โรคที่เกิดจากการนั่ง หน้า คอม นานๆ

          ปัจจุบันโรค Computer Vision Syndrome เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงได้ ถ้ามีอาการอยู่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องที่ศูนย์ตา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

พนักงานออฟฟิศที่ต้องใช้มือเป็นระวิงในการพิมพ์งาน หรือจับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แต่ลักษณะการวางข้อมือและมือไม่เหมาะสม ไม่ถูกท่า ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดภาวะเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกบีบอัดหรือกดทับ ลักษณะอาการคือจะรู้สึกชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางแบบครึ่งนิ้ว (ตามยาว) ปวดบริเวณฝ่ามือ และรู้สึกว่ากล้ามเนื้อมืออ่อนแรง จนทำงานได้ลำบาก

หากรู้สึกว่ามือหรือข้อมือเริ่มใช้งานผิดปกติ ควรจะมีการปรับเปลี่ยนท่าทางในการวางมือให้ผ่อนคลาย พักข้อมือจากการทำคอมพิวเตอร์ทุก ๆ ชั่วโมง หรือจะหาลูกบอลสำหรับบริหารมือเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือมาช่วยก็ได้ หมั่นยืดกล้ามเนื้อแขนท่อนล่าง และหมั่นขยับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อแขนเพื่อลดแรงกดทับบ้าง โดยเคลื่อนไหวในทิศทางที่จะไม่ทำให้เกิดอาการปวดหรือชา และค่อย ๆ ทำให้เป็นจังหวะ

2. ออฟฟิศซินโดรม

เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน อย่างการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ท่าเดิมนาน ๆ ไม่ได้ลุกเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งหากอาการรุนแรง จะมีอาการปวดเรื้อรัง ชาบริเวณแขนหรือมือ เนื่องจากเส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับต่อเนื่อง ทำให้มีอาการปวดคอ บ่าไหล่ และปวดตัวบริเวณกว้าง ๆ แบบไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่พบร่วมด้วย คือ รู้สึกวูบ เย็น เหน็บกิน ขนลุก เหงื่อออก หรือชาบริเวณแขน อ่อนแรง ต้องรีบปรึกษาแพทย์

การดูแลอาการออฟฟิศซินโดรม ต้องปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับความสูงของโต๊ะเก้าอี้ ให้นั่งทำงานในท่าที่สบาย ให้คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับเดียวกันกับสายตา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม  อย่างการลุกเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อในทุก ๆ ชั่วโมงของการทำงาน หากอาการรุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้ยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี

3. นิ้วล็อก

เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และกลุ่มคนทำงานออฟฟิศก็มีแนวโน้มที่จะมีอาการนิ้วล็อกมากขึ้น จากการต้องใช้นิ้วมือในการทำงาน พิมพ์คอมพิวเตอร์ ใช้สมาร์ทโฟน และการต้องเกร็งนิ้วขณะใช้เมาส์ อาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ รู้สึกเกร็ง กระตุก สะดุด เวลาที่ขยับนิ้ว งอนิ้ว หรือเหยียดนิ้ว สาเหตุเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้ไม่สามารถนิ้วขยับได้สะดวก เมื่องอนิ้วแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้

งานที่ต้องใช้เวลาทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักมือพักนิ้ว และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง ถ้าปล่อยให้อาการรุนแรงอาจต้องผ่าตัด ถ้าเป็นระยะแรก ๆ สามารถพยุงนิ้วได้โดยใช้เครื่องดามนิ้ว ร่วมกับการนวดเบา ๆ ประคบร้อน และทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ นิ้วมือ ข้อมือ ในระยะแรก หากเริ่มมีอาการปวดตึง ให้นำมือแช่น้ำอุ่น 15-20 นาทีทุกวัน วันละ 2 รอบเช้า-เย็น จะช่วยคลายกล้ามเนื้อได้

4. คอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม

คนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานกว่า 2 ชั่วโมงโดยที่ไม่พักสายตาเลย จะมีอาการตาล้า ตาแห้ง แสบตา ดวงตาไม่สามารถสู้กับแสงหรือโฟกัสการมองเห็นได้ถนัดนัก ซึ่งอาจจะมีอาการปวดหัว ปวดบ่า ปวดคอร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุก็มาจากการที่ใช้ตากับคอมพิวเตอร์มากเกินไป โดยเฉพาะการเพ่ง เนื่องจากการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ในระดับที่ไม่พอดีกับสายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์สว่างเกินไป การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ระยะที่ไม่เหมาะสม และใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานโดยที่ไม่มีการพักสายตา

การดูแลตนเอง คือ ต้องพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง อย่างน้อยคือทุก ๆ 2 ชั่วโมง หมั่นกระพริบตาบ่อย และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้มีน้ำไปหล่อเลี้ยงดวงตา นอกจากนี้ควรปรับแสงคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับการมองเห็น ส่วนตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากสายตาอย่างน้อย 2 ฟุต (ประมาณ 60 เซนติเมตร) ศูนย์กลางคอมพิวเตอร์ควรต่ำกว่าสายตาประมาณ 4-5 นิ้ว แต่ถ้าอาการแย่กว่าที่คิด ต้องรีบไปพบแพทย์

5. อัปเปอร์ครอสซินโดรม

เป็นภาวะกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ และหน้าอกทำงานไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดลักษณะท่าทางที่ผิดปกติ กล้ามเนื้อด้านหลังคอ บ่า หน้าอกทำงานหนักกว่าที่ควร แต่กล้ามเนื้อคอทางด้านหน้ากับกล้ามเนื้อหลังส่วนกลางกลับอ่อนแรงลง ลักษณะอาการที่แสดง คือกระดูกสันหลังส่วนคอจะผิดรูป โค้งเข้าด้านในมากกว่าปกติ กระดูกสันหลังส่วนอกยื่นโค้งออกด้านนอกมากกว่าปกติ จนรู้สึกได้ว่าศีรษะยื่นออกไปข้างหน้า ไหล่ห่อ สะบักลอย จนมีลักษณะแบบ “ไหล่ห่อคอยื่น” เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการที่นั่งหรือทำกิจกรรมผิดท่าเป็นเวลานาน

การดูแลตนเองในเบื้องต้น คือต้องจำกัดการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือ อย่างน้อยคือทุก ๆ 1 ชั่วโมง ปรับตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หนังสือ ให้อยู่ในระดับสายตา และที่สำคัญคือควรปรับบุคลิกการนั่งขณะที่นั่งทำงาน และหมั่นยืดกล้ามเนื้อคอ บริเวณด้านหลัง บ่า กล้ามเนื้อหน้าอก ส่วนวิธีการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ ให้ยืนพิงกำแพง ใช้มือดันศีรษะไปด้านหลังในขณะที่ศีรษะตั้งตรง ตามองตรงไปข้างหน้าค้างไว้ 5-10 วินาที ทำซ้ำประมาณ 3-5 ครั้ง ๆ ทำบ่อย ๆ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง

6. โรคอ้วน

เกิดมาจากพฤติกรรมติดเก้าอี้ และตามใจปากมากเกินไปในเวลาทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเอาขนมขบเคี้ยวมานั่งกินระหว่างทำงาน และผู้ที่ชอบเอาข้าวมานั่งกินที่โต๊ะทำงาน ยิ่งกินก็ยิ่งเพลิน ทำให้ไม่รู้สึกอิ่ม แล้วเวลาทำงานก็นั่งติดที่ไม่ค่อยได้ลุกเดินไปไหน แถมหลังเลิกงานก็อาจจะมีไปต่อมื้อใหญ่ กลับถึงบ้านก็เข้านอนทันที ดังนั้นร่างกายเลยไม่มีโอกาสได้ขยับเลย ยิ่งสะสมไขมันไปโดยไม่รู้ตัว

การดูแลตนเองไม่ใช่เรื่องยาก ง่าย ๆ คือ การเลิกพฤติกรรมนั่งกินอาหารหน้าคอม และเลิกพฤติกรรมกินจุบจิบ อย่างน้อยการออกไปหาข้าวกินข้างนอกยังช่วยให้เราได้ขยับเขยื้อนระหว่างวันบ้าง และยังได้พักสายตา พักสมอง หรือถ้าหากว่าต้องการของกินแก้ง่วงยามบ่ายก็สามารถหาของกินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือมีโทษน้อยที่สุด ที่สำคัญควรหาเวลาไปออกกำลังกายบ้าง

