ออกกำลัง กาย แล้ว เหนื่อยมาก

เปนคนค่อนข้างอ้วน สูง176 น้ำหนัก 81 ออกกำลังกายนานๆทีครับ แต่ว่า ทุกอาทิตย์จะมีแข่งบอลวันศุกร์ เล่นได้แค่ประมาณ 25-30นาที รู้สึกหน้ามืด หายใจไม่ท้นจนต้องพัก ตอน12-13ขวบ เคยไปตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะเพราะกินคาเฟอีนเยอะ แต่แค่รับยาแล้วก็ไม่เคยตรวจอีกเลยครับ อยากสอบถามว่ากรณีนี้ต้องไปหาหมอเผื่อว่าเป็นอะไรมั้ยครับ หรือแค่กลับมาออกกำลังกายเป็นประจำก็จะดีขึ้นครับ

 นายแพทย์ ปรีชา

แพทย์

Jan 25, 2020 at 12:55 AM

คุณ Heheng01

การที่ออกกำลังกายแล้วเหนื่อยง่าย หายใจไม่ออก หน้ามืด น่าจะมีสาเหตุจาก

-โรคหัวใจ เต้นผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว 

-โรคปอดอักเสบ

-โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์ โลหิตจาง

ควรหยุดออกกำลังกายไปก่อน และไปพบแพทย์เพื่อซักประวัติตรวจร่างกาย ส่งตรวจแลป เอกซ์เรย์จนแน่ใจว่าปลอดภัยไม่มีโรคภายใน ครับ

ออกกำลังกายแล้ว เหนื่อยง่าย เหงื่อออกเยอะ หัวใจเต้นเร็ว หน้ามืด น้ำลายหนืดในคอ -เมื่อเกิดอาการแล้วผมมักจะนอนอยู่ตรงนั้นให้อาการดีขึ้นก่อนจึงค่อยลุก -อยากทราบว่าเป็นอาการอะไรครับ?ขอบคุณครับ

 พญ.นรมน

แพทย์

Aug 07, 2021 at 05:56 PM

 สวัสดีค่ะคุณ TINE.

อาการรู้สึกเหนื่อยง่าย ใจเต้นเร็ว หน้ามืด หลังออกกำลังกาย ดังกล่าวมานั้น อาจจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติหลังการออกแรงหนักๆ หรือสาเหตุอื่นๆที่อาจส่งผลได้เช่น มีความผิดปกติใดๆของหัวใจเช่นหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย หรือมีภาวะความผิดปกติในปอดเช่นมีหลอดลมตีบ การติดเชื้อในปอดหรือหลอดลม ถุงลมโป่งพอง หรือมีภาวะไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ การได้รับสารกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ การใช้สารเสพติด

จากที่กล่าวมานั้น อาจจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคหรือไม่ ยกเว้นว่าแน่ใจว่าความเหนื่อยนี้เป็นมากเกินกว่าปกติ หรือแค่ออกแรงทำกิจวัตรประจำวันก็เหนื่อยแล้ว ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม ในเบื้องต้นพยายามงดการทำงานหรือออกกำลังกายหนักๆไปก่อน ถ้ามีอาการให้รีบนั่งพัก พักผ่อนให้เพียงพอ หยุดการใช้ยาทุกชนิดที่แพทย์ไม่ได้สั่ง

ดังนั้น หากสงสัยหรือมีอาการเกิดขึ้นบ่อยๆ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจด้วยการ “เดินสายพานหัวใจ” ซึ่งเป็นเทคนิคการค้นหาความผิดปกติของหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เรียกว่า EST (Exercise Stress Test) โดยผลตรวจที่ได้มีความแม่นยำสูง! ทั้งยังให้คำตอบได้ว่าการหายใจหอบเหนื่อยที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความผิดปกติของหัวใจหรือเปล่า

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายคืออะไร?

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยปกติจะใช้สำหรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานหรือปั่นจักรยาน เพื่อวัดค่าการตอบสนองของหัวใจ เพราะขณะออกกำลังกายหัวใจก็จะเต้นเร็วขึ้น และจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถเดินทางมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก และหากมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแสดงออกมาเป็นกราฟให้เห็น ซึ่งตลอดการทดสอบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจะควบคุมดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงไว้วางใจได้ว่าทุกขั้นตอนมีความปลอดภัยสูงมาก

EST เดินสายพานหัวใจ กับ ปั่นจักรยาน แบบไหนเหมาะกับใคร?

การออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจเต้นแรงและทำงานหนักขึ้น หรือ EST นี้ โดยทั่วไปจะมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้ 2 อย่าง คือ
  • แบบเดินสายพานไฟฟ้า (Treadmill) ซึ่งข้อดีคือ สามารถปรับตั้งโปรแกรมการทดสอบได้หลากหลาย ควบคุมทั้งความเร็วและความชันของลู่วิ่งได้สะดวกและตลอดเวลาการทดสอบได้ง่าย
  • แบบปั่นจักรยาน (Bicycle ergometer) เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเดินหรือการทรงตัว

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายเหมาะกับใครบ้าง?

  1. ผู้ที่มีปัจจัยเสียงโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ผู้สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย ตรวจพบไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเมื่อออกแรงหรือออกกำลังกาย
  2. ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสียง แต่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่กลับมาออกกำลังกายหลังจากหยุดไปนาน
  4. ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่มีความกังวล หรือเคยเจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยผิดปกติขณะออกกำลังกาย

ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST

ในขั้นตอนการตรวจ จะมีการต่อขั้วและสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอกของผู้เข้ารับการทดสอบ 10 สาย เข้ากับเครื่องตรวจระบบคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เดินหรือวิ่งอยู่บนสายพานลู่วิ่งนั้น เครื่องจะบันทึกและแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้าหัวใจ พร้อมทั้งความดันโลหิตไว้ แพทย์ผู้ควบคุมการทดสอบจะมีการเพิ่มความเร็วและความชันของเครื่องเป็นระยะๆ ตามโปรแกรม โดยจะเลือกให้เหมาะกับผู้เข้าทดสอบแต่ละราย

ก่อนตรวจ EST ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

  • งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการทดสอบ 2 ชั่วโมง
  • ควรงดอาหารมันๆ มาล่วงหน้า
  • งดดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • หากมียาที่ทานอยู่เป็นประจำต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย และรองเท้าที่เหมาะกับการออกกำลังกาย

เพราะ “หัวใจ” เป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างยิ่ง หากมีความกังวลหรือรู้สึกว่ามีความผิดปกติดังที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือแม้แต่เป็นนักกีฬาที่ดูแข็งแรง ขอโปรดอย่าชะล่าใจ!... เพราะอาจมีความผิดปกติของหัวใจที่ยังไม่แสดงอาการออกมา แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง อาจจะสายเกินไปก็เป็นได้
ออกกำลัง กาย แล้ว เหนื่อยมาก

ทำไมออกกำลังกายแล้วล้า

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากร่างกายมีการใช้งานกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว เกิดกระบวนการดึงพลังงานออกมาใช้ และเกิดกรดแลคติก (Lactic Acid) ในกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า (Muscle Fatigue) แต่บางครั้งเราอาจพบว่ามีอาการบางอย่างผิดปกติ เช่น มีการบาดเจ็บร่วมด้วย หรือปวดเมื่อยจน ...

อาการที่บ่งบอกว่าควรหยุดออกกำลังกาย มีอะไรบ้าง

8 สัญญาณอันตราย ควรหยุดออกกำลังกายทันที.
เหนื่อยมากผิดปกติ รับรู้ได้ว่ากำลังฝืนขีดจำกัดของร่างกายมากเกินไป.
ใจเต้นรัวผิดปกติ รู้สึกถึงใจที่เต้นแรง และเร็ว มากกว่าการออกกำลังกายครั้งไหนๆ.
หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจขัดเป็นช่วงๆ.
เวียนศีรษะ หรือตาเริ่มพร่าลาย.
คลื่นไส้.
หน้ามืด.
เหงื่อออกมากเกินกว่าปกติ และ/หรือมือเท้าเย็นเฉียบ.

อาการทางร่างกายที่แสดงว่าเราออกกำลังกายไม่ถูกวิธีคืออะไร

อาการที่พบบ่อยจากการออกกำลังกายก็คืออาการ “ปวดกล้ามเนื้อ” จากการออกแรงกล้ามเนื้อในบริเวณต่างๆมากเกินไป หรือไม่มีการวอร์มร่างกายก่อนที่จะออกกำลังกาย ทำให้เมื่อออกกำลังกายแล้วเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อได้ง่าย

ออกกำลังกายยังไงไม่ให้เหนื่อยมาก

10 วิธีวิ่งยังไงไม่ให้เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายได้นาน ทน และอึด !.
เช็กสุขภาพตัวเองให้ฟิตพร้อมวิ่ง ... .
วอร์มอัพก่อนวิ่ง ... .
ขยันวิ่งเข้าไว้ ... .
ค่อย ๆ เพิ่มความอึดไปเรื่อย ๆ ... .
ลองวิ่งให้เร็วขึ้น ... .
วิ่งไต่ระดับความชัน ... .
เสริมความฟิตให้กล้ามเนื้อ ... .
วิ่งสลับเดินเร็ว.