อีแวปปอเรเตอร์ที่ใช้กับตู้เย็นมักเป็นแบบใด

อีแวปปอเรเตอร์ที่ใช้กับตู้เย็นมักเป็นแบบใด

(1) คอมเพรสเซอร์ (Compressor) หน้าที่ของคอมเพรสเซอร์คือ ดูดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซในอีวาพอเรเตอร์ และรักษาความดันต่ำไว้ และอัดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซให้มีความดันสูง เพื่อให้สารทำความเย็นที่เป็นก๊าซสามารถกลั่นตัวเป็นสารทำความเย็นเหลวที่อุณหภูมิปกติ คอมเพรสเวอร์มีหลายแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับโครงสร้าง

(2) คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำหน้าที่ส่งความร้อนจากก๊าซของสารทำความเย็นที่ถูกอัดให้มีอุณหภูมิสูงไปยังตัวสื่อที่ใช้ระบายความร้อน ในการลดความร้อนนี้ สารทำความเย็นจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลับเป็นสารทำความเย็นเหลว ความร้อนที่สลัดออกไปทิ้งที่คอนเดนเซอร์นี้ จะเท่ากับปริมาณความร้อนที่ดูดออกจากในห้องด้วยการระเหย (เดือด) ของสารทำความเย็นรวมกับงานที่ให้กับคอมเพรสเซอร์

(3) อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) อีวาพอเรเตอร์ทำหน้าที่ให้สารทำความเย็นเหลวระเหยที่ความดันต่ำ เดือดและดูดความร้อนทั้งหมดเพื่อทำให้ได้ความเย็น ชนิดของอีวาพอเรเตอร์ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับชนิดของสารทำความเย็น อีวาพอเรเตอร์แบ่งหยาบ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้สำหรับระบบปรับอากาศและกลุ่มที่ใช้ทำความเย็น

(4) อุปกรณ์ลดความดัน (Pressure Reducing Device) อุปกรณ์ลดความดันเป็นอุปกรณ์อันหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการทำความเย็น ทำหน้าที่ให้สารทำความเย็นไหลเข้าไปฉีดขยายตัวและควบคุมการไหลของสารทำความเย็นไปยังอีวาพอเรเตอร์ในปริมาณพอเหมาะกับขนาดของระบบการทำความเย็นนั้น ๆ ความหมายของ Throtting คือ ทำหน้าที่ให้สารทำความเย็นไหลผ่านที่แคบ ๆ ในระยะเวลาอันสั้นและขยายตัว ที่ช่วงนี้จะไม่มีการถ่ายเทความร้อนหรืองานจากภายนอกเลย ชุดลดคามดันนี้มี 2 แบบด้วยกันคือท่อแคพพิลารี่ (Capillary Tube) และเอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

(5) ชุดกรองและดูดความชื้น (Strainer and Drier) ชุดกรองและดูดความชื้นนี้ ปกติจะติดตั้งอยู่ระหว่างคอนเดนเซอร์กับท่อแคพพิลารี่หรือเทอร์ดมสแตติคเอ็กสแปนชั่นวาล์ว ทำหน้าที่กรองผงสกปรกและดูดความชื้น เนื่องจากฝุ่นละอองที่เข้าไปในอุปกรณ์ของระบบขณะทำการประกอบ สำหรับความชื้นจะมาแข็งตัวที่ทางออกที่มีอุณหภูมิต่ำของท่อแคพพิลารี่หรือเทอร์โมสแตติคเอ็กสแปนชั่นวาล์ว และทำให้สารทำความเย็นไหลฝืดได้ในตอนต้นและอุดตันในตอนหลัง นอกจากนั้นยังเป็นตัวทำลายฉนวนไฟฟ้า สำหรับฝุ่นละอองที่เข้าไปในระบบก็จะปิดกั้นการไหลของสารทำความเย็นเช่นกัน

(6) พัดลม (Fans) พัดลมใช้ในเครื่องถ่ายเทความร้อนที่อีวาพอเรเตอร์และที่คอนเดนเซอร์ พัดลมแบ่งออกได้หลายแบบแล้วแต่ลักษณะของการใช้งาน

ความรู้เกี่ยวกับ อีวาโปเรเตอร์ มีหน้าที่อย่างไร

ความรู้เกี่ยวกับ อีวาโปเรเตอร์ มีหน้าที่อย่างไร  อีวาโปเรเตอร์ หรือ คอยล์เย็น จะติดตั้งอยู่ระหว่าง เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว กับ คอมเพรสเซอร์

อีแวปปอเรเตอร์ที่ใช้กับตู้เย็นมักเป็นแบบใด
ความรู้เกี่ยวกับ อีวาโปเรเตอร์ มีหน้าที่อย่างไร

อีวาโปเรเตอร์ Evaporator หรือ คอยล์เย็น Cooling Coil  มีหน้าที่รับน้ำยาที่เป็นของเหลว มีแรงดันต่ำ และ อุณหภูมิต่ำเข้ามา  ซึ่งมีลักษณะเป็นฝอยและน้ำยาจะเดือดในตัวคอยล์เย็นนี้ ทำให้น้ำยาเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส และจะดูดความร้อนจากตัวคอยล์เย็นไป  เมื่อความร้อนของอากาศโดยรอบอีวาโปเรเตอร์ถูกดูดออกไป ที่เหลือก็คือ อากาศเย็นที่พัดออกมาทางช่องลมเย็น  ทำให้อีวาโปเรเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่น้ำยาเหลวไหล ระเหย ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คอล์ยเย็น Cooling coil  หรือ อีวาโปเรเตอร์  การที่น้ำยาเหลวไหลมาเดือดเป็นไอทำให้พื้นผิวภายนอกที่บรรจุน้ำยาเย็นลงในที่นี้เรียกว่า อีวาโปเรเตอร์

ถือเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอนโซลในห้องผู้โดยสาร มีลักษณะเป็นท่อขด และมีครีบหลายหลายอันเพื่อนำพาความร้อนผ่าน และท่อขด ความร้อนจะแพร่ไปที่สารทำความเย็น สารทำความเย็นที่เป็ฯของเหลวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอ เมื่อได้รับความร้อน และจะถูกดูดออกโดยคอมเพรสเซอร์ เพื่อไปผ่านขบวนการทำให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง และ การที่จะทำให้ อีวาโปเรเตอร์มีความเย็นมากน้อยนั้นขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้

1.ต้องมีพื้นที่สำหรับทำความเย็น เพื่อดูดความร้อนออกไปตามที่ต้องการ

2.ต้องมีปริมาณเพียงพอ แก่การรับเอาน้ำยาที่เป็นของเหลวไว้สำหรับการระเหย และปริมาณต้องกว้างพอ ที่จะรับเอาไอที่ระเหยแล้วนั้นได้

3.ต้องมีการหมุนเวียนสะดวก ปราศจากความดันตกค้างอยู้มากเกินไปในอีวาโปเรเตอร์

อีวาโปเรเตอร์ มีความสำคัญในระบบเครื่องทำความเย็นเป็นอย่างมาก เพราะหากต้องการความเย็นมาก ๆ ก็แค่ใส่อีวาโปเรเตอร์โตๆ ที่ถูกต้องแล้ว อีวาโปเรเตอร์จะให้ความเย็นดี จะต้องมีความสัมพันธ์หมดทั้งระหว่าง คอมเพรสเซอร์ ตัวควบคุม น้ำยา และคอนเดนเซอร์  โดยการติดตั้งอีวาโปเรเตอร์ไว้ ภายในรถยนต์ อาจจะวางตำแหน่งได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขึ้นกับแบบของอีวาโปเรเตอร์ จุดประสงค์ที่สำคัญคือ ให้ไอความเย็นออกมาได้ทั่ว

ชนิดของอีวาโปเรเตอร์ มี 2 ชนิดคือ

1.แบบท่อและครีบ โดยจะมีที่ขดไปขดมา ส่วนมากทำจากทองแดง และมีครีบยึดระหว่างท่อ เพื่อการรับความร้อน ส่วนมากทำจากอลูมิเนียม

2.แบบครีบขดไปมา ท่อจะมีการขดไปขดมา และระหว่างนั้นจะมีครีบ โดยที่ครีบนั้นจะมีการขดไปมาด้วย ส่วนมากทำจากอลูมเนียมทั้งท่อและครีบ

ส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบการทำความเย็น มีกระบวนการทำความเย็นมีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนได้แก่

1.คอมเพรสเซอร์ Compressor  – ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำความเย็น หรือ น้ำยา Refrigerant ในระบบ  โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และ ความดันสูงขึ้น

2.คอยล์ร้อน Condenser  – ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น

3.คอยล์เย็น Evaporator – ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น

4.อุปกรณ์ลดความดัน Throttling Device – ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็นแค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ Capillary tube หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว Expansion valve

ระบบการทำความเย็นที่เรา กำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ Vapor-Compression Cycle  ซึ่งมีหลักการทำงานง่าย ๆ คือ การทำให้สารทำความเย็นไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็นวัฏจักรการทำความเย็น โดยมีกระบวนการดังนี้

1.เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ ดูดและอัดสารทำความเย็น เพื่อเพิ่มความดัน และ อุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

2.น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อน โดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

3.น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดัน จะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น

4.จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็น โดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อน จากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความดันคงที่ จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอรืเพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้ว ก็พอสรุปง่าย ๆ ได้ดังนี้

1.สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ ทำหน้าที่ เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง ออกมานอกห้อง จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้ง แล้วส่งกลับเข้าห้อง เพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์

2.คอมเพรสเซอร์ เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยา ผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้  ดังนั้น คอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะ ๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตาที่เราต้องการ

หากท่านใดสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศอย่างละเอียด สามารถพูดคุยกับทีมงานแอร์ดีเซอร์วิสได้ www.airdeeservice.com  เพราะที่ Airdeeservice.com เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคอย่างมืออาชีพ มีประสบการณ์มานานหลายปี เรามีความภาคภูมิใจในการเป็น บริษัท ซ่อมเครื่องปรับอากาศที่ดีที่สุด ทีมงานของเราได้รับการฝึกอบรมและได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติที่ถูกต้องตามกฎหมายและให้บริการอย่างมืออาชีพ โดยเราใช้อุปกรณ์และโปรแกรมซอฟต์แวร์ล่าสุดในการวิเคราะห์และวินิจฉัยระบบปรับอากาศ เราจึงสามารถค้นหาและแก้ไขปัญหาได้ในครั้งเดียว มั่นใจได้ว่าเรามอบความสะดวกสบายสูงสุดให้กับทุกครอบครัว  ท่านสามารถเข้าไปชมผลงานของเราก่อนได้ที่ www.airdeeservice.com ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณเครดิตภาพ shorturl.asia/rlZO3

อ่านบทความเพิ่มเติมที่ www.airdeeservice.com