3. ญายปฏิปันโน  เป็นผู้ฏิบัติเป็นธรรม
  4. สามีจิปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
  5. อาหุเนยโย  เป็นผู้ควรของคำนับ
  6. ปาหุเนยโย  เป็นผู้ควรแก่เครื่องสักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
  7. ทักขิเนยโย  เป็นผู้่ควรแก่ของทำบุญรับทักษิณาทาน
  8. อัญชลิกรณีโย  เป็นผู้ควรทำอัญชลีกราบไหว้ได้สนิทใจ
  9. อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ  เป็นนาบุญของโลก