5g ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

เทคโนโลยีเปลี่ยน ไทยเปลี่ยน เมื่อไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค "5จี" เทคโนโลยีเครือข่ายที่ก้าวล้ำนี้จะพาประเทศขับเคลื่อนไปยุคดิจิทัลอย่างไรบ้าง

ระบบ 5G เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสาร ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่ ที่จะก่อให้เกิดผลพวงที่มีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ยุคดิจิทัล อันเป็นนโยบายสำคัญและเป็นความปรารถนาสูงสุดของรัฐบาลในแต่ละประเทศ

ทุกประเทศในวันนี้ ต่างตระหนักดีว่า ความได้เปรียบและความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีจะเป็นกลไกสำคัญของความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมตลอดถึงการขับเคลื่อนสู่ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ที่ผ่านการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมยิ่งขึ้น

ระบบ 5G ที่เคยดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่วันนี้ได้เข้าใกล้ตัวพวกเรามากขึ้นทุกที เพราะภาครัฐได้กำหนดวันเคาะประมูลใบอนุญาต 5G จะมีขึ้นในวันที่ 16 ก.พ. 2563 นี้แล้ว

ว่าไปแล้ว โลกเราได้ผ่านวิวัฒนาการของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายมาถึง 4 ยุค (4G) แล้ว คือ ตั้งแต่ยุค 1G (ช่วง ค.ศ.1980) 2G (ช่วง ค.ศ.1990) 3G (ช่วง ค.ศ.2000) 4G (ช่วง ค.ศ.2010) และถ้ากำลังก้าวเข้าสู่ยุค 5G ในช่วง ค.ศ.2020 นี้

ว่าด้วยการสื่อสารเชื่อมโยงกันทั้งบุคคลและสิ่งอื่นๆ ในหลายๆ ภาคส่วน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ อุตสาหกรรม สังคม เรียกได้ว่าสามารถเชื่อมโยง และสื่อสารทุกสรรพสิ่งได้

5G จึงเป็นยุคของการเชื่อมต่อสิ่งของทุกสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน โดยมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากยุค 4G เพราะเราสามารถจะตอบสนองต่อคำสั่งได้ไวขึ้น สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือแทบจะทันที รวมถึงการส่งสัญญาณที่ไวขึ้นสูงสุดและส่งข้อมูลได้เพิ่มมากขึ้น เพิ่มมากแต่ละพื้นที่ และที่สำคัญที่สุด คือ การประหยัดพลังงานด้วย

คุณสมบัติของ 5G จะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ มากมาย อาทิ การสื่อสารกันได้ระหว่างคนกับเครื่องจักร เมื่อคนสามารถสั่งงานเครื่องจักรได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วแทบจะเรียลไทม์ การใช้งานเครื่องจักร จึงอาจจะเพิ่มมากขึ้น

ในภาคของการผลิตนั้น 5G จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการมากขึ้น จะทำให้สินค้าที่ส่งออกมีราคาถูกลง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย

ในส่วนของสาธารณสุขนั้น จะทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้มากขึ้น ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปโรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งจะทำให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้

สำหรับภาคเกษตรกรรม ก็จะลดการใช้แรงงานและเพิ่มผลิตภาพได้ เพราะได้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ ส่วนภาคการศึกษาประชาชนในพื้นที่ชนบทก็จะเข้าถึงระบบการศึกษาได้เหมือนกับคนในเมือง จะมีการเรียนการสอนผ่านระบบ On-Line ประชาชนทุกคนเข้าถึงระบบการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันล

ขณะที่ภาคประชาชน ก็จะได้รับประโยชน์ 5G ช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมได้เป็นอย่างดี รวมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ ทั้งด้านสาธารณสุข การเกษตร ธุรกิจ อุตสาหกรรม การศึกษา และสังคม

ภาคสังคม และครอบครัว ก็จะมีความเข้มแข็งและอบอุ่นมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยี 5G จะช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ในท้องถิ่นได้หลากหลายอาชีพมากขึ้น ในที่สุดก็จะลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยลงได้ในทุกๆ ด้าน และจะทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน

ระบบ 5G จึงไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งการใช้ชีวิต และคุณภาพชีวิตของทุกผู้คนในโลกนี้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกทีต่อ "ประเทศไทย 4.0" ไม่ได้แล้ว ครับผม!

‘5G’ พลิกโฉมอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง

5g ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

         การเข้ามาของระบบเทคโนโลยีสื่อสาร 5G ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเป็นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะเทคโนโลยี 5G ไม่ได้เป็นเพียงเครือข่ายไร้สายที่จำกัดการเชื่อมต่อเพียงมือถือเท่านั้น แต่ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในเรื่องของความเร็ว ทำให้เทคโนโลยี 5G มีศักยภาพในการเชื่อมอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ หรือที่เราเรียกว่า Internet of Thing (loT) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและบริการรูปแบบใหม่

          ด้วยคุณสมบัติที่รองรับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากด้วยความเร็วสูงและเสถียร ทำให้หลายภาคอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจ อ้างอิงจากการศึกษาของ Qualcomm บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำ จากสหรัฐอเมริกา เรื่องแนวโน้มของเทคโนโลยี 5G ระบุว่า ภายในปี 2035 เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาทำรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นมูลค่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะสร้างรายได้ GDP สะสมระหว่างปี 2020-2035 อยู่ที่ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

          จากผลสำรวจจากบริษัท Ericson ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ระบุว่า อุตสาหกรรมยานยนต์และขนส่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแรกๆ ที่มีความต้องการจะใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อเพิ่มโอกาสทางทางธุรกิจมากที่สุด ประกอบกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราสามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวัน จากเหตุผลข้างต้นทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค

5g ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
 

นวัตกรรมการขับขี่โลกแห่งอนาคต

          ภาพรถยนต์ขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) วิ่งบนท้องถนนคงเป็นจริงในอีกไม่นาน ซึ่งขบวนการทำงานของรถยนต์ไร้คนขับแบบสมบูรณ์ เกิดจากการรวบรวมเทคโนโลยีหลากหลายแขนงมาประยุกค์เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การนำเทคโนโลยี IoT มาใช้กับกล้องติดรถยนตร์ และเซ็นเซอร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับวัตถุรอบคันรถ การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial (AI) เข้ามาช่วยควบคุมการขับเคลื่อนของรถยนต์ ร่วมกับ Big Data Analytics ที่ช่วยยกระดับความอัจฉริยะในการขับขี่ ซึ่งข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้ถูกส่งผ่านเทคโนโลยี 5G ภายในเสี้ยวนาที เพื่อช่วยในการสื่อสารและเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน

          ในประเทศไทยเริ่มมีการทดสอบเทคโนโลยี 5G ใน Use Case แบบรถยนต์ไร้คนขับควบคุมแบบทางไกล ด้วยความร่วมมือของ บริษัท AIS กับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดินทางระหว่างกรุงเทพ ไป สงขลา ซึ่งในกรณีนี้ตัวรถจะถูกควบคุมจากระยะทางไกล โดยทำการบังคับรถให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยข้อมูลต่างๆ ถูกส่งต่อมาจากระบบ VDO Analytics และยังสามารถทำการ Steaming VDO กลับมายังผู้ควบคุมรถผ่านเทคโนโลยี 5G

5g ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
 
ที่มาภาพ: https://www.brandbuffet.in.th/2019/08/ais-5g-usecase-unmanned-vehicle/

เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระหว่างยานพหนะ (Vehicular Communication)

          เทคโนโลยีหลักที่ทำให้รถยนต์ไร้คนขับใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ คือ V2V (Vehicle to Vehicle communication)  เทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างรถยนต์ด้วยกันเองซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในการติดต่อสื่อสาร ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการขับขี่และการจราจรถึงกัน ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการขยายขอบเขตของสื่อสาร ด้วยการพัฒนาให้รถยนต์สามารถสื่อสารกับทุกสิ่งได้ หรือที่เรียกว่า V2X (Vehicle to Anything) โดยภาพที่เห็นชัดที่สุดคือการสื่อสารระหว่างรถยนต์กับ Infrastructure บนท้องถนน เช่น เสาไฟฟ้า ทางเดิน อาคาร ที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารระหว่างเครือข่ายได้

5g ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

          ในหลายประเทศมีการเดินหน้าเตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการเข้าสู่ “ยุคแห่งรถยนต์อัจฉริยะ” แบบเต็มตัว ที่นครหนานหนิง  ประเทศจีน มีการริเริ่มก่อสร้างโครงการนำร่อง “ทางด่วนอัจฉริยะ” (Smart Highway) สายแรกของมณฑล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสื่อสารแบบ V2X  มาใช้เป็นหัวใจหลักในการสื่อสาร โดยมีการจัดตั้งสถานีฐานเครือข่าย 5G ห่างกันทุก 125 เมตร ตลอดเส้นทางความยาวกว่า 25.8 กม.

ปรับปรุงความปลอดภัยในการขับขี่ ช่วยลดอุบัติเหตุ

          เราสามารถพูดได้ว่า นวัตกรรม V2V และ V2X  คือสิ่งที่เข้ามาเสริมความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างแท้จริง เนื่องจากรถยนต์สามารถสื่อสารรับส่งข้อมูลของรถยนต์แบบเรียลไทม์ เช่น ตำแหน่งของรถยนต์, ความเร็ว, อัตราเร่ง รวมไปถึงทิศทางในการขับขี่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บผ่านกล้องวิดีโออัตโนมัติแบบ Advanced Driver Assistance Systems (ADAS) หรือเซ็นเซอร์ และถูกนำมาวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ เมื่อพบพฤติกรรมเสี่ยงทั้งจากผู้ขับขี่และสิ่งแวดล้อมภายนอก  โดยข้อมูลจะถูกส่งต่อผ่านระบบ cloud ไปยังไปยังอุปกรณ์เตือนภัย เพื่อช่วยแจ้งเตือนผู้ขับขี่ล่วงหน้าหากมีแนวโน้มจะเกิดอุบัติเหตุได้อย่างทันท่วงที

5g ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
 
ที่มาภาพ : https://th.postupnews.com/2017/02/scania-platooning.html

          บริษัท สแกนเนีย ผู้ผลิตรถขนาดใหญ่เพื่อการพาณิชย์จากประเทศ สวีเดน ได้ทำการพัฒนานวัตกรรม ‘สแกนเนีย พลาทูนนิ่ง (Scania Platooning)’ ซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมการขับขี่ที่เชื่อมต่อเป็นรูปขบวนผ่านเทคโนโลยี 5G โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

          สำหรับหลักการทำงานนนั้นใช้เทคโนโลยี 5G ช่วยในการทำงานแบบครบวงจรตั้งแต่การออกตัว หยุดรถ บังคับทิศทาง ไปจนถึงการกำหนดความเร็ว ซึ่งมีรถนำขบวนทำหน้าที่ในการออกคำสั่งหลักในการปฏิบัติงานและส่งต่อไปยังรถในขบวน นอกจากนี้ยังมีระบบเซนเซอร์ทำงานร่วมกับกล้อง ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมประมวณผลและส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังรถในขบวนให้รับทราบถึงเหตุผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับรถในขบวน

ช่วยติดตามการขนส่งและการปรับปรุงเส้นทาง

          เทคโนโลยี 5G จะเข้ามายกระดับประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ ด้วยการพัฒนาการทำงานของระบบ GPS ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยจะมีประโยชน์ในการช่วยติดตามการขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนจบปลายทางแบบเรียลไทม์ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลซึ่งเข้าถึงได้ยาก รวมถึงช่วยวางแผนเส้นทางการขนส่งที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งอีกทั้งยังประหยัดเวลาให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้รับสินค้า ในอนาคตหากเทคโนโลยี 5G ถูกพัฒนาไปอีกระดับ ไม่เพียงแต่การติดตามการเดินทางของพัสดุ แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเช็คสถานะของสินค้า เช่น อุณหภูมิ แรงกระแทก ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งได้อีกด้วย

          ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยี 5G เป็นหัวใจสำคัญที่สร้างการเชื่อมต่อไร้ขีดจำกัดในยุคดิจิตอล ซึ่งไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงโลก แต่ยังพลิกรูปแบบวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของทุกภาคอุตสาหกรรมในการนำเทคโนโลยี 5G ไปสร้างโอกาสทางธุรกิจที่จะก่อให้เกิดมูลค่าอย่างมหาศาล

แหล่งอ้างอิง :
1. 5G จะเข้าไทยเมื่อไหร่นะ แล้วต่างกับ 4G อย่างไร?. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://bit.ly/34zumki
2. Redacción MAPFRE. (2020). 5G technology in transportation opens a window for connectivity in developing countries. Retrieved October 08, 2020, from https://www.mapfre.com/en/technology-5g-mobility/
3. How 5G Will Transform the US Transportation Network. Retrieved October 08, 2020, from https://appinfoinc.com/5g-us-transportation-networks/
4. สวทช. (2016).V2V หรือ Vehicle to Vehicle communication. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-r-and-d/748-v2v-v2x
5. Admin Patt. (2020). 5G กับการยกระดับอุตสาหกรรม Logistics จาก MyCloud. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://www.mycloudfulfillment.com/5g-logistics/
6. รถยนต์ไร้คนขับนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้าด้วยพลังของ 5G .สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://bit.ly/3d9ayrF
7. สแกนเนีย นวัตกรรมใหม่ระบบควบคุมการขับขี่และเชื่อมต่อขบวนรถบรรทุกแบบต่อเนื่องด้วยระบบการ 5G ครั้งแรกของโลกสแกนเนีย พัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคตเพื่อการขนส่งอย่างยั่งยืน เชื่อมต่อด้วยสัญญาณ 5G. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://th.postupnews.com/2017/02/scania-platooning.html
8. 5 ธุรกิจที่ได้ประโยชน์จาก “เทคโนโลยี 5G ที่อาจทำรายได้ถึงถึง 105 ล้านล้านบาท”. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://bit.ly/33FSqmo
9. เผยผลสำรวจเทคโนโลยี 5G พบ สื่อและบันเทิง ยานยนต์ และการขนส่งสาธารณะต้องการใช้ในปี 6. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563  จาก https://bit.ly/36HcaYu
10. “ทางด่วนอัจฉริยะ” สุดล้ำ รองรับยุครถยนต์ไร้คนขับที่แรกในกว่างซี. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://bit.ly/3jHmL9E
11. Pj. (2019). 5G ก้าวไปอีกขั้น “AIS” โชว์ทดสอบ Use Case “รถไร้คนขับทางไกล” จากกรุงเทพฯ สู่หาดใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/08/ais-5g-usecase-unmanned-vehicle/