เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด

เนื่องจากเครื่องโทรศัพท์ที่อยู่ในท้องตลาดปัจจุบันนี้ จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเข้าไปมากมาย แท้จริงแล้วถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เครื่องโทรศัพท์ก็สามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงขอกล่าวเฉพาะส่วนประกอบเบื้องต้นที่สำคัญจริง ๆ 


เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด



เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด




2.1.1 ปากพูด (Transmitter) 
        
โดยทั่วไป เราเรียกว่า "ปากพูด" อุปกรณ์ตัวนี้แท้จริงแล้วก็คือ ไมโครโฟน (Microphone) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ปากพูดที่ใช้อยู่ ในเครื่องโทรศัพท์ปัจจุบันมี 3 แบบ คือ
         1. คาร์บอน (Carbon)
         2. ไดนามิกส ์(Dynamic)
         3. คอนเดนเซอร ์(Condenser)
เครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะนิยมใช้ คอนเดนเซอร์ เป็น ปากพูด เพราะขนาดเล็ก ราคาถูก ความไวสูงกว่าแบบอื่น ๆ


2.1.2 หูฟัง (Receiver) 

         โดยทั่วไปเรียกว่า "หูฟัง" ซึ่งก็คือ ลำโพง (Speaker) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียง ลักษณะโครงสร้างของ หูฟัง อาจไม่เหมือนลำโพง ทั่ว ๆ ไปนักเพราะต้องออกแบบให้มีขนาดเล็กและอยู่ในรูปร่างที่ถูกจำกัดไว้ด้วยพื้นที่ แต่หลักการทำงานก็ยังคงเหมือนเดิม


2.1.3 ฮุคสวิตช์ (Hook Switch) 
         ลักษณะของ ฮุคสวิตช์ ก็คือ สวิตช์ 2 ทาง ทำหน้าที่เลือกว่าจะให้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับวงจรกระดิ่ง (Ringer) หรือต่อกับวงจรปากพูดหูฟัง 



เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด



เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด



       
ในขณะที่ไม่มีการใช้โทรศัพท์ ฮุคสวิตช์จะต่อสายโทรศัพท์ (L1 , L2) เข้ากับวงจรกระดิ่ง แต่เมื่อมีการยกหู ฮุคสวิตช์จะต่อสายเข้ากับวงจรปากพูดและหูฟังทันที โดยตัดวงจรกระดิ่งออกไป
ฮุคสวิตช์จะทำงานเมื่อมีการยกหูหรือวางหูเพราะหูฟังโทรศัพท์ (Hand Set) จะวางทับฮุคสวิตช์ไว้เวลายกขึ้นก็จะปล่อย เวลาวางหูฟังโทรศัพท์ ลงก็จะทับ ทำให้ ฮุคสวิตช์ทำงาน


2.1.4 หูฟังโทรศัพท์ (Hand Set)

เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด


        หูฟังโทรศัพท์ โดยทั่วไปเรียกว่า "มือถือ" หรือ หูฟังโทรศัพท์ ดังเช่นเราพูดว่า "ถือหูโทรศัพท์" หรือ "ยกหูโทรศัพท์" เป็นต้น หูฟังโทรศัพท์ จะทำหน้าที่เป็นที่อยู่ของปากพูดและ หูฟัง ซึ่งจะออกแบบหูฟังโทรศัพท์ ให้เหมาะสม ง่ายต่อการพูดและฟังพร้อม ๆ กัน ซึ่งรูปร่างทั่ว ๆ ไป แสดงตามรูปที่ 2.7

       เนื่องจากภายในหูฟังโทรศัพท์ จะมีปากพูดและหูฟังอยู่ภายใน เวลาโทรศัพท์ต้องให้ตำแหน่งปากพูดอยู่ใกล้ปากและหูฟังอยู่ใกล้หู จึงจะทำให้การสนทนาได้ยิน ซึ่งกันและกัน 

                                                 

2.1.5 ขดลวดเหนี่ยวนำ (Induction Coil)

        ขดลวดเหนี่ยวนำ ในเครื่องโทรศัพท์จะทำหน้าที่ปรับ อิมพีแดนซ์ (Impedance) ให้เหมาะสมกับสาย และป้องกันไม่ให้เกิด เสียงข้าง (Side Tone) ที่แรงเกินไปหรือเบาเกินไป เพราะถ้าไซด์โทนแรงเกินจะทำให้ผู้พูด พูดเบา และถ้าไซด์โทนเบาเกินจะทำให้ผู้พูด พูดแรง


  

เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด


2.1.6 หน้าปัดโทรศัพท์ (Dial) 

        ไดอัลหรือหน้าปัดโทรศัพท์ ทำหน้าที่ให้ผู้โทรศัพท์ หมุนหรือกดเลขหมายปลายทางที่ต้องการ เมื่อหมุนหรือกดแล้วก็จะมีวงจรสร้างสัญญาณรหัสขึ้นมา ตามตัวเลขที่เรากดหรือหมุนส่งไปยังชุมสายโทรศัพท์ ให้ถอดรหัสแล้วค้นหาผู้รับต่อไป หน้าปัดของเครื่องโทรศัพท์มี 2 แบบ คือ
       - แบบหมุน (Rotary Dial)
       - แบบกดปุ่ม (Push Button)


2.1.7 ตัวป้องกัน (Protector) 


        ตัวป้องกัน จะทำหน้าที่ป้องกันโทรศัพท์ไม่ให้ได้รับอันตรายจากไฟสูง หรือ กระชาก ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอโดยเฉพาะ ฟ้าผ่า (ป้องกันได้ระดับหนึ่ง) หรือไฟกระชากที่เกิดจากการยกหู วางหู หรือหมุนหน้าปัดอันจะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ โดยทั่วไปจะมีตัวป้องกันไฟ แรงสูงต่ออยู่ ก่อนที่สายโทรศัพท์ จะเข้าบ้านอยู่แล้ว แต่ในเครื่องก็ยังคงมีอีก เพื่อจะ ได้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้น



 

เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด


2.1.8 กระดิ่ง 


        กระดิ่ง หรือ เบลล์ (Bell ) เป็นตัวที่ทำให้เกิดเสียงกระดิ่งดังขึ้น ในเครื่องโทรศัพท์ เพื่อเรียกให้ผู้รับ มารับโทรศัพท์

ปัจจุบันกระดิ่ง มีอยู่ 3 แบบ

              - กระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer)

              - กระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer)

              - กระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)


2.1.8.1 กระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer) 

        เป็นวงจรกระดิ่งที่มีอยู่ในเครื่องโทรศัพท์รุ่นเก่า โครงสร้างแบบกระดิ่งแบบ

แม็กนีโตแสดงตามรูป 2.11


 

เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด

        

การทำงานของกระดิ่งแบบแม็กนีโต เมื่อไฟกระดิ่งจากชุมสาย ประมาณ 50 Volt AC มาเข้าขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นในขดลวด และทำให้ P1 และP2 เกิดเป็นแม่เหล็กขึ้นมาด้วย โดยมีขั้วสลับ N-S กันตลอดเวลา และดูดก้านตีให้เคลื่อนที่ ก้านตีจะไปตีกระดิ่งให้ดัง ด้วยความเร็วตามความถี่ไฟกระดิ่ง ประมาณ 25 Hz


2.1.8.2 กระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer) 


เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด


เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด





ปกติแล้วบัสเซอร์ ที่ใช้จะเป็น ปีโซบัสเซอร์ (Piezo Buzzer) ซึ่งจะทำงานด้วย AC Pulse ถ้าเราเอาสัญญาณ AC 25 Hz ที่เข้ามาแล้วลดขนาดลงให้พอเหมาะ ป้อนให้บัสเซอร์ โดยตรงก็ได้ แต่ความถี่ AC 25 Hz สูงเกินไป ทำให้เสียงที่ออกมา ไม่น่าฟัง จึงต้องมี IC1 สร้าง ลูกคลื่นพัลล์ (Pulse) ที่มีความถี่ ที่เหมาะสมขึ้นมาใหม่



2.1.8.3 กระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)


      


เครื่องโทรศัพท์ทำหน้าที่ใด



เครื่องที่มีราคาสูง มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก ๆ เช่น มีวงจรแฮนด์ฟรี (Hand Free)

(สนทนาได้โดยไม่ต้องยกหู) ด้วย ส่วนมากจะใช้ลำโพงเป็น กระดิ่งเพราะในเครื่องมีลำโพง ใช้อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีบัสเซอร์อีก โดยดัดแปลงวงจรกระดิ่ง แบบบัสเซอร์ ให้สามารถใช้กับลำโพงได้ดังรูปที่