7. ภูมิแพ้

ไม่น่าเชื่อว่ารังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากคอมพิวเตอร์จะก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสต๊อกโฮล์ม ของสวีเดน ได้พบสาร Triphenyl Phosphate ถูกปลดปล่อยออกมาขณะที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้น สารชนิดนี้ใช้กันมากในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่พบได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ทั้งคัน มีอาการคัดจมูก ปวดศีรษะ ยิ่งโดยเฉพาะในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด อากาศไม่ค่อยถ่ายเท ทำให้ปริมาณสารยังคงวนเวียนอยู่บริเวณโต๊ะทำงาน

การดูแลตนเอง หากต้องอยู่ในห้องทำงานที่มีพื้นที่จำกัด พยายามจัดห้องให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด หรือพยายามรักษาอุณหภูมิของคอมพิวเตอร์ไม่ให้ร้อนจนเกินไป ด้วยการหาพัดลมตัวเล็ก ๆ มาเป่าจอคอมพิวเตอร์ในขณะใช้งาน และเพื่อให้ลมพัดเอารังสีไปทางอื่น หรือจะลองหาต้นกระบองเพชรต้นเล็ก ๆ ขนาดที่สามารถวางบนโต๊ะทำงานได้ ก็จะช่วยดูดซับรังสีได้เหมือนกัน

8. ปวดหัวเรื้อรัง

อาการปวดหัวเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีความเครียด รวมถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็ทำให้เราเครียดได้โดยไม่รู้ตัว ที่สำคัญยังมีปัจจัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วย จากการที่ต้องใช้สายตานาน ๆ เมื่อรวมกับความเครียด ก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง ซึ่งอาจลุกลามไปถึงโรคเครียด นอนไม่หลับ และเมื่อนอนไม่พอก็ทำงานประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เพิ่มความเครียดมากเข้าไปอีก จนในที่สุดเกิดอาการปวดหัวรุนแรง ปวดหัวข้างเดียว ซึ่งถ้ารุนแรงมากจะถึงขั้นทำงานไม่ไหวเลยทีเดียว

การดูแลตนเองเบื้องต้น คือ ต้องหยุดพัก และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามให้ตัวเองปล่อยวางจากความเครียด หากเกิดจากปัจจัยอื่นภายนอก ให้พยายามลดปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ ซึ่งถ้าเป็นบ่อย และอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางสมองได้

การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปทำให้เกิดผลเสียอย่างไร

ส่งผลเสียในด้านสายตา เช่น ตาแห้ง กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก หรือจอรับตาที่ผิดปกติ ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น ปวดคอ บ่าไหล่ แขน นิ้วล็อค สมองตอบสนองกับการเล่นสมาร์ทโฟน กระตุ้นให้สมองเกิดความสุข ทำให้เกิดโรคติดสุข อยากเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ สมาธิสั้นลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

โรคที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม โรคฮิตของคนติดจอ.
อาการทางตา เช่น ตาแห้ง แสบเคืองตา ปวดกระบอกตา ตาล้า สู้แสงไม่ได้ โฟกัสได้ช้า หรือ ตาพร่ามัว นอกจากนั้นยังมีรายงานการศึกษาถึงความเสี่ยงของการมีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้น ซี่งสัมพันธ์กับระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์อีกด้วย.
อาการทางระบบกล้ามเนื้อ เช่น ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดศีรษะ.

โรควิชันซินโดรมหรือโรคซีวีเอสมักมีอาการอย่างไร

CVS หรือคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) เป็นภาวะที่เกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิทัลใด ๆ เป็นเวลานานเกินไป โดยอาจทำให้มีอาการตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง ระคายเคืองตา เจ็บตา รวมไปถึงปวดศีรษะและปวดไหล่ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากขึ้นหากจ้องหน้า ...

อาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) มีสาเหตุเกิดจากอะไร

นอกจากจะเกิดจากการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานแล้ว ยังพบว่า ตำแหน่งการจัดวางจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม แสงสว่างหรือแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ที่มากเกินไป ระยะห่างระหว่างดวงตากับจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม ความผิดปกติของสายตาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ตลอดจนท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม ล้วนแล้วแต่ ...