ใบงานที่ 2.1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ

ใบงานที่ 2.1

คำถาม  1.การตลาดมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และคนในชุมชนอย่างไร ให้ตอบมาเป็นข้อๆโดยละเอียด

ตอบ 1.สร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค

          2.เป็นแรงผลักดันทำให้ผู้ประกอบการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. การแสดงข้อมูล คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นแนวความคิดทางการตลาดแบบใด (ให้อธิบายเหตุผลมาโดยละเอียด)

ตอบ  แนวความคิดแบบมุ่งเน้นสังคมเป็นแนวความคิดสมัยใหม่ที่ธุรกิจในปัจจุบันให้ความสนใจ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจการ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีความคิดเห็นว่าธุรกิจควรให้บริการช่วยเหลือแก่สังคมในด้านต่าง ๆโดยมิใช่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายเพียงเท่านั้น แต่ควรจะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

3.การกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการแสดงข้อมูลในฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดทางการตลาดอย่างไร

ตอบ คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นเครื่องมือเล็ก ๆ แต่มีผลต่อการแก้ปัญหาใหญ่ๆของโลก ช่วยให้ข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อการก้าวสู่ สังคมคาร์บอนต่ำ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบเศรษฐในโลกปัจจุบัน

          

เศรษฐศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม

          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                                      เวลาเรียน  6  ชั่วโมง

1   มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

          ส 3.1      ม.6/1      อภิปรายการกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ

 2 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

 ระบบเศรษฐกิจของโลกในโลกยุคปัจจุบันมีผลต่อการกำหนดราคาและค่าจ้าง โดยรัฐบาล          

มีบทบาทในการแทรกแซงและควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่ายและจัดสรรในทางเศรษฐกิจ

Ž 3  สาระการเรียนรู้

3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1)  ระบบเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน ผลดีและผลเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ

2)  ตลาดและประเภทของตลาด ข้อดีและข้อเสียของตลาดประเภทต่าง ๆ

3)  การกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทาน การกำหนดราคาในเชิงกลยุทธ์ที่มีในสังคมไทย

4)  การกำหนดค่าจ้าง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และอัตราค่าจ้างแรงงานในสังคมไทย

5)  บทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่ายและจัดสรรในทางเศรษฐกิจ

3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                 -

 4  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

           4.1  ความสามารถในการสื่อสาร

           4.2  ความสามารถในการคิด                                   

                        -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -      ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

                        -      ทักษะการคิดแก้ปัญหา      

            4.3  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                                 

                       -     กระบวนการทำงานกลุ่ม

 5  คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                                   

            1.  ใฝ่เรียนรู้                                                                                

            2.  มุ่งมั่นในการทำงาน

  6 ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

    รายงานสรุป เรื่อง ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน

  7 การวัดและการประเมินผล

7.1     การประเมินก่อนเรียน

                  -  แบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  2  

            7.2    การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

       1)   ใบงานที่ 1.1 เรื่อง หน่วยเศรษฐกิจ

       2)   ใบงานที่ 1.2  เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

       3)   ใบงานที่ 1.3  เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

                 4)   ใบงานที่ 1.4  เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

                 5) ใบงานที่  2.1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ

                  6) ใบงานที่  2.2  เรื่อง การกำหนดราคา

                  7)   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

           7.3    การประเมินหลังเรียน

                        -  แบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  2  

           7.4     การประเมินชิ้นงาน / ภาวะงาน (รวบยอด)

                    -  ประเมินรายงานสรุป เรื่อง ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน  

                       แบบประเมินรายงานสรุป เรื่อง ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน

รายการ

ประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. การ    เปรียบ           เทียบผลดี     และผลเสีย    ขอระบบ        เศรษฐกิจ        แบบต่างๆ

เขียนเปรียบเทียบผลดีและผลเสียของระบบเศรษฐกิจประเภทต่างๆ

ได้ถูกต้องครบถ้วน ทุกประเด็น

เขียนเปรียบ

เทียบผลดีและ

ผลเสียของระบบ

เศรษฐกิจ

ประเภทต่างๆ

ได้ถูกต้อง

เกือบทุกประเด็น

เขียนเปรียบ

เทียบผลดีและ

ผลเสียของระบบ

เศรษฐกิจ

ประเภทต่างๆ

ได้ถูกต้อง

บางประเด็น

เขียนเปรียบ

เทียบผลดีและ

ผลเสียของระบบ

เศรษฐกิจ

ประเภทต่างๆ

ได้ถูกต้อง

บางประเด็น  

แต่สำนวนวกวน

2. การ     เปรียบ       เทียบข้อดี     และข้อเสีย    ตลาด            ประเภท        ต่างๆ

เขียนเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของตลาดประเภทต่างๆ ได้ถูกต้องครบถ้วน ทุกประเด็น

เขียนเปรียบ

เทียบข้อดีและ

ข้อเสียของ

ตลาดประเภท

ต่างๆ ได้ถูกต้อง

เกือบทุกประเด็น

เขียนเปรียบ

เทียบข้อดีและ

ข้อเสียของ

ตลาดประเภท

ต่างๆ ได้ถูกต้อง

บางประเด็น

เขียนเปรียบ

เทียบข้อดีและ

ข้อเสียของ

ตลาดประเภท

ต่างๆ ได้ถูกต้อง

บางประเด็น  

แต่สำนวนวกวน

3. การกำหนด

ราคา

 ตาม               

 อุปสงค์              

 และ

 อุปทาน

อธิบายการกำหนดราคาตามอุปสงค์ อุปทาน  พร้อมยกตัวอย่างประกอบได้ถูกต้อง ชัดเจน

อธิบายการกำหนดราคาตามอุปสงค์ อุปทาน  พร้อมยกตัวอย่างประกอบถูกต้องค่อนข้างชัดเจนเป็นส่วนใหญ่

อธิบายการกำหนดราคาตามอุปสงค์ อุปทาน  พร้อมยกตัวอย่างประกอบถูกต้องค่อนข้างชัดเจนเป็นบางตอน

อธิบายการ

กำหนดราคาตาม

อุปสงค์ อุปทาน 

พร้อมยก

ตัวอย่างประกอบ

ได้ถูกต้อง

แต่ไม่ชัดเจน

4. บทบาท

ของรัฐใน

การ

แทรกแซง

ราคา

และการ

ควบคุม

ราคาเพื่อ

การ

แจกจ่าย

อธิบายบทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่าย

พร้อมยกตัวอย่างประกอบได้ถูกต้อง ชัดเจน

อธิบายบทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่าย

พร้อมยกตัวอย่างประกอบถูกต้องค่อนข้างชัดเจน

เป็นส่วนใหญ่

อธิบายบทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่าย

พร้อมยกตัวอย่างประกอบถูกต้องค่อนข้างชัดเจน

เป็นบางตอน

อธิบายบทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่าย

พร้อมยก

ตัวอย่างประกอบ

ได้ถูกต้อง

แต่ไม่ชัดเจน

รายการ

ประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

5.  การนำเสนอ

 ผลงาน

นำเสนอผลงาน

เรียงตามลำดับ

ขั้นตอนอย่างถูก

ต้อง ชัดเจน และ

เข้าใจง่าย

นำเสนอผลงาน

เรียงตามลำดับ

ขั้นตอนอย่างถูก

ต้อง ค่อนข้าง

ชัดเจน และ

เข้าใจง่าย

นำเสนอผลงาน

เรียงตามลำดับ

ขั้นตอนอย่างถูก

ต้อง แต่ค่อนข้าง

ไม่ชัดเจน

นำเสนอผลงาน

เรียงตามลำดับ

ขั้นตอนอย่างถูก

ต้อง เป็นบางขั้น

ตอนแต่ไม่

ชัดเจน

      กิจกรรมการเรียนรู้

 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  

กิจกรรมที่ 1

หน่วยเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจ

วิธีสอนแบบบรรยาย  วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการต่อเรื่องราว  (Jigsaw)

เวลา  2  ชั่วโมง

1.  ครูนำภาพกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ มาให้นักเรียนดูและให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า ใครเป็นผู้ผลิต ใครเป็นผู้บริโภค  ถ้านักเรียนเป็นผู้บริโภคดังในภาพนักเรียนปฏิบัติอย่างไร ผู้ผลิตในภาพดังกล่าวจะต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะเกิดผลดีที่สุด

2.  ครูช่วยอธิบายสรุปให้นักเรียนเข้าใจว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน การแจกจ่ายสินค้า และบริการไปยังผู้บริโภคจะดำเนินการอย่างประหยัดและตอบสนองความต้องการของประชาชนในสังคมให้ได้มากที่สุด ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เรียกว่า หน่วยเศรษฐกิจ

3.  ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้

-    หน่วยเศรษฐกิจ

-     ระบบเศรษฐกิจ

4.   ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง  ปานกลางค่อนข้างอ่อน  และอ่อน ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีหมายเลขประจำตัว หมายเลข 1,2,3,4  เรียกว่า กลุ่มบ้าน ( Home Groups )

5.     สมาชิกแต่ละหมายเลขของกลุ่มบ้านแยกย้ายกันไปหาสมาชิกที่มีหมายเลขเดียวกัน รวมกันเป็นกลุ่มใหม่ เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ( Expert Groups) จากนั้นสมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละหมายเลขร่วมกันศึกษาหาความรู้และช่วยกันทำใบงาน ดังนี้

-       กลุ่มหมายเลข 1 ศึกษาความรู้ เรื่อง หน่วยเศรษฐกิจ และทำใบงานที่ 1.1

-       กลุ่มหมายเลข 2 ศึกษาความรู้ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และทำใบงานที่ 1.2

-       กลุ่มหมายเลข 3 ศึกษาความรู้ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม และทำใบงานที่ 1.3

-       กลุ่มหมายเลข 4 ศึกษาความรู้ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบผสม และทำใบงานที่ 1.4

6.     สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของใบงานที่รับผิดชอบแล้วกลับไปรวมกลุ่มเดิมที่เรียกว่า  กลุ่มบ้าน    สมาชิกแต่ละหมายเลขผลัดกันอธิบายความรู้จากใบงานที่ตนรับผิดชอบให้สมาชิกหมายเลขอื่นฟัง  สมาชิกในกลุ่มผลัดกันถามข้อสงสัยจนมีความเข้าใจชัดเจน

7.     ครูสุ่มเรียกตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มออกไปเฉลยคำตอบในใบงานหน้าชั้นเรียน โดยเรียงตามลำดับตั้งแต่ใบงานที่ 1.1 1.4   และครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

8.     ครูและนักเรียนสรุปประเด็นสำคัญของความรู้ในเรื่อง  หน่วยเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจประเภทต่าง ๆ 

กิจกรรมที่ 2

ตลาดและการกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ

วิธีสอนแบบบรรยาย  วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (Team Games Tournament), เทคนิคคู่คิด

เวลา  4  ชั่วโมง

1.     ครูให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างตลาดสินค้าที่นักเรียนรู้จัก ซึ่งอาจเป็นตลาดสินค้าในท้องถิ่นที่นักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ หรือตลาดสินค้าในจังหวัดต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยไปซื้อของ หรือจากการอ่าน/ฟังข่าว และให้ช่วยกันวิเคราะห์ความสำคัญของตลาด

2.     ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ ความหมายของตลาดในระบบเศรษฐกิจ และอธิบายความรู้เกี่ยวกับเรื่องตลาดในระบบเศรษฐกิจ  ในหัวข้อ ดังนี้

1) ความสำคัญของตลาดในระบบเศรษฐกิจ

2) ขนาดของตลาด

3) คนกลางในตลาด

4) ประเภทของตลาด

     3.   ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้าง

       เก่ง ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน และให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ

       เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ จากนั้นช่วยกันทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ

       โดยให้แต่ละคนปฏิบัติหน้าที่  ดังนี้

-     สมาชิกคนที่ 1 มีหน้าที่อ่านคำถามและแยกแยะประเด็นที่โจทย์กำหนด

-     สมาชิกคนที่ 2 วิเคราะห์หาแนวทางตอบคำถามอธิบายให้ได้มาซึ่งแนวคำตอบ

-     สมาชิกคนที่ 3 รวมรวมข้อมูลและเขียนคำตอบ

-      สมาชิกคนที่ 4 สรุปขั้นตอนทั้งหมด ตรวจคำตอบ

4.     ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 2.1 และช่วยกันสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ

5.     ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเรื่อง การกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทานในประเด็นต่อไปนี้

-   ความหมายของอุปสงค์และอุปทาน

-   ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอุปสงค์

-   ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอุปทาน

  6.    นักเรียนกลุ่มเดิมแต่ละกลุ่มจับคู่กันเป็น 2 คู่  ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากหนังสือเรียน และ

        หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากนั้นร่วมมือกันทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง  การกำหนดราคา

  7.     ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 2.2  และประเด็นสำคัญ

  8.     ครูอธิบายความรู้ให้แก่นักเรียนในหัวข้อเรื่อง  ต่อไปนี้

         1)   หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทาน

         2)   การเปลี่ยนแปลงของราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ

         3)  ข้อดีและข้อเสียของการกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทาน

         4)   การกำหนดราคาในเชิงกลยุทธ์ที่มีในสังคมไทย

         5)   ข้อดี ข้อเสียของการกำหนดเชิงกลยุทธ์ในสังคมไทย

         6)   บทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่ายและจัดสรร ในทางเศรษฐกิจ

         7)   การกำหนดค่าจ้าง อัตราค่าจ้างแรงงานในสังคมไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

       9.     นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติม จากหนังสือเรียน  หนังสืออ่านเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

            นักเรียนกลุ่มเดิมแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถามจากการฟังครูอธิบายและจากการศึกษาความรู้

            เพิ่มเติม กลุ่มละ 10 ข้อ

       10.   นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันถามคำถาม  และให้กลุ่มอื่นเป็นฝ่ายตอบหมุนเวียนกันไปโดยมี

            จำนวนข้อคำถามตามความเหมาะสมของเวลา  กลุ่มที่มีหน้าที่ถามจะเป็นผู้เฉลย  และครูเป็น

            ผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

                11.   ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปทบทวนความรู้จากหนังสือเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม

                      เรื่อง ตลาดและการกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ  เพื่อเตรียมการแข่งขันการตอบปัญหาใน

                      ชั่วโมงต่อไป

                12.   นักเรียนและครูช่วยกันจัดสถานที่สำหรับการแข่งขันตอบปัญหา  ดังนี้

                          -  โต๊ะหมายเลข 1  เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถในระดับเก่ง

       -  โต๊ะหมายเลข 2  เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถในระดับปานกลาง (ค่อนข้างเก่ง)

       -  โต๊ะหมายเลข 3  เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถในระดับปานกลาง (ค่อนข้างอ่อน)

       -  โต๊ะหมายเลข 4  เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถในระดับอ่อน

            ในกรณีที่มีนักเรียนจำนวนมาก โต๊ะหมายเลข 1 2 3 4 อาจมีซ้ำกันหลายโต๊ะ เพื่อให้นักเรียน

            ทุกคนมีโอกาสแข่งขัน

13.   นักเรียนแต่ละคนไปนั่งตามโต๊ะที่ครูจัดไว้ ครูแจกซองคำถามให้ทุกโต๊ะ  ซึ่งมีคำถามเป็น 2 เท่าของจำนวนนักเรียน

14.   เริ่มการแข่งขันให้นักเรียนผลัดกันทำหน้าที่  ดังนี้

    -    นักเรียนคนที่ 1  หยิบซองคำถาม 1 ซอง เปิดอ่านคำถาม  แล้ววางลงกลางโต๊ะ
    -    นักเรียนอีก 3 คน แข่งขันกันตอบคำถาม  โดยเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบของตนส่งให้คนอ่าน
    -    คนอ่านคำถามทำหน้าที่ให้คะแนน
    สมาชิกในทีมแข่งขันจะผลัดกันทำหน้าที่อ่านคำถามจนครบทุกคำถาม  ให้ทุกคนได้ตอบคำถามจำนวนเท่ากั
    
-    สมาชิกทุกคนรวมคะแนนของตน โดยให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันรับรองว่าถูกต้องพร้อมเซ็นชื่อ

     15.   นักเรียนทุกคนกลับเข้ากลุ่มเดิม นำคะแนนที่ได้รับมารวมกันเป็นคะแนนของทีม  ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับการประกาศชมเชย

     16.    ครูมอบหมายให้นักเรียนทำรายงานสรุป เรื่อง  ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน  โดยมีขอบข่าย ดังนี้

    1) การเปรียบเทียบผลดีและผลเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ

    2) การเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของตลาดประเภทต่าง ๆ

    3) การกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทาน

    4) บทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่าย

·       นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  2

9  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

9.1     สื่อการเรียนรู้

1)  หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม. 4 - ม.6

2)  หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

(1)         นราทิพย์ ชุติวงศ์ และชลดา จามรกุล. พื้นฐานเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพมหานคร :

คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

(2)         พอพันธ์  อุยยานนท์.    พัฒนาการเศรษฐกิจไทย   ในประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา

หน่วยที่  3  สาขาวิชาศิลปศาสตร์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  นนทบุรี

       โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.

(3)         รัตนา    สายคณิต. การพัฒนาเศรษฐกิจ ในเอกสารการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา 3 :

เศรษฐศาสตร์สำหรับครู  หน่วยที่ 14  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย-

ธรรมาธิราช. นนทบุรี :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2546.

(4)        รัตนา   สายคณิต และคณะ. พื้นฐานเศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพมหานคร : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

(5)       วันรักษ์    มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร :

3)            ใบงานที่ 1.1 เรื่อง หน่วยเศรษฐกิจ

4)            ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

5)            ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

6)            ใบงานที่ 1.4 เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสาน

7)            ใบงานที่ 2.1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ

8)            ใบงานที่ 2.2 เรื่อง การกำหนดราคา

             9.2  แหล่งการเรียนรู้

                    1)      ห้องสมุด

                    2)      แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                http://www.bot.or.th

                         http://www.mof.go.th   

                                http://www.idis.ru.ac.th

                                   http://www.mfa.go.th/business/1092.php

http://www.itd.or.th/th/comment/reply/354

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

เศรษฐศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6

เรื่อง  หน่วยเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจ

เวลา  2  ชั่วโมง

   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       ระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ ล้วนมีทั้งผลดีและผลเสียแตกต่างกัน และมีผลต่อการกำหนดราคา

และค่าจ้าง

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

         2.1      ตัวชี้วัด   

                 ส 3.1     ม.4-6/1      อภิปรายการกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ

2.2          จุดประสงค์การเรียนรู้

1)            อธิบายประเภทของระบบเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันได้

2)            วิเคราะห์ผลดีและผลเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆได้

Ž   สาระการเรียนรู้

3.1           สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                      -  ระบบเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน ผลดีและผลเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ

3.2           สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

-

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

            4.1      ความสามารถในการคิด                                       

                        -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

                       -      ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

            4.2      ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                                 

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                                   

            1.        ใฝ่เรียนรู้   

          2.       มุ่งมั่นในการทำงาน                                                                                  

      กิจกรรมการเรียนรู้   (วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิค

                                                       การต่อเรื่องราว (Jigsaw))

                 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  2

1.  ครูนำภาพกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ มาให้นักเรียนดู เช่น การซื้อขายสินค้าในตลาดสด ตลาดนัด ในห้างสรรพสินค้า

-    ช่างเสริมสวยกำลังเสริมสวยให้แก่ลูกค้า

2.             ครูให้นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่อไปนี้

                    -    ใครเป็นผู้บริโภค

                    -   ถ้านักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคในภาพ  นักเรียนจะปฏิบัติอย่างไร อธิบายเหตุผล

                    -   ใครเป็นผู้ผลิต

                    -   ผู้ผลิตในภาพนั้นจะต้องดำเนินงานอย่างไร จึงจะเกิดผลดีที่สุด

3.             ครูช่วยอธิบายสรุปให้นักเรียนเข้าใจว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน การแจกจ่ายสินค้า และบริการไปยังผู้บริโภค จะต้องดำเนินการอย่างประหยัดและตอบสนองความต้องการของประชาชนในสังคมให้ได้มากที่สุด ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เรียกว่า หน่วยเศรษฐกิจ

4.             ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้

1)   หน่วยเศรษฐกิจ

-      ประเภทของหน่วยเศรษฐกิจ

-      ความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ

          2)   ระบบเศรษฐกิจ

               -    ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)

               -    ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)

               -    ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  (Mixed economy)

           3)  ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง

               ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน โดยแบ่งกลุ่มไว้ล่วงหน้า ให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมีหมายเลข

               1,2,3,4 เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้าน  ( Home  Groups )

            4)  สมาชิกแต่ละหมายเลขของกลุ่มบ้านแยกย้ายกันไป หากลุ่มสมาชิกใหม่ที่มีหมายเลขเหมือนกัน

                หมายเลข 1 ไปรวมกับหมายเลข 1     หมายเลข 2 ไปรวมกับหมายเลข 2    หมายเลข 3 ไปรวมกับ

                หมายเลข 3   หมายเลข 4  ไปรวมกับหมายเลข  4   เรียกกลุ่มใหม่ว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert

                Groups) สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละหมายเลข อาจมีจำนวนมากในกรณีที่นักเรียนในห้องมี

                จำนวนมาก  ดังนั้น ครูอาจให้สมาชิกที่มีหมายเลขเดียวกันแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย  เช่น หมายเลข 1

                มี 2 กลุ่ม คือ

     -    กลุ่มหมายเลข 1  มี 2 กลุ่ม  กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ก  และกลุ่ม 1 ข

     -    กลุ่มหมายเลข 2  มี 2 กลุ่ม  กลุ่ม คือ กลุ่ม 2 ก  และกลุ่ม 2 ข

     -    กลุ่มหมายเลข 3  มี 2 กลุ่ม  กลุ่ม คือ กลุ่ม 3 ก  และกลุ่ม 3 ข   เป็นต้น

                      5)สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups)  แต่ละหมายเลขร่วมกันศึกษาหาความรู้  และช่วยกันทำ  ใบงาน  ดังนี้

               -    กลุ่มหมายเลข  1 ศึกษาความรู้เรื่อง หน่วยเศรษฐกิจ และทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง หน่วยเศรษฐกิจ

               -    กลุ่มหมายเลข 2 ศึกษาความรู้เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและทำใบงานที่ 1.2  เรื่องระบบ

      เศรษฐกิจแบบทุนนิยม

-    กลุ่มหมายเลข 3 ศึกษาความรู้เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม และทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง

     ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

-    กลุ่มหมายเลข 4 ศึกษาความรู้เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบผสม และทำใบงานที่ 1.4 เรื่อง ระบบ

      เศรษฐกิจแบบผสม

1. ครูสนทนาและซักถามนักเรียนถึงความรู้ที่นักเรียนแต่ละกลุ่มได้ศึกษาและทำใบงานว่ากลุ่มใด

มีปัญหาที่สงสัยในเรื่องใด  ครูอธิบายเพิ่มเติมจนนักเรียนมีความเข้าใจชัดเจน

2. นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups )  แต่ละหมายเลขช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของ

การทำใบงานที่ตนรับผิดชอบ

3. สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละหมายเลขกลับไปยังกลุ่มเดิมที่เรียกว่า กลุ่มบ้าน ( Home Groups)

แล้วให้แต่ละหมายเลขผลัดกันอธิบายความรู้จากใบงานที่ตนรับผิดชอบให้สมาชิกหมายเลขอื่นฟัง

กรณีถ้ามีสมาชิกคนใดสงสัยให้ซักถามจนมีความเข้าใจตรงกัน

4. ครูสุ่มเรียกตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปเฉลยคำตอบในใบงานหน้าชั้นเรียน   เรียงตามลำดับตั้งแต่

ใบงานที่ 1.1 - 1.4   โดยให้กลุ่มอื่นที่มีผลงานแตกต่างกันไปได้เสนอเพิ่มเติม

5. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปประเด็นสำคัญของความรู้ในเรื่อง หน่วยเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจ

    ประเภทต่าง ๆ  ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของระบบเศรษฐกิจแต่ละประเภท

’   การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.2

ใบงานที่ 1.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.3

ใบงานที่ 1.3

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.4

ใบงานที่ 1.4

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

8.1  สื่อการเรียนรู้

                  1)   หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.4-ม.6

                   2)   หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

(1)      นราทิพย์ ชุติวงศ์ และชลดา จามรกุล. พื้นฐานเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพมหานคร :

คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

(2)      พอพันธ์  อุยยานนท์.    พัฒนาการเศรษฐกิจไทย   ในประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา

หน่วยที่  3  สาขาวิชาศิลปศาสตร์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  นนทบุรี

      โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.

(3)       รัตนา    สายคณิต. การพัฒนาเศรษฐกิจ ในเอกสารการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา 3 :

เศรษฐศาสตร์สำหรับครู  หน่วยที่ 14  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย-

ธรรมาธิราช. นนทบุรี :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2546.

(4)      รัตนา   สายคณิต และคณะ. พื้นฐานเศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพมหานคร : คณะ

       เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

(5)       วันรักษ์    มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร :

                        3)        ใบงานที่ 1.1   เรื่อง  หน่วยเศรษฐกิจ

                        4)        ใบงานที่ 1.2   เรื่อง  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

                        5)        ใบงานที่ 1.3  เรื่อง  ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

                        6)        ใบงานที่ 1.4  เรื่อง  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

     8.2  แหล่งการเรียนรู้

                1)    ห้องสมุด

                2)    แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                     http://www.bot.or.th

                     http://www.mof.go.th   

                      http://www.idis.ru.ac.th

                      http://www.mfa.go.th/business/1092.php

                      http://www.itd.or.th/th/comment/reply/354