สังหาทรัพย์ชนิดพิเศษ มีกี่ประเภท

        1. การได้มาโดยทางนิติกรรม
        2. การได้มาโดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรมหรือการได้มาโดยผลของกฎหมาย
ประเด็นเกี่ยวกับที่งอกริมตลิ่ง
        มาตรา ๑๓๐๘  ที่ดินแปลงใด เกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอก ย่อมเป็น ทรัพย์สิน ของเจ้าของที่ดิน แปลงนั้น
ลักษณะของที่งอกริมตลิ่ง
        ก.  ที่งอกริมตลิ่งต้องเป็นที่ซึ่งในฤดูน้ำตามปกติน้ำท่วมไม่ถึง
        ข.  ที่งอกริมตลิ่งจะต้องเป็นที่งอกจากที่ดินที่เป็นประธานออกไปในแม่น้ำ ลักษณะของการงอกจะต้องเป็นการงอกโดยธรรมชาติ
เกาะและริมทางน้ำตื้นเขิน
        มาตรา ๑๓๐๙ เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือ ในทางน้ำ หรือ ในเขตน่านน้ำของประเทศ ก็ดี และ ท้องทางน้ำที่เขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา ๑๓๑๐  บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างโรงเรือนนั้น ให้แก่ ผู้สร้างแต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อ จะบอกปัดไม่ยอมรับ โรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้ จะทำไม่ได้ โดยใช้เงินพอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตาม ราคาตลาดก็ได้
ผลของการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นตามมาตรา 1310
         เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่จะต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นแก่ผู้ สร้าง แต่ถ้าเจ้าของที่ดินแสดงได้ว่าไม่ได้มีความประมาทเลินเล่อ ก็มีสิทธิที่จะให้ผู้สร้างรื้อถอนออกไปพร้อมทั้งทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิมได้
         ความสุจริตตามมาตรา 1310 นั้น จะต้องมีมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนกว่าจะสร้างเสร็จ
มาตรา ๑๓๑๐ ใช้กับที่ดินที่เป็นของเอกชนเท่านั้น ในกรณีที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะอ้างมาตรา 1310 ไม่ได้
สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
        มาตรา 1311 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิม แล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดิน ต้องใช้ราคาโรงเรือน หรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือกใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับมาตรา 1310
สร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และ จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสียก็ได้
        ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้น กระทำการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิม โดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ได้
ผลของการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
        มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าบุคคลผู้สร้างเรือนรุกล้ำนั้น เป็นเจ้าของ โรงเรือน ที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงิน ให้แก่ เจ้าของที่ดิน เป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และ จดทะเบียนสิทธิ เป็น ภาระจำยอม ต่อภายหลัง ถ้า โรงเรือนนั้น สลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดิน จะเรียกให้เพิกถอน การจดทะเบียนเสีย ก็ได้
เจ้าของที่ดินมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น
        มาตรา 1313 ถ้าผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น และ ภายหลังที่ดินตกเป็นของบุคคลอื่นตามเงื่อนไขไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ลาภมิควรได้มาใช้บังคับ
“เจ้าของที่ดินมีเงื่อนไข” ตามความหมายของมาตรา 1313 อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ
        1. เป็นเจ้าของที่ดินที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง (สิ้นผลเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ)
        2. เป็นเจ้าของที่ดินที่มีเงื่อนไขห้ามโอนตามมาตรา 1700 หรือเรียกว่าข้อกำหนดห้ามโอนสร้างสิ่งอื่น ปลูกต้นไม้ หรือธัญชาติในที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา 1314 ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 1310, 1311 และ 1313 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใดๆ ซึ่งติดที่ดิน และการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติด้วยโดยอนุโลม
        แต่ข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่น อันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตหรือผู้เป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีเงื่อนไขซึ่งได้เพาะปลูกลงไว้นั้น คงครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยว โดยใช้เงินคำนวณตามเกณฑ์ค่าเช่าที่ดินนั้น หรือเจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองในทันที โดยใช้ค่าทดแทนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้
สร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นหรือการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตนเองด้วยสัมภาระของผู้อื่น
        มาตรา 1315 บุคคลใดสร้างโรงเรือน หรือทำการก่อสร้างอย่างอื่นซึ่งติดที่ดิน หรือ เพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตน ด้วยสัมภาระของผู้อื่น ท่านว่าบุคคลนั้น เป็นเจ้าของสัมภาระแต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ
การเอาสังหาริมทรัพย์มารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบ
        มาตรา 1316 ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบ หรือแบ่งแยกไม่ได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นเจ้าของรวมแห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากัน แต่ละคนมีส่วน ตามค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น
การเอาสัมภาระของผู้อื่นมาทำเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นใหม่
        “มาตรา 1317 บุคคลใดใช้สัมภาระของบุคคลอื่นทำสิ่งใดขึ้นใหม่ไซร้ ท่านว่าเจ้าของสัมภาระเป็นเจ้าของสิ่งนั้น โดยมิต้องคำนึงว่าสัมภาระนั้นจะกลับคืนตามเดิมได้หรือไม่ แต่ต้องใช้ค่าแรงงานแต่ถ้าค่าแรงงานเกินกว่าค่าสัมภาระที่ใช้นั้นมากไซร้ ท่านว่าผู้ทำเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขึ้น แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ”
การได้มาโดยเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ
        มาตรา 1318 บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือ เอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่ จะเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์นั้น
        มาตรา 1318 มีหลักเกณฑ์อยู่ ๒ ประการคือ
            1. สังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ
            2. ต้องมีการเข้าถือเอา
        เมื่อ เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ประการนี้ ก็จะได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในตัวสังหาริมทรัพย์นั้น แต่ทั้งนี้การเข้าถือเอาจะต้องไม่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่ จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น
        มาตร 1319 ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์ไซร้ ท่านว่าสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ
        มาตรา 1320 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ท่านว่า สัตว์ป่าไม่มีเจ้าของตราบเท่าที่ยังอยู่อิสระ สัตว์ป่าในสวนสัตว์ และปลาในบ่อหรือในที่น้ำ งเจ้าของกั้นไว้นั้น ท่านว่าไม่ใช่สัตว์ไม่มีเจ้าของ
        สัตว์ป่าที่คนจับได้นั้น ถ้ามันกลับคืนอิสระและเจ้าของไม่ติดตามโดยพลันหรือเลิกติดตามเสียแล้ว ฉะนี้ท่านว่าไม่มีเจ้าของสัตว์ซึ่งเลี้ยงเชื่องแล้วถ้ามันทิ้งที่ไปเลย ท่านว่าไม่มีเจ้าของ
สัตว์ป่าตามมาตรา 1320 แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
        1. สัตว์ป่าที่ยังเป็นอิสระอยู่
        2. สัตว์ป่าที่ถูกจับแล้วและต่อมากลับคืนเป็นอิสระเพราะเจ้าของไม่ติดตามทันทีหรือว่าเลิกติดตามเสีย
        3. สัตว์ที่เลี้ยงเชื่องแล้วทิ้งที่อยู่ไป
        มาตรา 1321 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ในที่รกร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะก็ดีหรือจับได้ ในที่ดินหรือที่น้ำมีเจ้าของโดยเจ้าของ มิได้แสดงความหวงห้ามก็ดี ท่านว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์
        มาตรา 1322 บุคคลใดทำให้สัตว์ป่าบาดเจ็บแล้วติดตามไป และบุคคลอื่นจับสัตว์นั้นได้ก็ดี หรือสัตว์นั้นตายลงในที่ดินของบุคคลอื่นก็ดี ท่านว่าบุคคลแรกเป็นเจ้าของสัตว์บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย
        มาตรา 1323 บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใด ดั่งต่อไปนี้
            1. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของหรือบุคคลอื่น ผู้มีสิทธิจะรับ ทรัพย์สินนั้น หรือ
            2. แจ้งแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของหรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น โดยมิชักช้า หรือ
            3. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายในสาม วัน และแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบ อันเป็นเครื่องช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
แต่ถ้าไม่ทราบตัวผู้ของหาย เจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินก็ดีหรือบุคคลดั่งระบุนั้นไม่รับมอบ ทรัพย์สินก็ดี ท่านให้ดำเนินการตามวิธีอันบัญญัติไว้ในอนุมาตรา (3)
        ทั้งนี้ ท่านว่าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังอันสมควรจนกว่าจะส่งมอบ
        ทรัพย์สินหาย หมายถึง ทรัพย์ที่มีเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นหาไม่พบหรือไม่อาจหาพบได้ แต่ถ้าเขายังติดตามอยู่และมีโอกาสที่จะพบได้ เช่นนี้ยังไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินหาย เพราะยังไม่ขาดจากการยึดถือครอบครองของเจ้าของหรือคนที่มีสิทธินั้น
หน้าที่ของผู้ที่เก็บทรัพย์สินหาย
        1. ต้องคืนให้แก่เจ้าของคนที่ทำหายหรือคนที่มีสิทธิจะรับไว้
        2. ต้องมอบให้แก่เจ้าของโดยไม่ชักช้าหรือมิฉะนั้นต้องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานอื่นในกรณีที่ไม่ทราบตัวผู้เสียหาย
        3. ต้องรักษาทรัพย์สินที่เก็บได้ด้วยความระมัดระวังตามสมควรจนถึงวันจะส่งมอบ

