ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกินและมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้                  ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปในอดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวดล้อม ทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตกต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการ ตามแนวคิดของผู้ประพันธ์เพลง จนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึงปัจจุบันนี้
          การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจากเป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคตด้วย
         กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้


สมัยกรีก (Ancient Greek music)

       อารยธรรมโบราณทางภาคพื้น ยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังภาคพื้นเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี ความเจริญในศิลปวัฒนธรรมของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ1,000ปีก่อนคริสต์ศักราช ความเจริญดังกล่าว สูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการชำระล้างบาปและมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้ นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรสุดที่รักการศึกษา

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

       

วัฒนธรรมตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์ความยอดเยี่ยมของความสวยงาม และศิลปะมีต้นกำเนิดจากกรีก รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก
ประวัติของดนตรีกรีกโบราณตั้งแต่เริ่มต้นถึง 330 ปี ก่อนคริสต์กาล(330 B.C;) เมื่อ วัฒนธรรมของกรีกแยกเป็น 2 สาย กล่าวคือ
       สายที่ 1 ทางตะวันออก (Alexander the Great) และสายที่ 2 ทางตะวันตก (ตามชาวโรมัน) นอกจากนี้ดนตรีกรีกยังแบ่งออกเป็นยุดต่าง ๆ ได้ดังนี้

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

       

1. Mythical Period จากเริ่มต้นถึง 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล (1,000 B.C.) ในสมัยนี้ได้สูญหายไปในความลึกลับของศาสตร์แห่งเทพนิยายกรีกดนตรีประเภทนี้ใช้ประกอบพิธีกรรมของลัทธิเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) ผู้เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง ซึ่งรวมถึงความมีเหตุผลและวินัยถือความถูกต้องชัดเจนและการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ พิณไลร่า (Lyre)
        ทางตรงกันข้ามคือสื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครม สนุกสนาน ความลึกลับ และความมืด เทพนิยายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีคือ บรรดาเทพ 9 องค์ เป็นธิดาของเทพเจ้าซีอุส ซึ่งเป็นเทพประจำสรรพวิทยาและศาสตร์แต่ละชนิด

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

2. Homeric Period 1,000 – 700 (B.C) โฮเมอร์ (Homer) เป็นผู้ก่อตั้งสมัยนี้ และในสมัยนี้มีบทร้อยกรอง ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชนชาติ เกิดขึ้นจากการเดินทางผจญภัยของโฮเมอร์ ต่อมาบทร้อยกรองหรือ มหากาพย์ของโฮเมอร์ ได้กลายเป็นวรรณคดีสำคัญซึ่งชาวกรีกนำมาขับร้อง ผู้ที่ขับร้องมหากาพย์จะดีดพิณไลร่า (Lyra) คลอการขับร้อง ลักษณะการขับร้องนี้เรียกว่าบาดส์ (Bards) ศิลปินเหล่านี้พำนักอยู่ตามคฤหาสน์ของ ขุนนางถือเป็นนักดนตรีอาชีพ ขับกล่อมบทมหากาพย์โดยใช้ทำนองโบราณซึ่งเป็นท่อนสั้น ๆแต่มีการแปรทำนองหลายแบบ นอกจากนี้ยังมีดนตรีพื้นเมือง (Folk songs) ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลงของพวกเลี้ยงแกะที่เป่า Panpipes (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคล้ายแคน) เพื่อกล่อมฝูงแกะและยังมีดนตรีของชาวเมืองในลักษณะของคณะนักร้อง (Chorus) ขับร้องเพลงในพิธีทางศาสนาต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ ฯลฯ หรือในโอกาส ต่าง ๆ เช่น ในงานฉลองชัยชนะเป็นต้นคณะนักร้องสมัครเล่นเหล่านี้มักจะจ้างพวกบาดส์ให้มาดีดคีธารา (Kithara) คลอประกอบ

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

3. Archaic Period 700-550 B.C.ศิลปะส่วนใหญ่มีการเริ่มต้นขั้นพื้นฐานในช่วงสมัยนี้และได้มีการพัฒนาขึ้นในสมัยคลาสสิกเกิดความนิยมรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกว่า “ลีริก” (Lyric) และการแสดงออกจากการระบายอารมณ์ในใจของกวี (Music expressing sentiments)ไม่ว่าจะเป็นความยินดี หรือ ความทุกข์ระทมอันเกิดจากความรัก ความชัง           ความชื่นชมต่อความงามของฤดูใบไม้ผลิ ความประทับใจในความงามของค่ำคืนในฤดูร้อนหรือความสำนึกส่วนตัวของกวีที่มีต่อสังคม ต่อชาติรวมความแล้ว กวีนิพนธ์แบบลีริก(Lyric)นี้เอื้อให้กวีได้แสดงความรู้สึกส่วนตนได้อย่างเต็มที่
          การร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) เป็นเพลงที่ใช้บวงสรวงและเฉลิมฉลองให้สุดที่รักเทพเจ้าไดโอนิซุสซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์เป็นการขับร้องเพลงประสานเสียง ที่มีต้นกำเนิดโดย
นักร้องชาย 12 คน ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงโดย Arion ได้เพิ่มจำนวนนักร้องเป็น 50 คนและกำหนดให้มีนักร้องนำ 1 คน
          4. Classical Period 550-440 B.C.โชไรเลส (Choeriles) พีนีซุส (Phrynichus)พาตินุส (Pratinas) และเธสพิส (Thespis)ได้พัฒนาการร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) กล่าวคือได้มีการร้องเพลง
โต้ตอบกับกลุ่มคอรัสทำให้การแสดงกลายรูปเป็นในลักษณะการสนทนาโต้ตอบกัน แทนที่จะเป็นการเล่าเรื่องโดยการบรรยายอยู่ฝ่ายเดียว พวกเขายังช่วยสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของกรีกโบราณคือ การละคร (Drama) เป็นรูปแบบการแสดงที่มีการผสมผสานศิลปะการเต้นรำและดนตรีเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุลย์
          ในสมัยนี้ได้มีการสร้างโรงละครกลางแจ้ง ตั้งอยู่ระหว่างซอกเขาที่มีเนินลาดโอบล้อมอยู่สามด้านเป็นอัฒจันทร์ที่นั่งคนดูซึ่งจุคนได้เป็นจำนวนมากและยังเห็นการแสดงได้ชัดเจนไม่มีการบังกัน อัฒจันทร์คนดูนี้เซาะเป็นขั้นบันไดสูงขึ้นไปตามไหล่เขาที่ลาดชันโดยโอบล้อมบริเวณที่ใช้แสดงเป็นพื้นที่ราบอยู่ต่ำลงไปเป็นรูปวงกลมหรือครึ่งวงกลม ซึ่งเรียกบริเวณว่า ออร์เคสตรา (Orchestra) ใช้เป็นที่แสดงของพวกคอรัสซึ่งยังคงความนิยมติดมากับการแสดง

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

5. Hellinistic Period 440-330 B.C.ลักษณะของการละครสมัยนี้เริ่มไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากว่ามีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการละคร ในสมัยนี้ศิลปะและบทประพันธ์ร้อยกรองต่าง ๆ มีการพัฒนาแยกออกจากดนตรีมีนักปราชญ์ทางดนตรีหลายคน การค้นพบกฎพื้นฐานของเสียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาและคณิตศาสตร์ ซึ่งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์นามกระเดื่องของกรีกคือ ไพธากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้วาง กฎเกณฑ์ไว โดยการทดลองเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของเสียงจากความสั้น - ยาวของสายที่ขึงไว้ ไพธากอรัสค้นพบวิธีที่จะสร้างระยะขั้นคู่เสียงต่าง ๆ รวมทั้งระยะขั้นคู่ 8 ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญของ
บันไดเสียงของดนตรีตะวันตก นักคิดรุ่นต่อ ๆ มาได้พัฒนาทฤษฎีดนตรีของกรีกจนได้เป็นระบบที่สลับซับซ้อนที่รู้จักกันในนามของโมด (Mode) ซึ่งได้สุดที่รักบันไดเสียงทางดนตรีที่ใช้ในการชักจูงให้ผู้ฟังมีความรู้สึกต่าง ๆ กันออกไป บันไดเสียงเหล่านี้จึงมีการใช้ในการสร้างสรรค์ดนตรีเฉพาะตามกรณี จากโมดนี้เองชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของอีธอส (Doctrine of ethos) ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรีโดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความขัดแย้งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้าย
          โดยทั่วไปโมดสามารถจัดได้เป็นสองจำพวกคือ โมดที่สื่อถึงความเงียบสงบ มีระเบียบ ใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าอพอลโลและโมดที่สื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครมใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส ผลสะท้อนของแนวคิดที่กล่าวถึงนี้ทำให้ดนตรีของกรีกมีทั้งการแสดงออกถึงความซับซ้อนของท่วงทำนองจากการบรรเลงของเครื่องดนตรีล้วน ๆ ในการแสดงเพื่อการแข่งขันหรือในงานฉลอง
ต่าง ๆ และดนตรีที่แสดงออกถึงรูปแบบที่มีมาตรฐานซึ่งสัมพันธ์กับการบรรยายเรื่องราวตำนานของวีรบุรุษและการศึกษาสำหรับพวกสังคมชั้นสูงที่เต็มไปด้วยปรัชญาอันลึกซึ้งในหนังสือ Poetics นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์อย่างไรบ้าง เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรีซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไปด้วยทฤษฎีดนตรีกรีกของ Aristoxenus กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีดนตรีในปัจจุบันโดยได้เสนอผลงานระบบเสียงที่เรียกว่า เตตราคอร์ด (Tetrachord) 3 ชนิด คือ Diatonic, Chromatic, และ Enharmonic โดยเสียงที่อยู่ภายในคู่ 4 เพอร์เฟคจะถูกเรียกว่า Shade ดังตัวอย่าง

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

            ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วยตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่มีจิตใจสูง ดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล มีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจ เปลโตสอนว่า “การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด” ยิ่งกว่านั้นเปลโตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหวควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

            บันไดเสียงทั้งสองข้างต้นทำให้เกิดอารมณ์กล้าหาญและสุภาพเรียบร้อย เปลโตเชื่อว่าดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของมนุษย์จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้นี่คือทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า “จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติก็แล้วกัน” นี่หมายถึงว่า กฎหมายเพียงแต่กำหนดขอบเขตความประพฤติของคนจากภายนอก แต่อีธอสของดนตรีสามารถเข้าถึงจิตใจมนุษย์ และคุมนิสัยจากภายในได้ จากการศึกษาหลักฐานต่าง ๆ สรุปได้ว่าดนตรีกรีกน่าจะเป็นดนตรีเน้นเสียงแนวเดียว (Monophonic music) กล่าวคือเน้นเฉพาะแนวทำนองโดยไม่มีแนวประสานเสียง
ทำให้โครงสร้างของทำนองมีความสลับซับซ้อน ระยะขั้นคู่เสียงที่ใช้จะห่างกันน้อยกว่าครึ่งเสียงได้ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าไมโครโทน (Microtones) ดนตรีกรีกมีหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ดนตรีที่บรรเลง ด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการร้องไปจนถึงการร้องบทกวีแต่รูปแบบที่นับว่าสำคัญ ได้สุดที่รัก การร้องหมู่ ซึ่งพบได้ในละครของกรีก ในระยะแรกการร้องหมู่ใช้ในการสรรเสริญพระเจ้าและวีรบุรุษซึ่งมักมีการเต้นรำประกอบเพลงร้องด้วย

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

สมัยโรมัน (Roman)

            หลังจากกรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ใน 146 ปี ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรโรมันรับเอาวัฒนธรรมการดนตรีของกรีกไปทั้งหมด โดยมิได้มีการพัฒนารูปแบบของดนตรีไปสักเท่าไรนักยังคงใช้รูปแบบการร้องเสียงเดียว (Monophony) ซึ่งเรียกว่า เพลนซอง (Plain Song) หรือแชนท์ (Chant) โดยมากแล้วแต่ละแห่งจะคำนึงถึงผลของการปฏิบัติมากกว่าที่จะยึดติดกับรูปแบบที่รับมาตายตัว
นักปราชญ์ทางดนตรีสมัยโรมันยึดทฤษฎีดนตรีของกรีกเป็นหลักแล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบ เฮเลนิสติค เช่น โพลตินุส (Plotinus 205-270 A.D.) และศิษย์ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี (Porphyry 233-304 A.D.) ก็ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฎีแบบเพลโตนิคใหม่ (Neo-Platonic) โพลตินุส ได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจและจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้ามดนตรีอาจมีอำนาจทำลายหากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหารในสมัยหลัง ๆ

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

         

การดนตรีได้เสื่อมลงมากเพราะถูกนำไปบรรเลงประกอบในโอกาสและสถานที่ซึ่งไม่เหมาะสมและการจัดการบรรเลงดนตรีแบบโอ่อ่าก็ไม่เป็นที่สบอารมณ์หมู่นักปราชญ์ทางดนตรีประเภทอนุรักษ์นิยมเท่าใดนักเช่นการจัดแสดงดนตรีวงมหึมา(Monter concert) ในสมัย ของคารินุส (Carinus 284 A.D.) ได้มีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วยทรัมเปต 100 ชิ้นแตร (Horn)100 ชิ้น และเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก 200 ชิ้นถ้าจะกล่าวถึงชีวิตของนักดนตรีในสมัยนั้นก็พูดได้ว่าคึกคักมากสมาคมสำหรับนักดนตรีอาชีพได้รับการจัดตั้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิ์ให้สุดที่รักสมาชิกในรุ่นหลัง ๆ
         เมื่อออกุสตุสได้ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ตั้งสมาคมสำหรับดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบ พิธีศาสนาและสำหรับงานของราชการด้วยนักแต่งเพลงผู้มีฝีมือก็ได้รับการอุปถัมภ์จากจักรพรรดิ เช่น การที่จักรพรรดิ์เนโรประทานวังให้สุดที่รักเมเนคราเตส (Menecrates) คีตกวีผู้มีชื่อคนหนึ่งของสมัยนั้น

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

โดยสรุปแล้วโรมันเอาความรู้จากกรีกไปเผยแพร่และปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในขณะนั้นเพื่อใช้ปลุกใจประชาชนให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งจะเป็นผลดีต่อการปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่
            จากการค้นพบมรดกทางดนตรีจากแถบตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนเมื่อครั้งโบราณ โดยเฉพาะจากกรีกโบราณผ่านโรมันเข้าสู่ยุโรปเปิดเผยให้เห็นถึงความรู้ดนตรีที่มีค่ายิ่งเพราะทฤษฎีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แห่งเสียง (Acoustic) ที่กรีกปูทางไว้ให้หลายเรื่องเช่น การกำหนดคุณสมบัติและจัดระเบียบของเสียง ระบบเสียงที่ก่อให้เกิดบันไดเสียงต่าง ๆ หลักในการจัดหมวดหมู่ของลีลาหรือจังหวะ หลักเบื้องต้นในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีรวมทั้งทำนองเพลงเก่า ๆ ที่สะสมไว้ล้วนมีผลดีต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกต่อไป

บันไดเสียงโบราณ (Church Mode)

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

             

Grout Palisca และ ละเอียด เหราบัตย์ ได้กล่าวถึงบันไดเสียงโบราณ ไว้ว่า … เพลงสวดแต่งขึ้นในระบบของบันไดเสียงโบราณที่เรียกตามหลักวิชาการดนตรีสากลว่า “ เชอร์ช โมด ” (Church Mode) บันไดเสียงโบราณนี้มีสองประเภท คือ ( ศิลปชัย กงตาล ,2542:50)
      1. ออเธนติค เชอร์ช โมด (Authentic Church Mode) บันไดเสียงประเภทออเธนติคจะเริ่มต้นจากโน้ตขั้นแรกของบันไดเสียงมีชื่อเรียกโน้ตตัวเริ่มต้นนี้ว่า “ ฟินาลิส ” (Finalis) ฟินาลิสทำหน้าที่เหมือนคีย์โน้ต (Key Note) ในปัจจุบันคือเป็นศูนย์รวมของเสียงตามขั้นต่าง ๆ ของบันไดเสียงออเธนติคเชอร์ชโมด ประกอบด้วย 4 บันไดเสียง คือ
      1.1 โปรตุส ออเธนติคุส (Protus Authenticus) หรือ (Dorian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มต้นจากโน้ต D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด - เร

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

     

1.2 ดิวเตรุส ออเธนติคุส (Deuterus Authenticus) หรือ ฟรีเจียน (Phrygian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต E-F-G-A-B-C-D-E หรือ มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร - มี

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

     

1.3 ตรีตุส ออเธนติคุส (Tritus Authenticus) หรือ ลีเดียน (Lydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต             F – G – A – B – C – D – E – F หรือ ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

.     1.4 เตตราร์ดุส ออเธนติคุส (Tetardus Authenticus) หรือ มิกโซลีเดียน (Mixolydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต G – A – B – C – D – E – F – G หรือ ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

       

2. เพลกัล เชอร์ช โมด (Plagal Church Mode) คือ บันไดเสียงโบราณที่เริ่มจากโน้ตที่อยู่ต่ำลงมาจากโน้ตฟินาลิสของโมดออเธนติดในระยะขั้นคู่เสียงคู่ 4 บันไดเสียงโบราณในประเภทเพลกัลนี้มีอยู่เป็นคู่กับบันไดเสียง ออเธนติค โดยมีโน้ตฟินาลิส (Finalis) ตัวเดียวกับออเธนติคเชอร์ชโมด มีอยู่ 4 บันไดเสียง คือ
        2.1 โปรตุช ปลากาลิส (Protus Plagalis) หรือ ไฮโปโดเรียน โมด (Hypo – Dorian Mode) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก A – B – C – D – E – F – G – A หรือ ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา โดยมีโน้ต D เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

         

2.2 ดิวเตรุส ปลากาลิส (Deuterus Plagalis) หรือ ไฮโปฟรีเจียน (Hypo - Phrygian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก B – C – D – E - F – G – A – B หรือ ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที โดยมีโน้ตชื่อ E เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

2.3 ตรีตุสปลากาลิส (Tritus Plagalis) หรือ ไฮโปลีเดียน (Hypo – Lydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก C – D – E – F – G – A – B – C หรือ โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

2.4 เตตราร์ดุส ปลากาลิส (Tetrardus Plagalis) หรือ ไฮโปมิกโซลีเดียน (Hypo - Mixolydian) เป็นบันได เสียงที่เริ่มจาก D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

           

บทเพลงแชนท์ในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษนี้ มีการนำเครื่องหมายจุด (.) และขีด (-) มาใช้เพื่อแสดงถึงความสูง – ต่ำ ของระดับเสียง จุดและขีดเหล่านี้เขียนอยู่เหนือตัวอักษรมีชื่อเรียกตามวิชาการว่า “ เอ็คโฟเนทิค โนเทชั่น ” (Ecphonetic Notation) การขับร้องเพลงแชนท์นี้ไม่มีดนตรีประกอบ เป็นการขับร้องแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

สมัยกลาง (The Middle Ages)


          ดนตรีในสมัยกลางเป็นสิ่งที่ยากที่จะศึกษาเนื่องจากว่าดนตรีเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว เสียงตามท้องถนนของพ่อค้าเร่ เสียงร้องเพลงจากทุ่งหญ้าของกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การเต้นรำในงานรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงดนตรีบนเวที และแม้แต่บทเพลงจากกวีในภาคใต้ของฝรั่งเศส (ในศตวรรษที่ 11-13) ล้วนแล้วแต่มีอายุสั้น แม้แต่ดนตรีที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแฟชั่นเท่านั้น ซึ่งเหลือทิ้งไว้แต่คำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ของมัน
          ประมาณ ค.ศ. 500 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเปลี่ยนจากยุคมืด (The Dark Ages) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ แวนดัล (Vandals, Huns) และ วิซิกอธ (Visigoths) เข้าไปทั่วยุโรป และนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิโรมัน เป็นเวลา 10 ศตวรรษต่อมา
สมัยกลางคือ ระยะเวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงปลายศตวรรษที่ 14 (ค.ศ.450-1450) สมัยนี้เจริญสูงสุดเมื่อประมาณศตวรรษที่ 12-13 ศาสนามีอำนาจสูงมาก ทั้งด้านปัญญาและสปิริต ทำให้คนสามารถรวมกันได้
          หลังจากนั้นก็เริ่มเสื่อมลงแล้วติดตามด้วยสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสหลังจากสงครามก็มีการแตกแยกเกิดขึ้น ในสมัยนี้เริ่มมีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงคฤหัสถ์ (Secular music) ซึ่งเป็นเพลงขับร้องเพื่อความรื่นเริงได้รับความนิยมและแพร่หลายมาก ในประเทศต่าง ๆ ทางยุโรปตะวันตก นอกเหนือไปจากเพลงโบสถ์ (Church music) ซึ่งเพลงทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะต่างกันคือเพลงโบสถ์ซึ่งมีหลักฐานมาก่อน มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียวมักไม่มีดนตรีประกอบไม่มีอัตราจังหวะ ร้องเป็นภาษาละตินมีช่วงกว้างของทำนองจำกัด บันทึกเป็นภาษาตัวโน้ตที่เรียกว่า Neumatic notation เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่นกันนอกวัด มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียว ที่มักจะมีดนตรีเล่นประกอบเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะปกติมักเป็นในจังหวะ 3/4 มีจังหวะสม่ำเสมอเป็นรูปแบบซ้ำทวน ทำนองเป็นตอน ๆ มีตอนที่เล่นซ้ำ
           ลักษณะที่กล่าวนี้เป็นลักษณะของเพลงในสมัยกลางตอนต้น ๆ ในระยะตอนปลายสมัยกลางคือราว ค.ศ. 1100-1400 นั้น ลักษณะของดนตรีเปลี่ยนแปลงพัฒนาไป ซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่า สนใจ
           ช่วงเวลาประมาณ 300 ปี ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 12-14 ดนตรีในวัดมีรูปแบบเปลี่ยนไปจากตอนต้นของสมัยกลาง กล่าวคือ ในราวคริสตศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา เพลงแชนท์ ซึ่งรู้จักกันในนามของเกรเกอเลียน แชนท์ (Gregorian Chant) ได้รับการพัฒนามาเป็นรูปของการขับร้องแบบสอดประสานหรือ โพลีโฟนี (Polyphony) จนถึงคริสตศตวรรษที่ 13 ลักษณะของเพลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ ออร์แกนนั่ม (Organum) คือ การร้องในลักษณะของการร้องประสานเสียงสองแนว โดยใช้ระยะขั้นคู่เสียงคู่สี่เป็นหลักและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ระยะต่อมาการเคลื่อนที่เริ่มไม่จำกัดทิศทางและท้ายที่สุดมีออร์แกนนั่มแบบเสียงที่สอง (เสียงต่ำ) ร้องโน้ตยาว ๆ เพียง 1 ตัว ในขณะที่เสียงหนึ่ง (เสียงสูง) ร้องโน้ต 5-10 ตัวเนื่องจากออร์แกนนั่มเป็นเพลงที่พัฒนามาจากดนตรีในวัดหรือเพลงโบสถ์จึงเป็นเพลงที่ไม่มีอัตราจังหวะในระยะแรกต่อมาจึงเริ่มมีลักษณะของอัตราจังหวะ           กล่าวได้ว่าในช่วงเวลานี้สิ่งสำคัญเกิดขึ้น คือการร้องแบบสองทำนองเริ่มเกิดขึ้นแล้วอย่างเด่นชัด เป็นลักษณะของการสอดประสานในสมัยกลางนี้ทางดนตรีแบ่งเป็นสมัยย่อย ๆ ได้สองสมัย คือ สมัยศิลป์เก่า (Ars Antiqua) และสมัยศิลป์ใหม่ (Ars Nova)

