เครื่องมือในการประเมินผลโครงการ มีอะไรบ้าง

1

คำนำ

สารบัญ

เรอ่ื ง หน้า

บทนำ ..................................................................................................................... 1
1. เทคนิคการวดั ทศั นคติ.................................................................................................. 7
2. กระบวนการสร้างเครื่องมอื วัดทัศนคติ………………………………………………………………………….. 14
3. เทคนิคการวัดทศั นคติของเทอร์สโตน............................................................................ 18
4. เทคนิคการวัดทศั นคติ ลิเคิรท์ สเกล (Likert Scal)…………………………………………………………. 20
5. แบบสอบถาม(Questionnaire)………………………………………………………………………………….……..
6. แบบสมั ภาษณ์………………………………………………………………………………………………………….…….. 24

7. ความคลาดเคลื่อนและความเทีย่ งตรงในการวดั ……………………………………………………… 30

8. ประโยชน์ของการทดสอบคณุ ภาพของเครื่องมอื ประเมินผล………………………………………..… 32
9. การทดสอบความเช่อื ถือได้ของเครื่องมือประเมิน………………………………………………………….
เอกสารอ้างอิง………………………………………………………………………………………………………………………. 34
แหลง่ ทีม่ า……………………………………………………………………………………………………………………………...
38

39
40

1

เครื่องมือประเมินผลโครงการ
เครื่องมือในการติดตามประเมินผลโครงการ
1. บทนำ

โครงการเป็นกลุ่มของกิจกรรมต่างๆที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบเพื่อการบรรลุ
เป้าหมายที่ต้ังไว้ โดยจะมีการกำหนดลำดับข้ันตอนการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจนและแต่ละกิจกรรมจะไม่
มีการทำซ้ำซ้อนกนั กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกกำหนดให้ต้องบรรลุผลสำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดและ
ภายใต้งบประมาณที่จำกัด ในแต่ละโครงการอาจประกอบด้วยกิจกรรมจำนวนไม่มากเพียง 2-3
กิจกรรม หรืออาจประประกอบด้วยกิจกรรมจำนวนมากกว่า 100 กิจกรรมก็ได้ตามแต่ความจำเป็น
เพื่อให้สามารถบรรลเุ ป้าหมายของโครงการได้ตามกำหนดเวลาและงบประมาณ

ท้ังนี้ไม่ว่าโครงการจะมีกิจกรรมจำนวนมากหรือน้อยก็ตาม ผู้จัดการโครงการก็จำเป็นต้องมี
เคร่ืองมือที่เหมาะสมในการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆหรือก็คือเคร่ืองมือในการ
ติดตามประเมินผลโครงการน้ันเอง เพื่อให้สามารถติดตาม ประเมินความคืบหน้าของโครงการ ระบุ
ปัญหาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเข้าจัดการแก้ไขปัญหาในจุดต่างๆได้อย่างทันท่วงที ซึ่งหาก
ผู้จัดการโครงการขาดเคร่ืองมือในการติดตามประเมินผลโครงการทำให้ไม่สามารถทราบถึงปัญหาที่
เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีแล้ว ก็อาจทำให้โครงการล่าช้ากว่ากำหนดการ เกิดการใช้งบประมาณบาน
ปลายเกินเลยกว่าที่กำหนด กระท่ังอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นอกจากน้ันเจ้าของโครงการอาจต้องจ่ายค่าปรับเพิ่มเติมเม่ือโครงการไม่บรรลุผลตามแผนที่ต้ังไว้อีก
ด้วย

เคร่ืองมือที่ใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการมีหลายแบบ เคร่ืองมือพื้นฐานที่ได้รับความ
นิยม ได้แก่ Gantt chart และ Program Evaluation and Review Techniques (PERT) เป็นต้น ซึ่งจุดเด่น
ของเคร่ืองมือพื้นฐานเหล่านี้ คือ มีลักษณะที่ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจนักและสามารถจัดทำได้
โดยไม่เสียเวลาในการจัดทำมากเกินไปนัก ซึ่งเคร่ืองมือที่ดีย่อมมีคุณสมบัติที่สามารถจัดทำได้โดยไม่
สิน้ เปลืองเวลามาก โดยควรจะมีโครงสร้างที่สามารถทำความเข้าใจได้ไมย่ ากนกั เพื่อประโยชน์ในการใช้
งาน แล ะก ารใช้ป ระก อ บ ก ารสื่ อ ส ารกั บ ที ม งาน ที่ ต้ อ งเป็ น ผู้ด ำเนิ น กิ จ ก รรม ต่ างๆ ขอ งโค รงก ารใน
ภาคปฏิบัติ เพื่อให้ทีมงานทั้งหมดมีความเข้าใจในเป้าหมายของโครงการ วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
และข้อจำกัดทางงบประมาณและเวลาของกิจกรรมที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงผลกระทบของการดำเนิน
กิจกรรมของตนอยา่ งมีประสทิ ธิภาพตอ่ ความสำเร็จของโครงการในภาพรวม

2

2. เครื่องมือในการติดตามประเมินผลโครงการพ้ืนฐาน

2.1 Gantt chart ได้รับการพัฒนาขึ้นประมาณสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย Henry L. Gantt
เพือ่ ใช้ประโยชน์ในการกำหนดแผนงานตามกรอบเวลาอยา่ งเป็นระบบ ซึ่งแม้ว่าจะได้ถกู คิดค้นขนึ้ มาเป็น
ระยะเวลายาวนานแล้ว แต่ก็ยังคงมีการใช้อยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบันเนื่องจากการใช้งานไม่ซับซ้อน
จัดทำสะดวก และทีมงานของโครงการสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายตรงกนั ท้ังองคก์ ร

Program Evaluation and Review Techniques (PERT)

2.1.1 ลำดับวิธีการสร้าง Gantt chart

วิธีการสรา้ ง Gantt chart มีลำดบั ขั้นตอนทีส่ ำคัญดงั น้ี

ขั้นทีห่ นึ่ง สร้างตารางที่แถวด้านข้างซ้ายแสดงชื่อกิจกรรมทีต่ ้องทำในโครงการ และหัว
ตารางดา้ นบนแสดงลำดับเวลาที่อาจกำหนดให้เป็นช่ัวโมง วัน สปั ดาห์ หรอื เดือน เปน็ ต้น

ข้ันที่สอง กำหนดกิจกรรมที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการ แต่ละกิจกรรม
แทนด้วยแถบทึบที่มีความยาวแสดงถึงระยะเวลาของกิจกรรม โดยมักกำหนดให้จุดเริ่มต้นเป็น
เวลาเริ่มเรว็ ที่สดุ และจุดสิ้นสดุ เปน็ เวลาที่เสร็จเรว็ ที่สุดของกิจกรรม

ขั้นที่สาม บันทึกกิจกรรมที่ต้องทำอย่างเป็นระบบตามลำดับก่อนหลัง โดยให้ลำดับ
กิจกรรมที่ทำก่อนอยู่ด้านบน ไล่ลงมาตามลำดับถึงกิจกรรมสุดท้ายที่ต้องเกิดขึ้นต่อเน่ืองกัน
ท้ังนี้จำนวนกิจกรรมรวมทั้งหมดไม่ควรมีจำนวนมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความซับซ้อน
เกินไป หากกิจกรรมมีจำนวนมากก็อาจทำตารางกิจกรรมแยกเฉพาะส่วนออกมาต่างหาก
นอกจากน้ันอาจมีบางกิจกรรมที่กำหนดให้อยู่ที่จุดเวลาใดจุดเวลาหนึ่งเพียงจุดเดียวที่เรียกว่า
หลักไมล์ (Milestone) เพื่อแสดงถึงจุดที่จะให้มีการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานของ
กิจกรรมต่างๆในช่วงก่อนหน้า

ข้ันที่สี่ หากผู้จัดการโครงการต้องการสร้างระบบข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้นเพื่อใช้ติดตาม
ประเมินความคืบหน้าและการบรรลุผลของโครงการ ผู้จัดการโครงการอาจอาศัยเกณฑ์การ
จัดทำงบประมาณเพื่อตรวจสอบติดตามการดำเนินกิจกรรมต่างๆและแสดงการกระจายของ
งบประมาณไล่ตามกรอบเวลาที่มีการดำเนินกิจกรรมของโครงการ โดยการคำนวณ
งบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละช่วงเวลาตามข้อมูลประมาณการการใช้ทรัพยากรด้านต่างๆ เช่น
แรงงานทั่วไป หัวหน้างาน วิศวกร วัสดุอุปกรณ์ และค่าสาธาณูปโภคต่างๆ เป็นต้น หาก
ค่าใช้จา่ ยคิดตามอัตราเหมาจ่ายเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานเกินกว่าหน่วยเวลาปกติของโครงการที่
กำหนดขึ้น ก็อาจใช้การหารเฉลี่ยตามระยะเวลาของกิจกรรมนั้นๆก็ได้ เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับ

3

หัวหน้าคุมแรงงานก่อสร้างเหมาจ่าย 1 ปีคิดเป็นเงิน 360,000 บาท หากหน่วยเวลาที่ใช้เป็น
เกณฑ์ในโครงการคิดเป็นรายเดือน ก็อาจหารเฉลี่ยค่าจ้างหัวหน้าคุมแรงงานเป็นรายเดือนได้
30,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น เม่ือแสดงยอดรายจ่ายสะสมคิดเป็นร้อยละต่องบประมาณ
รายจ่ายทั้งหมดของโครงการไล่ตามเวลาของโครงการจะได้เส้นโค้งของงบประมาณรายจ่าย
สะสมที่สามารถนำมาใช้ตดิ ตามและประเมินความคืบหนา้ ของโครงการได้

2.1.2 การสรา้ งแผนภาพ Gantt chart
สมมติให้โครงการประกอบด้วยกิจกรรมหรืองาน 5 ส่วน คือ งาน A B C D และ E ที่มี
เวลางาน (d) เท่ากับ 1 วัน 8 วัน 2 วัน 2 วัน และ 4 วันตามลำดับ โดยกำหนดใหท้ ีมงานต้องทำ
กิจกรรม A ก่อนตามมาด้วยการทำกิจกรรม C ส่วนการทำกิจกรรม D จะเกิดขึ้นเม่ือได้มีการ
ทำกิจกรรม B และ E มาก่อน เม่ือได้ทำกิจกรรมทั้งหมดครบถ้วนแล้วจึงจะสามารถบรรลุ
เป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้ นอกจากน้ันยังสมมติให้เส้นงบประมาณสะสมแสดงโดยเส้นประ
ในตารางกิจกรรมข้างล่างซึ่งสามารถใช้ติดตามความคืบหน้าของโครงการในเชิงการใช้
ทรัพยากรและการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการได้อีกด้วย

2.2.2 การสร้างแผนภาพตาม PERT
Program Evaluation and Review Techniques (PERT) ได้รบั การพฒั นาขึน้ ประมาณปี
1958 โดย Booz, Allen, and Hamilton เพื่อใช้ประโยชน์ในการตดิ ตามการดำเนินงานของ
โครงการ

2.2.1 ลำดบั วิธีการสร้างแผนภาพตาม PERT
ขั้นตอนของ PERT ประกอบด้วย
ข้ันที่หนึ่ง การกำหนดโครงงานและโครงสร้างองค์กรตา่ งๆที่เกีย่ วข้องกับการดำเนิน
โครงการอย่างชดั เจน

4

ข้ันที่สอง การกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำและความเช่ือมโยงระหว่างกิจกรรมต่างๆอย่าง
เป็นระบบตามลำดับกอ่ นหลัง

ขั้นที่สาม การนำกิจกรรมต่างๆมาแสดงเป็นแผนภาพโครงข่ายที่เชื่อมโยงกัน โดยงาน
แตล่ ะงานจะระบชุ ื่ออย่ใู นกล่อง และในแตล่ ะกลอ่ งมกั จะระบุรายละเอียดที่สำคญั ต่างๆ เชน่

• ชื่อของกิจกรรม
• เวลาที่ใชใ้ นการทำกิจกรรมหรอื งานที่กำหนด (d)
• เวลาเริม่ งานเรว็ ทีส่ ุด (early start: ES) เป็นจดุ เวลาทีเ่ ร็วที่สุดที่จะเริม่ กิจกรรม

ทีพ่ ิจารณาซึง่ กค็ ือจดุ
• เวลาที่งานที่จำเป็นต้องทำก่อนหน้าทั้งหมดได้ทำเสร็จลุลว่ งนั้นเอง
• เวลาทีง่ านจะทำเสร็จเรว็ ทีส่ ุด (early finish: EF) โดย EF = ES + d
• เวลาที่งานเริ่มล่าช้าที่สดุ ทีจ่ ะไม่กระทบกบั ระยะเวลาโครงการรวม (late start:

LS)
• เวลาทีง่ านเสร็จช้าที่สุดทีจ่ ะไม่กระทบกับระยะเวลาโครงการรวม (late finish:

LF) โดย LF = LS + d
• เวลายืดหยุ่น หรอื เวลาลอยตัว หรอื ความล่าช้าทีจ่ ะไม่กระทบกบั ระยะเวลา

โครงการรวม (slag time: S) โดย S = LS – ES หรอื S = LF - EF

อย่างไรก็ตาม การแสดงข้อมูลเป็นแผนภาพที่มีรายละเอียดจำนวนมากดังกลา่ วอาจทำ
ให้ทีมงานจำนวนหนึ่งเกิดความสับสน ดังน้ันในทางปฏิบัติจึงอาจแสดงความเชื่อมโยงของงาน
โดยการกำหนดจุดเวลา (node) และลากเชือ่ มจดุ เวลาด้วยลูกศรที่แสดงถึงกิจกรรมที่จะทำจาก
จดุ เริม่ ไปถึงจุดสิน้ สุด โดยระบุเวลางาน (d) ทีต่ ้องใช้ในการทำกิจกรรมนน้ั ๆไว้บนตวั ลกู ศรดว้ ย

ข้ันที่สี่ การระบุเวลา ทรัพยากร และงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้
โครงการบรรลุผล ท้ังนี้การระบุเวลาของแต่ละกิจกรรมจะต้องอาศัยข้อมูล 3 ประการ เพื่อ
นำมาคำนวณเป็นเวลางาน (d) ตามระบบ PERT ได้แก่ เวลากิจกรรมที่เร็วที่สุด (Optimistic
time: o) เวลากิจกรรมที่มักจะเป็นโดยท่ัวไป (Most likely time: m) และเวลากิจกรรมที่ล่าช้า
ที่สุด (Pessimistic time: p) การคำนวณเวลากิจกรรมภายใต้ความเสีย่ งจะใช้สูตร

5

ข้ันที่ห้า การแสดงสายงานวิกฤต (critical path) ที่แสดงถึงลำดับต่อเนื่องของกิจกรรม
การทำงานที่มีระยะเวลายาวนานที่สุดและเท่ากับระยะเวลาโครงการ (project duration) สาย
งานวิกฤตจะประกอบด้วยกลุ่มของกิจกรรมที่มีเวลายืดหยุ่นเท่ากับ 0 ท้ังสายของสายงาน
วิกฤตและระยะเวลาโครงการก็จะคำนวณมาจากเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมตาม
สายงานวิกฤตท้ังสายนั่นเอง

ขั้นที่หก การนำโครงข่ายที่เช่ือมโยงกันน้ันมาประกอบการกำหนดแผนการทำกิจกรรม
ต่างๆและการควบคมุ การดำเนินงาน

2.2.2 การสร้างแผนภาพตาม PERT
สมมติให้โครงการประกอบด้วยกิจกรรมหรืองาน 5 ส่วน คือ งาน A B C D
และ E ที่มีเวลางาน (d) ตามระบบ PERT เท่ากับ 1 วัน 8 วัน 2 วัน 2 วัน และ 4 วัน
ตามลำดบั โดยกำหนดใหท้ ีมงานต้องทำกิจกรรม A ก่อนตามมาด้วยการทำกิจกรรม C
ส่วนการทำกิจกรรม D จะเกิดขึ้นเม่ือได้มีการทำกิจกรรม B และ E มาก่อน เม่ือได้ทำ
กิจกรรมทั้งหมดครบถ้วนแล้วจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายของโครงการที่ต้ังไว้ และ
จะสังเกตเห็นว่ากิจกรรมที่อยู่บนสายงานวิกฤต คือ กิจกรรม B และ D ซึ่งมีระยะเวลา
การทำงานเท่ากับ 8 วัน และ 2 วัน ตามลำดับ ทำให้เวลาโครงการรวมมีค่าเท่ากับ 10
วันน่ันเอง

3. สรุปและขอ้ เสนอแนะ
โดยท่ัวไปแล้วการจัดการโครงการซึ่งเป็นกลุ่มของกิจกรรมต่างๆที่มีความเชือ่ มโยงกันนั้นมกั จะ

เป็นต้องมีเคร่ืองมือที่เหมาะสมในการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะเม่ือ
กิจกรรมหรืองานในโครงการมีเป็นจำนวนมากและมีความเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน เคร่ืองมือที่ดีจะ
ช่วยให้การติดตามประเมินความคืบหน้าของโครงการ การระบุปัญหา และการจัดการแก้ไขปัญหาใน
จดุ ตา่ งๆเป็นไปได้อย่างทันทว่ งทีและมีประสิทธิภาพ

6

ท้ังนี้เคร่ืองมือที่ใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการที่คัดเลือกมาเป็นตัวอย่างในที่นี้ ได้แก่
Gantt chart และ Program Evaluation and Review Techniques (PERT) ซึ่งเคร่ืองมือพื้นฐานเหล่านี้มี
จุดเด่นที่ความเรียบง่ายชัดเจนของตัวเคร่ืองมือ โดยมีแนวโน้มที่จะช่วยประหยัดเวลาในการจัดทำและ
สามารถใช้ประกอบการส่อื สารกับทีมงานทีต่ ้องเปน็ ผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆของโครงการในภาคปฏิบตั ิ

อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริง โครงการมีความหลากหลายและมีลักษณะเฉพาะของ
แต่ละโครงการเอง ทำให้ผู้ปฏิบัติอาจต้องคัดเลือกหรือประดิษฐ์คิดค้นเคร่ืองมือที่ใช้ในการติดตาม
ประเมินผลโครงการทีม่ ีความเหมาะสมกับลักษณะงานขึน้ มาเพือ่ ให้สามารถติดตามประเมินโครงการได้
อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีเคร่ืองมือที่ใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการอื่นๆที่มี
การนำมาใช้ เช่น Critical Path Method (CPM) และ Critical Chain Project Management (CCPM) เป็น
ต้น

7

1. เทคนิคการวัดทัศนคติ

การวัดทศั นคติ (Attitude Measurement) ทศั นคตเิ ปน็ ความมนั่ คงทางอารมณ์ที่ตอบสนอง
ความสอดคล้องในการ กำหนดวิธีการกระทำถึงลกั ษณะต่างๆ ของโลก ซึ่งประกอบด้วยสว่ นประกอบ
ตา่ ง ๆ ดงั นี้

1. อารมณแ์ ละความรสู้ ึก: สะทอนใหเห็นถึงความรสู้ ึกหรอื อารมณ์ของแตล่ ะบุคคลที่สง่ ผลไป
ยังวตั ถุบุคคล หรอื สินค้า เชน่ “ฉนั รัก .....ของฉัน” หรือ “ฉนั ชอบ ...... ”

2. ความรคู้ วามเข้าใจ : เปนตัวแทนของการรับรู้ในการเรียนรสู้ ิ่งต่างๆ เชน่ ผหู้ ญิงคนหนง่ึ อาจ
รู้สกึ ดีใจในงานของเธอเพราะเธอเช่อื ว่ามีรายไดที่ดมี าก

3. พฤติกรรมกรรม : เปนการกระทำทีแ่ สดงออกถึงความรสู้ ึกนึกคิด ความตอ้ งการของจิตใจที่
ตอบสนองต่อส่ิงเร้า ประกอบขึน้ ด้วยพฤติกรรมความต้ังใจและ พฤติกรรมการคาดหวงั

เทคนิคการวดั ทัศนคติ
1. การจัดลำดับ (Ranking) : การวัดโดยขอใหผตู้ อบจดั ลำดับจากค่าน้อยที่สดุ ไปมากทีส่ ุดตามลำดับโดย
ตวั เลขอาจเปน็ กิจกรรม เหตกุ ารณ์หรือวัตถุ ว่าชอบสิง่ ใดสิ่งหนง่ึ หรอื ชอบลกั ษณะพิเศษของสิ่งกระตุ้น
น้ัน
2. การใหคะแนน(Rating) : การวัดโดยขอใหผูตอบประเมิน ความสำคัญของลกั ษณะพิเศษหรือคณุ ภาพ
ของวตั ถุ
3. การแยกกลมุ่ (Sorting q) Technique) : เปน็ เทคนิคการวัดซึง่ ผถู้ ามเสนอแนวความคิดหลากหลาย
และขอให้ ผู้ตอบเขียนลงใน บัตรหลายๆใบ หรอื จะใหผูตอบแบงประเภทของแนวคิดกไ็ ด

เทคนิคการวดั

• การเลือกตอบ (Choice Technique) : (Choice Technique) : เปน็ การวัดที่ พิสูจน์ความพอใจ
สิง่ ใดสิง่ หนง่ึ โดยใหผตู้ อบเลือก ระหว่าง 2 ทางเลือกหรอื หลายทางเลือก

• การวดั ทัศนคติทางสรีรวิทยา(Phy g siolo ical Technique) : การวดั โดยอาศัยเครื่องมอื และ
อุปกรณที่ ชว่ ยในการวดั ค่า เชน่ การวดั ความดนั เลือด การขยายของม่านตา เพื่อประเมนิ ผลกระทบ
ทางทศั นคติ

8

การวัดทัศนคติ

ในทางจิตวิทยา การวัดทัศนคติเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการ
ดำเนินชีวติ ของคน เพราะการรู้ถึงทัศนคติของบุคคลหรอื กลมุ่ คนที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ว่าเป็นไปในทิศทาง
ใด และมีความเข้มมากน้อยแคไ่ หน ย่อมจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถทำนายพฤติกรรมที่อาจจะเกิดขึ้น
ของบุคคลน้ันได้ และสามารถวางแผนดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับบุคคลหรือกลุ่มคนนั้นได้อย่าง
ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

การวัดทัศนคติ เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมานานในกลุ่มนักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน การ
ศกึ ษาวิจยั การพัฒนาวิธีการทางสถิติ และวิธีการวัดทางจิตวิทยา เป็นผลทำใหเ้ กิดความก้าวหน้าอย่าง
รวดเร็วในการศึกษาเรื่องทศั นคติ รวมทั้งความสำเรจ็ ในการวัดทัศนคติ (Allport, 1967)

ความคิดเกี่ยวกับการวัดทัศนคตินี้ เฮนเนอสัน, มอร์ริส และฟิทซกิ๊บบอน(Henerson, Morris
and Fitz-Gibbon, 1978) ได้กล่าวเอาไว้ว่า ทัศนคติไม่ได้เป็นสิ่งที่จะสามารถตรวจสอบหรือวัดได้
เช่นเดียวกับการตรวจสอบเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ หรือการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ แต่ทัศนคติของ
บคุ คลหนึง่ อาจแสดงออกมาได้ด้วยการใชค้ ำพูดหรอื การกระทำ

จะเห็นได้ว่า ความคิดข้างต้นนี้จะเน้นที่การแสดงออกทางพฤติกรรมเป็นหลักในการวัดทัศนคติ
ซึ่งสอดคล้องกบั ที่ ไอเซ่น(Ajzen, 1988) ได้กลา่ วเอาไว้ว่า โดยธรรมชาติแล้ว คณุ สมบตั ิของทัศนคติเป็น
สิ่งที่วัดได้ แม้ว่าทัศนคติจะเป็นเพียงภาวะของจิตใจ ไม่สามารถสังเกตหรือวัดได้โดยตรง แต่ทัศนคติก็
อาจวัดได้โดยอาศัยจากผลของการตอบสนอง ซึ่งจะประเมินได้เป็นทางบวกหรือทางลบ และมีระดับ
ความมากน้อย

การวัดทัศนคติโดยดูจากพฤติกรรมที่แสดงออกหรือผลจากการตอบสนองเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ก็
อาจไม่เสมอไป บางคร้ังในการแสดงพฤติกรรม เช่น คำพูดและการกระทำอาจไม่สอดคล้องกัน ดังที่
เฮนเนอสนั , มอรร์ สิ และฟิทซกิบ๊ บอน ได้ยกกรณีตวั อยา่ งมาอธิบายไว้ดงั นี้

“มีเด็กชายคนหนึ่งชื่อวิลเลี่ยม(William) เม่ือถามวิลเลี่ยมเกี่ยวกับโรงเรียน วิลเลี่ยมตอบว่า เขา
ไม่เคยสนใจโรงเรียน โรงเรียนเป็นสถานที่ที่น่าเบื่อ เขาอยากอยู่บ้านมากกว่าไปโรงเรียน แต่เมื่อสังเกต
และติดตามพฤติกรรมของวิลเลี่ยมขณะอยู่ที่โรงเรียน กลับพบว่า วิลเลี่ยมเป็นเด็กที่เรียนเก่ง มีผลการ

9

เรียนก้าวหน้า ทำงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายเสร็จทกุ คร้ัง และมีความสมั พนั ธ์ที่ดกี บั ครอู าจารย์ ในกรณีน้ีเรา
จะอธิบายหรอื วัด ทัศนคตขิ องวิลเลี่ยมอย่างไร จากคำพูดหรอื การกระทำ?”

เธอร์สโตน(Thurstone, 1970) ได้ให้ความเห็นในเร่ืองนี้ว่า พฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์
จะเป็นเคร่ืองชี้ทัศนคติได้ดีกว่าการแสดงออกทางคำพูด แต่พฤติกรรมนี้ก็อาจจะไม่ตรงตามความเป็น
จรงิ ก็ได้

การที่ทัศนคติและการแสดงออกทางพฤติกรรมไม่มีความสมั พันธก์ ัน อาจเนื่องมาจากการวัดที่
ไม่ตรงจุด ฟีชบายน์และไอเซ่น(Fishbein and Ajzen, 1975) ได้อธิบายไว้ว่า ทัศนคติสามารถทำนายถึง
พฤติกรรมได้ โดยในการวัดทัศนคติ ควรวัดทัศนคติต่อพฤติกรรมที่จะแสดงต่อสิ่งน้ัน ไม่ใช่วัดทัศนคติ
ตอ่ สิง่ น้ันโดยตรง เมื่อมีการวดั ทีต่ รงจุดยิ่งข้ึน ทัศนคตกิ จ็ ะสามารถทำนายพฤติกรรมหรอื การกระทำได้

แม้ว่าทัศนคติจะทำให้มนุษย์มีแนวโน้มที่จะตอบสนองทางพฤติกรรมตามที่ ทัศนคติต้ังไว้ แต่ก็
ไม่ใช่สิ่งตายตัว พฤติกรรมอาจไม่เป็นไปตามทัศนคติก็ได้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม
และการยึดถือทัศนคติของบุคคลนั้นเอง

สำหรับเทคนิควิธีที่ใช้วัดทัศนคติ นักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่สมัยเริ่มต้น
ที่มีความสนใจในเร่ืองนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีหนึ่งที่เป็นที่รู้จักและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ก็คือ
มาตรวัดทัศนคติ (Oppenheim, 1966) แต่ความจริงแล้ว การวดั ทัศนคติอาจทำได้หลายวิธี ซึ่งจะขอยก
มาเปน็ ตวั อย่างพอสังเขป ดังน้ี

1. การสังเกต (Observation) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ศึกษาทัศนคติโดยใช้ประสาทหูและตาเป็น
สำคัญ การสังเกตเป็นวิธีการศกึ ษาพฤติกรรมที่แสดงออกของบุคคลทีม่ ีตอ่ สิ่งหนึง่ สิ่งใด แล้วนำข้อมูลที่
สังเกตนั้นไปอนุมานว่าบุคคลน้ันมีทัศนคติต่อสิ่งน้ันอย่างไร (ศักดิ์ สุนทรเสณี, 2531 อ้างถึงใน จรรยา
สิทธิปาลวัฒน,์ 2539)

2. การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการที่ผู้ศึกษาจะต้องออกไปสอบถามบุคคลน้ัน ๆ ด้วย
ตนเอง โดยอาศัยการพูดคุย ผู้สัมภาษณ์จะต้องเตรียมวางแผนล่วงหน้าว่าจะสัมภาษณ์ในเร่ืองใด
เพื่อให้ได้ข้อมลู ทีเ่ ป็นจรงิ มากทีส่ ดุ

10

ในการสัมภาษณ์นี้ สก็อตต์(Scott, 1975) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นการวัด ทัศนคติโดยอาศัย
การตอบสนองทางคำพูด(Verbal responses) และเป็นวิธีวัดที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง เพราะมีความสะดวก
และง่ายต่อการวัด เช่น การใช้คำถามปลายเปิด(Open-ended Question) ผู้สัมภาษณ์อาจตั้งคำถามว่า
“คุณรู้สึกวา่ งานที่ท่านประธานาธิบดีกำลังดำเนินการอยเู่ ป็นอย่างไร” หรือ “คุณคิดว่าการเสียภาษีเป็น
สิ่งทีด่ หี รอื ไม่ เพราะอะไร”

จะเห็นได้ว่า การใช้คำถามปลายเปิดนี้ ผู้สัมภาษณ์จะได้ข้อมูลมากมาย แต่มีข้อเสียก็คือว่า
ผู้ตอบอาจไม่ตอบตามความเป็นจริง เพราะไม่กล้าเปิดเผย หรือตอบตามความคาดหวังของสังคม
ดังนน้ั การวัดทัศนคตโิ ดยอาศัยการสัมภาษณ์จงึ ควรใช้วธิ ีการอ่นื ๆ รว่ มด้วย

3. แบบรายงานตนเอง (Self-Report) เป็นวิธีการศึกษาทัศนคติของบุคคลโดยให้บุคคลนั้น
เเล่าความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นออกมาว่า รู้สึกชอบหรอื ไม่ชอบ ดีหรอื ไม่ดี ซึง่ ผเู้ ลา่ จะบรรยายความรู้สึกนึก
คิดของตัวเองออกมาตามประสบการณ์และความสามารถที่มีอยู่ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละ
บคุ คล

วิธีการศึกษาทัศนคติโดยใช้แบบรายงานตัวเองน้ี มักจะถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของเครื่องมอื วดั ที่
เรียกว่า มาตรวัด(Scale) เช่น มาตรวดั ทัศนคติของเธอร์สโตน(Thurstone) มาตรวัดทัศนคติของลิเคอร์ท
(Likert) มาตรวัดทัศนคติของออสกูด(Osgood) มาตรวัดความห่างทางสังคมของโบกาดัส(Bogardus)
มาตรวัดความคงที่ของทัศนคติตามวิธีของกัตท์แมน (Guttman) และมาตรหน้ายิ้มสำหรับเด็ก(The
Smiling Faces Scales) เป็นต้น

อำนาจ ไพนุชิต(2539) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรวัดทัศนคติไว้ว่า มาตรวัดทัศนคตินี้
ถือเป็นเคร่ืองมือในการวิจัยทางการศึกษาอย่างหนึ่ง ที่ใช้วัดคุณลักษณะภายในทางจิตของบุคคลที่ไม่
สามารถวัดได้โดยตรง ให้ผลการวัดเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลข ลักษณะของมาตรวัดทัศนคติ
ประกอบด้วยชุดของสถานการณ์หรือข้อความที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบได้แสดงพฤติกรรมตอบสนองใน
ลักษณะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพื่อจำแนกผู้ตอบออกเปน็ กล่มุ ๆ ตามระดับทัศนคติ และแสดงผลเป็น
ปริมาณบนชว่ งสเกลในเชงิ เปรียบเทียบกับบุคคลอืน่

หลักการสร้างมาตรวัดทัศนคติที่ดีนั้น ออพเพนไฮม์ (Oppenheim, 1966) ได้กล่าวเอาไว้ว่า ใน
การสรา้ งและประเมินเครื่องมอื วัด จะต้องคำนงึ ถึงหลกั ทีส่ ำคญั ดงั ตอ่ ไปนี้

11

1) ความเป็นเอกมิติ (Unidimensionability) มาตรวัดทัศนคติที่ดีจะต้องวัดในเร่ือง
เดียวกัน และข้อความหรือข้อคำถามที่นำมาใช้จะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียว โดยสามารถตรวจสอบได้
จากค่าสัมประสิทธิ์สหสมั พันธ์ของคะแนนที่ได้จากมาตรวัด ซึง่ ในเร่ืองนี้ ลิเคอร์ท (Likert, 1932 อ้างถึง
ใน อำนาจ ไพนุชิต, 2539) ได้เสนอไว้ว่า คะแนนที่ได้จากข้อคำถาม 1 ข้อ ควรมีความสัมพันธ์กับ
คะแนนรวมอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติ

2) ความเป็นเส้นตรง (Linearity) และการมีช่วงเท่ากัน (Equal Intervals) มาตรวัด
จะต้องอยู่ในรูปของความต่อเน่อื งเป็นเส้นตรงทีส่ ามารถจัดเรียงลำดับทัศนคติของผู้ตอบ และเป็นมาตร
ที่บอกความแตกต่างเป็นช่วง ๆ ได้ โดยแต่ละช่วงต้องมีความห่างเท่ากัน เพื่อกำหนดระดับทัศนคติของ
ผตู้ อบ และสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้

3) ความเที่ยง (Reliability) เป็นความคงที่หรือความคงเส้นคงวาของการวัด ในการ
สร้างมาตรวัดทัศนคติ ยิง่ ขอ้ คำถามมีจำนวนมากเท่าใด ความเที่ยงกจ็ ะมีมากขึ้นเท่านั้น

4) ความตรง (Validity) มาตรวัดจะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้จริง โดยข้อคำถามที่
นำมาใช้จะต้องมีความเป็นหนง่ึ เดียว และมีความสัมพนั ธ์กนั สงู

5) ความสามารถในการสร้างใหม่ (Reproducibility) เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาสาระของ
ข้อคำถามว่าสามารถจะสรา้ งสเกลใหม่ได้หรอื ไม่

4. เทคนิคการฉายออก (Projective Techniques) เป็นการวัดทัศนคติโดยการให้สร้าง
จินตนาการจากภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลน้ันแสดงความคิดเห็นออกมา เพื่อสังเกตและ
วดั ได้วา่ บคุ คลนั้นมีความรู้สึกอยา่ งไร ซึ่งบุคคลน้ันจะแสดงออกตามประสบการณ์ของตนเอง และแตล่ ะ
คนจะมีลกั ษณะของการแสดงออกทีไ่ ม่เหมอื นกนั

จรรยา สิทธิปาลวัฒน์ (2539) ได้ยกตัวอย่างวิธีสร้างจินตนาการจากภาพเพื่อใช้วัดทัศนคติ
ดงั น้ี

1) วธิ ีหยดหมึก (Ink Plot) คือ ให้บคุ คลนั้นดูภาพหยดหมึก แล้วใหอ้ ธิบายว่าภาพนั้นเป็น
อย่างไร เป็นการกระตุ้นให้บุคคลน้ันตอบสนองออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะใช้เป็น
ตัวช้วี ัดทัศนคติของบคุ คลนั้น

2) การเล่าเร่ือง (Story Telling) คือ มีการเล่าเร่ืองราวบางอย่างให้บุคคลที่ต้องการจะ
วัดทัศนคติฟัง แต่เล่าไม่จบ แล้วให้บุคคลนั้นเล่าต่อตามความคิดเห็นและความรู้สึกของตนเอง แต่

12

ปัญหาที่สำคัญของการวัดทัศนคติโดยวิธีนี้ ก็คือ ผู้วัดจะต้องมีประสบการณ์ และมีความสามารถ
เพียงพอในการแปลความหมายของข้อมูล

5. การทำงานบางอย่างท่ีกำหนดให้ การวัดทัศนคติด้วยวิธีนี้ นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า
พฤติกรรมที่บุคคลแสดงการทำงานบางอย่างที่กำหนดให้นั้น เป็นผลมาจากความรู้สึกนึกคิดหรือ
ทัศนคติของบุคคลน้ันเอง โดยการวัดวิธีนี้สอดคล้องกับงานวิจัยต่าง ๆ ที่ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2527)
ได้รวบรวมไว้ งานวิจัยดังกล่าวได้แก่

1) งานวิจัยของ ลีไวน์ และเมอร์ฟี่ (Levine and Murphy) ในปี ค.ศ.1943 ศึกษาพบว่า
บคุ คลจะเรียนรู้หรอื จำสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้จากทัศนคติที่เขามีต่อสิ่งนั้น ซึ่งสอดคล้องกับ
ผลการวิจัยของ โจนส์ และโคฮเ์ ลอร์ (Jones and Kohler) ในปี ค.ศ.1958

2) งานวิจัยของ แฮมมอนด์ (Hammond) ในปี ค.ศ.1948 ได้ศึกษาพบว่า บุคคลจะตอบ
ตามความจริงต่อคำถามต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับทัศนคติของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับ
ผลการวิจัยของ เวสช์เลอร์ (Weschler) ในปี ค.ศ.1950 และผลการวิจัยของ แรนคิน และแคมป์เบลล์
(Rankin and Campbell) ในปี ค.ศ.1955

จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า การทำงานหรือการแสดงพฤติกรรม เป็นผลมาจากทัศนคติ
ของบุคคล เริ่มตั้งแต่ความรู้ ความคิด ความรู้สึก และการนำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกรรม การวัด
ทัศนคติด้วยวิธีนี้คล้ายคลึงกันเทคนิควิธีการฉายออก คือ ผู้ถูกวัดอาจไม่รู้ตัวว่ากำลงั ถูกวัดทัศนคติ แต่
คิดว่ากำลังถูกทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน

6. ปฏิกิริยาการตอบสนองทางร่างกาย นักจิตวิทยาสังคมส่วนใหญ่มักจะรายงานผล
การศึกษาทางด้านทัศนคติ หรือการวัดทัศนคติ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้น
(Intensity) หรือความรุนแรง (Extremity) ของทัศนคติกับปฏิกิริยาการตอบสนองทางร่างกาย เช่น การ
ตอบสนองต่อการช็อคไฟฟ้า อัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที การขยายของม่านตา เป็นต้น มากกว่าที่
จะกล่าวถึงทิศทางของทัศนคติ เช่น ทัศนคติทางบวกหรือทางลบ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานการค้นพบ
จากการวิจัยของนักจิตวิทยาสังคมตา่ ง ๆ ที่ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2527) ได้รวบรวมไว้ ดังน้ี

1) งานวิจัยของ แคทซ์, คาโดเรท, ฮิวช์ และแอ็บบี้ (Katz, Cadoret, Hughes and Abbey) ในปี
ค.ศ.1965 ศึกษาพบว่า การตอบสนองต่อการช็อคไฟฟ้าและการเต้นของหัวใจจะแสดงปฏิกิริยาเพิ่ม
มากขึ้นกว่าระดับปกติ ถ้าบุคคลได้รับการยอมรับหรือการไม่ยอมรับ มากกว่าเม่ือบุคคลอยู่ก้ำกึ่ง
ระหว่างการยอมรบั หรอื ไม่ยอมรับ

13

2) งานวิจัยของ คอลลินส์, เอลล์สเวิร์ท และเฮล์มรีช (Collins, Ellsworth and Helmreich) ในปี
ค.ศ.1967 ศึกษาพบว่า การขยายของม่านตามีความสัมพันธ์กับ ทัศนคติด้านพลังของบุคคลที่มีต่อสิ่ง
เร้า (เช่น ความแข็งแรง-ความอ่อนแอ) มากกว่ามีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านการประเมิน (เช่น ดี-
เลว)

จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาการตอบสนองทางร่างกายมีความสัมพันธ์กับความ
เข้มข้นของทัศนคติ กล่าวคือ บุคคลจะแสดงปฏิกิริยาการตอบสนองทางร่างกายอย่างรุนแรง ไม่ว่า
บุคคลนั้นจะมีทศั นคติในด้านดีมากหรือเลวมากก็ตาม

วิธีวัดทัศนคติทั้งหมดที่เสนอไปแล้วนี้ ในปัจจุบันยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้ว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดี
ที่สุด เพราะแต่ละวิธีต่างก็มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ การที่จะสรุปว่าเทคนิควิธีวัดใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดน้ัน
จงึ ข้ึนอยูก่ ับจดุ มงุ่ หมายของการวัดแตล่ ะอยา่ ง

จากความคิดดังกล่าว ออพเพนไฮม์ (Oppenheim, 1966) ได้เสนอแนะไว้ว่า ในการวัดทัศนคติ
โดยใช้มาตรวัด หากต้องการที่จะศึกษารูปแบบทัศนคติ (attitude pattern) หรือการสำรวจทฤษฎี
ทัศนคติ (theories of attitudes) มาตรวัดของลิเคอร์ท (Likert) จะเป็นเทคนิควิธีที่เหมาะสมที่สุด หรือ
หากต้องการที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (attitude change) วิธีของกตั ท์แมน (Guttman) จะเป็น
วิธีที่ดีที่สุด หรือหากต้องการที่จะศึกษาความแตกต่างของกลุ่ม (group differences) การใช้วิธีของเธอร์
สโตน (Thurstone) จะเป็นวิธีที่เหมาะสมทีส่ ุด เป็นต้น

ดงั น้ัน อาจสรุปได้ว่า การนำเทคนิควิธีวดั แบบต่าง ๆ มาใช้ จะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับ
จดุ ม่งุ หมายของการวดั เฉพาะอยา่ งดว้ ย

14

2. กระบวนการสร้างเคร่ืองมือวัดทัศนคติ

การวัดทัศนคติเป็นส่วนหนึ่งของแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ถ้าหากนักวิจัยสามารถสร้าง
เครื่องมือวัดทัศนคติได้ดีและมีความถูกต้องแล้วก็สามารถนำคำถามส่วนนีไ้ ปผนวกเข้ากบั ตอนที่อ่ืนๆได้
เลยการสร้างเคร่ืองมือวัดทัศนคติประกอบไปด้วย 6 ข้ันตอน คือ การจำแนกตัวแปรที่จะวัด การเลือก
วิธีการวัด การจัดทำร่างเคร่ืองมือวัด การทดสอบเคร่ืองมือวัดเบื้องต้น การทดสอบเคร่ืองมือวัดครั้ง
สุดท้าย และการเลือกคำถามทีด่ ที ี่สุดโดยแตล่ ะขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

1. การจำแนกตวั แปรที่จะวัด นักวิจัยต้องย้อนไปทบทวนวัตถุประสงค์และประเด็นที่สำคัญที่จะ
ศึกษารวมท้ังแบบจำลองของกรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อให้ทราบว่ามีตัวแปรทัศนคติอะไรบ้างที่จะต้อง
ศึกษาและเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ เช่น ตัวแปรเกี่ยวกับค่านิยม ความสนใจ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ
ยอมรับเทคโนโลยี ความคิดเห็นต่อการปฏิรูป การเมืองการปกครอง เป็นต้น จากน้ันก็จะอธิบายและทำ
แผนผงั ตัวแปรพร้อมกบั จำแนกเคร่อื งชีว้ ัด

2. การเลือกวิธีการวัด นักวิจัยควรเลือกวิธีการวัดใหเ้ หมาะสมกับข้อมูลที่จัดเก็บและประชากร
หรือตัวอย่างที่จะศึกษา ได้แก่ เทคนิคการวัดทัศนคติของลิเกอร์ หรือกัตซ์แมน ซึ่ง พันช์ (punch
1998:95) กล่าววา่ “จากการศกึ ษาเปรียบเทียบของเอดเวิดส์ นั้นแสดงใหเ้ หน็ ว่าการวดั ทั้ง 3 วิธีนไี้ ด้ผล
คล้ายคลึงกัน” นอกจากนี้ยงั มีเทคนิคการวัดทัศนคติของออสกู๊ด ซึง่ จะกล่าวถึงรายละเอียดของเทคนิค
แตล่ ะวิธีต่อไป

3. การจัดทำร่างเคร่ืองมือวัด ด้วยแบ่งเคร่ืองมือหรือรายการที่จะถามกลุ่มตัวอย่างเป็นตอนๆ
ตามแผนผังตัวแปรจากข้อ 1 การจัดทำร่างเครื่องมอื วัดต้องยึดแนวการเขียนคำถามการวัดทัศนคติดังที่
กล่าวมาแล้วอย่างเคร่งครดั

4. การทดสอบเคร่อื งมือวัดเบื้องต้น นักวิจัยจะนำร่างเคร่ืองมือวัดไปทดสอบกับประชากรหรือ
กลุ่มคนที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่างประมาณ 5-6 คนแล้วนำมาประเมินและปรบั ปรุงเคร่ืองมือตาม
ผลของการทดสอบให้สมบูรณ์ ซึ่งในการทดสอบเบื้องต้นนักวิจัยอาจพบว่าประชากรบางคนไม่เข้าใจ
ตอบไมถ่ ูกหรอื บางคนอาจจดั ลำดับการวัดไม่ถูกต้อง

15

5. การทดสอบเคร่ืองมือวัดคร้ังสุดท้าย เม่ือได้ปรับปรุงร่างเคร่ืองมือวัดหลังจากได้ทดสอบ
เบื้องต้นแล้วต้องนำไปทดสอบกับกลุ่มคนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น คือ ประมาณ 30 คนหรือ
มากกวา่ และวเิ คราะห์หาความถูกต้องและความเช่ือถือได้

6. การเลือกคำถามที่ดีที่สุด หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทดสอบเคร่ืองมือวัดคร้ังสุดท้ายแล้ว
นักวิจัยจะเลือกเฉพาะคำถามหรือรายการที่ดีที่สุดไว้เพื่อผนวกเข้ากับการสร้างครึ่งมึงเก็บข้อมูลฉบับ
สมบรู ณต์ ่อไป อยา่ งไรก็ตามแม้นักวิจยั ได้สร้างเครือ่ งมอื วัดเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่เป็นทีน่ า่ พอใจหรือไม่
แนใ่ จวา่ จะได้เครือ่ งมอื วัดตัวแปรที่ดีที่สดุ ก็สามารถกลบั ไปทำขั้นตอนที่ 5-6 ใหมจ่ นพอใจก็ได้

ทฤษฎีการวดั ทศั นคติ (Theory of Attitude Measurement)

ทัศนคติ เป็นเรอ่ื งที่มีความสำคัญ และได้รับความสนใจจากนักวิชาการในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็น
ครู อาจารย์ นักการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักจิตวิทยาสังคม เพราะการรู้ถึงทัศนคติของคนหรือ
กลุ่มคนที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ว่าเป็นไปในทิศทางใด ย่อมจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนและ
ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อบุคคลหรือกลุ่มคนน้ันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
การศึกษาทัศนคติมีมาต้ังแต่สมัยแรกเริ่มของจิตวิทยาสังคม และเป็นมโนทัศน์หนึ่งที่ได้รับความสนใจ
จากนักจิตวิทยาสังคมเป็นจำนวนมากในทุกยุคทุกสมัย เพราะทัศนคติมีความสำคัญต่อชีวิตของคนใน
แง่มุมต่าง ๆ เช่น การเมืองการปกครอง การแต่งงาน ศาสนา นิสัยการรับประทานอาหาร การศึกษา
แฟช่ัน การอบรมเลี้ยงดู การแข่งขัน การสื่อสาร เป็นต้น ด้วยเหตุที่ทัศนคติมีความสำคัญดังกล่าวนี้
นกั จิตวิทยาจงึ พยายามคิดค้นและพัฒนาวิธีการตา่ ง ๆ เพือ่ วดั ทศั นคติของคน (Oppenheim, 1966:106)
การวัดทัศนคติ ส่วนใหญ่นักจิตวิทยาจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยให้ความสนใจในรูปแบบของการวัดชนิด
ต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างขึ้นทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีการวัด
ทางจิตวทิ ยา (Psychometric Theory) ได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้อยา่ งกว้างขวางเกี่ยวกับการวดั ทัศนคติ
(Scott, 1975:265) ก่อนที่จะได้กล่าวถึงรายละเอียดเกีย่ วกับเทคนิควิธีวัดทัศนคตริ ูปแบบตา่ งๆ ใน
การศกึ ษาทัศนคติ มีความจำเปน็ ทีจ่ ะต้องเข้าใจความหมายของทศั นคติ ความแตกต่างระหวา่ งทัศนคติ
กับความเชือ่ ค่านิยมและความคิดเหน็ ลกั ษณะสำคัญของทัศนคติ ธรรมชาติของการวดั ประโยชน์ของ
การวัดทศั นคติ ตลอดจนการแบง่ ประเภทของการวดั ซึ่งจะได้กลา่ วต่อไป

16

ความหมายของทัศนคติ (The Definition of Attitude)
มโนทัศนเ์ กี่ยวกับทัศนคตนิ ี้ ได้รับความสนใจมานานจากนกั จติ วิทยาสังคม เฮนเนอสนั , มอรร์ สิ

และฟิทซกิ๊บบอน (Henerson, Morris and Fitz-Gibbon, 1978) ได้กล่าวไว้ว่า มโนทัศนเ์ กีย่ วกับทศั นคตมิ ี
ลักษณะเช่นเดียวกับมโนทศั นเ์ ชงิ นามธรรมท่วั ไปทีเ่ กิดจากการสร้างข้นึ เป็นเครือ่ งแสดงให้เหน็ ถึงส่ิงที่
มนุษย์คิด พดู หรือกระทำ หรอื อาจเป็นการทำนายพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ความหมายที่แน่ชัดของคำว่า “ทัศนคติ” ยังไมเ่ ป็นที่ยอมรับกันโดยทัว่ ไปในกล่มุ นกั จิตวทิ ยา
หรอื กลุม่ ผู้ที่ทำการศกึ ษาเรื่องทัศนคติ ดังนนั้ แตล่ ะกลุ่มทีท่ ำการศกึ ษาค้นคว้าต่างก็ใหค้ ำจำกดั ความ
ตามความเข้าใจของตนเอง ซึง่ ได้ประมวลมากล่าวไว้เปน็ ตัวอย่าง ดังนี้
พจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน (2525:393) ได้ให้ความหมายของทัศนคตไิ ว้ว่า ทัศนคติ หมายถึง
แนวความคิดเหน็ ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2520:3) ได้กล่าวว่า ทศั นคติเปน็ ความคิดเหน็ ซึง่ มอี ารมณเ์ ป็น
ส่วนประกออบ เปน็ ส่วนที่พร้อมจะมีปฏิกิรยิ าเฉพาะอย่างตอ่ สถานการณ์ภายนอก

นวลศิริ เปาโรหติ ย์ (2527:131) กลา่ ววา่ ทัศนคติเป็นผลรวมของความเข้าใจ ความรู้สกึ และ
แนวโน้มในการตอบโต้ของเราตอ่ บุคคล วัตถุ หรอื เรือ่ งราวทั้งปวง

ลดั ดา กิติวิภาต (2532:2) ได้กล่าวไว้วา่ ทัศนคติเป็นความคิดทีม่ อี ารมณ์เปน็ สว่ นประกอบ ซึ่ง
ทำให้เกิดความพร้อมที่จะมีปฏิกิรยิ าโต้ตอบในทางบวกหรอื ในทางลบต่อสิ่งใดสิง่ หนึง่

อ๊อพเพนไฮม์ (Oppenheim, 1966) ได้ให้คำจำกดั ความของทศั นคติไว้ว่า ทศั นคติ คือ สภาวะ
ของความพร้อม ความพอใจที่จะแสดงปฏิกิรยิ าในรปู แบบต่าง ๆ เมื่อต้องเผชิญกบั สิ่งเร้า

แอลพอร์ท (Allport, 1967) ได้ให้ความหมายของทัศนคติไว้ว่า ทศั นคติ คอื สภาวะความพรอ้ ม
ทางจิต ซึง่ เกิดจากประสบการณ์ และมีอิทธิพลโดยตรงตอ่ การตอบสนองของบคุ คลที่มตี ่อวัตถแุ ละ
สถานการณ์ทีเ่ กี่ยวข้อง

ดูบ๊ (Doob, 1967) ได้ให้คำจำกัดความว่า ทัศนคติ คือ การตอบสนองทีม่ คี วามหมายทางสังคม
ของบคุ คลหนง่ึ ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากแรงขบั ภายในของแต่ละบคุ คลทีม่ ตี ่อสิง่ เร้ารปู แบบต่าง
ๆ อนั เปน็ ผลทำให้บคุ คลนั้นแสดงพฤติกรรมออกมาในภายหลัง

เธอรส์ โตน (Thurstone, 1974) ได้กล่าวไว้ว่า ทัศนคติเป็นผลรวมของมนษุ ย์เกีย่ วกับความรสู้ ึก
อคติ ความกลัว ที่มตี ่อสิง่ ใดสิ่งหนึ่ง

ไอเซน่ (Ajzen, 1988) ได้ให้ความหมายของทัศนคตไิ ว้ว่า ทัศนคติ คอื อารมณ์ ความรสู้ ึกชอบ
หรอื ไม่ชอบทีต่ อบสนองตอ่ วัตถุ บุคคล สถาบนั หรอื เหตุการณ์

17

จากความหมายของทัศนคติที่กล่าวมาแล้วน้ัน แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของการมอง
ทัศนคติของนักการศึกษาและนักจิตวิทยา โดยมีทั้งการให้ความหมายของทัศนคติในด้านจิตใจ ในเชิง
สติปัญญา และในเชิงการกระทำ ซึ่งถือเป็นองคป์ ระกอบทีส่ ำคัญของทศั นคติ

18

3. เทคนิคการวดั ทัศนคติของเทอรส์ โตน
ลัดดา กิติวิภาต (2525) ได้รวบรวมตัวอย่างเทคนิควิธีวัดแบบต่าง ๆ ที่เปน็ ที่รจู้ ักกันอย่าง
แพร่หลาย 4 แบบ ดังนี้
1.มาตรวัดทศั นคติของเธอร์สโตน (Thurstone, 1929)
มาตรวดั ทัศนคติของเธอร์สโตน มชี ื่อเรยี กอีกอย่างหนึง่ ว่า “มาตรอนั ตรภาคเทา่ กนั ตามปรากฏ (Equal-
Appearing Interval Scale)”
วิธีสรา้ ง
รวบรวมข้อความที่แสดงทัศนคติเกี่ยวกับเร่ืองที่ต้องการวัดทัศนคติมามากที่สุด สิ่งที่จะต้อง
พิจารณาในการเลือกข้อความก็คือเป็นข้อความที่แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเป็นข้อความ
กะทัดรัด ใช้ภาษาเข้าใจง่ายเป็นข้อความที่ชัดเจน มีความคิดเดียวและตรงเป้าหมายกับเรื่องที่ต้องการ
จะวัด ไม่เป็น 2 นัยเป็นข้อความที่เป็นประโยคธรรมดาหรือกรรตุวาจา (active voice) ไม่ใช่กรรมวาจา
(passive voice) ข้อความที่รวบรวมมาจะต้องครอบคลุมเร่ืองราวที่ต้องการจะวัดขัดเกลาข้อความให้มี
จำนวนมากกว่า 100 ขึ้นไปพิมพ์ข้อคำถามลงในบัตรข้อละ 1 บัตร หรือพิมพ์ลงในกระดาษแผ่นเดียวกัน
ก็ได้ให้ผู้ตัดสินประมาณ 200-300 คน (ผู้ตัดสินเป็นผู้เชี่ยวชาญในเร่ืองนั้น ๆ เป็นพิเศษ) ลงความเห็น
ตดั สินเลือกข้อความแต่ละบัตร หรอื เลือกขีดตอบในกระดาษ โดยให้คะแนนข้อความตง้ั แต่ 1-11 คะแนน
หรือให้ระดับความเห็นที่มีต่อข้อความเหล่าน้ัน 11 ระดับ จากชอบมากที่สุดถึงชอบน้อยที่สุด ถ้าชอบ
มากทีส่ ุดให้ 11 คะแนน ถ้าไม่ชอบเลยให้ 1 คะแนน ไม่ชอบมากทีส่ ุด ชอบมากที่สุด
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11
นำคะแนนจากผู้ตดั สินมาหาค่าประจำข้อ (scale value) ของแต่ละข้อความ โดยหาคา่ เฉลี่ยและ
สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐานคัดเลือกข้อความข้ันสุดท้าย โดยมีเกณฑ์ในการเลือกดงั นี้
ให้มคี ่าประจำข้อครบท้ัง 11 ระดับ คอื มีต้ังแต่ 1 ถึง 11แตล่ ะข้อควรให้มีคา่ ความเบี่ยงเบนเปน็ ควอไตล์
น้อย ๆ กล่าวคือ ค่า Q ไม่ควรเกิน 1.67อาจตรวจสอบคา่ ประจำข้อโดยวิธีให้กลุ่มอืน่ พิจารณาตดั สิน
เหมอื นกลมุ่ แรก แล้วดวู ่าค่าประจำข้อเปลี่ยนไปหรอื ไม่ ถ้าไมเ่ ปลี่ยนไปมากก็แสดงวา่ ใชไ้ ด้ถ้าหากมี
ข้อความที่มีค่าประจำข้อเท่ากนั กค็ ดั เลือกเอาข้อที่มีสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐานต่ำกว่าข้อความทีค่ ัดเลือก
มานจี้ ะมากกวา่ 11 ข้อก็ได้ เพียงแต่ใหข้ ้อความต่าง ๆ มีคา่ ประจำข้อที่ห่างกนั เป็นช่วง ๆ ชว่ งละเทา่ ๆ
กนั จากต่ำที่สุดถึงสูงทีส่ ุด (เช่น เลือกมากประมาณ 20-30 ข้อความ โดยเลือกข้อความที่มสี ่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำ ๆ) การนำไปใช้ นำข้อความทีเ่ ลือกแล้วมาเรียงอย่างสุ่ม ให้กลมุ่ ตัวอยา่ งตอบ
เพียงวา่ เหน็ ด้วยหรอื ไม่เหน็ ด้วยกับข้อความใดเท่าน้ัน ไม่ตอ้ งระบุระดบั ความเหน็ นำเอาค่าประจำข้อที่
กลมุ่ ตวั อย่างเลือกมารวมกันทั้งหมด แล้วหาคา่ เฉลีย่ เป็นคะแนนทัศนคตขิ องกลุม่ ตัวอยา่ งนนั้ ๆตัวอย่าง
มาตรวดั ทัศนคติตามวิธีของเธอรส์ โตน พร้อมดว้ ยค่าประจำข้อ

19

สเกลเทอร์สโตน

ในทางจิตวิทยาและสังคมวิทยาที่ขนาด Thurstoneเป็นเทคนิคอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อ
วัดทัศนคติ มันถูกพัฒ นาโดยหลุยส์ลีออนเธอร์ สโตน ในปี 1928 เป็นวิธีการวัดทัศนคติต่อ
ศาสนา ประกอบด้วยข้อความเกีย่ วกับประเด็นใดประเด็นหน่ึง และแต่ละข้อความมีค่าเป็นตัวเลขที่ระบุ
ว่าเป็นการดีหรือไม่ดีที่ตัดสินได้ ตรวจสอบแต่ละคนของงบที่พวกเขาเห็นด้วยและค่าเฉลี่ยคะแนนจะถูก
คำนวณแสดงให้เห็นทัศนคติของพวกเขา

วิธีการเปรียบเทียบคู่ของ Thurstone ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของวิธีการที่ใช้การกระจายแบบปกติ
สำหรับเมทริกซ์การสเกล-การครอบงำ แม้ว่าทฤษฎีเบื้องหลังวิธีนี้จะค่อนข้างซับซ้อน (Thurstone,
1927a) แต่อัลกอริทึมเองก็ตรงไปตรงมา สำหรับกรณี V พื้นฐาน เมทริกซ์การครอบงำความถี่จะถูก
แปลเป็นสัดส่วนและเชอ่ื มต่อกับคะแนนมาตรฐาน มาตราสว่ นจะได้รับเปน็ คา่ เฉลี่ยส่วนเพิ่มของคอลัมน์
ที่ปรับด้านซ้ายของเมทริกซ์คะแนนมาตรฐานนี้ (Thurstone, 1927b) เหตุผลพื้นฐานสำหรับวิธีการและ
พื้นฐานสำหรับการวัด "การแยกระดับทางจิตวิทยาระหว่างสิ่งเร้าสองสิ่ง" มาจากกฎของการตัดสิน
เปรียบเทียบของเธอรส์ โตน (Thurstone, 1928)

ปัญหาหลกั ของอัลกอริธึมน้ีคือความไม่แน่นอนเม่ือเทียบกับสดั สว่ นหนึ่งศนู ย์ ซึ่งคืนคา่ z เปน็ บวกหรือ
ลบอนนั ต์ตามลำดับ การไร้ความสามารถของอลั กอริธึมการเปรียบเทียบคูใ่ นการจัดการกรณีเหล่านที้ ำ
ให้เกิดขอ้ จำกัด อย่างมากในการบังคับใช้วธิ ีการ

การไล่เบี้ยที่บ่อยที่สุดเม่ือพบความถี่ 1.00-0.00 คือการละเว้น ดังนั้น เช่น Guilford (1954, p. 163) ได้
แนะนำวา่ อย่าใช้สัดสว่ นที่มากเกินไปกว่า .977 หรอื .023 และ Edwards (1957, หน้า 41–42) ได้แนะนำ
ว่า“ถ้าจำนวนผู้พิพากษามีมาก ให้พูดว่า 200 หรือมากกว่าน้ัน เราอาจใช้ค่า pij ที่ .99 และ .01 แต่มีผู้
พิพากษาน้อยกว่า 200 คน มันอาจจะดีกว่าที่จะละเลยการตัดสินแบบเปรียบเทียบทั้งหมดที่ pij
มากกว่า .98 หรอื น้อยกว่า .02"'ต้ังแต่ การละเว้นค่าสุดโต่งดังกล่าวจะทำให้เซลล์ว่างในเมทริกซ์ Z ไม่
สามารถใช้ข้ันตอนการหาคา่ เฉลี่ยสำหรบั การมาถึงค่ามาตราสว่ นได้ และมักใช้ขั้นตอนที่ซับซ้อนสำหรับ
การประมาณค่าพารามิเตอรท์ ี่ไมร่ ู้จัก (Edwards, 1957, pp. 42–46) ) วิธีแก้ปัญหาทางเลือกของปัญหา
นไี้ ด้รับการแนะนำโดย Krus และ Kennedy (1977)

ด้วยการพัฒนาในภายหลังในทฤษฎีไซโครเมทริก ทำให้สามารถใช้วิธีการปรับขนาดโดยตรง
เช่น การประยุกต์ใช้แบบจำลอง Raschหรือแบบจำลองแฉ เช่น Hyperbolic Cosine Model (HCM)
(Andrich & Luo, 1993) โมเดล Rasch มีความสัมพันธ์เชิงแนวคิดที่ใกล้ชิดกับกฎการตัดสินเปรียบเทียบ
ของ Thurstone (Andrich, 1978) ความแตกต่างที่สำคัญคือการรวมพารามิเตอร์บุคคลโดยตรง
นอกจากนี้ โมเดล Rasch ยังใช้รปู แบบของฟงั ก์ชนั ลอจิสตกิ ส์มากกวา่ ฟังก์ชนั ปกติสะสม

20

4. เทคนิคการวัดทัศนคติ ลเิ คิร์ท สเกล (Likert Scal)

ลิเคิร์ท สเกล (Likert Scal) เป็นวิธีการวัดทัศนคติที่อาศัยผลรวมของค่าคะแนนจากชุดข้อความ
ที่ใช้ศึกษาเป็นเคร่ืองจำแนกว่าบุคคลมีระดับทัศนคติเช่นไร เป็นวิธีที่สะดวก สร้างได้ง่าย เป็นที่นิยมใช้
กนั อย่างแพรห่ ลาย มีหลกั ในการสร้างดังนี้

(1) กำหนดข้อความเกี่ยวกับทัศนคติที่จะศึกษาขึ้นมาชุดหนึ่ง เช่น ถ้าต้องการใช้ข้อความในการ
วดั 10 รายการ อาจจะตองสร้างข้อความขึ้นมาอย่างน้อย 15 รายการ ข้อความในแต่ละรายการ ควรมี
ลักษณะในเชิงสนับสนุนหรือมองในด้านดี และมีข้อความที่มีลักษณะต่อต้านหรือมองในด้านลบ ควร
เลีย่ งข้อความที่ทีลกั ษณะเป็นกลาง

(2) จำแนกความเห็นในข้อความต่างๆ ออกเป็น 5 ระดับ ด้วยกัน คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง
(Strongly Agree) เห็นด้วย (Agree) ไม่แน่ใจ (Neutral) ไม่เห็นด้วย (Disagree) และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
(Strongly Disagree)

(3) กำหนดค่าคะแนนให้กับระดับความเห็นในข้อ 2 ค่าคะแนนที่กำหนดให้โดยท่ัวไปจะมี
ลกั ษณะ ดังน้ี

(4) นำข้อความที่สร้างขึ้นนั้นไปทำการทดสอบเพื่อตรวจดูความสมบูรณ์และความน่าเชื่อถือ
แล้วนำมาปรบั ปรงุ แก้ไขให้เหมาะสม เพือ่ นำไปใช้ในข้ันปฏิบตั ิตอ่ ไป

(5) คัดเลือกข้อความทีม่ ปี ระสิทธิภาพมาทำการวิเคราะห์
ข้อความทีใ่ ช้วัดทัศนคติเกีย่ วกบั ความเสมอภาคของชายและหญิง

21

ในผลลัพธ์ที่ได้ แบ่งได้ 2 ส่วนใหญ่ๆ โดยมีความหมายตามลำดับ ดงั นี้
ส่วนท่ี 1 เป็นส่วนที่แสดงค่าสถิติต่างๆ สำหรับวิเคราะห์ความสัมพันธ์ หรือความสอดคล้องภายใน
ระหว่างคะแนนของขอ้ ถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของทุกข้อความเมือ่ ข้อถามนั้นถกู ตดั ออกไปโดยมีค่า
ต่างๆ ดังน้ี

22

Mean คือ คา่ คะแนนเฉลีย่ รวมของทกุ ข้อถามทีเ่ หลือหลงั จากมีการตดั ขอ้ ถามในบรรทดั นี้ออกไป
Varlance คือ ค่าความแปรปรวนรวมของทกุ ข้อถามทีเ่ หลอื หลงั จากมีการตดั ข้อถามในบรรทัดนี้ออกไป
Corrected Item-Total Correlation คือ ค่าสัมประสิทธ์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวม ของทุกข้อถาม
กับข้อถาม
Alpha If Item Deleted คือ ค่าระดับความเชื่อม่ันของเคร่ืองมือที่เหลือหลังจากมีการตัดข้อถามใน
บรรทัดนี้ออกไป ค่านี้จะบอกให้ทราบว่าถ้าต้องการให้เคร่ืองมือมีค่าความเช่ือม่ันสูงขึ้นกว่าเดิมจะต้อง
ตดั ข้อถามใดออก จากตัวอย่างพบว่าข้อถามทีค่ วรตดั ออกเป็นอันดับแรกคือ ข้อถามข้อ Q05 เพราะจะ
ทำให้คา่ ระดับความเชือ่ ม่ันสูงที่สุดเมื่อเทียบกบั การตัดขอ้ ถามขอ้ อืน่ .6239

สว่ นท่ี 2 เป็นส่วนที่แสดงค่าระดับความเชื่อม่ันของเครอ่ื งมอื พร้อมกบั แสดงจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
และจำนวนข้อถามทีน่ ำมาวิเคราะห์ดังนี้

N of Cases แสดงจำนวนผตู้ อบแบบสอบถาม

N of Items แสดงจำนวนข้อถามที่นำมาวิเคราะห์

Alpha แสดงคา่ ความเชื่อมน่ั ของเครอ่ื งมอื

สรปุ ผล เครื่องมอื ที่ใชม้ ีความเช่อื มั่นเท่ากับ 0.6059 (จากคา่ Alpha) ถือว่าอย่ใู นระดับใช้ได้ แตถ่ ้า
ต้องการให้ความเชื่อมนั่ สูงข้ึนควรจะตัดข้อถาม Q05 ออกไปจะมีผลทำใหค้ า่ ความเชือ่ ม่นั เพิม่ สูงข้นึ เป็น
0.6239 (ดูจาก Alpha If item Deleted)

มาตรจำแนกความหมาย (Semantic Differentials)

มาตรจำแนกความหมาย พัฒนาขึน้ ในปี ค.ศ.1957 โดย Osgood, Suci และ Tennenbaum เพือ่
นำมาใช้วดั เจตคติหรอื ความเชอ่ื ที่มตี ่อสิ่งใดสิง่ หนึ่ง ต่อมา ได้มกี ารนำมาตรจำแนกความหมายมาใช้วัด
ความหมายของมโนทัศน์ทีต่ ้องการวดั วดั ความเชื่อเกีย่ วกบั โรคมะเร็ง และวดั เจตคติทีม่ ตี อ่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เชน่ เจตคติตอ่ วชิ าชีพ เป็นต้น

23

มาตรจำแนกความหมายประกอบด้วยคุณศัพท์ 2 คำที่มีความหมายตรงกันข้าม (Opposite Adjectives)
ช่วงระหว่างคำคุณศัพท์แบง่ เปน็ 7 ช่วง โดยคำคุณศัพท์ 2 คำทีม่ คี วามหมายตรงกนั ข้ามอยู่สว่ นต้นสุด
และปลายสดุ การให้คะแนนจะให้คะแนน 1-7 โดนเรียงจากคำตอบที่มคี วามหมายเชิงลบมากที่สดุ ไปยัง
คำตอบทีม่ คี วามหมายเชิงบวกที่สุด

24

5. แบบสอบถาม(Questionnaire)

แบบสอบถาม หมายถึง รูปแบบของคำถามเป็นชุดๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และ
เป็นระบบเพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่ง
ข้อเท็จจริงท้ังในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตแบบสอบถามประกอบด้วยรายการ
คำถามที่สร้างอย่างประณีต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริง โดยส่งให้กลุ่ม
ตัวอย่างตามความสมัครใจ การใช้แบบสอบถามเป็นเคร่ืองมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลน้ันการสร้าง
คำถามเป็นงานที่สำคัญสำหรบั ผู้วจิ ยั เพราะวา่ ผู้วิจัยอาจไมม่ ีโอกาสได้พบปะกบั ผตู้ อบแบบสอบถามเพื่อ
อธิบายความหมายตา่ ง ๆ ของขอ้ คำถามที่ตอ้ งการเกบ็ รวบรวม

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึง่ ทีน่ ยิ มใช้กันมาก เพราะการเก็บรวบรวมข้อมลู สะดวก
และสามารถใช้วัดได้อยา่ งกว้างขวาง การเก็บข้อมูลดว้ ยแบบสอบถามสามารถทำได้ด้วยการสัมภาษณ์
หรอื ให้ผู้ตอบด้วยตนเอง

โครงสร้างของแบบสอบถาม
โครงสรา้ งของแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังน้ี
1. หนังสือนำหรอื คำชีแ้ จง โดยมากมักจะอยสู่ ว่ นแรกของแบบสอบถาม อาจมีจดหมายนำอยู่

ด้านหน้าพร้อมคำขอบคุณ โดยคำชีแ้ จงมกั จะระบุถึงจุดประสงคท์ ี่ให้ตอบแบบสอบถาม การนำคำตอบ
ทีไ่ ด้ไปใช้ประโยชน์ คำอธิบายลกั ษณะของแบบสอบถาม วิธีการตอบแบบสอบถามพร้อมตวั อย่าง ชื่อ
และที่อยูข่ องผวู้ ิจยั ประเดน็ ทีส่ ำคญั คือการแสดงขอ้ ความที่ทำให้ผู้ตอบมีความมัน่ ใจว่า ข้อมูลทีจ่ ะตอบ
ไปจะไมถ่ กู เปิดเผยเปน็ รายบุคคล จะไม่มีผลกระทบต่อผตู้ อบ และมีการพิทกั ษ์สิทธิของผตู้ อบด้วย

2. คำถามเกี่ยวกบั ข้อมูลสว่ นตวั เช่น เพศ อายุ ระดับการศกึ ษา อาชีพ เปน็ ต้น การทีจ่ ะถาม
ข้อมลู สว่ นตัวอะไรบ้างน้ันข้ึนอยกู่ บั กรอบแนวความคิดในการวิจยั โดยดูว่าตวั แปรที่สนใจจะศกึ ษานั้นมี
อะไรบ้างทีเ่ กี่ยวกับข้อมลู สว่ นตวั และควรถามเฉพาะข้อมูลทีจ่ ำเปน็ ในการวิจัยเท่าน้ัน

3. คำถามเกี่ยวกับคุณลกั ษณะหรอื ตวั แปรที่จะวัด เปน็ ความคดิ เหน็ ของผู้ตอบในเรื่องของ
คณุ ลักษณะ หรือตัวแปรน้ัน
ขน้ั ตอนการสรา้ งแบบสอบถาม

การสรา้ งแบบสอบถามประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ ดงั น้ี
ขัน้ ท่ี 1 ศึกษาคุณลกั ษณะทจ่ี ะวดั
การศกึ ษาคณุ ลกั ษณะอาจดไู ด้จาก วัตถปุ ระสงค์ของการวจิ ยั กรอบแนวความคิดหรือ
สมมตฐิ านการวิจัย จากน้ันจงึ ศึกษาคณุ ลกั ษณะ หรอื ตัวแปรทีจ่ ะวัดใหเ้ ข้าใจอยา่ งละเอียดท้ังเชงิ ทฤษฎี
และนิยามเชิงปฏิบตั ิการ

25

ขนั้ ท่ี 2 กำหนดประเภทของขอ้ คำถาม
ข้อคำถามในแบบสอบถามอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. คำถามปลายเปิด (Open Ended Question) เป็นคำถามที่เปิดโอกาสใหผ้ ู้ตอบสามารถ
ตอบได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่านา่ จะได้คำตอบที่แนน่ อน สมบรู ณ์ ตรงกบั สภาพความเปน็ จรงิ ได้มากกว่า
คำตอบที่จำกัดวงใหต้ อบ คำถามปลายเปิดจะนิยมใชก้ ันมากในกรณีที่ผวู้ ิจัยไมส่ ามารถคาดเดาได้
ลว่ งหนา้ ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร หรอื ใช้คำถามปลายเปิดในกรณีที่ตอ้ งการได้คำตอบเพื่อนำมาเป็น
แนวทางในการสร้างคำถามปลายปิด แบบสอบถามแบบนีม้ ีขอ้ เสียคือ มกั จะถามได้ไม่มากนัก การ
รวบรวมความคดิ เหน็ และการแปลผลมกั จะมีความยุง่ ยาก

2. คำถามปลายปิด (Close Ended Question) เป็นคำถามที่ผวู้ ิจยั มีแนวคำตอบไว้ให้
ผตู้ อบเลือกตอบจากคำตอบที่กำหนดไว้เทา่ น้ัน คำตอบทีผ่ ู้วจิ ยั กำหนดไว้ลว่ งหนา้ มกั ได้มาจาก
การทดลองใช้คำถามในลกั ษณะที่เปน็ คำถามปลายเปิด หรอื การศกึ ษากรอบแนวความคิด สมมตฐิ าน
การวิจยั และนิยามเชิงปฏิบตั ิการ คำถามปลายเปิดมีวธิ ีการเขียนได้หลาย ๆ แบบ เช่น แบบให้
เลือกตอบอยา่ งใดอย่างหนึ่ง แบบให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว แบบผตู้ อบจัดลำดับ
ความสำคญั หรอื แบบให้เลือกคำตอบหายคำตอบ
ข้ันท่ี 3 การร่างแบบสอบถาม
เมื่อผู้วจิ ัยทราบถึงคุณลักษณะหรอื ประเด็นทีจ่ ะวดั และกำหนดประเภทของขอ้ คำถามทีจ่ ะมี
อยใู่ นแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว ผวู้ ิจยั จงึ ลงมอื เขียนข้อคำถามให้ครอบคลุมทกุ คุณลกั ษณะหรือ
ประเดน็ ที่จะวดั โดยเขียนตามโครงสร้างของแบบสอบถามทีไ่ ด้กล่าวไว้แลว้ และหลักการในการสร้าง
แบบสอบถาม ดงั น้ี
1. ต้องมีจดุ มงุ่ หมายทีแ่ นน่ อนว่าต้องการจะถามอะไรบ้าง โดยจดุ มงุ่ หมายน้ันจะต้อง
สอดคล้องกับวัตถปุ ระสงค์ของงานวิจยั ที่จะทำ
2. ต้องสร้างคำถามให้ตรงตามจดุ มุ่งหมายที่ตง้ั ไว้ เพือ่ ป้องกันการมขี ้อคำถามนอกประเดน็
และมีขอ้ คำถามจำนวนมาก
3. ต้องถามให้ครอบคลุมเรื่องทีจ่ ะวดั โดยมีจำนวนข้อคำถามทีพ่ อเหมาะ ไมม่ ากหรือน้อย
เกินไป แต่จะมากหรอื น้อยเท่าใดน้ันข้นึ อยกู่ บั พฤติกรรมทีจ่ ะวดั ซึง่ ตามปกติพฤติกรรมหรอื เรือ่ งที่จะวัด
เรือ่ งหนง่ึ ๆ นั้นควรมีข้อคำถาม 25-60 ขอ้
4. การเรียงลำดบั ข้อคำถาม ควรเรียงลำดับให้ต่อเนือ่ งสัมพันธ์กัน และแบ่งตามพฤติกรรม
ยอ่ ยๆ ไว้เพือ่ ให้ผู้ตอบเหน็ ชัดเจนและงา่ ยต่อการตอบ นอกจากนั้นตอ้ งเรียงคำถามง่ายๆ ไว้เปน็ ข้อแรกๆ
เพือ่ ชกั จงู ให้ผตู้ อบอยากตอบคำถามตอ่ ส่วนคำถามสำคัญๆ ไม่ควรเรียงไว้ตอนท้ายของแบบสอบถาม
เพราะความสนใจในการตอบของผู้ตอบอาจจะน้อยลง ทำให้ตอบอย่างไม่ต้ังใจ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการ
วิจัยมาก

26

5. ลกั ษณะของขอ้ ความทีด่ ี ข้อคำถามทีด่ ีของแบบสอบถามนน้ั ควรมลี ักษณะดังน้ี
1) ข้อคำถามไมค่ วรยาวจนเกินไป ควรใช้ขอ้ ความส้ัน กะทัดรัด ตรงกบั วตั ถุประสงค์

และสองคล้องกบั เรื่อง
2) ข้อความ หรอื ภาษาที่ใชใ้ นข้อความต้องชัดเจน เข้าใจง่าย
3) คา่ เฉลี่ยในการตอบแบบสอบถามไมค่ วรเกินหน่ึงช่วั โมง ข้อคำถามไมค่ วรมากเกินไป

จนทำให้ผู้ตอบเบื่อหน่ายหรือเหน่อื ยล้า
4) ไมถ่ ามเรอื่ งที่เป็นความลับเพราะจะทำให้ได้คำตอบที่ไมต่ รงกบั ข้อเท็จจริง
5) ไมค่ วรใชข้ ้อความทีม่ ีความหมายกำกวมหรอื ข้อความที่ทำให้ผู้ตอบแตล่ ะคนเข้าใจ

ความหมายของข้อความไม่เหมือนกัน
6) ไมถ่ ามในเรือ่ งที่รแู้ ล้ว หรอื ถามในสิง่ ทีว่ ัดได้ดว้ ยวิธีอื่น
7) ข้อคำถามตอ้ งเหมาะสมกบั กลุ่มตวั อยา่ ง คือ ต้องคำนึงถึงระดับการศกึ ษา ความ

สนใจ สภาพเศรษฐกิจ ฯลฯ
8) ข้อคำถามหน่งึ ๆ ควรถามเพียงประเด็นเดียว เพื่อให้ได้คำตอบที่ชดั เจนและตรงจุด

ซึ่งจะง่ายต่อการนำมาวิเคราะห์ข้อมลู
9) คำตอบหรอื ตวั เลือกในข้อคำถามควรมมี ากพอ หรอื ให้เหมาะสมกับข้อคำถามนั้น

แตถ่ ้าไม่สามารถระบุได้หมดกใ็ ห้ใชว้ ่า อืน่ ๆ โปรดระบุ ……………….
10) ควรหลีกเลีย่ งคำถามที่เกีย่ วกบั คา่ นยิ มทีจ่ ะทำให้ผตู้ อบไม่ตอบตามความเปน็ จริง
11) คำตอบที่ได้จากแบบสอบถาม ต้องสามารถนำมาแปลงออกมาในรปู ของปริมาณ

และใช้สถิตอิ ธิบายข้อเทจ็ จริงได้ เพราะปัจจบุ ันนนี้ ิยมใชค้ อมพิวเตอร์ในการวิเคราะหข์ อ้ มลู ดังน้ัน
แบบสอบถามควรคำนึงถึงวิธีการประมวลข้อมลู และวิเคราะหข์ ้อมลู ดว้ ยโปรแกรมคอมพิวเตอรด์ ้วย

ขน้ั ท่ี 4 การปรับปรุงแบบสอบถาม
หลงั จากที่สรา้ งแบบสอบถามเสรจ็ แล้ว ผวู้ ิจยั ควรนำแบบสอบถามนน้ั มาพิจารณาทบทวนอีก
ครั้งเพื่อหาข้อบกพร่องทีค่ วรปรับปรงุ แก้ไข และควรให้ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบแบบสอบถามนน้ั ด้วย
เพือ่ ที่จะได้นำข้อเสนอแนะและขอ้ วิพากษ์วิจารณ์ของผู้เชีย่ วชาญมาปรับปรุงแก้ไขใหด้ ียิง่ ขึน้

ขัน้ ท่ี 5 วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม
เป็นการนำแบบสอบถามทีไ่ ด้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กบั กลมุ่ ตวั อย่างเล็กๆ เพือ่ นำผล
มาตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม ซึง่ การวิเคราะห์หรอื ตรวจสอบคณุ ภาพของแบบสอบถามทำ
ได้หลายวิธี แตท่ ี่สำคัญมี 2 วิธี ได้แก่
1. ความตรง (Validity) หมายถึง เครือ่ งมอื ทีส่ ามารถวดั ได้ในสิ่งทีต่ อ้ งการวดั โดย
แบง่ ออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

27

1) ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) คือ การที่แบบสอบถามมคี วาม
ครอบคลมุ วตั ถุประสงค์หรือพฤติกรรมทีต่ อ้ งการวดั หรือไม่ คา่ สถิตทิ ีใ่ ชใ้ นการหาคุณภาพ คือ คา่ ความ
สอดคล้องระหว่างข้อคำถามกบั วัตถุประสงค์ หรือเน้ือหา(IOC: Index of item Objective Congruence)
หรอื ดชั นคี วามเหมาะสม โดยใหผ้ เู้ ชย่ี วชาญ ประเมินเน้ือหาของขอ้ ถามเป็นรายข้อ

2) ความตรงตามเกณฑ์ (Criterion-related Validity) หมายถึง ความสามารถของ
แบบวดั ที่สามารถวดั ได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง แบ่งออกได้เปน็ ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์และ
ความเที่ยงตรงตามสภาพ สถิตทิ ีใ่ ชว้ ดั ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ เช่น ค่าสมั ประสิทธิส์ หสมั พันธ์
(Correlation Coefficient) ทั้งของ Pearson และ Spearman และ คา่ t-test เป็นต้น

3) ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) หมายถึงความสามารถของ
แบบสอบถามทีส่ ามารถวัดได้ตรงตามโครงสร้างหรอื ทฤษฎี ซึง่ มกั จะมีในแบบวัดทางจิตวทิ ยาและแบบ
วัดสติปญั ญา สถิตทิ ีใ่ ชว้ ัดความเทีย่ งตรงตามโครงสร้างมหี ลายวิธี เชน่ การวิเคราะห์องคป์ ระกอบ
(Factor Analysis) การตรวจสอบในเชิงเหตุผล เปน็ ต้น

