Terminal Symbol มีหน้าที่อะไร

        ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือ ข้อความ ทำได้ยากกว่าเมื่อใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์

Show

ผังงานแบ่งได้ ประเภท

        2.1 ผังงานระบบ (System Flowchart) 

              ผังงานที่แสดงการทำงานของระบบซึ่งแสดงภาพรวมของระบบ โดยมีการนำข้อมูลเข้า ประมวลผล และข้อมูลออก โดยแสดงถึงสื่อนำข้อมูลเข้า -ออก แต่ไม่ได้แสดงวิธีการประมวลผล
การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผล และการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process - Output) ดังภาพ

Terminal Symbol มีหน้าที่อะไร

    2.2 ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)

             ผังงานที่แสดงการทำงานย่อยหรือลำดับในโปรแกรม ซึ่งแสดงรายละเอียดขั้นตอนการทำงานและประมวลผลโปรแกรมนั้นๆทำให้รู้วิธีการคำนวณรับข้อมูลจากสื่อใด  และประมวลผลอย่างไร รวมถึงการแสดงผลลัพธ์ด้วยสื่อหรือวิธีใด

ตัวอย่าง

Terminal Symbol มีหน้าที่อะไร

3.หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน            การเขียนผังงานอาจจะเขียนลงในกระดาษที่มีแบบฟอร์มมาตรฐานที่เรียกว่าFlowchart Worksheet ซึ่งจะช่วยให้เขียนผังงานได้สะดวก ประหยัดเนื้อที่ ง่ายต่อการติดตามจุดต่อเนื่อง และดูเรียบร้อย หรือจะใช้กระดาษธรรมดาเขียนก็ได้ การเขียนรูปหรือสัญลักษณ์ต่างๆในผังงาน จะใช้ Flowchart Template ซึ่งเป็นแผ่นพลาสติกที่มีช่องเจาะเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ของผังงานเข้าช่วยก็ได้ ปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนผังงาน ทำให้ผังงานที่ได้มีความสวยงามและเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น          การเขียนผังงานจะใช้รายละเอียดจากวิธีการประมวลผลจากการวิเคราะห์งานซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญๆ คือ การรับข้อมูล (Input) การประมวลผล(Process) และการแสดงผลลัพธ์ (Output) นอกจากนี้ต้องใช้รูปหรือสัญลักษณ์ที่ตรงตามความหมาย นั่นคือ          1. การกำหนดค่าเริ่มแรก (Initialization) เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปรบางตัว เช่น ตัวแปรที่ใช้เป็นตัวแปรนับ ตัวแปรที่มีค่าเป็นผลการคำนวณสะสม          2. การรับข้อมูล (Input) เป็นการรับค่าของตัวแปรที่ระบุไว้ในขั้นตอนการนำข้อมูลเข้าของการวิเคราะห์งาน ซึ่งการรับข้อมูลจะต้องทำก่อนที่จะนำเอาข้อมูลไปใช้ สัญลักษณ์ที่ใช้จะมีความหมายตามแต่ละประเภทของสื่อข้อมูล เช่น เทป   บัตรเจาะ  เป็นต้น3. การประมวลผล (Process) เป็นการแสดงวิธีการประมวลผลหรือการคำนวณวึ่งจะต้องกระทำทีละขั้นตอนตามลำดับถ้าผลการคำนวณต้องนำมาใช้ในขันตอนถัดไปจะต้องแยกรูปให้ชัดเจน 4. การแสดงค่าของข้อมูลหรือผลลัพธ์ (Output) เป็นการแสดงผลลัพธ์หรือค่าของตัวแปรที่ระบุไว้ในหัวข้อผลลัพธ์ที่ต้องแสดง การแสดงของข้อมูลหรือผลลัพธ์ ต้องกระทำหลังการประมวลผล หรือภายหลังรับข้อมูลไว้ในหน่วยความจำแล้ว                                              5. การทดสอบ (Testing) เป็นการทดสอบตัวแปรกับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น LC = 0 หรือไม่ ?

4. สัญลักษณ์ผังงาน            ในการเขียนผังงานจะต้องใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ มาใช้แทนขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ลักษณะของรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ จะมีความหมายในตัวของมันเอง ซึ่งมีหน่วยงานที่ชื่อ American National Standard Institvte (ANSI)  และInternation  Standard Organization (ISO) ได้รวบรวมและกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานที่จะใช้ในการเขียนผังงาน และผังงานระบบ เพื่อให้เข้าใจตรงกันดังต่อไปนี้

Terminal Symbol มีหน้าที่อะไร

        5.1ผังงานแบบเรียงลำดับการทำงาน        การเขียนผังงานแบบเรียงลำดับการทำงาน (Sequential Structure) เป็นโครงสร้างของโปรแกรมที่ทำงานเป็นลำดับขั้นตอนเรียงกันไป โดยไม่มีการข้ามขั้นตอน หรือ ย้อนกลับ ดังภาพตัวอย่าง        โจทย์ ผังงานแสดงโปรแกรมการคำนวณค่า a จากสูตร a = x + y โดยรับค่า xและ y ทางแป้นพิมพ์ และแสดงผลลัพธ์ a ออกทางจอภาพ        คำตอบ  จากโครงสร้างผังงานแบบเรียงลำดับ ตามรูป สามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้        1. เริ่มต้นการทำงาน        2. รับค่าข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร x และตัวแปร y        3. คำนวณค่า   x + y แล้วไปเก็บไว้ในตัวแปร a        4. แสดงค่าในตัวแปร a        5. สิ้นสุดการทำงาน

        5.2 ผังงานแบบมีทางเลือกการทำงานการเขียนผังงานแบบมีทางเลือกการทำงาน (Decision Structure) เป็นการเขียนผังงงานที่มีลักษณะการทำงานแบบมีเงื่อนไขทางตรรกะ โดยใช้ประโยชน์จากพีชคณิตบูลีน เพื่อให้เครื่องประมวลผลลักษณะตัดสินใจ เลือกทิศทางการทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ ดังภาพ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); ตัวอย่าง        โจทย์ ผังงานแสดงโปรแกรมการประเมินผลการเรียน โดยรับคะแนนนักศึกษาเข้ามาทางแป้นพิมพ์ ถ้าคะแนนมากว่าหรือเท่ากับ 50 ให้แสดงคำว่า “Pass” ที่หน้าจอ แต่ถ้าน้อยกว่า 50 ให้แสดงคำว่า Fail      คำตอบจากตัวอย่าง งานสามารถอธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้            1. เริ่มต้นการทำงาน            2. รับค่าข้อมูล คะแนน( Score ) ทางแป้นพิมพ์            3. ตรวจสอบเงื่อนไข ถ้า คะแนน( Score )  น้อยกว่า 50 แล้วทำ                    3.1  เป็นจริง แสดงคำว่า “Pass”            มิฉะนั้นแล้ว                    3.2เป็นเท็จ  แสดงคำว่า Fail            4. จบการทำงาน

        5.3 ผังงานแบบมีการทำงานวนซ้ำ        การเขียนผังงานแบบมีการทำงานวนซ้ำ (Iteration Structure)โปรแกรมส่วนใหญ่จะมีคำสั่งสำหรับการทำงานซ้ำหรือเรียกว่า ลูป (Loop) โดยการทำซ้ำของโปรแกรมจะอยู่ภายใต้เงื่อนไข จริง หรือ เท็จ ตามที่ผู้เขียนโปรแกรมได้ออกแบบไว้ รูปแบบของการวนซ้ำมีดังนี้ตัวอย่าง        โจทย์ เขียนผังงานโปรแกรมแสดงตัวเลข 1 – 5         คำตอบ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); จากตัวอย่าง งานสามารถอธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้            1. เริ่มต้นการทำงาน            2. กำหนดค่า Num = 1            3. แสดงค่า Num             4. คำนวณค่า Num =  Num +  1            5. ตรวจสอบค่า Num > 5 หรือไม่                    5.1 ถ้าไม่ใช่ ให้ทำซ้ำวนกลับไปข้อที่ 3                    5.2 ถ้าใช่ ออกจากการทำงาน          6. จบการทำงาน

6. ประโยชน์ของผังงาน        ประโยชน์ของผังงาน            1.รู้และเข้าใจได้ง่าย            2.ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน            3.ตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย            4.การเขียนโปรแกรมทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น            5.บำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น        ข้อจำกัดของผังงาน            1.ใช้สื่อความหมายระหว่างบุคคลมากกว่าที่จะสื่อกับเครื่อง            2.ไม่ทราบความสำคัญของแต่ละขั้นตอน (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});             3.สิ้นเปลือง เพราะใช้กระดาษและอุปกรณ์มาก            4.ผังงานขนาดใหญ่ ปรับเปลี่ยนแก้ไขทำได้ยาก            5.ในผังงานจะบอกเพียงลำดับอย่างไร และปฏิบัติงานอะไร            6.ผังงานไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้ชัดเจนตรงไปตรงมา

7. ผังงานกับชีวิตประจำวัน            การทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวันจะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่นักเรียนจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้นักเรียนลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป            ตัวอย่างที่ 1    การเขียนผังงานขั้นตอนไปโรงเรียน (แบบเรียงลำดับ)        ตัวอย่างที่ 2   การเขียนผังงานขั้นตอนการส่งจดหมาย (แบบทางเลือก)         ตัวอย่างที่ 3    การเขียนผังงานขั้นตอนการวิ่งรอบสนาม (แบบวนซ้ำ)

การเขียนซูโดโคด (Pseudo Code)        การเขียนซูโดโคด (Pseudo Code)หมายถึง การนำคำในภาษาอังกฤษ มาแสดงการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยเรียบเรียงเป็นประโยคให้สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าแต่ละขั้นตอนของการแก้ปัญหานั้นทำได้อย่างไร ซูโดโคดที่ดีต้องมีความชัดเจน สั้น กระชับ ได้ใจความก่อนทำการเขียนอัลกอริทึม ต้องกำหนดตัวแปรก่อนที่จะใช้ก่อนเสมอ

วิธีการเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)

สามารถกำหนดการทำงานได้เป็น 6 ข้อ ดังนี้

        1. การรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์

        2. การแสดงผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์

        3. การคำนวณหรือการทำงานทางคณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์

        4. การกำหนดค่าข้อมูลของคอมพิวเตอร์

        5. การเปรียบเทียบข้อมูล 2 อย่าง และมีการเลือกทางเดียวหรือสองทางเลือกในการท างานหรือหลายทาง

        6. การท างานซ้ำของคอมพิวเตอร์