เทคโนโลยี AR สามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

เทคโนโลยี AR สามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

ในปีหน้า ‘Metaverse’ หรือจักรวาลนฤมิตกำลังจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในคอนเทนต์ และในเชิงการตลาด ทำให้ ‘AR’ และ ‘VR’ เริ่มเป็นที่น่าจับตามองมากขึ้น เพราะเริ่มมีหลายแบรนด์นำมาใช้ในคอนเทนต์ บวกกับในช่วงที่สถานการณ์ Covid-19 ระบาด คอนเทนต์เลยต้องเพิ่มประสบการณ์ ‘โลกเสมือน’ ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทาง RAiNMaker เลยอยากมาแชร์ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ให้รู้กันว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ยังไงได้บ้าง ตามไปดูกันเลย!

‘Bring It to Life’ น่าจะเป็นคำนิยามของโลกเสมือนในอนาคตอันใกล้นี้มากที่สุด เพราะผู้คนสามารถไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ จากอีกโลกหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาได้ง่ายขึ้น จากที่นึกภาพไม่ออกว่าใส่เสื้อหรือรองเท้าที่ชอบจะเป็นยังไง ตอนนี้เทคโนโลยี ‘AR’ และ ‘VR’ จะเข้ามาช่วยให้ภาพที่ว่านั้นชัดขึ้น และไม่ใช่แค่การจินตนาการอีกต่อไปนั่นเอง

โดย VR หรือ Virtual Reality จะมีผลต่ออารมณ์กับความรู้สึกของผู้ที่ได้เข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริง มากกว่าการสื่อสารกันแบบ Two-way บนวิดีโอออนไลน์ และ AR หรือ Augmented Reality ที่จะทำให้ความเสมือนจริงกลายเป็นความสมจริงทางการตลาด และทำให้คนเสมือนจริงกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกนั้น ซึ่งจะทำให้พลิกโฉมการตลาดในอนาคตอย่างสิ้นเชิง

ทำให้แบรนด์ หรือเหล่าครีเอเตอร์หันมาสร้างสิ่งมีชีวิตเสมือนจริงผ่านคอมพิวเตอร์ หรือมีการใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ โปรแกรมมันมากกว่าเดิม เพื่อให้เกี่ยวข้องกับ Persona ของกลุ่มเป้าหมายเรามากที่สุด แม้บทบาทของการใช้มนุษย์จริง ๆ อาจจะน้อยลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ และผู้บริโภคจะมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ดังนี้

เทคโนโลยี AR สามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

Virtual Reality

สร้างประสบการณ์ใหม่ในโลกเสมือน

การจำลองโลกเสมือนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าไปในนั้นแบบสมจริงได้ โดยที่ไม่มีการจำกัดจำนวนคนเข้าไป ซึ่งจะทำให้โลกเสมือนนี้มีความ ‘Beyond’ แต่ก็ยังมีการให้ประสบการณ์เสมือนจริงกับกลุ่มเป้าหมายได้อยู่ เช่น Virtual concerts ที่มีนักร้องเป็นเพียงแค่ร่าง Avatar และจำลองสภาพแวดล้อมจริงเสมือนคอนเสิร์ตจริง หรือ Virtual fashion shows ที่มีการให้ความบันเทิงได้เทียบเท่ากับแฟชั่นโชว์จริง ๆ แต่มีความทั่วถึงให้ผู้ชมมีส่วนร่วมได้แบบไม่จำกัด และอาจสัมผัสมุมมองใหม่ ๆ จากโลกเสมือนจริงได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องพาตัวไปที่ ๆ นั้นเอง 

แต่การจำลองแบบ VR นี้ แบรนด์ต้องอาศัยความเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ว่าพวกเขาอยากเข้ามาในโลกแล้วพบเจออะไร หรือจะได้ประสบการณ์อะไรไปจากโลกนี้บ้าง และต้องให้ ‘Wow Experiences’ กับพวกเขาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึง ‘Beyond’ ให้มากกว่าที่พวกเขาคาดหวังเอาไว้ เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้โลกจินตนาการ ไม่ต้องเป็นเพียงแค่จินตนาการอีกต่อไป

Augmented Reality

เพิ่มความเป็นจริงให้เห็นภาพมากขึ้น

การมีเทคโนโลยีเป็นตัวกลางระหว่างความเป็นจริง และโลกเสมือนที่สร้างขึ้น เช่น แว่นตาอัจฉริยะ หรือแอปบนสมาร์ตโฟน เพื่อสร้างประสบการณ์ทำให้กลุ่มเป้าหมายใกล้ชิดกับโปรดัก และแบรนด์มากขึ้น อย่างที่ Snapchat เริ่มมีการใช้ AR เข้ามาช่วยในฟิลเตอร์ที่สามารถเล่นสนุกไปกับความเสมือนจริง โดยชาวสแนปแชตจะสามารถใส่รองเท้า Gucci ผ่านฟิลเตอร์ AR ได้ หรือ National Geographic มี 3D Panorama เป็นฟิลเตอร์ให้ทุกคนกลายเป็นนักปีนเขาบนภูเขาที่สูงที่สุดในโลกได้

ซึ่งประสบการณ์จาก AR จะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนการตลาดในอนาคต เพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีเลยเริ่มมีการ Try-on บนโปรดักต่าง ๆ ได้เหมือนกับการได้ลองสัมผัสสินค้านั้นจริง ๆ และหน้าที่ของแบรนด์ก็คือต้องมีการปรับตัว เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันกันสร้างคอนเทนต์ AR ผ่านแอปพลิเคชันที่ดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายผ่านโลกเสมือนจริงนั่นเอง

Mixed Reality

จำลองให้เข้าใจสภาพแวดล้อมได้ดี

การจำลองแบบผสมผสานความเสมือน กับสภาพแวดล้อมจริงให้กลุ่มเป้าหมายได้สัมผัส เป็นการทำงานของ VR และ AR ผสมกัน แต่จะเอนเอียงไปทาง AR มากกว่า เพราะโปรดักมีการจำลองวัตถุ 3D แบบเสมือนจริงแสดงผ่านแว่นตาตอบสนองกับกลุ่มเป้าหมายอย่างสมจริง เช่น การชมรายละเอียดโมเดลรถผ่าน HoloLens ของ Microsoft

ดังนั้นโลกเสมือนนี้จะไม่ได้มีแค่สิ่งที่จินตนาการเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังมีการผสมผสานกับสภาพแวดล้อมจริงที่กลุ่มเป้าหมายพบเจอในชีวิตประจำวันมาด้วย เลยทำให้ความใหม่นี้ยังคงมีความคุ้นเคยอยู่ หรือเราเรียกกันว่าเป็นแบบ ‘Hybrid version’ เสียมากกว่า 

Machine Learning

มี AI ที่เข้าใจความคิดของมนุษย์

การโปรแกรมให้ AI รับรู้ความรู้สึก เข้าใจความคิดของมนุษย์ได้ และยังสามารถเลียนแบบพฤติกรรมมาโต้ตอบกับมนุษย์ได้ด้วย หากยังจินตนาการไม่ออกนักว่ามันจะขนาดไหน ให้ลองนึกภาพว่ามี AI อย่าง R2D2 ในเรื่อง Star Wars ที่คุย และเข้าใจเราได้ดู หรือแม้แต่การคุยกับ AI ผ่านแอปที่ถูกโปรแกรมมาให้เหมือนกับการคุยกับมนุษย์จริง ๆ ก็ได้เช่นกัน

ซึ่งการมี AI ที่เข้าใจมนุษย์จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกได้คุยกับคนด้วยกันเองมากกว่าหุ่นยนต์ และสามารถทำให้ตอบคำถามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลื่นไหล หรือการทำงานของระบบที่เรียนรู้เองอัตโนมัติในการเอาใจกลุ่มเป้าหมาย แต่ต้องมีชุดข้อมูลปริมาณมากพอสมควรในการทำความเข้าใจพวกเขา โดยในปัจจุบันก็มีให้เห็นกันอย่างใกล้ตัวกันแล้ว นั่นก็คือการแนะนำหนังผ่าน Netflix หรือแนะนำเพลงบน Spotify นั่นเอง

Virtual Being

จำลองการมีอยู่ของบุคคลได้ทุก ๆ ที่

การจำลองบุคคลเสมือนจริงนี้ สักวันหนึ่งมันจะกลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในอนาคตด้วย เพราะแบรนด์จะสามารถสร้าง AI ในรูปแบบที่ต้องการได้เอง โดยประหยัดเวลาในการเฟ้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นคนจริง ๆ ไป เช่น องค์กรอนามัยโลกอย่าง WHO มีแคมเปญเลิกบุหรี่ เลยใช้ ‘ฟลอเรนซ์’ AI ผู้ช่วยพยาบาลคนแรกมาช่วยพูดถึงแคมเปญนี้ พร้อมให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการเลิกบุหรี่ หรือจะเป็นแคมปเปญของ KFC ที่ใช้จำลองผู้พันแซนเดอส์ขึ้นมาให้พบปะเหล่า Virtual Influencer อื่น ๆ ได้

นอกจากนี้การใช้ Virtual Being ยังสามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันมากขึ้นได้ด้วย เพราะ AI ที่สร้างนั้นจะเป็นใครก็ได้ ในอนาคตเราอาจจะได้ใกล้ชิดกับ AI คนดังหรือมี AI ของตัวเองเข้าไปนั่งประชุมข้ามโลกกันก็ได้ อย่างที่มีการจำลองบริษัท ‘Live in Their World’ ได้จำลองให้ผู้ใช้เป็นคนผิวดำที่อยู่ในห้องที่มีแต่คนผิวขาวในมุมมองแบบ Point of View เพื่อที่จะได้เข้าใจความรู้สึกพวกเขามากขึ้นในช่วง #BlackLivesMatter

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความบันเทิง,การจัดคอนเสิร์ต,อีเว้นต์ หรือจัดแคมเปญล้วนขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์ว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ยัง เพราะเทคโนโลยี VR และ AR นั้นสามารถสร้างประสบการณ์แบบไร้ขีดจำกัดให้กลุ่มเป้าหมายได้แน่นอน

แม้เทคโนโลยีที่กล่าวมาทั้งหมดจะดูห่างไกลจากการนำมาใช้ในประเทศไทย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า VR และ AR ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกอย่างแนบเนียน และมันจะพัฒนาขึ้นไปอีก สิ่งที่แบรนด์ และเหล่าครีเอเตอร์ควรทำก็คือการรับรู้เอาไว้ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงในการตลาดให้พร้อมเท่านั้นเอง เพราะหากเรามีความเข้าใจเทคโนโลยีนี้เพียงพอ มันก็จะไม่สามารถ Disrupt ธุรกิจของได้ถ้ารู้จักใช้งานมันอย่างเหมาะสม

ที่มา: Search Engine Journal 

เทคโนโลยี AR สามารถนํามาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

5 เหตุผลที่เทคโนโลยี AR สามารถสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจในโลกดิจิทัล.
1. เพิ่มยอดขายด้วยฟีเจอร์ทดลองสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ... .
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ UX UI. ... .
3. ผลิตคอนเทนต์ได้อย่างสร้างสรรค์และสร้างกระแสให้กับแบรนด์ ... .
4. สร้างการมีส่วนร่วมได้โดยการใช้ AR รูปแบบ Gamification..

ข้อใดคือประโยชน์เทคโนโลยี AR ทางการศึกษา

จากการนำ AR มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้แม้สิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในชั้นเรียน สามารถสร้างประสบการณ์ที่ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถ และทักษะที่หลากหลาย เพราะ AR สามารถสร้างแบบจำลององค์ความรู้ที่ซับซ้อน เข้าใจยาก ให้ออกมาเป็นโมเดลที่เป็นรูปธรรม และทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น จะเห็นได้ว่า ...

ข้อใดคือประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวของเทคโนโลยี AR

AR Location-Based สามารถทำหน้าที่เป็นระบบนำทาง พานักท่องเที่ยวไปยังจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่สำคัญได้อย่างแม่นยำ ตัดปัญหาเรื่องการหลงทางและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการสื่อสารพูดคุย การสัมผัสใกล้ชิดตลอดจนการรวมกลุ่มของบุคคลระหว่างการท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะแบบเดิม