สาเหตุของปัญหาอาชญากรรมออนไลน์

อาชญากรรมไซเบอร์ 

– อาชญากรรมไซเบอร์ หมายถึง ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นคำที่ใช้ทั่วไป เพื่ออธิบายชุดของการปฏิบัติ มาตรการ และ / หรือ การกระทำที่ปกป้องเทคโนโลยีและข้อมูลจากการโจมตี ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อที่มาแรงในปัจจุบัน
– ทุกบริษัทไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ล้วนแต่เป็นเป้าหมายของอาชญากรรมไซเบอร์ การเตรียมพร้อมและระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ การทำความเข้าใจกับภัยคุกคามควาปลอดภัย เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุด มีดังนี้ :
• ไวรัสที่ติดคอมพิวเตอร์ผ่านไฟล์แนบอีเมลและการแชร์ไฟล์ สามารถโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นและทำให้ระบบทำงานล่าช้า
• แฮกเกอร์คือผู้ที่ “บุกรุก” เข้าสู่คอมพิวเตอร์จากสถานที่ห่างไกล จากนั้นพวกเขาสามารถทำให้เครื่องทำงานผิดปกติ ส่งสแปมหรือแพร่กระจายไวรัส

• ขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือได้รับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น หมายเลขประกันสังคม และ หมายเลขบัญชีการเงิน พวกเขาสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อก่ออาชญากรรม เช่นการฉ้อโกง หรือ การโจรกรรม

• สปายแวร์ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ลักลอบ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการออนไลน์ของผู้ใช้และส่งข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่ไม่รู้ตัว
ที่มา https://tcsd.go.th/อาชญากรรมไซเบอร์

สาเหตุของปัญหาอาชญากรรมออนไลน์

วิธีป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์

1) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

          เช่น ไม่ควรเผยแพร่หมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ นามสกุลที่อยู่ ให้กบับุคคลที่ไม่รู้จักหรือมีการโพสลงบนสื่อโซเชียลต่าง ๆ  เช่น Facebook Line

2.ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ ให้กับผู้อื่น แม้แต่เพื่อน เพราะเพื่อนเองก็อาจถูกหลอกให้มาถามจากเราอีกต่อหนึ่ง

3) ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ

4) ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ

5) ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย

6) สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)

7) ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ

อย่าบันทึก!ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้

https://www.itdigitserve.com/หลักการใช้อินเตอร์เน็ต

ที่มา รอบรู้ ทันภัย Cyber Channel https://www.youtube.com/watch?v=HnPewDtCi4E

สาเหตุของปัญหาอาชญากรรมออนไลน์
ปัจจุบันอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ หรือ ‘อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime)’  โดยมิจฉาชีพเหลานี้ใช้เทคโนโลยีเพื่อหลอกเหยื่อให้หลงกลแล้วได้เงินมาแบบง่ายๆ  เป็นภัยร้ายใกล้ตัวเพียงแค่ปลายนิ้ว เพียงแค่เปิดคอมพิวเตอร์หรือใช้งานอินเทอร์เน็ต คุณก็อาจจะตกเป็นเหยื่อจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้โดยไม่รู้ตัว โดยอาชญากรรมทางไซเบอร์ ที่คนไทยมักจะตกเป็นเหยื่อบ่อยมากที่สุด มีดังต่อไปนี้

  1. การหลอกลวงผ่านอีเมล (Email scam) 

SMS หรือ Email ปลอมที่ทุกคนรู้จักกัน มักจะอ้างว่ายินดีด้วยคุณถูกรางวัล….. หรือคุณได้รับเงินจาก…. และเชิญชวนทำงาน เพียงกดที่ลิงก์นี้ สิ่งที่มิจฉาชีพต้องการคือให้เหยื่อเข้าไปกรอกข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ถูกสร้างเอาไว้ 

  1. การหลอกลวงขายสินค้า (Sales scam) 

ประเด็น ‘การโดนโกงจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์’ พบเห็นได้บ่อยในลักษณะการหลอกขายสินค้าให้โอนเงินแต่ไม่ส่งสินค้า สินค้าไม่ตรงปกสั่งอีกอย่างส่งอีกอย่างมา และสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือได้สินค้าของปลอม ที่อ้างว่าลดราคาขายถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป 

  1. การหลอกรักออนไลน์ (Romance Scam)

มาหลอกให้รัก มาหลอกให้หลง และจากไป  มิจฉาชีพเหล่านี้มักจะสร้างโปรไฟล์ที่ดูดี หล่อ สวย มีฐานะ ดูน่าเชื่อถือ เข้ามาพูดคุย ตีสนิทสนมสานสัมพันธ์ เมื่อเหยื่อหลงรัก หลงเชื่อใจจนขาดสติ จะให้โอนเงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ให้มิจฉาชีพ  และบางรายถูกหลอกใช้ขนส่งยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายก็มีให้เห็นด้วยเช่นกัน 

  1. การหลอกรักลวงลงทุน (Hybrid Scam) 

มิจฉาชีพพวกนี้จะคล้ายกับการ Romance Scam แต่จะใช้ความโลภของเหยื่อมาหลอกลวง ยิ่งโลภมากยิ่งเสียเงินมาก โดยสร้างโปรไฟล์ปลอมเป็นนักลงทุน มีทรัพย์สินจำนวนมาก จากนั้นส่งข้อความถึงเหยื่อเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจ หลอกให้เกิดความโลภอ้างว่ามีช่องทางการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูง ถ้าเหยื่อไม่ได้เอะใจเกิดโลภขึ้นมาอยากรวยทางลัดโดยไม่ศึกษาให้ดี จะถูกหลอกให้ลงทุนเรื่อยๆ เพิ่มเงินเข้าไปทีละนิด โดยใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ลงทุนปลอมที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมา และบทสรุปของเรื่องนี้ก็จะเจ็บหนักถูกเชิดเงินหนีหายไป 

  1. การหลอกลวงด้วยการโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Vishing Phishing)

รูปแบบนี้พบเห็นได้บ่อย และยังคงมีคนหลงเชื่อเป็นประจำ โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์พวกนี้จะพยายามสร้างสถานการณ์ เล่นกับความกลัวให้เหยื่อตกใจ มักจะอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานต่างๆ อ้างว่าเหยื่อมีส่วนร่วมกับสิ่งผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกใช้ฝอกเงินหรือตรวจพบสิ่งของผิดกฎหมายจากบริการขนส่ง  พอเหยื่อกลัวและตกใจจนขาดสติก็จะให้บอกข้อมูลส่วนตัวหรือให้โอนเงินเพื่อความสุจริต

  1. การหลอกให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme)

ขบวนการแชร์ลูกโซ่มีการพัฒนาให้ทันสมัยและทำให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น มาทั้งในรูปแบบของแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ มักจะหลอกชักชวนให้ร่วมลงทุน มักอ้างว่าถ้าคุณลงทุนกับเราจะมีผลกำไรตอบแทนที่สูงในระยะเวลาสั้นๆ โดยช่วงแรกจะได้รับเงินจากการลงทุนจริง แต่เมื่อมีเหยื่อหลงกลร่วมลงทุนขยายเครือข่ายมากขึ้น สุดท้ายก็ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่อ้างไว้ และหนีหายไปพร้อมกับเงินที่ลงทุน

จึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอาชญากรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ ควรมีสติและไม่ควรเชื่อใครง่ายๆ ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนการตัดสินใจโอนเงินจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 

ปัญหาอาชญากรรมเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุทางกรรมพันธุ์และการบกพร่องทางพันธุกรรมและร่างกาย จากแนวความคิดทั้งหลายนั้น อาจจะสรุปได้ว่าอาชญากรรมเกิดจากสาเหตุใหญ่ 2. ประการคือ เกิดจากสาเหตุภายใน และสาเหตุภายนอก สาเหตุภายใน แยกออกได้เป็น สาเหตุทางชีววิทยา (ชีวกายภาพ) และสาเหตุทาง จิตวิทยา (จิตใจ) สาเหตุภายนอก แยกออกได้เป็น สาเหตุทางสังคม

ปัญหาอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

การโจรกรรมหรือการขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต.
การปกปิดความผิดของตัวเอง เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ปกปิดความผิดตนเองโดยตั้งรหัสไม่ให้คนอื่นรู้.
การละเมิดลิขสิทธ์.
ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพหรือเสียงลามกอนาจาร.
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฟอกเงิน.
อันตพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปก่อกวน.
การหลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม.

ปัญหาอาชญากรรมบนโลกออนไลน์เกิดจากสิ่งใด

1)ประชาชนพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นในชีวิตประจำวัน มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหลายชิ้น ทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ช่องทางความเสี่ยงมากขึ้น 2)ทุกองค์กร/หน่วยงานใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและดูแลลูกค้า บันทึกข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้น จึงเพิ่มช่องทางให้อาชญากรหาประโยชน์ได้มากขึ้น

การป้องกันอาชญากรรมออนไลน์มีอะไรบ้าง

รับมือกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ควรเริ่มต้นจากการป้องกัน.
1. Backupข้อมูลสำคัญ ๆ อยู่เสมอ.
2. ระวังทุกครั้งเมื่อใช้ Email. ... .
3. ตั้ง Passwordที่ซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะ ... .
4. อัพเดตโปรแกรมด้านความปลอดภัยเสมอ.