อัตราจังหวะหลักของดนตรีไทยคือจังหวะใด

๒.จังหวะฉิ่ง ใช้พื้นฐานเดียวกับจังหวะสามัญ เป็นการแบ่งจังหวะด้วยฉิ่ง โดยปกติจะตีสลับกัน เป็น ฉิ่ง - ฉับ แต่ใช้เสียงฉิ่งกำหนดเสียงแทนการเคาะหรือตบมือ เพื่อให้ทราบว่ากำลังบรรเลงในอัตราจังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือชั้นเดียว

๓.จังหวะหน้าทับ หมายถึงการตีกลองควบคุมจังหวะ วิธีการกำกับจังหวะหน้าทับคือ เราใช้จำนวนห้องโน้ตหรือ จำนวนบรรทัดของโน้ตหน้าทับ เป็นเกณฑ์ในการกำกับและนับจังหวะทำนองเพลง

จังหวะฉิ่ง
ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีใช้สำหรับกำกับจังหวะ เบาและหนัก ของบทเพลง มี ๓ อัตราจังหวะ

๑.จังหวะสามชั้น ( จังหวะช้า)

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉับ

๒.จังหวะสองชั้น (จังหวะปานกลาง)

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๓.จังหวะชั้นเดียว (จังหวะเร็ว)

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

จังหวะหน้าทับ (กลองแขก – โทนรำมะนา) ที่นักเรียนใช้กำกับจังหวะบทเพลงต่างๆ ในหลักสูตรวิชาดนตรีไทย โรงเรียนอำนวยศิลป์
สองไม้ลาว สองชั้น

- ติง – โจ๊ะ

- ติง - ติง

- - ติงทั่ง

- ติง - ทัง

สองไม้ไทย (ทยอย สองชั้น)

- - โจ๊ะจ๊ะ

ติงติง - ติง

- - โจ๊ะจ๊ะ

ติงติง - ทั่ง

หน้าทับสำเนียงฝรั่ง

- ติงติงติง

- ติง -ทั่ง

- ติง -ทั่ง

- ติง -ทั่ง

ปรบไก่สองชั้น

-ทั่ง - ติง

-โจ๊ะ-จ๊ะ

-โจ๊ะ-จ๊ะ

-โจ๊ะ-จ๊ะ

-ติง–ทั่ง

-ติง-ติง

-ทั่ง-ติง

-ติง-ทั่ง

ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่ ในเพลงแขก บรเทศ สองชั้น

ท่อนที่ ๑

จังหวะฉิ่ง

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

กลอง

-ทั่ง-ติง

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

-ติง–ทั่ง

-ติง-ติง

-ทั่ง-ติง

-ติง-ทั่ง

ทำนอง

- - - ซ

- ล ล ล

- - - ด

- ล ล ล

- ซ ซ ซ

- ล - ซ

- - - ม

- ม ม ม

ทำนอง

- ล ซ ม

- ร - ด

- - ม ร

ด ร - ม

- ซ - ล

- ซ - ม

- - - ร

- - - ด

ท่อนที่ ๒

จังหวะฉิ่ง

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

กลอง

-ทั่ง-ติง

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

-ติง–ทั่ง

-ติง-ติง

-ทั่ง-ติง

-ติง-ทั่ง

ทำนอง

- ด ร ม

ซ ม ร ด

- - - ซ

- - - ล

- - ด ล

ซม ซ ล

- - - ด

- - - ร

ทำนอง

- ล ซ ม

- ร - ด

- - ม ร

ด ร - ม

- ซ - ล

- ซ - ม

- - - ร

- - - ด

* ต่ำแน่งการบรรเลงของทุกเครื่องมือจะต้องเท่ากันทุกครั้ง เหมือนตารางโน้ตที่กำหนด จึงจะถือว่าการบรรเลงของวงดนตรีสมบูรณ์ในเรื่องการกำกับจังหวะ

จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญในการบรรเลงและขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กัน
ในวงดนตรีจะมี  3 ระดับ คือ

จังหวะช้า                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สามชั้น
จังหวะปานกลาง     ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สองชั้น
จังหวะเร็ว                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   ชั้นเดียว

               2.2
จังหวะฉิ่ง หมายถึง  จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดยปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่งฉับสลับกันไป ตลอดทั้งเพลง แต่จะมีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง ตลอดเพลง บางเพลงตี “ฉิ่ง  ฉิ่ง  ฉับตลอดทั้งเพลง หรืออาจจะตีแบบอื่นๆ ก็ได้ จังหวะฉิ่งนี้นักฟังเพลงจะใช้เป็นแนวในการพิจารณาว่าช่วงใดเป็นอัตราจังหวะ สามชั้น  สองชั้น  หรือ ชั้นเดียวก็ได้ เพราะฉิ่งจะตีเพลงสามชั้นให้มีช่วงห่างตามอัตราจังหวะของเพลง  หรือ ตีเร็วกระชั้นจังหวะ ในเพลงชั้นเดียว

              2.3 จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจากทับ”  เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ

 3. ทำนองดนตรีไทย
คือลักษณะทำนองเพลงที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ สั้นๆ ยาวๆ สลับ คละเคล้ากันไป ตามจินตนาการของคีตกวีที่ประพันธ์   บทเพลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ เหมือนกันทุกชาติภาษา จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะประจำชาติที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม ไม่เหมือนกัน เช่น เพลงของอเมริกัน อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ไทย ย่อมมีโครงสร้างของทำนองที่แตกต่างกัน ทำนองของดนตรีไทยประกอบด้วยระบบของเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง ความยาว ความกว้างของเสียง และระบบหลักเสียงเช่นเดียวกับทำนองเพลงทั่วโลก

                3.1 ทำนองทางร้อง  เป็นทำนองที่ประดิษฐ์เอื้อนไปตามทำนองบรรเลงของเครื่องดนตรี และมีบทร้องซึ่งเป็นบทร้อยกรอง ทำนองทางร้องคลอเคล้าไปกับทำนองทางรับหรือร้องอิสระได้ การร้องนี้ต้องถือทำนองเป็นสำคัญ

               3.2 ทำนองการบรรเลง หรือทางรับ เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีในวงดนตรี ซึ่งคีตกวีแต่งทำนองไว้สำหรับบรรเลง ทำนองหลักเรียกลูกฆ้อง “Basic Melody” เดิมนิยมแต่งจากลูกฆ้องของฆ้องวงใหญ่ และแปรทางเป็นทางของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ดนตรีไทยนิยมบรรเลงเพลงในแต่ละท่อน 2 ครั้งซ้ำกัน ภายหลังได้มีการแต่งทำนองเพิ่มใช้บรรเลงในเที่ยวที่สองแตกต่างไปจากเที่ยวแรกเรียกว่า “ทางเปลี่ยน

 4. การประสานเสียง
หมายถึง การทำเสียงดนตรีพร้อมกัน 2 เสียง พร้อมกันเป็นคู่ขนานหรือเหลื่อมล้ำกันตามลีลาเพลงก็ได้

              4.1 การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียง พร้อมกันได้  โดยเฉพาะทำเสียงขั้นคู่   (คู่คู่คู่คู่คู่และ
 คู่7)

             4.2 การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียงและความรู้สึกของเครื่องดนตรีเหล่านั้น ก็ออกมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะบรรเลงเหมือนกันก็ตาม

             4.3การประสานเสียงโดยการทำทาง  การแปรทำนองหลักคือ ลูกฆ้อง “Basic Melody” ให้เป็นทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเรียกว่า “การทำทาง” ทางของเครื่องดนตรี (ทำนอง)แต่ละชนิดไม่เหมือนกันดังนั้นเมื่อบรรเลงเป็นวงเครื่องดนตรีต่างเครื่องก็จะบรรเลงตามทางหรือทำนองของตน โดยถือทำนองหลักเป็นสำคัญของ  การบรรเลง

ประวัติ

      ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

       สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

       ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

        รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม

ลักษณะ

          ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (

อัตราจังหวะ 2 ชั้นของดนตรีไทยหมายความว่าอย่างไร

น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่าชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.

อัตราจังหวะ 3 ชั้นของดนตรีไทยหมายความว่าอย่างไร

จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับช้า คือช้ากว่าสองชั้นเท่าตัว หรือช้ากว่าชั้นเดียว ๔ เท่า เรียกเต็มว่า อัตราสามชั้น, ชื่ออัตราจังหวะหน้าทับและทำนองเพลงประเภทหนึ่ง มีความยาวเป็น ๒ เท่า ของอัตราสองชั้น.

เสียงฉับ ตือจังหวะแบบใด

เสียงของฉิ่งกำหนดให้มี 2 เสียงคือ จังหวะเบา มีเสียงเป็น “ฉิ่ง” และจังหวะหนักมีเสียงเป็น “ฉับเสียงฉับถือว่าเป็นเสียงจังหวะตก การตีฉิ่งที่ถูกต้องจะต้องให้เสียงฉับ” อยู่ที่จังหวะตก หรือสิ้นสุดของจังหวะ ถ้าหากสิ้นจังหวะเป็น “ฉิ่ง” จะทำให้กลางเป็นเสียงฉับ ฉิ่ง” ถือว่าตีผิดวิธี และเรียกการตีฉิ่งอย่างนี้ว่า ตีฉิ่งหงาย ...

อัตราจังหวะ 3 ชั้น มีจังหวะเป็นอย่างไร

อัตราจังหวะชั้นเดียว อ อัตราจังหวะสองชั้น คือ อัตราจังหวะสามชั้น คือ จังหวะช้า ในเวลาฟังเพลง เราจะทราบว่า เป็นเพลงในอัตราจังหวะช้า ปานกลาง หรือเร็ว ได้โดยสังเกตที่จังหวะนิ่ง และจังหวะกลอง (หน้าทับ) การฟังจังหวะกลองซึ่งเป็นจังหวะใหญ่