การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หมายถึงอะไร

     “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญขององค์กรเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และจะยิ่งสำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งถือเป็นงานที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กร, นโยบายของผู้บริหาร, การทำงานของผู้จัดการและหัวหน้างานตามสายงานต่างๆ ที่เรียกว่า “Line Manager” โดยการสรรหาบุคลากรให้เหมาะสมกับองค์กรและลักษณะงาน รวมถึงการใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กรต่อไป”

ขอบเขตงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์พอสังเขป
     1. กำหนดเป้าหมายและแผนงานกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
     2. การคัดเลือกพนักงานที่มีความสามารถและศักยภาพตามตำแหน่ง
     3. การออกแบบโครงสร้างเงินเดือน, สวัสดิการ, ค่าตอบแทนที่สามารถแบ่งขั้นได้
     4. กำหนดกฎระเบียบ, กฎหมาย, กระบวนการทำงานต่างๆ ตามตำแหน่งหน้าที่
     5. จัดกิจกรรมการสื่อสารถึงพนักงานและเปิดรับปัญหาจากพนักงาน
     6. การส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยขึ้นในองค์กรและสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
     7. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถและนำศักยภาพมาใช้ในการทำงาน
     8. การบริหารจัดการผลงานของบุคลากรให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

ความแตกต่างทางแนวความคิดระหว่าง HRD, HRM และ OD
     การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) :
     การเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานด้านที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภายในองค์กร ทั้งหมดให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม กับตำแหน่งหน้าที่และเป้าหมาย ขององค์กรตั้งแต่การสรรหา, จัดเตรียม, ประเมินและพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) :
     การเป็นหน่วยงานย่อยของ HRM ในการทำหน้าที่ศึกษา, คัดหาวิธีและใช้เครื่องมือต่างๆ ในการ พัฒนาให้พนักงานและนำไปใช้ปฏิบัติกับการทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น บุคลากรที่มีประสิทธิผลภายในองค์กร
     การพัฒนาองค์กร (OD) :
     การคิดค้นเครื่องมือในการปรับปรุงผลการดำเนินงานของบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล โดยการมุ่งเน้นไปถึงประสิทธิภาพขององค์กรมากกว่าที่ตัวบุคลากรเพียงอย่างเดียว อีก ทั้งยังเป็นการสร้างกระบวนการในการทำงานเป็นทีมและการกำหนดโครงสร้างของทีมงานที่ เหมาะสมกับองค์กร

คำศัพท์ที่น่าสนใจในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น
     แผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล (IDP) :
     หัวหน้างานกำหนดแนวทางการพัฒนาของลูกน้องไว้ล่วงหน้าว่าต้องการ ให้บุคลากรแต่ละบุคคลมีความสามารถในเรื่องอะไรบ้าง แล้วจึงให้ HRD กำหนดเป็นแผนร่วมกันกับหัวหน้าและลูกน้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
     การกำหนดขีดความสามารถ (Competency) :
     บุคลากรแต่ละหน้าที่ควรมีความสามารถขั้นพื้นฐาน ในเรื่องอะไรบ้างเพื่อที่จะได้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ตามตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     การพัฒนาบุคลากรดาวเด่น (Talent management) :
     การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถเกิดกว่า ค่าเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มที่กระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเอง เพื่อเตรียมไว้สำหรับการทดแทนในตำแหน่งที่สูงขึ้นภายในองค์กรในระดับต่างๆ ต่อไป ทำให้ไม่เกิดปัญหาขึ้นเมื่อตำแหน่งดังกล่าวขาดบุคลากรไป สามารถทดแทนได้ทันที

     ความรู้เกี่ยวกับ การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ยังมีเนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ อีกมากมาย พบกันใหม่ในคราวหน้าครับ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็นสามรูปแบบ ได้แก่ การศึกษา การฝึกอบรม และการสนับสนุน การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการดำเนินชีวิต และเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน เช่น การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นต้น ส่วนการฝึกอบรม คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน เช่น การบรรยาย การระดมสมอง การสาธิต ฯลฯ และการสนับสนุน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพเฉพาะบุคคลในการปฏิบัติงาน เช่น การสอนงาน การหมุนเวียนงาน การใช้แนวทางชุมชนนักปฏิบัติ เป็นต้น การศึกษาจึงมีขอบข่ายที่กว้างกว่าการฝึกอบรม และการฝึกอบรมจะมีขอบข่ายที่กว้างกว่าการสนับสนุน อย่างไรก็ตามทั้งสามรูปแบบสามารถนำมาพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ได้ทั้งแปดด้าน ได้แก่ ด้านศาสนา ด้านสุขภาพ ด้านสติปัญญา ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ ด้านประสบการณ์ และด้านบุคลิกภาพ ส่วนขั้นตอนในการพัฒนานั้นควรเริ่มจากการประเมินความจำเป็น การวางแผน การเตรียมการ การดำเนินการพัฒนา และการประเมินผลการดำเนินการพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติงานหลังจากการพัฒนาทั้งในเชิงประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 

There are three kinds of human resource development covering education, training, and supporting. The purpose of education is to develop human resources to be ready for their living and working such as formal education, non-formal education, informal education, etc. Training is designed to develop the capacity of human resources in their work, for example lecture, brainstorming, demonstration, etc., whereas supporting is intended to increase personal capacity such as coaching, job rotation, community of practice, etc. Therefore, education has wider ranges than training. At the same time, training has wider scopes than supporting. However, all three types are designed to develop human potentials in eight aspects: religion, health, intelligence, knowledge, skills, attitude, experience, and personality. The process of development should start from need assessment. Later, planning, preparation, and implementation will be done. Lastly, evaluating the results of development and implementation will be conducted both in terms of efficiency and effectiveness to provide further improvement

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

More Citation Formats

  • ACM
  • ACS
  • APA
  • ABNT
  • Chicago
  • Harvard
  • IEEE
  • MLA
  • Turabian
  • Vancouver

Download Citation

  • Endnote/Zotero/Mendeley (RIS)
  • BibTeX

ฉบับ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2013): มกราคม-มิถุนายน

บท

บทความวิชาการ

“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”

References

Gilley, J. W., Eggland, S. A., & Gilley, A. M. (2002). Principles of human resource development.2nd ed. Cambridge: Perseus.

Nadler, L. (1990). Human resource development. pp. 1.1-1.47. In L. Nadler & Z. Nadler, eds.The handbook of human resource development. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons.

Swanson, R. A., & Holton, E. F. (2001). Foundations of human resource development. San Francisco: Berrett-Koehler.

Swart, J., Mann, C., Brown, S., & Price, A. (2005). Human resource development: Strategy and tactics. Chennai: Charon Tec Pvt.

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็นสามรูปแบบ ได้แก่ การศึกษา การฝึกอบรม และการสนับสนุน การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการดำเนินชีวิต และเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน เช่น การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นต้น ส่วนการฝึกอบรม คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติ ...

จุดมุ่งหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล ให้ทุกคนรู้สึกถึงการดูแลขององค์กร ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพตลอดจนความสามารถให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ สร้างความก้าวหน้าให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการใช้วัดผลพนักงาน ประเมินประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจนคาดการณ์ศักยภาพขององค์กร

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญและมีประโยชน์ อย่างไร

ประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีกี่ด้าน

Champion) ขอบข่ายงานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ เป็นการพัฒนาองค์รวม 3 ด้าน คือ การพัฒนาบุคคล (ID) พัฒนาวิชาชีพ (CD) และพัฒนาองค์การ (OD) ประการที่หนึ่ง การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นรายบุคคล (Individual Training and.