พระราชกรณียกิจรัชกาลที่ 10 ด้านการเกษตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการส่งเสริมการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับทางด้านการเกษตร และการชลประทาน เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าราษฎรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และค่อนข้างอยู่ในฐานะยากจน พระองค์จึงทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และช่วยเหลือกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรของชาติเป็นสำคัญ ราษฎรไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระเกียรติว่า

" กษัตริย์เกษตร " นอกจากพระองค์จะทรงส่งเสริมการเกษตรโดยตรงแล้ว พระองค์ยังทรงฟื้นฟู และปรับปรุงพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เคยมีมาแต่โบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร และชลประทาน ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อชาติไทย และประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเาอยู่หัวทรงเห็นว่าประถเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนไทยประมาณร้อย 80 เป็นเกษตรกร และส่วนมากก็เป็นชาวนาชาวไร่ หรือเป็นเกษตรกรที่ยากจน

ปัญหาด้านความเดือดร้อนของราษฎรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจในประเทศ จึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรกรรมในทุกแขนงอย่างจริงจัง มาใช้กับกิจกรรมด้านการเกษตรและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างถูกต้องสมบูรณ์และครบวงจรทุกขั้นทุกตอน

ปัญหาของราษฎรในด้านการเกษตร

ประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างอุดมสมบูรณ์ เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีชื่อเสียงในด้านเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ดังคำว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นว่าเมืองไทยนี้ เป็นเมืองอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมาแล้วในอดีต ปัจจุบันประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่เป็นเกษตรกรรมที่มีปัญหาหลายประการ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ นา ไร่ สวน สภาพที่ดินทำกิน การผลิตและด้านอื่นๆในการทำเกษตรเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็พระเาอยู่หัวจึงทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการเกษตรมากเป็นพิเศษ ทรงหาแนวต่างๆในการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรไทยให้ดีขึ้นทุกวิถีทาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นคนยากจนและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศให้ดีขึ้น โดยทรงจับหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ว่า ถ้าส่งเสริมการเกษตรให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีชีวิตและการเป็นอยู่ดีขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาของชาติได้มากเกินครึ่งทีเดียว

ดังนั้น การแก้ไขปัญหาของราษฎรจึงทรงเน้นในด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยทรงเริ่มศึกษาเรื่องพืชโดยการปลูกพืชบนดาดฟ้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน รวมทั้งในบริเวณสวนจิตรลดา ซึ่งปัจจุบันก็ยังทรงศึกษาอยู่โดยเฉพาะเรื่องข้าว พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ก็ได้ทรงศึกษานอกพระราชฐานเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน การจัดสรรที่ดินให้ราษฎรทำกิน เช่น โครงการหนองพลับ เนื่องด้วยทรงเห็นว่าสาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้ชาวไร่ชาวนาต้องตกอยู่ในสภาพยากจนล้าหลังก็คือ การขาดแคลนที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินไม่พอเพียงกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ หรือต้องเช่านายทุนทำกัน บ้างก็ต้องกู้หนี้ยืมสินที่มีดอกเบี้ยสูงและผลผลิตไม่อำนวย ผลผลิตต่ำจนราษฎรหลายรายถึงกับมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดทั้งการขาดปัจจัยต่างๆในการผลิต เป็นต้น ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรเหล่านั้นให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีฐานะเป็นปึกแผ่นมั่นคง ถ้าทำได้สำเร็จและแผ่ขยายไปทั่วประเทศแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทย มีความมั่นคงโดยส่วนรวมด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชบายให้ปลูกข้าวเป็นหลัก เนื่องจากข้าวนั้นเป็นอาหารหลักของคนไทย ส่วนพืชไร่พืชสวนอื่นๆนั้น เกษตรกรสามารถปลูกเอาตามความสามารถของแต่ละคน เพระถ้าส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นแล้ว เกษตรกรก็ยังคงต้องซื้อข้าวมาบริโภคก็จะทำให้ถูกเอเปรียบได้ พร้อมกันนี้ยังทรงมีพระราชดำริส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ สุกร ควบคู่ไปด้วย เพื่อจะได้มีอาหารประเภทโปรตีนไว้บริโภค

การพัฒนาการเกษตรครบวงจร

ในด้านการส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยการพัฒนาอาชีพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงศึกษาเรื่องพืชหรือเรื่องการพัฒนาที่ดินโดยเฉพาะเท่านั้น แต่ทรงศึกษาการพัฒนาเกษตรทั้งระบบที่มีความสำคัญต่อปัจจัยการผลิต เช่น น้ำ ที่ดินทำกิน การบำรุงดิน ทุน ความรู้เรื่องการเพราะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนถึงการตลาดด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาการเกษตรครบวงจร

ปัจจัยประการแรกคือน้ำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวทรงศึกษาจนมีความชำนาญเป็นพิเศษมากในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อให้เกิดผลที่รวดเร็ว และ ถึงมือราษฎรเหล่านั้น โดยเฉพาะหมู่บ้านในชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ

ปัจจัยประการที่สองคือที่ดินทำกิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาในพื้นที่โดยทำการศึกษาและพิจารณาปรับปรุงแก้ไขดัดแปลงเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาให้ราษฎร เช่น โครงการพัฒนาที่ดินหรือจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมและเกิดประโยชนย์สูงสุดต่อการประกองอาชีพที่จะมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว อาทิ โครงการหนองพลับ โครงการหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

ปัจจัยประการที่สามคือทุน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาอาชีพ ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายๆด้าน ทั้งด้านรัฐบาลและเอกชนที่มาช่วยเสริมให้ราษฎรได้มีทุนกู้ยืมไปพัฒนาอาชีพของตน และขณะเดียวกันการรวมกลุ่มหรือสหกรณ์เพื่อให้การกู้ยืมทุนและใช้หนี้คืนเป็นไปอยางมีระบบและระเบียบที่ดี รวมทั้งให้การยืมเงินทุนนั้นไปใช้ในทางที่ถูกที่ควรเป็นสำคัญด้วย

ปัจจัยประการที่สี่คือความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ อันเป็นเรื่องสำคัญมากอีกประการหนึ่งต่อการพัฒนาอาชีพแก่ราษฎร โดยพระองค์ทรงเน้นให้ราษฎรได้มีความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการต่างๆในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด แต่ละฤดู แต่ละภาค แต่ละจังหวัด อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการสมัยใหม่พอที่ราษฎรสามารถที่จะรับได้ และไปดำเนินการเองได้โดยมีราคาถูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งในระยะหลังๆนี้ก็ทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาขึ้นในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งที่จะเสริมสร้างความรู้และการปฏิบัติตามกรรมวีธีแผนใหม่เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ราษฎรโดยทั่วไป

ปัจจัยประการสุดท้ายคือการตลาด ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับสหกรณ์ หรือการรวมกลุ่ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นอยู่เสมอที่จะให้ราษฎรเกิดการรวมกลุ่มเพื่อให้มีพลังต่อรองในการซื้อขายโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างในอดีตที่เคยเป็นมา ซึ่งนับว่าเป็นการจัดการในด้านการตลาดให้ประชาชนเหล่านี้สามารถนำผลิตผลของตนไปสู่ตลาดได้โดยสะดวกและได้ราคาที่เป็นธรรม รวมทั้งการสหกรณ์นี้ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเสริมสร้างหลักประชาธิปไตยไปด้วยในตัว และทรงมีข้อสังเกตว่าชาวบ้านไม่ใคร่สนในการบัญชี จึงทรงเน้นให้มีการอบรมฝึกสอนให้ชาวบ้านทำบัญชีการลงทุนการใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนกำไร สามารถปรับราคาให้สอดคล้องกับการตลาดด้วย

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรของรัชกาลที่ 10 คืออะไร

พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เพื่อช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นให้ได้มีเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ และนำมาปรับปรุงงานเกษตรกรรมของตนให้ได้ผลผลิตมากขึ้น และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัด ...

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรมีอะไรบ้าง

พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาการเกษตร.
การพัฒนาแหล่งน้ำ หัวใจเกษตรกรรมยั่งยืน ... .
แนวพระราชดำริ อนุรักษ์และพัฒนาดิน ... .
กังหันชัยพัฒนา ปรับน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ... .
ฝนหลวง น้ำพระทัยฉ่ำเย็นสู่ปวงประชา.

รัชกาลที่ 10 ส่งเสริมด้านใด

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกู ทรงตระหนักในคุณค่า และความสําคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพ จึงสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับประชาชนได้เรียนรู้สามารถนํามาใช้ประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัว

รัชกาลที่ 10 มีผลงานอะไรบ้าง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกู ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสนับสนุนให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 แห่ง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ และในด้านการอุดมศึกษา