ค่าขนส่งเข้าค่าขนส่งออกคืออะไร

การบันทึกบัญชี การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ

การบันทึกสินค้าแบบ F.O.B. Shipping point คือ ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนไปถึงท่าเรือขนถ่ายสินค้าเท่านั้น ดังนั้น ค่าขนส่งที่เหลือที่ผู้ซื้อจะขนย้ายไปยังสถานที่ของตัวเองจะต้องเป็นผู้ออกเอง

ค่าขนส่งเข้าค่าขนส่งออกคืออะไร

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชี แบบ F.O.B. Shipping point

บริษัท AAA จำกัด จัดซื้อสินค้าจาก บริษัท BBB จำกัด จากประเทศญี่ปุ่นในราคา 500,000 บาท เงื่อนไขการขนส่ง F.O.B. Shipping point และผู้ซื้อต้องจ่ายค่าขนส่งเองเป็นเงิน 4,000 บาท

ค่าขนส่งเข้าค่าขนส่งออกคืออะไร
การบันทึกสินค้าแบบ F.O.B. Shipping point การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ

ค่าขนส่งเมื่อซื้อตามเงื่อนไขต่างๆ บางเงื่อนไขผู้ซื้อเป็นผู้จ่าย แต่ก็ขึ้นอยู่กับของตกลงกับผู้ขาย หากผู้ขายจำเป็นต้องออกไปก่อนก็อาจบันทึกบัญชี ในรูปแบบลูกหนี้-การค้าไว้ก่อนได้ ในทางกลับกัน หากบางครั้งผู้ซื้อจำเป็นต้องออกแทนผู้ขาย ก็ให้บันทึกค่าขนส่งไว้เป็นลูกหนี้-การค้าเช่นกัน

อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 31 ตุลาคม 2022

 

ค่าขนส่งเข้าค่าขนส่งออกคืออะไร

ค่าขนส่งสินค้า (Transportation Cost) หมายถึง ค่าขนส่งที่จ่ายเพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังสินค้าของผู้ขาย ไปยังคลังสินค้าของผู้ซื้อ ในการขายสินค้าจะต้องมีการระบุเงื่อนไขในการรับผิดชอบค่าขนส่งว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ซึ่งเงื่อนไขในการกำหนดค่าขนส่งมี ดังนี้

  • F.O.B. Shipping Point เงือนไขนี้กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนให้แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทที่รับขนส่ง ดังนั้นผู้ซื้อจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ซึ่งเรียกค่าขนส่งนี้ว่า “ค่าขนส่งเข้า”
  • F.O.B. Destination เงื่อนไขนี้กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนให้แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ ณ คลังสินค้าของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ขายจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ซึ่งเรียกค่าขนส่งนี้ว่า “ค่าขนส่งออก”

Related Posts

เงื่อนไขส่วนลดและค่าส่งสินค้า

    1  เงื่อนไขเกี่ยวกับส่วนลด (Discount)  เป็นเงื่อนไขที่ผู้ขายให้ส่วนลดกับผู้ซื้อ เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อ ซื้อสินค้าครั้งละจำนวนมากหรือจูงใจให้ผู้ซื้อชำระหนี้โดยเร็ว เงื่อนไขเกี่ยวกับส่วนลด แบ่งเป็น 2 ประเภท  ได้แก่

                      1.1 ส่วนลดการค้า (Trade Discount)  เป็นส่วนลดที่ผู้ขายกระตุ้นหรือจูงใจให้ผู้ซื้อ ซื้อสินค้าครั้งละจำนวนมาก ๆ โดยผู้ขายตั้งเกณฑ์ไว้เพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจ เช่นซื้อสินค้า  5  ชิ้น ขึ้นไป แถม 1 ชิ้น หรือซื้อสินค้า 500 บาท  ลดให้ 5% แต่ถ้าซื้อสินค้าตั้งแต่ 501 – 1,000  บาท  ลดให้ 10% หรือกำหนดอัตราส่วนลดเป็นร้อยละจากราคาที่กำหนดไว้ในใบแสดงรายการสินค้า ส่วนลดการค้าผู้ขายจะลดให้ผู้ซื้อในขณะที่ซื้อขายสินค้า ผู้ขายเรียกส่วนลดนี้ว่า “ส่วนลดการค้า” ส่วนลดการค้านี้จะไม่นำมาบันทึกบัญชี แต่จะนำไปหักออกจากราคาซื้อขายสินค้าเพื่อหาราคาสุทธิทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะบันทึกบัญชีในราคาสุทธิ

                      1.2 ส่วนลดเงินสด (Cash Discount) เป็นส่วนลดที่ผู้ขายลดให้แก่ผู้ซื้อทันที ที่ชำระหนี้ค่าสินค้า หลังจากผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เพื่อเป็นการกระตุ้นหรือจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าโดยเร็วก่อนวันครบกำหนด ส่วนลดเงินสดนี้อาจจะกำหนดหรือไม่กำหนดไว้ในเงื่อนไขในการชำระเงินก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อกับผู้ขายจะตกลงกัน

                  การกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงิน (Credit Terms/Terms of Payment) เป็นเงื่อนไขที่ผู้ขายกำหนดระยะเวลาในการชำระเงินค่าสินค้า เพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าโดยเร็ว ภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขที่จะได้รับส่วนลด ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงิน และความหมายที่กำหนดในเอกสาร 

เงื่อนไข

ความหมาย

n /30

ให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า

2/10, n/30

ให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า แต่ถ้าชำระหนี้ภายใน 10 วันจะลดให้ 2%

n / EOM

(End of month)

ให้ชำระหนี้ภายในวันสิ้นเดือนของเดือนที่ซื้อสินค้า

2/10 ,EOM

ให้ชำระหนี้ภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป แต่ถ้าชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป จะลดให้ 2%

2/10 EOM, n/60

ให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าแต่ถ้าชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดเดือนที่ซื้อสินค้า จะลดให้ 2%

                 การนับวันครบกำหนดชำระหนี้  เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันตามเงื่อนไขในการชำระเงินค่าสินค้าแล้ว ควรจะคำนวณวันครบกำหนด เพื่อทางด้านผู้ซื้อจะได้ทราบวันที่จะต้องนำเงินไปชำระวันที่เท่าใด และจำนวนเงินเท่าไรจะได้วางแผนการจัดหาเงิน และรักษาผลประโยชน์ของกิจการในเรื่องของส่วนลดเงินสด  ส่วนด้านผู้ขายจะได้ทราบวันที่จะได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อ หรือจะได้ติดตามทวงถามได้ถูกต้อง ในเงื่อนไขอาจกำหนดวันครบกำหนดไว้แน่นอน เช่น วันสิ้นเดือนก็ไม่ต้องหาวันครบกำหนด  แต่บางกรณีกำหนดเป็นวัน  เช่น  30  วัน,  45 วัน 60 วัน ควรจะหาวันครบกำหนดไว้ล่วงหน้า

                  การนับวันครบกำหนด มีขั้นตอนการคำนวณดังนี้

                      1.  นำวันสุดท้ายของเดือนที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นตัวตั้ง

                      2.  นำวันที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นตัวหัก

                      3.  นำจำนวนวันที่ยังขาดอยู่ของเดือนถัดไปมาบวกเข้าไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบกำหนดตามเงื่อนไขที่ตกลง

ส่วนลดเงินสดมี 2 ประเภท คือ

                        1)  ส่วนลดรับ (Purchase Discount) เป็น ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อนำเงินมาชำระให้ผู้ขายภายในเวลาที่กำหนดไว้ ตามเงื่อนไขที่ได้ส่วนลด ส่วนลดเงินสดทางด้านผู้ซื้อ เรียกว่าส่วนลดรับ เป็นยอดที่ไปหักจากยอดซื้อสินค้าทำให้ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อลดลง

                        2)  ส่วนลดจ่าย (Sales Discount) เป็นส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ ตามในเงื่อนไขภายในระยะเวลาที่ให้ส่วนลด ด้านผู้ขาย เรียกส่วนลดเงินสดว่าส่วนลดจ่าย การที่ผู้ขายให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ มีผลทำให้รายได้จากการขายสินค้าลดลง เพราะส่วนลดจ่ายเป็นรายการที่นำไปหักรายได้จากการขายสินค้า

                  2 เงื่อนไขค่าขนส่งสินค้า  (Terms of Transportation) เป็นเงื่อนไขที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันในการการส่งมอบสินค้าซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งเรียกว่า “ค่าขนส่ง” ทั้งผู้ซื้อกับผู้ขายต้องทำการตกลงกันให้ชัดเจนว่าค่าขนส่งสินค้าจะเป็นภาระหรือหน้าที่ของฝ่ายใด โดยระบุเงื่อนไขในการขนส่งสินค้า ดังนี้

                       2.1  F.O.B Shipping point   เป็นเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าที่ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้า ณ กิจการของผู้ขาย กรรมสิทธ์ในสินค้าจึงเป็นของผู้ซื้อนับตั้งแต่ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้ ดังนั้น ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับภาระในการจ่ายค่าขนส่งสินค้าเรียกว่า “ค่าขนส่งเข้า” ถือว่าเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ

                       2.2  F.O.B Destination   เป็นเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าปลายทาง ณ กิจการ ของผู้ซื้อ ดังนั้นสินค้ายังเป็นกรรมสิทธ์ของผู้ขายจนกว่าผู้ขายจะส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว   ดังนั้นผู้ขายต้องเป็นผู้รับภาระในการจ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า “ค่าขนส่งออก” ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย