เทคโนโลยีที่ช่วยด้านการศึกษา มีอะไรบ้าง

บทความนี้เราจะพาผู้อ่านมารู้จักกับเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งในบทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงหลักการออกแบบ เทคโนโลยีต่างๆ และนวัตกรรมต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า

ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านใดทุกด้านล้วนมีความสำคัญทั้งหมด ที่จะส่งผลถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ฉะนั้นบทความนี้เราจึงไม่พลาดที่จะนำเรื่องของ “เทคโนโลยีการศึกษาคืออะไร” มาฝากกันเพื่อให้ผู้อ่านได้เปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ใช่เฉพาะในแง่ของการสร้างหรือการลงทุน แต่ด้านอื่นๆ ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาไว้เช่นกันครับ

ต้องขอบอกก่อนว่าผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ต่างก็นิยามและให้ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” ที่แตกต่างกันออกไป แต่ในเรื่องของความหมายนั้นก็เชื่อมโยงกัน ฉะนั้นเราไปดูกันเลยว่าเทคโนโลยีการศึกษาในบทความนี้ที่เราได้นำมาฝากกันเป็นอย่างไร อาจจะเปิดมุมมองให้ผู้อ่านได้อีกในมิติหนึ่งครับ

ตัวอย่างเช่น

ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายไว้ว่า : เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการ หรือการศึกษา คือระบบการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ อุปกรณ์เครื่องมือ และแนวความคิดใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา (ทั้งด้านการขยายงาน / ด้านการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน) เป็นต้น

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เช่น

1.  เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) 

จะมีความหมายว่า : ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการศึกษา ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยให้ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้ดีขึ้น โดยเทคโนโลยีการศึกษาจะครอบคลุมองค์ประกอบอยู่ 3 ประการได้แก่

  1. วัสดุ
  2. วิธีการ
  3. เครื่องมือหรืออุปกรณ์

2. เทคโนโลยี + การศึกษา

เป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า : การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการ (เพื่อไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้) และที่สำคัญยังรวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย

เทคโนโลยีการศึกษาจะเน้นเรื่อง

ซึ่ง 3 อย่างนี้จะถูกนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพราะมีหลายคนมากที่สับสนกับคำว่า (เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษา) โดยจะมีความคล้ายคลึงกันมาก ส่วนนี้เลยทำให้เกิดการสับสน

ตัวอย่างเช่น

นวัตกรรมการศึกษา : เป็นการประยุกต์นำสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในการศึกษา (เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตมาจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

เปรียบเทียบระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเสมือน = ต้นกล้วย

นวัตกรรมการศึกษาเปรียบเสมือน = หน่อกล้วย

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ถ้าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นต้นกล้วย นวัตกรรมการศึกษาก็เปรียบเสมือนหน่อกล้วยนั่นเอง

จึงสรุปคร่าวๆ ได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง : ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา หรืออีกความหมายคือการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบ เพื่อใช้ปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอนเป็นต้น

เทคโนโลยีการศึกษาที่น่าจับตามอง (และมีอยู่ทั่วไป)

เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งผู้คนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ ที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดทางด้านการเรียนรู้ได้อีกมากหมายในอนาคต คือ

  1. การเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Learning)
  2. การเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล (Digital Storytelling)
  3. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)
  4. การเรียนรู้แบบไมโคร (Microlearning)
  5. เทคโนโลยีการเกม (Gamification)
  6. tech-enabled immersive learning
  7. e-Learning

    และอื่นๆ อีกมากมายที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วย ในเรื่องการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากๆ

ดังนั้น “เทคโนโลยีการศึกษาคืออะไร” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราได้นำมาฝากกันเพราะจะทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดมุมมองใหม่ๆ เกิดไอเดียใหม่ๆ ที่ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต แน่นอนเทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่ถ้าหากเราใช้อย่างถูกวิธีเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาตัวเราได้อีกมากมายเลยล่ะ

อย่างไรก็ตามหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้าหากผู้อ่านสนใจอยากสร้างช่องทางการเรียนรู้เช่นการสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างกันสามารถสอบถามได้ที่ wynnsoft-solution ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

สุดท้ายนี้ : อย่าพลาดที่จะหัดคิดนอกรอบ เรียนรู้โลกกว้าง ฝึกสร้างไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ด้วยนะครับ เพราะเป็นประตูสู่โอกาสได้อย่างดีเลยล่ะ

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—

(Learning about Technology) ได้แก่  เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น

      2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี(Learning by Technology) ได้แก่  การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น

      3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่  การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น

      การเรียนรู้ในลักษณะที่ 2 และ 3 เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ที่มีคุณค่ามหาศาลซึ่งแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้  มีดังนี้

       การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา  กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือกระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ  การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus),  การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด(Concept),  การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์หลักการ (Rule)  ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive),  การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)  และการสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)

      ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทาง ปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความ คิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
 

       การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา  การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เราสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme)

      ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะ นำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพ ผลการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นการจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

เทคโนโลยีที่ช่วยด้านการศึกษา มีอะไรบ้าง

      ปัจจัยพื้นฐาน คือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็น ปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ

      ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือการที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบ

      การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

      ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้   ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็น ตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับ หลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครูและนักเรียน

      สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้  ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่ จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Softwares  แถบบันทึก  วีดิทัศน์ รวมถึงCD – Rom และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น

      การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถาน ศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือนรายงาน Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือ สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็น ประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครูและนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วย เทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practicesจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครูและนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน

      ในการจัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือ  IT  นั้น  ซึ่งการจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือ สารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว  ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์   

      ดังนั้นจึงมีความคาดหวังว่า ในอนาคตสถานศึกษา น่าจะได้พบกับความสมบูรณ์  ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคืออะไร

เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่างๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำคำ “เทคโนโลยี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่ง ...

เทคโนโลยีมีความสําคัญกับการศึกษาอย่างไร

1เทคโนโลยีการศึกษาทาให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้นทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทาให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น 2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถ ของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี

เทคโนโลยีดิจิตัล คืออะไร มีกี่ประเภท

11 เทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล.
AI หรือ Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ ... .
IoT หรือ Internet of Thing. ... .
Big data. ... .
Blockchain. ... .
5G. ... .
3D printing. ... .
Robots. ... .
Drone โดรน.