เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

5G คืออะไร? เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที กับอนาคตของการสื่อสารไร้สายยุคที่ 5

เทคโนโลยี 5G เริ่มเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วงนี้หลายคนน่าจะเริ่มเห็นจากทีวีหรือสื่อต่างๆ บ่อยขึ้น โดยการมาของ 5G นั้น นอกจากยกระดับความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่สามารถเข้ามาเพิ่มศักยภาพในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการศึกษาและด้านการแพทย์ได้ด้วย 

แต่เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัยว่า 5G จะทำได้ขนาดนั้นจริงหรือ? เพราะขนาดเทคโนโลยี 4G ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันยังทำไม่ได้ถึงขนาดนั้นเลย เพราะฉนั้นเราไปไขคำตอบ และรู้จักเทคโนโลยี 5G นี้พร้อมกันครับ และขอหยิบยกข้อมูลในด้านของผู้ใช้งานอย่างเราๆ มาบอกเล่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

5G คืออะไร? 

5G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็ว Upload และ Download บนเครือข่ายไร้สายให้เสถียร และเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วได้เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่ง 5G ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 20 Gbps ในขณะที่ 4G นั้นสามารถทำได้สูงสุดที่ 1Gbps เท่านั้น 

คุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G

  • ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูล : 20 Gbps
  • Latency ในการเชื่อมต่อปลายทางทำได้เร็วและนิ่งขึ้น (<1ms) จึงทำให้เหมาะกับการใช้งานเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น
  • รองรับการใช้งานเครือข่ายในปริมาณที่มากกว่า 4G ถึง 10 เท่า
  • ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 20 Gbps
  • ช่วงคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น 30 GHz 

เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

เปรียบเทียบ 4G กับ 5G เปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หลายคนอาจยังนึกภาพไม่ออกว่า การเปลี่ยนแปลงจาก 4G มาสู่ 5G นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ดีขึ้นแค่ไหน ลองมาดูภาพนี้กันครับ

เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

  • Latency : ค่าการตอบสนองต่อการ รับ-ส่ง สัญญาณ โดยค่านี้เลขยิ่งน้อยยิ่งตอบสนองได้ดี ซึ่ง 5G มีค่า Latency น้อยกว่า 1 ms ในขณะที่ 4G จะอยู่ที่ประมาณ 10 ms 
  • Data Traffic : การรองรับการส่งข้อมูลในระยะ 1 เดือน ด้านของ 5G สามารถรองรับได้มากถึง 50 Exabytes ในขณะที่ 4G จะรองรับอยู่ที่ประมาณ 7.2 Exabytes เท่านั้น
  • Peak Data Rates : ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลนั้น 5G สามารถทำได้ถึง 20 Gbps ส่วน 4G จะอยู่ที่ 1 Gbps
  • Available Spectrum : ช่วงคลื่นความถี่ฝั่ง 5G สามารถใช้ได้ถึง 30 GHz ส่วน 4G ใช้ได้เพียงแค่ 3GHz เท่านั้น
  • Connection Density : การรองรับความหนาแน่นในการเชื่อมต่อ ฝั่ง 5G รองรับได้มากถึง 1 ล้านคนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่ด้าน 4G รองรับได้เพียง 1 แสนคนต่อตารางกิโลเมตร เท่านั้น

5G กับการผู้ใช้งาน

ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G ที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว ความนิ่ง และการรองรับการใช้งาน Data ในปริมาณที่มาก ทำให้เหมาะกับการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม และการแพทย์ ซึ่งเราน่าจะได้กันมาบ้างแล้ว เช่น การนำมาใช้คู่กับเทคโนโลยี AR เพื่อใช้วิเคราะห์ผู้ป่วยสำหรับคุณหมอ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อกับรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น

เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

แต่ในด้านของผู้ใช้งานนั้น เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยยกระดับให้ผู้ใช้งานอย่างเราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ทำให้เราสามารถเลือกรับชมคอนเทนท์ภาพยนตร์ด้วยความละเอียดระดับ 4K ได้สบายมาก รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับ loT ก็ทำได้สะดวกและสเถียรมากขึ้นด้วย

เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

ส่วนทางด้านดีไวซ์หรือสมาร์ทโฟนนั้น ตอนนี้หลายแบรนด์ใหญ่เช่น Qualcomm, Samsung, Zyxel, Huawei และอีกหลายแบรนด์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์อย่าง "สมาร์ทโฟน" ให้สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง 5G ให้ได้ทั่วโลก และน่าจะเริ่มได้เห็นสมาร์ทโฟนรุ่นที่รองรับออกมาวางจำหน่ายกันในช่วงปลายปี 2019 นี้แน่นอน

เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

สรุป

ถึงแม้เทคโนโลยี 5G ในไทยเราจะยังใช้งานในรูปแบบผู้ใช้งานแบบ 4G ที่เราใช้งานกันในตอนนี้ แต่ก็ใกล้มากๆ แล้ว ที่เราจะได้สัมผัสและลองใช้งานเทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ในประเทศไทย เพราะตามไทม์ไลน์เราน่าจะได้เริ่มใช้งานกันเต็มรูปแบบก็ประมาณปี 2020 - 2021 ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะมองข้ามไป แถม 5G ยังเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยยกระดับทั้งในแง่ของการใช้งาน และภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น ด้วยมาตราฐานการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น นิ่งกว่าเครือข่าย 4G ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันถึง 10 เท่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

5G

ผู้พัฒนา3GPP
ริเริ่มกรกฎาคม พ.ศ. 2559
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม

5G (เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นหรือระบบไร้สายรุ่นที่ 5) เป็นเครือข่ายไร้สายที่ถูกพัฒนาและเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา[1] เทคโนโลยีพื้นฐานได้แก่คลื่นความถี่ (Millimeter wave bands 26, 28, 38, และ 60 GHz) มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 20 จิกะบิตต่อวินาที[2] MIMO(Multiple Input Multiple Output - 64-256 antennas)ประสิทธิภาพสูงซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 10 เท่า[3][4][5] 5G ย่านความถี่ต่ำและกลางใช้ความถี่ระหว่าง 600 MHz ถึง 6 GHz โดยเฉพาะระหว่าง 3.5-4.2 GHz[6][7]

ในปี พ.ศ. 2560 หลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยี 5G เช่น Samsung, Intel, Qualcomm, Nokia, Huawei, Ericsson, ZTE และอื่น ๆ[8] แม้ว่า 5G จะครอบคุลมทั่วโลกภายในปี 2563 เกาหลีใต้ได้เริ่มให้บริการเทคโนโลยีนี้ที่โอลิมปิกฤดูหนาว 2018[9][10] ในปี พ.ศ. 2561 Verizon วางแผนจะให้บริการ 5G FWA ใน 4 เมืองในสหรัฐ แซคราเมนโต แอลเอ อินเดียแนโพลิส และฮิวสตัน

ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2564 ถึงปี พ.ศ.2565 ได้มีการพัฒนาโครงเครือข่าย5G โทรคมนาคม โดย กสทช.(ประเทศไทย) ได้มีการอนุมัติการวางโครงเครือข่าย5Gหลังจากการประมูลคลื่นความถี่สำเร็จ และเริ่มเปิดทดสอบในปี พ.ศ. 2564 โดยบริษัท AWN หรือเครือข่าย AIS ได้มีการประกาศให้ผู้ใช้งานในประเทศไทยสามารถใช้งานบริการ 5G ได้แล้ว ( AIS 5G ) หลังจากนั้นบริษัท TRUE ก็ได้เริ่มให้ใช้บริการ 5G ( TRUE 5G ) ต่อมาทางบริษัท DTAC ก็ได้เปิดการใช้งาน 5G เช่นกัน ( DTAC 5G )

ความเป็นมาของ 5G[แก้]

การสือสารไร้สายรุ่นใหม่ ๆ มักปรากฏทุก ๆ 10 ปี นับจากครั้งแรกที่ระบบเครือข่าย 1G โดย Nordic Mobile Telephone ได้เป็นที่รู้จักกันในปี 1981 ต่อมาระบบเครือข่าย2G ก็ได้เริ่มถูกใช้งานในปี 1992 ส่วนระบบเครือข่าย 3G ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2001 และระบบเครือข่าย 4G ที่ทำงานสอดคล้องกับระบบ IMT Advancedก็ได้รับมาตรฐานในปี 2012 เช่นกัน

การพัฒนาของมาตรฐาน 2G (GSM) และ 3G (IMT-2000 และ UMTS) ที่ใช้เวลาประมาณ 10 ปี จากจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของโครงการ R & D และการพัฒนาระบบเครือข่าย 4G เริ่มต้น ในปี 2001 หรือ 2002 เทคโนโลยีรุ่นก่อนที่เกิดขึ้นในตลาดไม่กี่ปีก่อนรุ่นมือถือใหม่เช่นระบบ Pre-3G CDMAOne / IS95 ในสหรัฐอเมริกา ในปี 1995 และระบบ Pre-4G Mobile WiMAX ในภาคใต้ ของเกาหลี ปี 2006 และเป็นครั้งแรกที่ปล่อยสัญญาณ LTE ในสแกนดิเนเวียเมื่อปี 2009

อ้างอิง[แก้]

  1. "ITU towards "IMT for 2020 and beyond" - IMT-2020 standards for 5G". International Telecommunications Union (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  2. "5G Bytes: Millimeter Waves Explained". IEEE Spectrum: Technology, Engineering, and Science News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  3. "Sprint Unveils Six 5G-Ready Cities; Significant Milestone Toward Launching First 5G Mobile Network in the U.S. | Sprint Newsroom" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  4. "What Is Massive MIMO Technology?". 5g.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  5. "Massive MIMO for 5G - IEEE 5G". 5g.ieee.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  6. "ITU towards "IMT for 2020 and beyond"". www.itu.int (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  7. "T-Mobile to Use Low-Band Spectrum to Provide 5G Service". eWEEK (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  8. "Top companies leading 5G development". Netscribes. 9 November 2017.
  9. Seong-Mok Oh (February 12, 2018). "KT showcases 5G innovation at the Olympics in PyeongChang". ITU News. สืบค้นเมื่อ 2 March 2018.
  10. Kang, Seung-woo (20 February 2018). "KT showcasing 5G technology at PyeongChang Games". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2 March 2018.