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

สมัยรีเนซองส์

           สมัยรีเนซองส์ คำว่า “Renaissance” แปลว่า “ การเกิดใหม่” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี โดยได้เริ่มขซ์   ภาพ The Birth of Venus ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิชปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น
           ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมี บทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ ( ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)
           1. สมัยศตวรรษที่ 15 ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว
           โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวกแมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภท ซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson)
           ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน(Homophony) ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย
           2. สมัยศตวรรษที่ 16 มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา
          การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้งทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน สรุป ลักษณะบทเพลงในสมัยนี้ 1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

สมัยบาโรก  Baroque

        สมัยบาโรก  Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)  Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหวในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นที่สุดของดนตรี
         บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ. เอส. บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 ในตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและหันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “ เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยทีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)
           ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ แมสใน บี ไมเนอร์” ของ เจ. เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้
           ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด “ ความตัดกัน” (Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การบรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ (Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแหน่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

       

อย่างไรก็ตามลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้
       1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยว
ตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
       2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก
เรียกว่า Figured bass
       3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และ
หลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
       4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
       5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี
(Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
       6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
       7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
       8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
       9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
       10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

สมัยคลาสสิก

          ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่ในยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมากก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค. ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี ( ค. ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย
ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค. ศ. 1814  สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason ( ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102)
          หลังการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูปแบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780 เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach2730-1780) ว่า The early classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัยคลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้
        ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยมการสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง
หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน
ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น
(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
          ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนาโรงเรียนแมนฮีมจัดตั้งขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive ( เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว- ช้า- เร็ว เป็น เร็ว – ช้า – minuet – เร็ว(minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ ) ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )
         สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการ ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไป
เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง
        ดนตรีสไตล์เบา ๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่งเครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน (JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของHeavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย

ความหมายของคำว่า “ คลาสสิกซิสซึ่ม” (Classicism)
        คำว่า “ คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความหมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่งที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศตวรรษที่ 20
        พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลาย ๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็นดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้นมี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายขอศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนปลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้นความวามหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่น ๆ

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

สมัยโรมันติค

สมัยโรมันติค
           ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity)
           คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ
           สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง
ลักษณะของดนตรีโรแมนติก 
1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
           5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
           5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
           5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
            5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
            5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง

สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)

เหมือนกับสมัยโรแมนติค

สมัยศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน

        หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้า ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือแม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผล
ให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น
        จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลอง สิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ ล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยัง มีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “ อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคง
ใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง
ลักษณะของบทเพลง
        ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่ม ใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ใน
การประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของ เสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียง ความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง

ประวัติดนตรีตะวันตก 9 ยุค สรุป

ขอบคุณที่มาจาก : http://forum.music-parks.com/b41/1187