การนําเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถเสนอได้ 2 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

การนําเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถเสนอได้ 2 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง
 
การนําเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถเสนอได้ 2 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

6. การนำเสนอและการจัดแสดงผลงาน                                                             

           ขั้นนี้จัดได้ว่าเป็นขั้นที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการแสดงออกถึงผลที่ได้จากการศึกษา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความคิด ความพยายามในการทำงานของผู้ทำโครงงาน และเป็นวิธีที่แสดงถึงผลงานที่ได้ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในผลงาน ประกอบด้วย

           1.) แผงโครงงาน เป็นการจัดแสดงผลงานในรูปนิทรรศการ ประกอบด้วยแผ่นป้ายที่ทำด้วยวัสดุที่คงทนถาวร 3 แผ่นด้วยกัน ประกอบเข้าด้วยกัน สามารถกางออกเพื่อนำเสนอผลงานได้ ตัววัสดุที่ใช้ทำแผงโครงงาน ควรมีความหนาประมาณ 3-5 มิลลิเมตร  ภายในแผงโครงงาน ประกอบด้วยการนำเสนอประเด็นที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยชื่อสถานศึกษา ชื่อโครงงาน ผู้จัดทำโครงงาน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติ การนำเสนอผลการทดลอง ซึ่งควรนำเสนอให้มีจุดเด่น ซึ่งอาจเป็นกราฟ ตาราง รูปภาพ การนำเสนอบนแผงโครงงานนั้น ข้อความต้องชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย ขนาดตัวอักษร ต้องมีขนาดที่สามารถอ่านได้ในระยะ 2 เมตร

           2.) วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นในการนำเสนอควบคู่กับแผงโครงงาน โดยจัดวางเป็นหมวดหมู่หน้าแผงโครงงาน เตรียมพร้อมที่จะอธิบายปากเปล่า ต่อคณะกรรมการ หรือผู้ที่สนใจโครงงาน

           3.) การนำเสนอด้วยการรายงานด้วยคำพูดต่อหน้าที่ประชุม อาจเป็นการนำเสนอ เพื่อประกวดผลงาน ควรคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

                    3.1) ทำความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน เนื้อหาของเรื่องที่จะอธิบาย เพื่อเป็นการเตรียมข้อมูลในการตอบคำถามของผู้สนใจในที่ประชุม จัดลำดับความคิดที่จะนำเสนออย่างเป็นระบบ

                    3.2) นำเสนออย่างตรงไปตรงมา กะทัดรัด ชัดเจน และเข้าใจง่าย ภายในเวลาที่กำหนด การรายงานควรเป็นธรรมชาติของการพูด ไม่ใช่การอ่านรายงานให้ผู้อื่นฟัง แต่เป็นการพูดหรือเล่าถึงการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงานของตนเองให้ผู้อื่นฟัง และเข้าใจ

                    3.3) ควรมีสื่อประกอบการรายงาน เช่นแผ่นโปร่งใส สไลด์ หรือสื่อที่ทันสมัยอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้การรายงานมีความสมบูรณ์ และง่ายต่อการเข้าใจของผู้ฟัง ยิ่งขึ้น

           การเตรียมการที่ดี มีความพร้อม จะทำให้เกิดความมั่นใจในการนำเสนอต่อที่ประชุมมากขึ้น 

           การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียน นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างมีขั้นตอน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ คิดค้น หาความรู้ด้วนตนเอง ซึ่งมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาบุคลากร อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศต่อไป ในอนาคต

การนําเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถเสนอได้ 2 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

การนําเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถเสนอได้ 2 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

การแสดงผลงาน

           การแสดงผลงานเป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ อาจทำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นการจัดแสดงให้ผู้อื่นทราบถึงกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของการศึกษาค้นคว้า อาจมีอุปกรณ์ และเครื่องมือหรือภาพและแผนภูมิประกอบคำบรรยาย อาจมีหรือไม่มีการสาธิตประกอบด้วยก็ได้ หรืออาจจัดแสดงในรูปแบบอื่น ๆ เช่นการรายงานปากเปล่าก็ได้

                 การแสดงผลงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นี้ อาจจัดได้หลายระดับ เช่น

-   การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน

-   การแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน

-   การจัดนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน

-   การส่งผลงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียน ในระดับต่าง ๆ เช่น กลุ่มโรงเรียน  ระดับจังหวัด  ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น

การแสดงผลงานในลักษณะที่มีการจัดแสดง ขั้นจำเป็นอย่างยิ่งสิ่งที่ต้องเขียนโปสเตอร์ติดแสดงโครงงาน ข้อความที่สำคัญที่จะต้องเขียน คือ

-    ชื่อโครงงาน

-    ชื่อผู้ทำโครงงาน

-    ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

-    ชื่อสถานศึกษา

-    คำอธิบายย่อ ๆ ถึงมูลเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน

-    จุดมุ่งหมาย

-    วิธีการดำเนินงาน อธิบายเป็นข้อ ๆ โดยย่อ หรืออาจแสดงเป็นภาพแสดงขั้นตอนดำเนินการประกอบด้วย

-     ผลการศึกษา ควรเสนอเฉพาะข้อมูลเด่น ๆ อาจมีภาพประกอบด้วย

                -     สรุปผล

           นอกจากนั้น ยังต้องจัดอุปกรณ์แสดงหรือสาธิตผลที่ได้จากการศึกษาด้วยการเสนอผลงานในลักษณะของการจัดแสดงนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

-    ความปลอดภัยของการแสดง

-    ความเหมาะสมของพื้นที่ที่จัดแสดง

-   คำอธิบายที่เขียนแสดงนั้น ควรเน้นเฉพาะประเด็นต่าง ๆ ข้อความกะทัดรัด ชัดเจนและเข้าใจง่าย

-    นาดตัวอักษรต้องมีขนาดใหญ่ ผู้ชมสามารถอ่านได้ในระยะ 2 เมตร คือตัวอักษรที่เป็นชื่อเรื่อง ควรมีขนาดความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร หัวข้อย่อย ขนาดความสูงประมาณ 2 เซนติเมตร และข้อความอื่น ๆ ขนาดความสูงประมาณ 1.5 เซนติเมตร

-   ดึงดูดความสนใจของผู้ชม โดยใช้สีที่สดใสคือ สีตัวอักษรต้องเด่นชัด และข้อความที่เป็นจุดเน้นที่สำคัญควรใช้สีที่สดใส

-     ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอย่างเหมาะสม

-    สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้อง ไม่มีการสะกดคำหรืออธิบายหลักการผิด

-  ในกรณีที่เป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ที่นำมาแสดงประกอบนั้น ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

                   สำหรับการเสนอผลงานในรูปแบบของการรายงานปากเปล่าในที่ประชุมนั้น ควรมีการใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ ประกอบการรายงานด้วย เช่น แผ่นโปร่งใส หรือสไลด์ เป็นต้น  ส่วนข้อความที่จะเขียนลงบนแผ่นโปร่งใสนั้น ก็เป็นข้อความเช่นเดียวกับที่เขียนโปสเตอร์ดังที่กล่าวข้างต้น

การรายงานปากเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการรายงานปากเปล่า ที่เป็นการอธิบายด้วยคำพูดประกอบกับการจัดแสดงโครงงาน หรือการรายงานปากเปล่าต่อที่ประชุมก็ตาม ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

-     ต้องทำความเข้าใจในเรื่องที่จะอธิบายเป็นอย่างดี

-     ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับผู้ฟัง

-    รายงานตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมหลีกเลี่ยงการอ่านรายงานแต่อาจดูหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงานเป็นขั้นตอน และควรชี้จุดเน้นหรือประเด็นที่สำคัญ ๆ ของโครงงานประกอบคำอธิบาย

-      อย่าท่องจำรายงาน เพราะจะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

-      ขณะรายงานต้องมองตรงไปยังผู้ฟัง

-      ควรรายงานให้เสร็จในระยะเวลาที่กำหนด

-    เมื่อรายงานเสร็จควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถาม

-    การตอบคำถามควรตอบให้ตรงประเด็นที่ถามอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม

-     หากติดขัดในการตอบ อย่าเสแสร้งหรือกลบเกลื่อน ควรยอมรับแต่โดยดี

การเตรียมการก่อนการเสนอผลงานนั้น  นักเรียน ควรซักซ้อมการอธิบายปากเปล่า รวมทั้งการซักซ้อมการตอบคำถาม ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเกิดความมั่นใจ

ส่วนประกอบของแผงโครงงาน

การนําเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถเสนอได้ 2 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

1.   ชื่อสถานศึกษา

2.   ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

3.   บทคัดย่อ

ส่วน ข     ขนาด 120 X 60 เซนติเมตร  ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

1.   ชื่อโครงงาน                     2.  ที่มาและความสำคัญ

3.    ขอบเขตการศึกษา           4.  จุดมุ่งหมายการศึกษา

5.    สมมติฐาน                       6.  วัสดุอุปกรณ์

7.    วิธีการทดลอง

ส่วน ก2     ขนาด 60 X 60 เซนติเมตร  ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

1.  ผลการทดลอง                  2. สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

 3.   ข้อเสนอแนะ                    4.  เอกสารอ้างอิง

เทคนิคการรายงานผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                  

การรายงานผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ นักเรียนผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง อีกส่วนหนึ่งคืออาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องเอาใจใส่ แนะนำให้นักเรียนได้ฝึกซ้อมการรายงานจนคล่องเป็นธรรมชาติ พอสรุปเป็นขั้น ๆ ได้ดังนี้

1.        หัวหน้ากลุ่มผู้ทำโครงงานแนะนำสมาชิกภายในกลุ่มพร้อมทำความเคารพ

2.        แบ่งหัวข้อให้ทุกคนในกลุ่มได้รายงาน

-              การรายงานต้องมีน้ำเสียงน่าฟัง เสียงดังชัดเจน

-              มีอุปกรณ์ช่วยชี้หัวข้อ บนแผงโครงงาน ไม่อ่านเนื้อหาบนแผงโครงงาน

-              หยิบอุปกรณ์ประกอบแผง เพื่อประกอบการรายงานอย่างคล่องแคล่ว

3.        เมื่อรายงานจบแล้วเปิดโอกาสให้กรรมการซักถามและพร้อมที่จะตอบคำถามอย่างมั่นใจ กรณีที่กรรมการซักถามลึกลงไปมากกว่าที่ได้ปฏิบัติจริง ให้ชี้แจงกรรมการตามความเป็นจริงว่า ยังไม่ได้ปฏิบัติและอาจจะรับไปปฏิบัติต่อไป

4.        มีเอกสารย่อ หรือผลงานแจก หรือกรณีชิมได้มีให้ชิมด้วย จะช่วยให้ผลงานเป็นที่สนใจของผู้ชมโดยทั่วไปมากยิ่งขึ้น


5.        เมื่อกรรมการหรือผู้ชม เสร็จสิ้นการตรวจหรือการชมแล้ว นักเรียนในกลุ่มกล่าวขอบคุณและแสดงความเคารพ

การนําเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา 2. คำอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงาน และความสำคัญของโครงงาน 3. วิธีการดำเนินการ โดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ 4. การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง

การนําเสนอผลงาน มีอะไรบ้าง

ประเภทขอการนำเสนอ (Type of Presentation) 1. การนำเสนอโดยวิธีธรรมชาติ (Nature Presentation) เช่น ทำตัวอย่างให้ดู สาธิตให้เห็นโดยใช้พฤติกรรมตามธรรมชาติ 2. การนำเสนอด้วยการพูด (Oral Presentation) เช่น พูดและแสดงให้เห็นจริง 3. การนำเสนอด้วยสื่อต่างๆ (Presentation Media) เช่น สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ นิทรรศการ

การนําเสนอโครงงานมีรูปแบบอะไรบ้าง

การนำเสนอผลงานโครงงาน อาจทำได้ในแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงในรูป นิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าการนำเสนอผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญคือ มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องในเนื้อหา

ความสําคัญของการนําเสนองาน มีอะไรบ้าง

1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ 2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ 4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง