เฉลยพระพุทธศาสนา ม.5 บทที่4

  1. หลักการทางพระพุทธศาสนากับหลักการทางวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกันในข้อใด
    1. ให้เป็นคนหนักแน่น
    2. ให้เป็นคนมีเหตุผล
    3. ให้เป็นคนรอบคอบ
    4. ให้เป็นนักเรียนรักความสามัคคีในหมู่คณะ
  2. ข้อใดชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ฃ
    1. เชื่อโดยผ่านการพิสูจน์ทดลองแล้ว
    2. เชื่อว่าธรรมชาติมีกฏเกณฑ์และมีเหตุผล
    3. เชื่อในเรื่องบาปและบุญ
    4. เชื่อในเรื่องจักรวาล และวิวัฒนาการของชีวิต
  3. การเชื่อถือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ข้อใดสอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์
    1. การเชื่อโดยอาศัยการปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จด้วยตนเอง
    2. เชื่อโดยอาศัยการชี้แนะจากผู้รู้
    3. เชื่อโดยสังเกตจากประสบการณ์ของผู้อื่น
    4. เชื่อโดยอาศัยเหตุที่เกิดขึ้นกับสายตาของตน
  4. กรณีที่พระพุทธศาสนาเสด็จไปศึกษาหาความรู้จากสำนักอาจารย์ต่างๆ หรือทางปฏิบัติทุกรกิริยาถือว่าเป็นกระบวนการคิดในขั้นตอนใด
    1. รวบรวมข้อมูล
    2. วิเคราะห์
    3. ตั้งสมมติฐาน
    4. นำคำตอบที่ได้ไปใช้
  5. หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในข้อใด ที่วิทยาศาสตร์ยังไม่รับรอง
    1. หลักการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์
    2. การพิสูจน์ความจริงอย่างมีเหตุผล
    3. ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งในโลก
    4. หลักคำสอนเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ 
  6. พุทธจริยาในข้อใดที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติก่อน
    1. พุทธัตถจริยา
    2. โลกัตถจริยา
    3. ญาตัตถจริยา
    4. สมถจริยา
  7. เมื่อพิจารณาถึงพุทธกิจประจำวันของพระพุทธเจ้า ข้อใดสมควรเอาแบบอย่างมากที่สุด
    1. การตรงต่อเวลา
    2. ความขยันขันแข็ง
    3. การทำงานเพื่อชาวโลกอย่างแท้จริง 
    4. ความรอบคอบและแบ่งเวลาในการทำงาน
  8. คุณธรรมของพระอุบาลีข้อใด นักเรียนสมควรเอาเป็นแบบอย่างมากที่สุด
    1. ใฝ่หาความรู้เสมอ
    2. เป็นผู้สอนที่ดี
    3. เป็นผู้ตามที่ดี
    4. รู้และปฏิบัติตามระเบียบกฏเกณฑ์โดยเคร่งครัด
  9. เพราะเหตุใดจึงยกย่องพระธัมมทินนาเถรีให้เป็นนักแสดงธรรมชั้นยอด
    1. สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังทุกคร้ง
    2. แสดงธรรมเทศนาได้ต่อเนื่องยาวนาน
    3. สามารถยกตัวอย่างเปรียบเทียบได้
    4. สามารถอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย
  10. เมื่อพิจารณาคุณธรรมของพระเจ้าปเสนทิโกศล ในเรื่องการยึดมั่นในพระรัตนตรัย นักเรียนคิดว่าควรนำข้อใดมาปฏิบัติให้ได้
    1. นิมนตฺ์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้าน
    2. ไปรดน้ำมนต์ที่วัดใกล้ๆ บ้านเสมอ
    3. ไปกราบนมัสการพระพุทธรูปตามวัดต่างๆ
    4. ดูแลทุกข์สุขและความเป็นอยู่ของสงฆ์เสมอ 
  11. คนที่เข้าใจหลักธรรมเรื่อง โลกธรรม 8 จะมีทัศนะในการมองโลกอย่างไร
    1. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา
    2. ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มีได้ก็เสื่อมได้
    3. คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
    4. พอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่ดิ้นรนจนเกินเหตุ
  12. ลักษณะบุคลิกภายนอกของบุคคลที่มี กุลจิรัฐธิติธรรม 4 จะแสดงออกอย่างไร
    1. เก็บรักษาสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนให้เป็นระเบียบ
    2. รักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูลไว้ไม่ให้เสื่อมเสีย
    3. รู้จักใช่จ่ายทรัพย และดูแลครอบครัวให้เจริญก้าวหน้า
    4. อบรมกุลบุตรกุลธิดา ให้รักการศึกษาเล่าเรียน
  13. บุคคลใดสำนึกในบุญคุณที่ผู้อื่นให้ความช่วยเหลือตน และตอบแทนบุญคุณให้ในทีสุดเราเรียกตามหลักมงคลชีวิตว่าอย่างไร
    1. กตัญญู
    2. กตเวที
    3. กตัญญูกตเวที
    4. กตัญญูกตเวทีและมุทิตาจิต
  14. เพราะเหตุใด สังคมต้องปลูกฝังให้เยาวชนยึดหลักธรรมเรื่องความกตัญญู โลกธรรม 8 และกุลจิรัฐฐิติธรรม 4
    1. เพื่อความสงบสุขของชีวิตตนเอง ผู้อื่นและสังคม
    2. เพื่อปลูกฝังคุคณธรรม ความดีให้ติดตัวเป็นนิสัยถาวร
    3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบันครอบครัวกับสถาบันศาสนา
    4. เพื่อความมั่นคงในเศรษฐกิจของครอบครัว
  15. นักเรียนจะนำหลักธรรมเรื่อง การทำงานไม่มีโทษ แต่มีประโยชน์เกื้อกูล ไปใช้เพื่อความสงบสุขในชีวิตของตนได้อย่างไร
    1. ทำงานเพื่อสังคมเป็นหลัก
    2. ทำงานอดิเรกที่ไม่เป็นโทษต่อตนเอง
    3. ไม่ประกอบอาชีพต้องห้ามตามพุทธบัญญัติ
    4. ประกอบอาชีพสุจริต และไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน 
  16. ขณะที่นักเรียนนั่งเก้าอี้รอรับพระในห้องโถง เมือ่พระสงฆ์มาถึง ควรปฏิบัติอย่างไร
    1. ยกมือไหว้ในขณะที่นั่ง
    2. ลุกจากเก้าอี้ มานั่งกับพื้นและยกมือไหว้
    3. ลุกขึ้นไหว้ และยกมือไหว้
    4. ลุกจากเก้าอี้ นั่งคุกเข่า และกราบกับพื้น
  17. พระสงฆ์มีบทบาทพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับคุณดภาพของจิตใจมนุษย์ให้สูงขึ้น โดยวิธีใด
    1. สอนให้ดำรงชีวิตอย่างง่าย
    2. เป็นแบบอย่างของผู้มีจิตใจบริสุทธิ์
    3. เปนผู้นำท้องถื่นให้พัฒนาด้านสาธารณูปโภค
    4. ชี้แนะหนทางดำเนินชีวิตที่สุขสงบ
  18. สิงคาลกสูตร ข้อใด คล้ายคลึงกับหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ผู้ใดมีไว้ติดตัวจะเป็นที่รักของหมู่คณะ
    1. เว้นจากอบายมุข
    2. รู้จักจำแนกมิตรแท้มิตรเทียม
    3. รู้จักปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง
    4. รู้จักปฏิบัติตนตามหลักการสังคมสงเคราะห์ 
  19. การปฏิบัติต่อพระสงฆ์ในข้อใด ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง สำหรับชาวพุทธที่ดี
    1. ถามท่านว่าพรุ่งนี้จะมารับบาตรอีกไหม ชอบฉันแกงเผ็ดหรือไม่ อย่างไร
    2. ต่อหน้าเรียกว่า หลวงพ่อ ลับหลังเรียกว่า ท่าน
    3. ฟังท่านเทศน์ด้วยอาการสงบ ไม่ประนมมือ
    4. เดินสวนทางกับท่านต้องหลีกทางให้ท่านเกินไปทางขวามือของเรา
  20. เพราะเหตุใด บทบาทของพระสงฆ์ในด้านเป็นผู้ให้ศิลปวิทยา หรือผู้นำทางปัญญาจึงลดน้อยถอยลงในปัจจุบัน
    1. ความเสื่อมทางจิตใจและศิลธรรมของผู้คน
