รูปแบบของข้อมูล มีอะไรบ้าง

1.ข้อมูล ปฐมภูมิ ( Primary Data)คือข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่ผู้เก็บข้อมูลลงมือเก็บด้วยตนเองได้มา จากแหล่งกำเนิดที่แท้จริง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบหรือการวัดจากกลุ่มตัวอย่างโดยตรง

2.ข้อมูล ทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดที่ผู้อื่นรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเป็นข้อมูล โดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น ข้อมูลจากระเบียนสะสม รายงานประจำปี สารานุกรม เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น
       แบ่งตามลักษณะของข้อมูล

1.ข้อมูล เชิงปริมาณ ( Quantitative Data) คือข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่าง ๆ ความถนัดด้านต่าง ๆ ที่วัดออกมาเป็นคะแนน คุณลักษณะด้านจิตพิสัย เช่นความสนใจ ความวิตกกังวล คุณลักษณะทางกายเช่น ส่วนสูง ความเร็วในการวิ่ง

2.ข้อมูล เชิงคุณลักษณะหรือเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลขแต่จะแสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น เช่น เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ ศาสนา สถานภาพสมรส อาชีพ ข้อความที่เป็นความคิดเห็น ผลการสังเกตที่เขียนในรูปบรรยาย
       แบ่งตามการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ

1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลข สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น

จำนวนเงินเดือนราคาสินค้า

2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่

 3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด

4. ข้อมูลภาพ (Images Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง ๆเมื่อนำมาเรียงต่อกันแล้วเกิดรูปภาพขึ้น 

เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น  เป็นต้น

5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง เช่น ภาพ

เคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทำจากโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น

การ รวบรวมข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะได้ข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วน ดังนั้น ความรวดเร็วของข้อมูลจึงผูกพันกับเทคโนโลยีซึ่งมีหลายวิธี เช่นการใช้ไปรษณีย์อิเทคทรอนิกส์ การเชื่อมต่อกับระบบปลายทางเพื่อรับข้อมูล การใช้โทรสาร การใช้ระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เช่น เครื่องกราดตรวจ( scaner ) อ่านข้อมูลที่เป็นรหัสแท่ง( bar code)

ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ
     ข้อมูล(Data)  คือ  สิ่งต่าง ๆ หรือข้อเท็จจริง  ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่าง ๆที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์
หรือการประมวลผล  โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

รูปแบบของข้อมูล มีอะไรบ้าง


ข้อมูลดิบ  (Raw  Data)  คือ  ข้อมูลทุกรูปแบบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล

การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
     - ความต้องการของผู้ใช้
     - ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
     - เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา

ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย  ได้แก่
   - ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
   - ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
   - ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
   - ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
   - ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง

2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่
   - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา
   - ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.2550

รูปแบบของข้อมูล มีอะไรบ้าง


3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุล
ของข้อมูลนั้น ๆ  ได้แก่
                - ข้อมูลตัวอักษร เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น  .txt  และ  .doc
                - ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล
ต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .bmp  .gif  และ .jpg
               - ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรี  และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav  .mp3  และ  .au
               - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภท
นี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .avi

4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์
    มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก  แต่มุ่งเน้นพิจารณา
การแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่
                - ข้อมูลเชิงจำนวน  มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้  เช่น
จำนวนเงินในกระเป๋า  จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง  และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
                 - ข้อมูลอักขระ  มีลักษณะเป็นตัวอักษร  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
                - ข้อมูลกราฟิก  เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่  เช่น
  เครื่องหมายการค้า  แบบก่อสร้างอาคาร  และกราฟ
                - ข้อมูลภาพลักษณ์  เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์
์เป็นหลัก  ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล  ย่อหรือขยาย  และตัดต่อได้  แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ
อย่างอื่นได้

ปัจจุบันบริษัท  NTT  Communications  Corp
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองส่งข้อมูลกลิ่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต
โดยมีโครงการที่จะเปิดให้บริการ  Aromatherapy  online  ในอนาคต

        สารสนเทศ(Information)  คือ  สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์
ในด้านการวางแผน  การพัฒนา  การควบคุม  และการตัดสินใจ
การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ  เช่น
                1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ  ได้แก่  สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
                2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด  ได้แก่  สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศ
ภายนอกองค์กร
                3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้  ได้แก่  สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์  สารสนเทศ
สาขาสังคมศาสตร์  สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
                4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน  ได้แก่  สารสนเทศด้านการตลาด  สารสนเทศ
ด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร  และสารสนเทศด้านการเงิน
                5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่    สารสนเทศที่เน้นวิชาการ  สารสนเทศ
ที่เน้นเทคนิค  สารสนเทศที่เน้นบุคคล  และสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
                6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ  ได้แก่  สารสนเทศระยะแรกเริ่มและ
สารสนเทศระยะยาว
               7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ  ได้แก่  สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศ
ปรุงแต่ง
                8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ  ได้แก่  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง  สารสนเทศ
ที่มีลักษณะเป็นข้อความ  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ  และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
               9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น  ได้แก่  สารสนเทศที่ทำประจำ
สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย  และสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ

การนำความรู้หรือวิธีการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ความถูกต้อง และความรวดเร็วให้แก่  สารสนเทศ
เรียกว่า  ไอทีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ  (IT:  Information  Technology)


รูปแบบของข้อมูล มีอะไรบ้าง
       

รูปแบบของข้อมูล มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างการเปรียบเทียบข้อมูลกับสารสนเทศ

แบบของข้อมูลมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ประเภทของข้อมูลเมื่อจ าแนกตามลักษณะของข้อมูล ได้ข้อมูล 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ

รูป แบบ ข้อมูลสารสนเทศ มี อะไร บาง

2) รูปแบบสารสนเทศ คือ ลักษณะภายนอกของสารสนเทศ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สื่อตีพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ / สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยแต่ละประเภทสามารถจ าแนก ได้ดังต่อไปนี้ (จุดหมาย อารมณ์สวะ, 2551 และ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ, 2558)

ลักษณะของแหล่งข้อมูลมีอะไรบ้าง

ประเภทของข้อมูล จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) 2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)

ข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ชนิด อะไรบ้าง

ประเภทของข้อมูล.
ข้อมูลตัวอักษร (ข้อมูลตัวอักขระ) ... .
ข้อมูลภาพ ... .
ข้อมูลตัวเลข ... .
ข้อมูลเสียง ... .
ข้อมูลอื่น ๆ.