ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ

ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ

ความหมายของประชาธิปไตย
                1.ความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Democratia ซึ่งประกอบด้วยคำ  2  คำ  คือ Demos กับ kratein คำว่า Demos หมายถึง ประชาชน และ Kratein หมายถึง การปกครอง ฉะนั้นประชาธิปไตย (Demoskratia) จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน
                2.ความหมายที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค นักปรัชญาการเมืองหลายท่านที่ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่เคารพสิทธิและความเสมอภาคของมนุษย์ เชื่อว่าสมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมโดยส่วนรวม ยอกจากนี้ระบบการเมืองจะต้องเปิดโอกาส หรือให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการดำเนินการใดๆ ภายใต้กฎระเบียบของสังคมด้วย ซึ่งรูปแบบการปกครองดังกล่าว ก็คือระบอบประชาธิปไตย
                3.ความหมายที่เน้นเจตนารมณ์ของประชาชน ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยไว้อย่างกระชับและคมคายว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้ที่ถือเสมือนเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชน รัฐบาลเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก หรือได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ รัฐบาลจะคงอยู่ในอำนาจต่อไปได้เมื่อวาระสิ้นสุดลง ก็โดยการแสดงให้ประชาชนผู้เลือกตั้งเห็นว่า รัฐบาลสามารถสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
                4.ความหมายตามที่มาและขอบเขตอำนาจ มีผู้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า อำนาจสูงสุดมาจากประชาชน ทั้งนี้โดยอ้างว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ   โดยธรรมชาติ พวกเขาสามารถที่คิดและกระทำการใดๆ ได้ แต่เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม เขาจะสละสิทธิ์และอำนาจบางประการให้กับผู้ปกครอง เพื่อใช้อำนาจนั้นดำเนินการภายในกรอบที่กำหนดฉะนั้น เราจะพบว่ารัฐบาลในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้นจะมีอำนาจที่มีขอบเขต

ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ

ระบอบประชาธิปไตย
ที่มาภาพ : http://contentcenter.prd.go.th/contentviewfullpage.aspx?folder=579&subfolder=&contents=14019

รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
                ในประเทศประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้มีรูปแบบการปกครองเหมือนๆ กันทั้งหมด นักวิชาการได้พยายามเสนอหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจใช้แบ่งรูปแบบการปกครองของประเทศประชาธิปไตยมากมายด้วยกัน สรุปได้เป็น 2 หลักเกณฑ์ ดังนี้
                1.หลักประมุขของประเทศ แบ่งรูปแบบประชาธิปไตยได้ 2 ลักษณะคือ
                        1) มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชน โดยใช้องค์กรแยกกันเป็น 3 ทางคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการโดยผ่านทางศาล ส่วนองค์พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นกลางในทางการเมือง เช่น ไทย อังกฤษ เป็นต้น
                        2) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ผู้อำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐเพียงหน้าที่เดียว เช่น สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ และบางประเทศประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของฝ่ายบริหารด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฯลฯ
              2.หลักการรวมและการแยกอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
                        1 )แบบรัฐสภา ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ได้แก่ การมีเฉพาะผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวหรืออาจมี 2 สภาก็ได้ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตัวแทนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนมากสมาชิกได้มาจากการแต่งตั้ง แต่สมาชิกวุฒิสภาในบางประเทศก็มาจากการเลือกตั้ง ชื่อสภาอาจเรียกต่างกันได้ เช่น ในอังกฤษเรียกสภาผู้แทนราษฎรว่า สภาล่างและวุฒิสภาว่า สภาสูงหรือสภาขุนนาง แต่โดยหลักการสภาทั้งสองต้องประชุมร่วมกันรวมกันเป็น รัฐสภา ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนายบริหาร คือมีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อใช้ปกครองประเทศ และมีอำนาจบริหารในการให้ความเห็นชอบหรือจัดตั้งรัฐบาล และควบคุมการบริหารของรัฐบาลด้วย

ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ

ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ที่มาภาพ : http://doctorvifi.blogspot.com/2010/08/blog-post_25.html