    2. มีสถาบันทางสังคมอื่นทำหน้าที่แทนได้ดีกว่า
    3. ความอ่อนแอของสถาบันสื่อมวลชน
    4. คนเก่งไม่ยอมบวชเป็นพระ
  21. พุทธศาสนสุภาษิต อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา อ่านออกเสียอย่างไร
    1. อัตตัดถะปันยา อะสุจี มนุสสา
    2. อัตตัตถะปันยา อะสุจี มะนัสสา
    3. อะตัตตะถะ ปันยา อสุจี มะนัสสา
    4. อะตัตตัดปันยา อะสุจี มะนุสสา
  22. คำศัพท์ในพุทธศาสตร ที่ว่า วิญญาณ หมายความว่าอย่างไร
    1. ความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น
    2. การรับรุ้โดยผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์
    3. สิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดเป็นพฤติกรรม
    4. ภาวะที่จิตละสังขารออกจากร่างกาย
  23. เพราะเหตุใด พุทธสุภาษิตในภาษาบาลีว่า ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ จึงมีประโยชน์สำหรับการพัฒนาสังคมในปัจจุบัน
    1. สอนให้คนไม่เห็นแก่ตัว
    2. ปลูกฝังความสามัคคีในหมู่คณะ
    3. สอนใหคนรู้เสียสละและแบ่งปัน
    4. พัฒนาจิตใจผู้คนให้ละเว้นอบายมุข
  24. เนกาลี ลภเต สุขํ เป็นพุทธสุภาษิตทีสอนในเรื่องใด
    1. กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข
    2. ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้
    3. สุขอื่นใดเสมอกับความสงบไม่มี
    4. คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นคนสกปรก
  25. จงอ่านภาษาบาลีต่อไปนี้ให้ถูกต้อง เอตมฺมงฺคลมตฺตมํ
    1. เอตะมัมงะคะละมุตตะมัง
    2. เอตะมะมงคะละมุตตะมัง
    3. เอตัมมงคลมุตตะมัง
    4. เอตัมมังคะมุตตะมัง 
  26. ถ้าพิจรารณาพระไตรปิฏกในแง่สิกขา 3 อยากทราบว่าสิกขาใด ทำให้คนเป็นคนดีอย่างแท้จริง เพราะผ่านการฝึกฝนอบรมด้านปัญญา จนกำจัดกิเลสอย่างละเอียดได้หมด
    1. อธิสีลสิกขา
    2. อธิจิตสิกขา
    3. อธิปัญญาสิกขา
    4. ปรมัตถเทศนา
  27. การกำจัดกิเลสอย่างหยาบ ป้องกันมิให้พระสงฆฺประพฤติผิดทางกายและวาจา ในแง่ของสิกขา 3 ต้องปฏิบัติตามพระไตรปิฏกในข้อใด
    1. พระวินัยปิฏก
    2. พระสุตตันตปิฏก
    3. พระอภิธรรมปิฏก
    4. ขันธ์ 5
  28. พระปรมัตถเทศนา ในการพิจารณาพระไตรปิฏกในแง่เทศนา 3 หมายถึงอะไร
    1. การแสดงสำนวนโวหารของพระพุทธเจ้า
    2. การแสดงเนื้อหาหลักธรรมขั้นสูง
    3. การแสดงสัจธรรมของชีวิต
    4. การแสดงพุทธกิจและพระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า
  29. จากข้อความน่ารู้ในคัมภีร์พระไตรปิฏก คนที่มองอะไรในแง่มุมเดียว ย่อมทะเลาะกันดุจตาบอดคลำช้าง แม้ในสังคมยุคปัจจุบัน ปัญหานี้ก็พบเห็นอยู่บ่อยๆ เราจะแก้ไขได้ด้วยเหตุผลใด
    1. ศึกษาให้รอบด้าน และยึดมั่นในความถูกต้องของเรา
    2. ประพฤติติตดุจสนต้องลม ไม่ยึดติดความเชื่อใดๆ
    3. รับฟังคำตัดสินจากท่านผู้รู้ และไม่ใช่อารมณ์แก้ไขปัญหา
    4. ใช้ปัญญา มีเหตุผล และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
  30. ระดับความสุข 10 ขั้นของมนุษย์ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฏก ข้อใดเป๋นความสุขพื้นฐานของสามัญชน
    1. ปฐมฌานสุข
    2. ทุติฌานสุข
    3. กามสุข
    4. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข 
  31. ข้อใดเป็นการบริหารจิต โดยวิธีจาคานุสสติ
    1. การมีสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
    2. การมีสติระลึกถึงธรรมที่สงบ
    3. การมีสติระลึกถึงร่างกายของเรา
    4. การมีสติระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคไปแล้ว
  32. ขณะที่นั่งสมาธิ นักเรียนจะใช้วิธีระลึกถึงจาคะในตัวของเราได้อย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
    1. การเสียสละและบริจาคทานมีคุณประโยชน์อย่างไร
    2. ตัวเราเคยสละสิ่งของและสละสิ่งไม่ดีออกจากใจหรือไม่ อย่างไร
    3. บุคคลใด สมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างในเรื่องการบริจาคทานบ้าง
    4. ความบริสุทธิ์ของจิตใจต้องสร้างด้วยการรักษาศีล
  33. การเจริญสมาธิ โดยวิธีระลึกถึงเทวตาอยู่เนืองๆ (เทวดานุสสติ) ถ้าเราจะฝึกโดยวิธีนี้เราต้องระลึกถึงในข้อใด จึงจะเกิดประโยชน์ตามเป้าหมาย
    1. พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    2. พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า
    3. พระบารมีของพระสยามเทวาธิราช
    4. ศาลหลักเมือง และศาลพระภูมิเจ้าที่
  34. การเจริญปัญญาในระดับโลกิยะ ถ้าจะให้ได้ปัญญาติดตัวไปนาน มีความฉลาดรอบรู้อย่างลึกซึ้ง คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น ควรจะเน้นในข้อใด
    1. สุตมยปัญญา
    2. จินตามยปัญญา
    3. ภาวนามยปัญญา
    4. โลกุตรปัญญา
  35. การคิดอย่างถูกวิธีและถูกต้อง ตามหลักอุปายมนสิการ เป็นการเจริญปัญญาอย่างหนึ่ง หมายถึงในข้อใด
    1. คิดวางแผนขายสินค้าให้ได้กำไรงาม
    2. คิดวางแผนประกอบสัมมาอาชีวะ
    3. คิดวางแผนเอาชนะคู่แข่งทางการค้า
    4. คิดวางแผนลดต้นทุนการผลิตและคุณภาพของสินค้า
  36. ในการทำบุญตักบาตร นักเรียนควรคำนึงถึงองค์คุณ 3 ประการนี้ให้มากทีสุด แต่ยกเว้นข้อใดมีความสำคัญรองลงมา
    1. ผู้รับเป็นผู้มีศีล
    2. ผู้ถวายมีเจตนาบริสุทธิฺ
    3. สิ่งของที่นำมาถวายได้มาโดยความบริสุทธิ์
    4. ผู้ถวายได้บุญกุศล
  37. หากต้องการนิมนต์พระสงฆ์ไปทำบุญถวายสังฆทานที่บ้าน โดยนินมต์จากวัดเดียวกัน 7 รูป ควรดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้อง
    1. ระบุจำนวนพระสงฆ์ทางฏีกาให้ทางวัดจัดให้
    2. นำหนังสือแจ้งวัด เวลาและสถานที่ที่ถวายทุกๆ รูป
    3. เจ้าภาพไปกราบนิมนต์ต่อเจ้าคณะจังหวัดด้วยวาจา
    4. ทำหนังสือถึงเจ้าคณะตำบล
  38. ข้อใดเป็นวิธีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
    1. เจ้าภาพประเคนถวายตามความพอใจ
    2. ใส่พานถวายตามระดับอาวุโส
    3. ห่อกระดาษแก้วถวายพระบวชใหม่
    4. พระสงฆ์จับฉลาก
  39. เมื่อไปวัด เราเรียกพระภิกษุรูปหนึ่งว่า พระเดชพระคุณ แสดงว่าภิกษุรูนี้มีฐานะอย่างไร
    1. สมเด็จพระสังฆราช
    2. สมเด็จพระราชาคณะ
    3. ท่านเจ้าอาวาส
    4. พระราชาคณะชั้นสามัญ
  40. พิธีตักบาตรเทโว จะเกิดขึ้นในวันสำคัญทางศาสนาวันใด
    1. วันเข้าพรรษา
    2. วันออกพรรษา
    3. วันมาฆบูชา
    4. วันอาสาฬหบูชา

Advertisement

Show

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...