สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ มีอะไรบ้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง และระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ

  • สิ่งมีชีวิต (organisms) หรือ องค์ประกอบทางชีวภาพ (biological component) ที่มีการเจริญเติบโต เช่น มนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ เห็ด รา จุลินทรีย์
  • สิ่งไม่มีชีวิต หรือ องค์ประกอบทางกายภาพ (physical component) เช่น แสงแดด ดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ ภูเขา แม่น้ำ อากาศ ดิน หิน ทราย 

เมื่อหลายระบบนิเวศจำนวนมากถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน กลายเป็นโลกของระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หรือที่เรียกกันว่า “ชีวมณฑล” (Biosphere)

🌳คำศัพท์สำคัญ

  • organisms = สิ่งมีชีวิต
  • population = ประชากร หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น ช้าง ม้าลาย ยีราฟ
  • community = กลุ่มสิ่งมีชีวิต หมายถึง สิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันในที่ใดที่หนึ่ง เช่น ในสวนป่ามีนก หนู กระรอก แมลง อาศัยอยู่ร่วมกัน
  • ecosystem = ระบบนิเวศ 
  • habitat = ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต 

🌳บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ มี 3 หน้าที่

1.ผู้ผลิต (producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยการสังเคราะห์แสง เช่น พืช สาหร่าย แบคทีเรียบางชนิด สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย) 

2.ผู้บริโภค (consumer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ จำเป็นต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร ผู้บริโภค มี 4 ประเภท ได้แก่

  • กลุ่มกินพืช (herbivor) เป็นผู้บริโภคอันดับแรกที่ได้รับการถ่ายทอดพลังงานจากพืชโดยตรงเช่น ม้า วัว ช้าง กระต่าย
  • กลุ่มกินสัตว์ (canivor) เป็นสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต หมาป่า จิ้งจอก
  • กลุ่มที่กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) สิ่งมีชีวิตที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สุนัข แมว นก หนู
  • กลุ่มที่กินซากพืชซากสัตว์ (detritivore) สิ่งมีชีวิตที่กินแต่ซากพืชซากสัตว์ที่ตายไปแล้ว เช่น นกแร้ง หอยทาก ไส้เดือนดิน กิ้งกือ

3.ผู้ย่อยสลาย (decomposer) สิ่งมีชีวิตไม่มีระบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่ย่อยสลายสิ่งมีชีวิตที่ตายลง ด้วยการดูดซึมพลังงานไปใช้บางส่วน และส่วนที่เหลือกลายเป็นแร่ธาตุต่าง ๆ หมุนเวียนกลับคืนสู่ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้เพื่อดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย

🌳รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ โดยพื้นฐานมี 6 แบบ

1.แบบพึ่งพากัน (Mutualism : + , +) เธอได้ประโยชน์จากฉัน ฉันได้ประโยชน์จากเธอ เรียกง่าย ๆ ว่า ขาดกันไม่ได้ ต้องอยู่ด้วยกัน เมื่อไหร่แยกออกจากกัน สิ่งมีชีวิตนั้นจะตาย เช่น 

  • ไลเคน (Lichen) อยู่ร่วมกับ รา (Algae) ราจะได้รับความชื้นและก๊าซออกซิเจนจากสาหร่าย ส่วนสาหร่ายจะได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจากรา
  • โพรโทซัวในลำไส้ปลวก ภายในโปรโตซัวจะมีแบคทีเรียที่สามารถสร้างเอนไซม์ ชื่อ “เซลลูเลส” ที่ช่วยย่อยไม้ให้ปลวก ส่วนปลวกก็ให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่โปรโตซัว

2.แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : + , + ) การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ได้ประโยชน์ทั้งคู่ แยกออกจากกันได้ เช่น

  • ผึ้งกับดอกไม้ ผึ้งอาศัยน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนดอกไม้ก็ได้อาศัยผึ้งในการผสมเกสร
  • นกเอี้ยงกับควาย นกเอี้ยงได้กินแมลงต่าง ๆ จากหลังควาย และควายก็ได้นกเอี้ยงมาช่วยกำจัดแมลงที่มาก่อความรำคาญ

3.แบบอิงอาศัย (Commensalism : + , 0) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น

  • ปลาฉลามกับเหาฉลาม เหาฉลามจะคอยยึดเกาะเพื่อกินเศษอาหารบนตัวปลาฉลาม และปลาฉลามเองก็ไม่ได้รับหรือเสียประโยชน์ใด ๆ 
  • นกทำรังบนต้นไม้ นกอาศัยต้นไม้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ส่วนต้นไม้ก็ไม่ได้รับหรือเสียประโยชน์ใด ๆ
  • กล้วยไม้ป่ากับต้นไม้ โดยกล้วยไม้ป่าได้รับความชื้นและอาศัยต้นไม้ใหญ่ ส่วนต้นไม้ใหญ่ไม่ได้รับประโยชน์และไม่เสียประโยชน์จากการเกาะของกล้วยไม้ป่า

4.แบบล่าเหยื่อ (Predation : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วนอีกฝ่ายถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ (prey) ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น

  • สิงโตกับม้าลาย สิงโตล่าม้าลายเป็นอาหาร ม้าลายเสียผลประโยชน์
  • หมีกับปลา หมีกินปลาเป็นอาหาร ปลาเป็นผู้เสียผลประโยชน์

5.แบบปรสิต (Parasitism : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์ เรียกว่า ผู้ถูกอาศัย (host) ไม่สามารถหลบหลีกได้ เช่น

  • เห็บกับสุนัข เห็บดูดเลือดและขยายพันธุ์บนตัวสุนัข โดยที่สุนัขกลายเป็นที่อยู่ของเห็บและได้รับโรคจากเห็บ ดังนั้นสุนัขเป็นผู้เสียผลประโยชน์
  • พยาธิกับคน พยาธิคอยแย่งอาหาร และดูดเลือดในร่างกายคน คนเป็นที่อยู่อาศัยของพยาธิ ดังนั้นคนเป็นผู้เสียผลประโยชน์

6.แบบแข่งขัน (Competition : - ,-) การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีการแย่งปัจจัยในการดำรงชีพเหมือนกันจึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ต่างฝ่ายต่างเสียประโยชน์ เช่น

  • เสือ สิงโต และหมาป่าต่างแย่งอาหารกัน สุดท้ายบางตัวบาดเจ็บ บางตัวก็ตาย
  • นกเอี้ยง 2 ตัวกำลังจิกตีกันเพื่อแย่งอำนาจ สุดท้ายต่างฝ่ายต่างบาดเจ็บ

🌳การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ

ห่วงโซ่อาหาร (food chain) หมายถึง การกินเป็นทอด ๆ ไป ลักษณะการกินแบบ 1 ต่อ 1 ทุกครั้งที่มีการกินในแต่ละขั้น จะมีการถ่ายทอดพลังงานเกิดขึ้น ถ่ายทอดพลังงานแค่ 10% เท่านั้น ดังนั้นผู้ผลิตควรมีพลังงานมากที่สุดในห่วงโซ่อาหาร ส่วนผู้บริโภคลำดับสุดท้ายจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด แต่การถ่ายทอดสารพิษในโซ่อาหารจะถ่ายทอดได้ 100% ดังนั้นสารพิษจะสะสมมากที่สุดในผู้บริโภคลำดับสุดท้าย เช่น

  • ต้นหม่อน นับเป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารนี้ สามารถสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • หนอน นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เนื่องจากหนอนเป็นสัตว์ลำดับแรกที่กินใบหม่อนเป็นอาหาร 
  • นก นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 เนื่องจากนกจับหนอนกินเป็นอาหาร หลังจากที่หนอนกินใบหม่อนไปแล้ว
  • งู นับเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากงูจับหนอนกินเป็นอาหาร และมีสถานะเป็นผู้ล่า

สายใยอาหาร food web หมายถึง ความสัมพันธ์ของหลาย ๆ ห่วงโซ่อาหารในกลุ่มสิ่งมีชีวิต (community) กลายเป็นการกินที่ซับซ้อน มีห่วงโซ่อาหารเกิดขึ้นหลายสาย แต่ละห่วงโซ่อาจเกี่ยวพันกัน

กลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหมายถึงอะไร

กลุ่มสิ่งมีชีวิต หมายถึง การอยู่ร่วมกันในบริเวณแหล่งที่อยู่เดียวกันของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้นหมายรวมถึง สัตว์, พืช, เห็ดรา ไปจนถึงจุลินทรีย์ต่าง ๆ ต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดิน, หิน, น้ำ, อากาศ หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งเมื่อรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน เราจะเรียกว่า ระบบนิเวศ (Ecosystem)

ระบบนิเวศมีความสําคัญอย่างไร

หน้าที่ของระบบนิเวศ (Ecosystem function) มีส่วนสนับสนุนความสมดุลของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศ ในระบบนิเวศ (Ecosystem) . การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง และปฏิสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิด

สิ่งที่มีชีวิตมีอะไรบ้าง

การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 5 อาณาจักรดังนี้.
อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera).
อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi).
อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista).
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae).
อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia).

องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีชีวิตในระบบนิเวศได้แก่อะไรบ้าง

1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component ) ประกอบด้วย อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและความชื้น