                        2) แบบประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบรัฐสภา   การมีรัฐสภาเหมือนกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ การมีประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร โดยประธานาธิบดีมีสิทธิและหน้าที่ในการจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อบริหารประเทศและรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนอำนาจนิติบัญญัตินั้นก็ยังคงตกอยู่ที่รัฐสภา การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีนี้ ทั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างก็ได้รับเลือกจากประชาชน ทั้งสองฝ่าย จึงต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อระชาชน ส่วนอำนาจตุลาการยังคงเป็นอิสระ ฉะนั้นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ต่างก็เป็นอิสระและแยกกัน สถาบันผู้ใช้อำนาจทั้งสามจะเป็นตัวที่คอยยับยั้งและถ่วงดุลกันและกัน ไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำนาจเกินขอบเขต เช่น การปกครองของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
                        3) แบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับนายรัฐมนตรี ในด้านการบริหารนั้นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามประกาศใช้กฎหมาย และคณะรัฐมนตรีก็ยังคงเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร แต่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ส่วนรัฐสภาเองก็ยังคงทำหน้าที่สำคัญ คือ ออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตย แบบนี้เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศและการเมืองโดยทั่วๆ ไปทั้งยังทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ระหว่างรัฐสภากับคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีอำนายยุบสภาได้ด้วย จึงมีอำนาจมาก เช่น อินเดีย ฝรั่งเศส

ประเภทของประบอบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
              1.ประชาธิปไตยโดยทางตรง เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกัน พิจารณา ตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุมโดยตรง และจะเป็นผู้เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง เราจะเห็นว่าประชาธิปไตยประเภทนี้จะใช้ได้ในเชิงปฏิบัติจริงๆ ก็แต่เฉพาะในสังคมเล็กๆ หรือประเทศเล็กๆ ที่มีสมาชิกจำนวนน้อย ซึ่งแต่ละคนมีโอกาสอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ และพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างละเอียดและมีเหตุผล แต่ถ้านำเอาประชาธิปไตยประเภทนี้มาใช้กับสังคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากแล้วจะเป็นอุปสรรค เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงกัน และการที่จะหาสถานที่ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อจะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมในที่เดียวกันย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง
               2.ประชาธิปไตยโดยทางอ้อม เป็นประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประเทศต่างๆ ของโลกได้ขยายตัวออกไปมาก ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้นปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมามาก ฉะนั้นโอกาสที่ประชาชนทั้งประเทศจะมานั่งปรึกษาหารือกัน เพื่อแก้ปัญหากันแบบประชาธิปไตยโดยทางตรงย่อมเป็นไปไม่ได้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้แทนที่ประชาชนทุกคนจะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาใด ก็จะให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตัวแทนหรือที่รู้จักในนาม สมาชิกรัฐสภา เข้าไปสู่ที่ประชุมแทน ส่วนลักษณะและวิธีการเลือกสมาชิกรัฐสภาของประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป

ปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย
                1.ระดับการศึกษาของประชาชนเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย คือ ในเมื่อคนในสังคมได้รับการศึกษาดี มีเหตุผล มักจะติดตามข่าวสารทางการเมือง มีความสนใจทางการเมืองและมีความรู้ความเข้าใจว่าตนเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม นโยบายใดๆที่สังคมออกมาก็ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อเขาโดยตรง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาดีมักจะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ

การศึกษาเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย
ที่มาภาพ : http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=11547

                2.การพัฒนาเศรษฐกิจ จะพบว่าประเทศพัฒนานั้นจะมีระดับของความเสมอภาคทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศด้วยพัฒนาทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นผลให้สังคมมีสวัสดิการต่างๆที่ดี เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ฯลฯ นอกจากเศรษฐกิจที่ดีมั่นคงจะช่วยให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความสมัครใจ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือการถูก ชักจูง ขู่เข็ญใดๆ และยังมีผลให้ระบอบประชาธิปไตย ดำเนินไปด้วยดี และมีเสถียรภาพด้วย
               3.บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืนอยู่ได้ ลักษณะของบุคลิกภาพเหล่านี้คือความสนใจที่จะมีต่อกิจการบ้านเมือง เมื่อสนใจแล้วก็มีความกระตือรือร้นที่จะติดตามความเป็นไป มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ไร้อคติ และที่สำคัญได้แก่ การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยถือเสมือนว่าเป็นหน้าที่ที่ตนจะต้องทำ หรือที่ตนจะต้องรับผิดชอบในฐานะสมาชิกผู้หนึ่งของสังคม
                4.เสถียรภาพของสถาบันทางการเมือง มีส่วนช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้ามั่นคงด้วย นั่นคือ เมื่อสถาบันหรือองค์กรทางการเมืองเป็นที่ยอมรับของประชาชน ประชาชนก็จะมีความศรัทธา และจะเข้าไปเป็นสมาชิก หรือเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น เมื่อพรรคการเมืองมั่นคงสามารถแสดงออกซึ่งเจตนาของสมาชิกได้อย่างแจ่มชัด นโยบายที่ออกมาก็ได้รับการเชื่อถือและนำมาปฏิบัติ ประชาชนจะมีความศรัทธาพรรคการเมืองนั้น และเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเกื้อกูลให้ระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพยิ่งขึ้นด้วย
                5.พัฒนาการทางการปกครองและการบริหาร ปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองและการบริหารต้องมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน นโยบายของรัฐบาลตรงตามเจตนารมณ์และมีผลดีต่อประชาชน คือ ประชาชนได้มีโอกาส ได้มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนเข้าใจศรัทธาและยึดมั่นการเมืองระบอบประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น เจ้าของมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองมากขึ้นไปด้วย

ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย
           ข้อดี
                1.ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีสิทธิแห่งความเป็นคนเหมือนกันไม่ว่ายากดีมีจน เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน ทุกคนมีเสรีภาพในการกระทำใดๆ ได้หากเสรีภาพนั้นไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการพูด การเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ และทุกคนมีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกันที่จะได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย มีความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ เป็นต้น
                2.ประชาชนปกครองตนเอง ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนไปใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายมาใช้ปกครองตนเอง และเป็นรัฐบาลเพื่อใช้อำนาจบริหาร ซึ่งสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนรวมได้ดี เพราะผู้บริหารที่เป็นตัวแทนของปวงชนย่อมรู้ความต้องการของประชาชนได้ดี

ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ

การเลือกตั้ง
ที่มาภาพ : http://www.gotoknow.org/posts/406123

                3.ประเทศมีความเจริญมั่นคง การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองทำให้ประชาชนมีความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติตามกฎ และระเบียบที่ตนกำหนดขึ้นมายอมรับในคณะผู้บริหารที่ตนเลือกขึ้นมาและประชาชนไม่มีความรู้ต่อต้าน ทำให้ประเทศมีความสงบสุขเจริญก้าวหน้าและมั่นคง

            ข้อเสีย
             1.ดำเนินการยาก ระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการปกครองที่ดี แต่การที่จัดสรรผลประโยชน์ตรงกับความต้องการประชาชนทุกคนย่อมทำไม่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่จะให้ประชาชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามสิทธิ เสรีภาพทุกประการ ทั้งนี้เพราะวิสัยของมนุษย์ย่อมมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมจึงมีการกระทบกระทั่งและละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นได้
                2.เสียค่าใช้จ่ายสูง การปกครองระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งในแต่ละระดับต่างต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทั่งงบประมาณดำเนินงานชองทางราชการและค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                3.มีความล่าช้าในการตัดสินใจ การตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตยต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ โดยผ่านขั้นตอนการอภิปราย แสดงเหตุผลและมติที่มีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของสมาชิกส่วนใหญ่ จึงต้องดำเนินตามขั้นตอนทำให้เกิดความล่าช้า เช่น การตรากฎหมาย ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนของวาระ อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์เป็นเดือน หรือบางฉบับต้องใช้เวลาเป็นปี จึงจะตราออกมาเป็นกฎหมายได้

ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ

           http://bp-smakom.org/bp_school/social/democracy-system.htm
          http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=7491

ประชาธิปไตย คืออะไร บทความ
 

ประชาธิปไตย คืออะไร อธิบาย

ประชาธิปไตย (อังกฤษ: democracy) เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งพลเมืองเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเลือกผู้ปกครองซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ การตัดสินว่าผู้ใดเป็นพลเมืองบ้างและการแบ่งปันอำนาจในหมู่พลเมืองเป็นอย่างไรนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาและแต่ละ ...

ประชาธิปไตย คืออะไร ป.3

ชั้นประถมศึกษาปีที่3 ผู้สอน ครูกมลรัตน์ พูลน้อย เรื่อง ประชาธิปไตยในโรงเรียน Page 2 Page 3 ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครอง ที่ยึดเสียงส่วนใหญ่ หรือเสียงข้างมากเป็นหลัก การอยู่ร่วมกันในสังคมควรยึดหลักประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สมาชิกในชุมชน สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ที่บุคคลจะได้รับตามกฎหมาย

รัฐธรรมนูญมีความหมายว่าอย่างไร

รัฐธรรมนูญ (Constitutional) หมายถึง กฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกติกาสูงสุดในการปกครอง ซึ่งกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่และบทบาทของบุคคลต่าง ๆ รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าประเทศมีการปกครองแบบนิติรัฐ คือ เป็นการปกครองโดยกฎหมาย และในบรรดากฎหมายที่ออกมาบังคับใช้กับ ...

พลเมืองมีความหมายว่าอย่างไร

ความเป็นพลเมือง คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการ ...