คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือตัวเก็บประจุไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมประจุไฟฟ้า หรือคายประจุไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าไม่สามารถตกคร่อมคาปาซิเตอร์ทันที แต่ต้องใช้เวลาให้มันค่อยๆเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า

คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

 การเลือกใช้คาปาซิเตอร์ ทำได้ดังนี้

  • เลือกจากหน่วยของคาปาซิเตอร์หรือที่เรียกว่าค่าไมโครฟารัด (ค่าความจุของตัวเก็บประจุ) ข้อสำคัญของการเลือกใช้ในข้อนี้คือควรเลือกคาปาซิเตอร์ที่ตรง หรือใกล้เคียงกับคาปาซิเตอร์ตัวเก่ามากที่สุด
  • ไม่ควรเลือกคาปาซิเตอร์ที่ราคา เนื่องจากหากคาปาซิเตอร์ที่มีราคาถูกมาก อาจไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงความปลอดภัย โดยคาปาซิเตอร์ที่มีราคาถูกมากอาจทำให้มอเตอร์สามารถระเบิดได้ หรืออาจทำให้ตัวไมโครลกลงหลังจากใช้งานได้ไม่นานนัก โดยตามมาตรฐานแล้วคาปาซิเตอร์ที่มาจากโรงงานจะมีค่าไมโครบวกลบจากค่าไมโครที่ตีอยู่บนตัวของคาปาซิเตอร์ไม่เกิน 5% 
  • โดยปกติแล้วค่าคาปาซิเตอร์ตามมาตรฐานสูงทั่วไปจะสามารถทนทานและสามารถใช้งานได้เป็นปีในกรณีที่ใช้ให้ถูกวิธี และค่าไมโครจะลดลงหลังจากการใช้งานได้ไม่กี่เดือน
  • ค่าโวลต์ที่ระบุไว้บนตัวของคาปาซิเตอร์ นั่นหมายถึงแรงดันที่ตัวคาปาซิเตอร์ตัวนั้นสามารถทนได้ ซึ่งควรศึกษาให้ดีก่อนเลือกใช้งาน และเลือกค่าโวลต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน 
  • ค่าโวลต์สูงแสดงว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นมีแรงทนที่สูง แต่ราคาของคาปาซิเตอร์จะแปรผันตามค่าโวลต์ที่สูงขึ้นของคาปาซิเตอร์
  • ยี่ห้องของคาปาซิเตอร์ ควรเลือกซื้อคาปาซิเตอร์ที่ได้รับมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นคาปาซิเตอร์ที่ทำการผลิตในประเทศ หรือคาปาซิเตอร์ที่ได้รับการผลิตในต่างประเทศ ควรเลือกที่ได้รับมาตรฐาน และสามารถมั่นใจได้ ในกรณีที่เป็นคาปาซิเตอร์ที่ได้รับมาตรฐานทั่วโลกนั้นมักมีการการันตีเพื่อเป็นการยืนยันว่ามีมาตรฐาน
คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

เพียงเท่านี้ลูกค้าก็จะได้รู้หลักการทำงานของปั๊มน้ำ
แต่หากต้องการให้น้องปั๊มบ้านช่วยเหลือ เช่น ปั๊มน้ำดังไม่หยุด ปั๊มน้ำดังตลอด ปั๊มน้ำทำงานถี่ๆ ปั๊มน้ำดังเป็นระยะๆ หรืออาการต่างๆ
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 7 วัน) (งานติดตั้ง 30 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

     ตัวเก็บประจุ หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Capacitor คาปาซิเตอร์ บ้างเรียกว่า คอนเดนเซอร์ ซี แคป คือ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ชนิดหนึ่ง ที่ถูกออกแบบ มาใช้ทำหน้าที่ เก็บพลังงานในรูปแบบของสนามไฟฟ้า โดยส่วนใหญ่สามารถพบได้บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ ได้แทบทุกวงจร โดยเจ้าตัวเก็บประจุนี้ เป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก ความเข้าใจกับอุปกรณ์ตัวนี้กันครับ

สัญลักษณ์ของ ตัวเก็บประจุ

คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

ตัวเก็บประจุ ?

     สำหรับใครที่สงสัยและอยากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ ว่าโครงสร้างและหลักการการทำงานของตัวเก็บประจุ เป็นอย่างไร สามารถศึกษาได้จากบทความนี้ได้เลย
Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทำมาจาก 2 แผ่นตัวนำ(parallel conductive plates) คั้นกลางด้วย Dielectric ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวน ประกอบเข้าด้วยกัน เหมือนแซนวิช ดังรูป

คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

     สำหรับ ฉนวน Dielectric สามารถทำมาจากวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าทั้งหลายเช่น พลาสติก ยาง เซรามิค แก้ว
ฉนวนแต่ละชนิดซึงเราสามารถวัดค่าความเป็นฉนวนได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวัสดุนั้นๆ

คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

 โดย
C ขนาดของตัวเก็บประจุ หน่วยคือ Farad
A พื้นที่หน้าตัดของแผ่นตัวนำ
d ระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำ

คาปาซิเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่อะไร

εr dielectric’s relative permittivity เป็นค่าคงที่ของฉนวน ขึ้นอยู่กับชนิดของฉนวนนั้นๆเช่น
เราจะเห็นได้ว่า ยิ่ง εr หรือ A มีค่ามากก็จะทำให้สามารถเพิ่มความจุของตัวเก็บประจุทำให้มีค่าความจุมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามหาก มีระยะห่าง d ระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำมากก็จะทำให้ตัวเก็บประจุมีค่าน้อย

หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์

หลักการทำงานของ Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ คือ เมื่อนำตัวเก็บประจุไปต่อเข้ากับวงจรหรือแหล่งจ่ายไฟครบวงจร เราจะสังเกตได้ว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านตัวเก็บประจุได้ (มองเป็น Open Circuit) ก็เพราะว่าในตัวเก็บประจุมี ฉนวนกั้นอยู่
ในขณะเดียวกันก็เกิดประจุไฟฟ้าที่ไหลข้ามฉนวนไม่ได้ก็ติดอยู่ที่แผนตัวนำ ทำให้ด้านนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ(Electron)เยอะ ส่วนแผนตัวนำด้านตรงข้ามก็กลายเป็นประจุไฟฟ้าด้านบวกเพราะ Electron ไหลไปอีกด้านหนึ่งจำนวนมาก
การที่มีประจุติดอยู่ที่แผนตัวนำของ ตัวเก็บประจุ ได้ก็เพราะว่า แต่ละด้านมีประจุไฟฟ้าที่เป็นขั้วตรงกันข้ามกันทำให้เกิดสนามไฟฟ้า electric field ดึงดูดซึ่งกันและกัน (+ และ - ดึงดูดกัน) ซึ่งทำให้ตัวเก็บประจุสามารถเก็บพลังงานศักย์ หรือ แรงดัน (Voltage) ไว้ได้

ชนิดของคาปาซิเตอร์

คาปาซิเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

  1. ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่(Fixed Capacitor)
  2. ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)
  3. ตัวเก็บประจุแบบเลือกค่าได้ (Select Capacitor)

1.ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่(Fixed Capacitor)

     คือตัวเก็บประจุที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ โดยปกติจะมีรูปลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นทรงกระบอก ซึ่งมักแสดงค่าที่ตัวเก็บประจุ เช่น 5 พิโกฟารัด (pF) 10 ไมโครฟารัด (uF) แผ่นเพลทตัวนำมักใช้โลหะและมีไดอิเล็กตริกประเภท ไมก้า เซรามิค อิเล็กโตรไลติกคั่นกลาง เป็นต้น การเรียกชื่อตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่นี้จะเรียกชื่อตามไดอิเล็กตริกที่ใช้ เช่น ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลติก ชนิดเซรามิค ชนิดไมก้า เป็นต้น ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่มีใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมีดังนี้คือ

  • ชนิดอิเล็กโตรไรต์ (Electrolyte Capacitor) เป็นที่นิยมใช้กันมากเพราะให้ค่าความจุสูง มีขั้วบวกลบ เวลาใช้งานต้องติดตั้งให้ถูกขั้ว โครงสร้างภายในคล้ายกับแบตเตอรี่ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ำหรือใช้สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง มีข้อเสียคือกระแสรั่วไหลและความผิดพลาดสูงมาก
  • ชนิดแทนทาลั่มอิเล็กโตรไลด์ (Tantalum Electrolyte Capacitor) ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความผิดพลาดน้อยใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะใช้ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลั่มอิเล็กโตรไลต์แทนชนิดอิเล็กโตรไลต์ธรรมดา เพราะให้ค่าความจุสูงเช่นกัน โครงสร้างภายในประกอบด้วยแผ่นตัวนำทำมาจากแทนทาลั่มและแทนทาลั่มเปอร์ออกไซค์อีกแผ่น นอกจากนี้ยังมีแมงกานิสไดออกไซค์ เงิน และเคลือบด้วยเรซิน
  • ชนิดไบโพล่าร์ (Bipolar Capacitor) นิยมใช้กันมากในวงจรภาคจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเครื่องขยายเสียง เป็นตัวเก็บประจุจำพวกเดียวกับชนิดอิเล็กโตรไลต์ แต่ไม่มีขั้วบวกลบ บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า ไบแคป
  • ชนิดเซรามิค (Ceramic Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด ( F) นิยมใช้กันทั่วไปเพราะมีราคาถูก เหมาะสำหรับวงจรประเภทคัปปลิ้งความถี่วิทยุ ข้อเสียของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคคือมีการสูญเสียมาก
  • ชนิดไมล่าร์ (Mylar Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่ามากกว่า 1 ไมโครฟารัด ( F) เพราะฉะนั้นในงานบางอย่างจะใช้ไมล่าร์แทนเซรามิค เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดและการรั่วไหลของกระแสน้อยกว่าชนิดเซรามิค เหมาะสำหรับวงจรกรองความถี่สูง วงจรภาคไอเอฟของวิทยุ, โทรทัศน์ ตัวเก็บประจุชนิดไมล่าร์จะมีตัวถังที่ใหญ่กว่าเซรามิคในอัตราทนแรงดันที่เท่ากัน
  • ชนิดฟีดทรู (Feed-through Capacitor) ลักษณะโครงสร้างเป็นตัวถังทรงกลมมีขาใช้งานหนึ่งหรือสองขา ใช้ในการกรองความถี่รบกวนที่เกิดจากเครื่องยนต์มักใช้ในวิทยุรถยนต์
  • ชนิดโพลีสไตรีน (Polystyrene Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าน้อยระดับนาโนฟารัด (nF) มีข้อดีคือให้ค่าการสูญเสียและกระแสรั่วไหลน้อยมาก นิยมใช้ในงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุและวงจรจูนที่ต้องการความละเอียดสูง จัดเป็นตัวเก็บประจุระดับเกรด A
  • ชนิดซิลเวอร์ไมก้า (Silver Mica Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่า 10 พิโกฟารัด (pF) ถึง 10 นาโนฟารัด (nF) เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดน้อย นิยมใช้กับวงจรความถี่สูง จัดเป็นตัวเก็บประจุระดับเกรด A อีกชนิดหนึ่ง

2. ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)


ค่าการเก็บประจุจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน โครงสร้างภายในประกอบด้วย แผ่นโลหะ 2 แผ่นหรือมากกว่าวางใกล้กัน แผ่นหนึ่งจะอยู่กับที่ส่วนอีกแผ่นหนึ่งจะเคลื่อนที่ได้ ไดอิเล็กตริกที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกันคือ อากาศ ไมก้า เซรามิค และพลาสติก เป็นต้น

ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีคือทริมเมอร์และแพดเดอร์ (Trimmer and Padder) โครงสร้างภายในประกอบด้วยแผ่นโลหะ 2 แผ่นวางขนานกัน ในกรณีที่ต้องการปรับค่าความจุ ให้ใช้ไขควงหมุนสลักตรงกลางค่าที่ปรับจะมีค่าอยู่ระหว่าง 1 พิโกฟารัด (pF) ถึง 20 พิโกฟารัด (pF) การเรียกชื่อตัวเก็บประจุแบบนี้ว่าทริมเมอร์หรือแพดเดอร์นั้นขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปต่อในลักษณะใด ถ้านำไปต่อขนานกับตัวเก็บประจุตัวอื่นจะเรียกว่า ทริมเมอร์ แต่ถ้านำไปต่ออนุกรมจะเรียกว่า แพดเดอร์