"วัว" เป็นทรัพย์สินประเภทใด

ที่มีกฎหมายได้กำหนดให้เป็นทรัพย์ในลักษณะพิเศษกว่าสังหาริมทรัพย์ทั่วไป อันได้ แก่ เรือกำปั่นมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตัน ขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ คือ ช้าง ม้า วัว ควาย ลา ล่อ สิ่งสำคัญคือในการทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนสังหาริมทรัพย์

สังหาทรัพย์คืออะไร

หมายถึง ทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเคลื่อนที่ได้ และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้นั้นด้วย [ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๗ ถึง ๑๔๐]

อสังหากับสังหาต่างกันยังไง

หากผู้ถึงความแตกต่างระหว่างอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์อย่างง่ายๆ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้หรือทำได้ยาก ส่วนสังหาริมทรัพย์ ก็คือทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายหรือพกติดตัวไปไหนมาไหนได้นั่นเอง เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ และรวมไปถึงสิทธิในสังหาริมทรัพย์ เช่น ...

ทรัพย์สิทธิ มีกี่ประเภท

(ก) ทรัพยสิทธิ แยกเป็น 2 ประเภท คือ 1) กรรมสิทธิ์ ได้แก่สิทธิทั้งปวง ที่เจ้าของมีอยู่เหนือ ทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จ าหน่าย ได้ดอกผล สิทธิ ติดตาม และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ บุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วย กฎหมาย. 2) ทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สิน ได้แก่