ขั้นตอนการวาดภาพสีโปสเตอร์

สีโปสเตอร์(Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า “สีแป้ง”

การเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์เป็นงานจิตกรรมที่เป็นกระบวนการสืบเนื่องจากการวาดภาพแรเงา เช่นเดียวกับการเขียนด้วยสีน้ำ คือเปลี่ยนจากการใช้ดินสอระบายน้ำหนักลงบนรูปร่าง รูปทรงที่วาด มาเป็นการใช้สีโปสเตอร์แทน

สีโปสเตอร์เป็นสีที่มีลักษณะขุ่นทึบ เนื้อสีมีลักษณะคล้ายแป้ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของสีน้ำที่โปร่งใสไม่มีเนื้อสี สีโปสเตอร์เหมือนกันกับสีน้ำตรงที่เมื่อจะใช้ในการระบายภาพวาดจะต้องผสมน้ำก่อน

การฝึกเขียนสีโปสเตอร์ในเบื้องต้นก็เช่นเดียวกับการฝึกเขียนสีน้ำ มักนิยมเขียนจากหุ่นนิ่งเพื่อให้เกิดชำนาญมีทักษะรู้จักสังเกตเห็นลักษณะของสีและค้นพบเทคนิคการระบายสีด้วยตนเอง จากนั้นจึงใช้เทคนิคการเขียนสีโปสเตอร์มาเขียนภาพสื่อความคิด จินตนาการเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆได้ ตามความต้องการ

การเดรียมวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์ จะกระทำเช่นเดียวกับการเขียนภาพด้วยสีน้ำ

การระบายสีโปสเตอร์ขั้นพื้นฐาน มีวิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน 2 วิธี ดังนี้
1) การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน

2) การรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรื่อสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำัดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี

สีโปสเตอร์(Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า “สีแป้ง”

การเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์เป็นงานจิตกรรมที่เป็นกระบวนการสืบเนื่องจากการวาดภาพแรเงา เช่นเดียวกับการเขียนด้วยสีน้ำ คือเปลี่ยนจากการใช้ดินสอระบายน้ำหนักลงบนรูปร่าง รูปทรงที่วาด มาเป็นการใช้สีโปสเตอร์แทน

สีโปสเตอร์เป็นสีที่มีลักษณะขุ่นทึบ เนื้อสีมีลักษณะคล้ายแป้ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของสีน้ำที่โปร่งใสไม่มีเนื้อสี สีโปสเตอร์เหมือนกันกับสีน้ำตรงที่เมื่อจะใช้ในการระบายภาพวาดจะต้องผสมน้ำก่อน

การฝึกเขียนสีโปสเตอร์ในเบื้องต้นก็เช่นเดียวกับการฝึกเขียนสีน้ำ มักนิยมเขียนจากหุ่นนิ่งเพื่อให้เกิดชำนาญมีทักษะรู้จักสังเกตเห็นลักษณะของสีและค้นพบเทคนิคการระบายสีด้วยตนเอง จากนั้นจึงใช้เทคนิคการเขียนสีโปสเตอร์มาเขียนภาพสื่อความคิด จินตนาการเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆได้ ตามความต้องการ

การเดรียมวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์ จะกระทำเช่นเดียวกับการเขียนภาพด้วยสีน้ำ

การระบายสีโปสเตอร์ขั้นพื้นฐาน มีวิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน 2 วิธี ดังนี้
1) การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน

2) การรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรื่อสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำัดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี

สีโปสเตอร์ (Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบและมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า “สีแป้ง”

สีโปสเตอร์ นอกจากการใช้พู่กันเกลี่ยสีซ้ำที่ได้แล้ว ยังนิยมผสมกับสีขาวเมื่อต้องการให้สีอ่อนลงมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณสีขาวที่ผสมลงไป และเมื่อต้องการให้ความชัดของสีหม่นลงหรือเมื่อต้องการให้สีนั้นมืดเข้มขึ้น ก็ให้ผสมด้วยสีดำตามปริมาณมากน้อยตามที่ต้องการ


วิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน
1. การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน
2. การรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้เกิดการประสานกลมกลืนกัน


อุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้คู่กับสีโปสเตอร์
1. จานสี ให้เลือกจานสีขาวเนื่องจากจะทำให้การผสมสีของเราไม่ผิดเพี้ยนไปจากที่ต้องการ
2. พู่กัน มือใหม่แนะนำให้ใช้พู่กันหัวกลม ส่วนเรื่องขนาดของพู่กันขึ้นอยู่กับสเกลงานวาดที่เราต้องการ
3. กระดาษ ควรเป็นกระดาษผิวหยาบ เพราะมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ทนทาน เนื้อกระดาษเหนียวไม่เปื่อย
4. สี ควรดูบริเวณก้นขวดว่าสีภายในมีลักษณะแห้งแตกหรือไม่ หากเนื้อสีแห้งอาจเป็นเพราะผสมแป้งมากเกินไป ทำให้เนื้อสีที่ระบายออกมาไม่สวย *การเก็บรักษาสีหลังจากการใช้งาน ควรปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า*


Tips ในการใช้สีโปสเตอร์
1. เมื่อซื้อสีโปสเตอร์มาใหม่ ให้เปิดขวดใช้ไม้กวนสีในขวดให้ทั่วจนสีเป็นเนื้อเดียวกัน
2. การใช้ฟองน้ำแทนพู่กัน บีบฟองน้ำให้แน่นเล็กตามที่ต้องการ นำไปแตะซ้ำๆ กันบนภาพตามแสงเงาจะได้ภาพที่สวยงามไม่แพ้พู่กันกลม
3. การผสมสีโปสเตอร์ควรผสมน้ำให้พอหมาะ คือไม่ข้นหรือเหลวเกินไป แล้วต้องมีการกวนสีให้มากๆ และไม่ว่าจะใช้สีใดควรมีการผสมสีขาว เพื่อทำให้การระบายสีได้เรียบและสวยงาม