ข้อตกลงที่กําหนดวิธีการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต เรียกว่าอะไร

การทำงานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตในไทย พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand

1. E-mail หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมาก สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้รับอาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคน โดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับ เป็นผู้ใช้ที่อยู่ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้ สามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันได้ทั่วโลกมีความสะดวก รวดเร็วและสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้

2. การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (Upload, Download,FTP)การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลเป็นการเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลเรียกว่า FTP Server กับเครื่องไคลเอนต์ที่ใช้บริการที่เรียกว่า FTP Client แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การดาวน์โหลด และ การอัปโหลด

-การดาวน์โหลด ( Download ) คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์

-การอัปโหลด ( Upload ) คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปบันทึกไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการผ่านโปรแกรมสำหรับอัปโหลด

➧การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.การเผยแพร่สารสนเทศ มีหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดทำเว็บเพจฝากไว้ในเว็บไซต์ กระดานข้อความกระดานข่าว (Web Board) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าว โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็น กลุ่มข่าว หรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจเพลงร็อค ฯลฯ บล็อก หรือเว็บลอก(blog or weblog) เป็นการฝากข้อเขียนที่มีลักษณะคล้ายสมุดบันทึกส่วนบุคคล เรื่องราวที่เขี้นนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นประจำวันเท่านนั้น แต่เป็นเรื่องอะไรก็ได้

4. ห้องสนทนา (chat Room)การสนทนาแบบออนไลน์ (Chat)

ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกัน แต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็ว บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกันหรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่น โปรแกรม Windows Messenger (MSN), Yahoo Messenger

5. World Wide Web (www) หรือเครือข่ายใยแมงมุม

เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ที่มีลักษณะของการแสดงผลในรูปแบบ กราฟิกสวยงาม เต็มไปด้วยสีสัน เพียบพร้อมทั้งภาพและเสียงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับ การศึกษาในโลกไร้พรมแดน เหตุที่เรียกว่า ใยแมงมุม ก็ด้วยความสามารถในการ เชื่อมโยงข้อมูล จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ ด้วยการคลิกเมาส์ที่จุดเชื่อมโยง เพียงครั้งเดียว ทำให้สามารถผูกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก เข้าด้วยกันได้สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า

6. เครือข่ายสังคมหรือชุมชนเว็บ (social network or web community) รูปแบบหของห้องสนทนาถูกพัฒนาต่อมา เป็นการใช้งานเพื่อให้กลุ่มคนที่มีความสนใจด้านเดียวกันมาติดต่อสื่อสารกัน และมีการเรียกชื่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายในลักษณะนี้ว่า

เครือข่ายสังคม (Social network) หรือ ชุมชนเว็บ (web community)ตัวอย่างเว็บไซต์ที่บริการประเภทนี้ได้แก่ Twitter Facebook

➧การค้าหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. รูปแบบการค้นหาข้อมูลความรู้

1.1การค้นหาความรู้จากที่อยู่ของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Uniform Resource Locator : URL) เป็นการค้นหาข้อมูลความรู้โดยพิมพ์ที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการค้นหาลงในช่องที่กำหนด โดยผู้ค้นหาจะต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ก่อน

1.2การหาข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บ (Web browser)มี 2 วิธี คือ

-การสืบค้น (Browse)เป็นการเปิดดูเอกสารไปเรื่อยๆ ผ่านการเชื่อมโยง (Link)

-การค้นหา (Search) โดยใช้ระบบโปรแกรมค้นหา (Search engine) โดยใช้คำสำคัญ (Keyword) ในการหาข้อมูล

เทคนิคในการหาข้อมูลโดยใช้ Search engine

1. บีบประเด็นให้แคบลง

2. ใช้คำที่ใกล้เคียงกัน

3. การใช้คำหลัก (Keyword)

4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลขโดยไม่จำเป็น

5. ใช้เครื่องหมาย + หรือ – ในการช่วยค้นหาข้อมูล

➧คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

1. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด

2. การใช้ E-mail ควรหมั่นลบจดหมายเพื่อให้พื้นที่ในการรับ-ส่งจดหมายมากขึ้น และไม่ควรส่งจดหมายลูกโซ่ไปสร้างความรำคาญใจให้ผู้อื่น

3. การแชตนั้น ควรสนทนากับผู้ที่ต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น ควรใช้คำสุภาพและไม่ละเมิดเรื่องส่วนตัว

4. การใช้เว็บบอร์ด ห้ามพาดพิงสถาบันสำคัญ ห้ามเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลลามาอนาจาร

5. การใช้ข้อมูลของเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ควรคัดลอกไปใช้ในเชิงธุรกิจและไม่ควรแอบอ้างข้อมูลของผู้อื่นไปเป็นข้อมูลของตนเอง

6. การส่งไฟล์ข้อมูล ไม่ควรส่งไฟล์ข้อมูลที่มีกลุ่มซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย เช่น ไวรัส ไปให้ผู้อื่น