2. ความเท่ยี ง (Reliability) หมายถึง เครื่องมอื ที่มคี วามคงเส้นคงวา นั่นคือ เครื่องมอื ที่
สร้างข้นึ ใหผ้ ลการวดั ที่แน่นอนคงทีจ่ ะวดั กีค่ ร้ังผลจะได้เหมอื นเดิม สถิตทิ ี่ใชใ้ นการหาคา่ ความเที่ยงมี
หลายวิธีแต่นิยมใช้กันคือ คา่ สัมประสิทธิแ์ อลฟ่าของ คอนบาร์ช (Conbach’s Alpha Coefficient: α
coefficient) ซึง่ จะใช้สำหรบั ข้อมูลที่มกี ารแบง่ ระดับการวดั แบบประมาณค่า (Rating Scale)

ข้ันท่ี 6 ปรบั ปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์
ผวู้ ิจยั จะต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้จากผลการวิเคราะห์คณุ ภาพของแบบสอบถาม และ
ตรวจสอบความถูกต้องของถ้อยคำหรอื สำนวน เพื่อให้แบบสอบถามมคี วามสมบูรณแ์ ละมีคุณภาพ
ผตู้ อบอ่านเข้าใจได้ตรงประเดน็ ทีผ่ ู้วจิ ยั ต้องการ ซึง่ จะทำให้ผลงานวิจัยเป็นทีน่ ่าเชือ่ ถือยิ่งข้นึ

ขน้ั ท่ี 7 จดั พิมพ์แบบสอบถาม
จัดพิมพ์แบบสอบถามที่ได้ปรับปรงุ เรยี บร้อยแลว้ เพือ่ นำไปใช้จริงในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับ
กลุ่มเป้าหมาย โดยจำนวนที่จัดพิมพค์ วรไมน่ อ้ ยกว่าจำนวนเป้าหมายที่ตอ้ งการเก็บรวบรวมข้อมูล และ
ควรมีการพมิ พส์ ำรองไว้ในกรณีที่แบบสอบถามเสียหรือสูญหายหรือผู้ตอบไม่ตอบกลับ แนวทางในการ
จัดพิมพ์แบบสอบถามมดี ังน้ี

1. การพิมพแ์ บ่งหนา้ ให้สะดวกตอ่ การเปิดอ่านและตอบ
2. เว้นที่ว่างสำหรบั คำถามปลายเปิดไว้เพียงพอ
3. พิมพอ์ กั ษรขนาดใหญ่ชดั เจน
4. ใช้สแี ละลักษณะกระดาษที่เอ้ือตอ่ การอ่าน

28

หลกั การสร้างแบบสอบถาม

• สอดคล้องกบั วตั ถปุ ระสงค์การวิจยั
• ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผตู้ อบ
• ใช้ขอ้ ความที่สั้น กะทดั รดั ได้ใจความ
• แตล่ ะคำถามควรมนี ัย เพียงประเด็นเดียว
• หลีกเลีย่ งการใชป้ ระโยคปฏิเสธซ้อน
• ไม่ควรใชค้ ำย่อ
• หลีกเลีย่ งการใชค้ ำทีเ่ ปน็ นามธรรมมาก
• ไม่ช้ีนำการตอบใหเ้ ป็นไปแนวทางใดแนวทางหนึง่
• หลีกเลีย่ งคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ
• คำตอบทีม่ ใี ห้เลือกต้องชดั เจนและครอบคลุมคำตอบที่เปน็ ไปได้
• หลีกเลี่ยงคำที่สอื่ ความหมายหลายอย่าง
• ไมค่ วรเป็นแบบสอบถามที่มจี ำนวนมากเกินไป ไม่ควรใหผ้ ตู้ อบใช้เวลาในการตอบ

แบบสอบถามนานเกินไป
• ข้อคำถามควรถามประเดน็ ทีเ่ ฉพาะเจาะจงตามเป้าหมายของการวิจัย
• คำถามต้องน่าสนใจสามารถกระตุ้นใหเ้ กิดความอยากตอบ
เทคนิคการใช้แบบสอบถาม
วิธีใช้แบบสอบถามมี 2 วิธี คือการส่งทางไปรษณีย์ กับการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งไม่
วา่ กรณีใดต้องมีจดหมายระบุวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ตลอดจนความสำคัญของข้อมูล
แล ะผ ล ที่ ค าด ว่าจ ะได้ รับ เพื่ อ ให้ ผู้ ต อ บ ต ระห นั ก ถึ งค ว าม ส ำคั ญ แล ะส ล ะเว ล าใน ก ารต อ บ
แบบสอบถามการทำให้อัตราตอบแบบสอบถามสูงเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้วิจัย ข้อมูลจาก
แบบสอบถามจะเป็นตัวแทนของประชากรได้เม่ือมีจำนวนแบบสอบถามคืนมามากว่าร้อยละ
90 ของจำนวนแบบสอบถามทีส่ ่งไป แนวทางทีจ่ ะทำให้ได้รับแบบสอบถามกลับคืนในอัตราที่สูง
มีวธิ ีการดงั น้ี
1. มีการตดิ ตามแบบสอบถามเม่อื ให้เวลาผู้ตอบไประยะหน่ึง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตดิ ตามคือ
2 สัปดาห์ หลังครบกำหนดสง่ อาจจะติดตามมากกวา่ หน่งึ ครงั้
2. วิธีการตดิ ตามแบบสอบถาม อาจใชจ้ ดหมาย ไปรษณีย์ โทรศพั ท์ เปน็ ต้น

29

3. ในกรณีที่ขอ้ คำถามอาจจะถามในเรื่องของส่วนตัว ผวู้ ิจัยตอ้ งให้ความม่ันใจวา่ ข้อมลู ทีไ่ ด้จะเป็น
ความลบั
ข้อเด่นและขอ้ ด้อยของการเก็บข้อมูลโดยใชแ้ บบสอบถาม
การใชแ้ บบสอบถามในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู มีขอ้ เด่นและขอ้ ด้อยทีต่ อ้ งพิจารณาประกอบใน

การเลือกใช้แบบสอบถามในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ดงั นี้
ขอ้ เด่นของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมดี ังน้ี คือ
1. ถ้ากลุ่มตัวอยา่ งมขี นาดใหญ่ วิธีการเกบ็ ข้อมลู โดยใช้แบบสอบถาม จะเป็นวิธีการทีส่ ะดวก

และประหยดั กว่าวธิ ีอื่น
2. ผตู้ อบมีเวลาตอบมากกว่าวิธีการอ่นื
3. ไมจ่ ำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเกบ็ ข้อมลู มากเหมอื นกบั วิธีการสัมภาษณ์หรอื วิธีการสังเกต
4. ไมเ่ กิดความลำเอียงอนั เนือ่ งมาจากการสัมภาษณห์ รอื การสังเกต เพราะผตู้ อบเป็นผู้ตอบ

ข้อมูลเอง
5. สามารถสง่ แบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณียไ์ ด้
6. ประหยดั ค่าใช้จ่ายในการเกบ็ ข้อมลู

ขอ้ ดอ้ ยของการเกบ็ ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีดังน้ีคือ
1. ในกรณีทีส่ ่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ มักจะได้แบบสอบถามกลบั คืนมาน้อย และ
ต้องเสียเวลาในการติดตาม อาจทำให้ระยะเวลาการเก็บข้อมลู ล่าช้ากว่าทีก่ ำหนดไว้
2. การเกบ็ ข้อมูลโดยวิธีการใชแ้ บบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะกับกลุ่มประชากรเป้าหมายที่อ่าน
และเขียนหนงั สอื ได้เท่าน้ัน
3. จะได้ขอ้ มูลจำกดั เฉพาะที่จำเป็นจรงิ ๆ เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้
แบบสอบถามจะต้องมคี ำถามจำนวนน้อยข้อที่สดุ เทา่ ที่จะเปน็ ไปได้
4. การส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ หน่วยตัวอย่างอาจไมไ่ ด้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามเองก็
ได้ ทำให้คำตอบทีไ่ ด้มคี วามคลาดเคลือ่ นไมต่ รงกบั ความจริง
5. ถ้าผู้ตอบไม่เข้าใจคำถามหรอื เข้าใจคำถามผิด หรือไมต่ อบคำถามบางขอ้ หรือไมไ่ ตร่ตรอง
ให้รอบคอบก่อนที่จะตอบคำถาม กจ็ ะทำให้ข้อมลู มีความคลาดเคลื่อนได้ โดยที่ผู้วจิ ยั ไม่สามารถ
ย้อนกลับไปสอบถามหน่วยตวั อย่างนั้นได้อกี
6. ผทู้ ีต่ อบแบบสอบถามกลับคืนมาทางไปรษณีย์ อาจเป็นกลุ่มที่มลี กั ษณะแตกต่างจากกลุ่มผู้
ที่ไมต่ อบแบบสอบถามกลับคืนมา ดังนนั้ ข้อมูลทีน่ ำมาวิเคราะห์จะมีความลำเอียงอนั เนือ่ งมาจากกลุ่ม
ตัวอย่างได้

30

6.แบบสมั ภาษณ์

เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมขอ้ มูล จะต้องกำหนดว่าจะเกบ็ รวบรวมข้อมูลเหลา่ น้ันด้วย
เคร่ืองมือชนิดใด และใช้วิธีใดในการเก็บรวบรวมข้อมูล การที่จะใช้เคร่ืองมือหรือวิธีการใดน้ันจะต้อง
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับข้อมลู ทีจ่ ะรวบรวม และบุคคลที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึง่ เครื่องมือที่เป็นที่นิยมใช้กัน
แพรห่ ลาย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสงั เกตการณ์

แบบสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ (Interviews) อาจเป็นการสัมภาษณ์เดี่ยวหรือกลุ่มก็ได้ การสัมภาษณ์ เป็นการ
ยืนยันว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบมีความเกี่ยวข้องและได้รับกระทบในระดับใด
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลจะต้องกำหนดแนวทางการสัมภาษณ์ด้วย โดยทั่วไปการ
สมั ภาษณ์ถูกแบ่งออกเปน็ 2 ประเภท คือ

1. การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการหรือกึ่งทางการ (Formal or Semi-formal interview) ซึ่งใช้
แบบสัมภาษณแ์ บบมีโครงสรา้ ง (Structure interviews) ดำเนนิ การสัมภาษณ์

2. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal interview) ซึ่งคล้าย ๆ กับการพูด สนทนาอย่าง
ไม่มีพิธีรีตอง ไม่เคร่งครัดในข้ันตอนและลำดับของข้อความ การดำเนินการสัมภาษณ์มักมีเพียง แนว
ทางการสัมภาษณ์กว้าง ๆ ที่เป็นสาระสำคัญที่ต้องการ การให้ได้ข้อมูลการติดตามและประเมินผล
ยุทธศาสตร์โดยวิธีการเชงิ คุณภาพ ควรสัมภาษณแ์ บบไม่เปน็ ทางการ 2 วิธีคือ

(1) การสนทนาตามธรรมชาติ (Natural conversation) เป็นการสัมภาษณ์ในรูปแบบของการ
สนทนาระหว่างคณะกรรมการติดตามและประเมินผลกับผู้ให้ข้อมูล เป็นการขอข้อมูล เพิ่มเติมหรือขอ
คำอธิบายเหตุผลและผลของยุทธศาสตร์ที่ได้รับ การสัมภาษณ์แบบนี้นอกจากจะได้ข้อมูลแล้ว ยังเป็น
การพัฒนาสมั พันธภาพทีด่ สี ร้างความเชอ่ื ถือไว้วางใจในคณะกรรมการตดิ ตามและประเมินผลอกี ด้วย

(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นการสนทนาซักถามผู้ให้ข้อมูลหลัก
บางคน เนื่องจากบคุ คลนั้นมคี วามรคู้ วามเข้าใจในประเด็นมากกว่าคนอืน่ ๆ มีประสบการณ์มากกว่า

31

ตวั อย่าง
แบบสัมภาษณ์

เรื่องที่สมั ภาษณ์...........................................................................................................................
วนั ที่สมั ภาษณ์..............................................................................................................................
ชือ่ ผู้สัมภาษณ์............................................................................................................................. .
ชื่อผู้รบั การสัมภาษณ.์ ...................................................................................................................

หัวข้อในการสัมภาษณ์
1. ท่านเห็นว่ากิจกรรมในวิถีที.่ ..........ให้ความรู้และทักษะกบั ทา่ นอยา่ งไรบ้าง

...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................

2. ท่านสามารถนำหลกั การความร.ู้ และทักษะทีไ่ ด้ไปส่งเสริมสนับสนนุ กิจกรรมพฒั นา คณุ
ลกั ษณะ.สภุ าพบุรุษ.-.สุภาพสตรี.ตามแนวทางเบญจวิถี.กลมุ่ โรงเรียนกาญจนาภเิ ษกวิทยาลัย
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................

3. ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................

ลงชือ่ .........................................ผสู้ ัมภาษณ์
(...................................)

32

7. ความคลาดเคลื่อนและความเท่ยี งตรงในการวดั
1. ความคลาดเคลื่อน
ความคลาดเคลื่อน หมายถึง “ผลต่างระหว่างคา่ ที่วัดได้ และค่าทีแ่ ท้จริง” สาเหตุของความ
คลาดเคลื่อนเกิดได้จาก วธิ ีการวดั จากเครื่องวดั และสภาพแวดล้อมในการวัด ดังน้ันเราต้องศกึ ษา
วิธีการวดั ตามคู่มอื ของเครื่องวดั และตรวจวดั ให้ถกู ต้องและเข้าใจความละเอียดถูกต้องของเครื่องวดั ที่
เราใชง้ าน

เครื่องวดั ต่างๆมีการกำหนดสภาวะแวดล้อมในการใช้งาน เราตอ้ งระมัดระวงั การใชเ้ ครือ่ งมอื วดั ต้อง
เป็นไปตามที่เครื่องระบุ มิฉะนั้นค่าทีว่ ัดได้จะเกิดความคลาดเคลือ่ นข้ึนได้

ความหมายทีค่ วรรจู้ กั
Range = ชว่ งของปริมาณที่สามารถวดั ได้ดว้ ยเครื่องวดั
Span & Full Scale = ผลตา่ งระหว่างค่าสูงสดุ กับคา่ ตำ่ สดุ ของ Range
ความละเอียด (Resolution, Least Count) = บอกถึงค่าการวดั ทีเ่ ลก็ ทีส่ ดุ ที่เครื่องมือวัดจะแสดง

ผลได้ ตัวอยา่ งเชน่ หาก Rang เท่ากบั -50 0C ถึง 200 0C แล้ว Span จะเทา่ กับ 250 0C

ค่าความคลาดเคลื่อน แสดงได้หลายวิธีดงั ตอ่ นี้
1) แสดงเปน็ ตวั เลข ถ้าความแม่นของเครื่องมอื วัดอณุ หภมู ิเปน็ ± 20C ค่าความคลาดเคลื่อน

ของเครือ่ งมือวัดมีคา่ ± 20C สำหรบั การวดั ทกุ คร้ัง
2) แสดงเปน็ เปอรเ์ ซน็ ต์ของการอ่านเต็มสเกล (Full-scale) ถ้าความแมน่ ของเครือ่ งมอื วัดเป็น

± 5% FS ของการอ่านเต็มสเกล 5V คา่ ความคลาดเคลื่อนของเครือ่ งมอื วดั นี้มีคา่ ± 0.25 V สำหรบั
การวัดทุกคร้ัง

3) แสดงเปน็ เปอรเ์ ซ็นต์ของช่วงการวัด (Span) ถ้าความแม่นของเครือ่ งมอื วัดความดันเปน็ ±
3% ระหว่างชว่ งการวัด 20-50 psi ค่าความคลาดเคลื่อนของเครอื่ งมอื วัดนี้มีค่า ± 0.9 psi สำหรับการ
วดั ทกุ ครั้ง

4) แสดงเป็นเปอร์เซน็ ตข์ องคา่ ที่อา่ นได้ ถ้าความแม่นของเครื่องมอื วัดเป็น ± 5% การอา่ นค่าที่
วัดได้ 2 V จะมีค่าความคลาดเคลือ่ น ± 0.1 V
2.ความเทีย่ งตรง

33

ความแม่น (Accuracy) ความสามารถของอุปกรณท์ ีจ่ ะใหค้ ่าทีใ่ กล้เคียงกับคา่ ตามจริงได้เพียงใด
คา่ ความแมน่ ของอุปกรณส์ ามารถทราบได้เมอ่ื เรานำอุปกรณน์ ั้นไปสอบเทียบ (Calibrate) ผลตา่ ง
ระหว่างคา่ ที่อ่านได้และค่าจริงก็คือความคลาดเคลื่อน (Error) ถ้าเปรียบเทียบกบั การยิงปืน ความ
แม่นยำหมายถึง ความสามารถในการยิงปืนทีแ่ ม่นเข้าเป้าตรงกลาง

ความเทีย่ ง (Precision) ความสามารถของอุปกรณ์ที่จะอ่านค่าๆเดียว ภายใต้สภาพการทำงาน
เดียวกัน ซ้ำกันหลายๆครั้ง คา่ ความเที่ยง (Precision) จะไมม่ ีสว่ นเกี่ยวข้องกบั ค่าความแม่น (Accuracy)
ถ้าเปรียบเทียบกับการยิงปืน ความเทีย่ งคือ ความสามารถในการยิงปืนหลายครั้งโดยให้วิถีกระสนุ เกาะ
กลมุ่ กันการทดสอบคา่ ความเที่ยงนน้ั ถ้าเป็นการทดสอบในชว่ งสนั้ ๆจะเรียกค่าที่วดั ได้ว่า Repeatability
ถ้าเป็นการทดสอบในช่วงระยะเวลาทีน่ านจะเรียกค่าทีว่ ดั ได้ว่า Reproducibility

ความเที่ยงสงู ความแม่นต่ำ ความเทีย่ งต่ำ ความแม่นสูง ความเที่ยงสงู ความแม่นสูง
รปู ความเท่ยี งและความแม่นยำ

34

8. ประโยชนข์ องการทดสอบคณุ ภาพของเครือ่ งมือประเมินผล

1. เพื่อความเที่ยงตรงถูกต้องสอดคล้องของแบบประเมิน กับสิ่งที่ต้องการจะวดั ซึ่งเปน็ คุณลักษณะของ
แบบทดสอบทีถ่ ือว่าสำคัญที่สดุ
2. เพือ่ ให้เกิดความเช่อื ม่ัน เปน็ ความคงเส้นคงวาของคะแนน ในการวดั แต่ละครั้ง
3. เพื่อให้เกิดความชัดเจนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวัดผล มีความเห็นสอดคล้องกันในเร่ืองของ
คำถาม คา่ คะแนนหรอื อนั ดับที่วัดได้ ตลอดจนการแปลงค่าคะแนนเปน็ ผลประเมิน
4. เพือ่ ให้เครือ่ งมอื วัดผลมปี ระสิทธิภาพ ทำให้ได้ข้อมลู ที่ถกู ต้องเช่อื ถือได้

เครื่องมือวัดผลที่ดจี ะต้องเป็นเครื่องมอื ทีม่ คี ุณภาพจึงจะชว่ ยใหก้ ารวัดผลมีความ
ถกู ต้องเช่อื ถือได้ และผลการประเมินทีไ่ ด้ยอ่ มเชือ่ ถอื ได้ดว้ ย ดงั นนั้ เครื่องมอื ทีค่ รสู รา้ งข้นึ เอง
ก่อนจะนำไปใช้จริงจงึ ควรตรวจสอบคณุ ภาพเครื่องมอื ก่อนทกุ ครั้ง การตรวจสอบคุณภาพ
เครื่องมือเป็นการตรวจสอบคณุ สมบัติของเครือ่ งมอื ในเรอ่ื ง ความเทีย่ งตรง ความเชื่อมนั่
ความยาก อำนาจจำแนก และความเป็นปรนัย

ลกั ษณะเครื่องมือวัดผลทีด่ ี
เครือ่ งมือวดั ผลบางชนิดจำเปน็ ต้องตรวจสอบคณุ ภาพใหค้ รบท้ัง 5 ประการ แต่

เครื่องมือบางชนิดอาจตรวจสอบเพียงบางประการแลว้ แต่ละลักษณะของเครือ่ งมอื รายละเอียด
ของการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลมีดังนี้
1. ความเทีย่ งตรง

ความเที่ยงตรงหรอื ความตรง (Validity) เปน็ คุณสมบัติของเครื่องมอื ที่สามารถ
วดั ได้ตามวัตถปุ ระสงคท์ ีต่ ้องการวัด ความเที่ยงตรงของแบบทดสอบน้ันมีส่งิ ทีค่ วรพิจารณา ดังน้ี
(Gronlund, 1985 : 51 อา้ งถึงใน บญุ ธรรม กิจปรีดาบริสทุ ธิ์, 2535 : 148–150)

1.1 ความเที่ยงตรงเป็นเร่ืองที่อ้างถึงการตคี วามหมายของผลที่ได้จากเครือ่ งมอื ที่ใชใ้ นการทดสอบ
หรอื การประเมินผล มิใช่เปน็ ความเทีย่ งตรงของเครือ่ งมอื แตเ่ ป็นความเทีย่ งตรงของการตีความหมายที่
ได้จากผลของการทดสอบ

1.2 ความเทีย่ งตรงเปน็ เรอ่ื งของระดับ (Matter of Degree) มิใช่เปน็ ระดับการวัดของเครือ่ งมือ การ
บอกความเที่ยงตรงของแบบทดสอบควรเสนอในรปู ระดบั ที่เฉพาะเจาะจง เช่น มคี วามเที่ยงตรงสูง ปาน
กลาง หรอื ตำ่

35

1.3 ความเที่ยงตรงจะเป็นความเที่ยงตรงเฉพาะเรื่องทีต่ ้องการวดั เสมอ (Specific to Some Particular
Use) ไมม่ ีแบบทดสอบใดที่มคี วามเที่ยงตรงทุกวตั ถปุ ระสงค์ เช่น แบบทดสอบคณิตศาสตร์อาจมีความ
เที่ยงตรงสงู ในการวัดทกั ษะการคำนวณ แต่มีความเที่ยงตรงต่ำ ในการวดั เหตุผลเชิงตัวเลขและอาจมี
ความเที่ยงตรงปานกลางในการคาดคะเนผลการเรียนวิชาคณิตศาสตรใ์ นวิชาต่อไป

1.4 ความเที่ยงตรงเป็นมโนทศั น์เดีย่ ว (Unitary Concept) หมายความว่าความเทีย่ งตรงเปน็ คา่ ตัวเลข
ตวั เดียวทีไ่ ด้มาจากหลกั ฐานหลายแหลง่ หลกั พื้นฐานที่ใช้ยึดในการตคี วามหมายของความตรงก็คือ
เนือ้ หา เกณฑท์ ี่กำหนดและโครงการ
ประเภทของความเท่ยี งตรง
ความเทีย่ งตรงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญๆ่ ดังน้ี
1. ความเทีย่ งตรงเชิงเนือ้ หา (Content Validity) หมายถึง คณุ สมบัติของขอ้ คำถามที่สามารถวดั ได้ตรง
ตามเนือ้ หาและพฤติกรรมทีต่ ้องการวดั และเมือ่ รวบรวมข้อคำถามทกุ ข้อเป็นเครื่องมอื ทั้งฉบับจะต้อง
วัดได้ครอบคลุมเนือ้ หาและพฤติกรรมทั้งที่ตอ้ งการวัดด้วย
2. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) เป็นคณุ สมบัติของเครื่องมอื ทีส่ ามารถวัดได้ตรง
ตามทฤษฎีหรอื แนวคิดของโครงสรา้ งทีต่ ้องการจะวดั คำวา่ โครงสร้างมีความหมายในเชิงนามธรรม ที่
ใช้อธิบายตวั แปรที่ศึกษาและเขียนไว้ในรปู ข้อสันนษิ ฐานหรอื สมมตฐิ าน สามารถอธิบาย และค้นหา
ข้อเทจ็ จริงมาสนับสนนุ ได้ เชน่ ความเสียสละ อาจใหค้ วามหมายในเชิงโครงสร้างว่า หมายถึง การ
กระทำที่ไมเ่ อาเปรียบผู้อ่นื การเห็นอกเห็นใจผอู้ ื่น การช่วยเหลอื ผอู้ ื่น การเห็นแกป่ ระโยชน์สว่ นรวม
การอดทนเพื่อให้คนอน่ื มีความสุข ดังนน้ั หากสร้างเครื่องมอื วัดใหส้ มั พันธ์สอดคล้องกับสมรรถภาพ
ยอ่ ยๆ ตามทีก่ ำหนดไว้ในโครงสรา้ งได้จะถือว่าเครือ่ งมือแบบทดสอบนั้นมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง
3. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ทีเ่ กี่ยวข้อง (Criteria Relative Validity) เป็นคณุ สมบตั ิของเครือ่ งมือที่
สามารถวัดได้สอดคล้องกบั เกณฑ์ภายนอกบางอย่าง ความเทีย่ งตรงตามเกณฑ์ที่เกีย่ วข้องแบง่ เป็น 2
ประเภท คือ
3.1 ความเทีย่ งตรงเชิงสภาพ (Concurrent Validity) เป็นคณุ สมบตั ิของเครื่องมอื ที่สามารถวดั ได้ตรงกบั
สภาพที่เปน็ จริงที่เกิดขึน้ ในปัจจบุ นั เช่น แบบทดสอบวัดความเสียสละ ถ้านำไปสอบกับนักเรียนคนหน่งึ
ซึง่ เป็นทีร่ ู้กนั ทั่วไปวา่ นกั เรียนคนนีม้ ีความเสียสละมาก ผลการสอบปรากฏวา่ ได้คะแนนความเสียสละ
สูงมาก หมายความว่าเปน็ คนเสียสละซึ่งตรงกบั สภาพความเปน็ จรงิ ของนักเรียนคนน้ันจริงๆ แสดงว่า
แบบทดสอบวดั ความเสียสละฉบับนั้นมีความเที่ยงตรงเชงิ สภาพ

36

3.2 ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive Validity) เปน็ คณุ สมบตั ิของเครือ่ งมอื ทีส่ ามารถวดั ได้ตรง
กับสภาพที่เปน็ จริงทีเ่ ป็นจริงทีเ่ กิดข้ึนในอนาคต เชน่ แบบทดสอบความถนดั ทางการเรียน เมอ่ื นำไปใช้
สอบคัดเลือกเข้าศกึ ษาตอ่ ในสถาบนั แห่งหนึ่ง ปรากฏว่า นาย ก สอบคดั เลือกได้ และได้คะแนนความ
ถนดั สูงมาก เมอ่ื นาย ก เข้าไปเรียนในสถาบนั แหง่ นน้ั ปรากฏว่าเรียนผลการเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม
แสดงว่าแบบทดสอบความถนดั ทางการเรยี นฉบบั นั้น มีความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์

ความเทีย่ งตรงเชิงสภาพและความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ตา่ งก็เป็นคุณสมบตั ิของเครือ่ งมอื ที่
สามารถวดั ได้ตรงกบั สภาพทีเ่ ปน็ จริงเหมอื นกนั แต่แตกตา่ งกันตรงระยะเวลาที่ใชไ้ ปเป็นเกณฑ์ ถ้านำ
เครือ่ งมือไปวัดโดยเปรียบเทียบกับเกณฑใ์ นปจั จบุ นั เปน็ ความเทีย่ งตรงเชิงสภาพ ถ้านำไปเปรียบเทียบ
กับเกณฑ์ในอนาคตก็จะเปน็ ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์

2. ความเชื่อมนั่
ความเชือ่ มน่ั (Reliability) เป็นคณุ สมบตั ิของเครือ่ งมอื วัดทีแ่ สดงให้ทราบวา่ เคร่อื งมอื น้ันๆ
ให้ผลการวดั ทีค่ งทีไ่ ม่ว่าจะใช้วัดกี่คร้ัง
3. ความยาก
ความยาก (Difficulty) เปน็ คณุ สมบัติของข้อสอบทีบ่ อกให้ทราบวา่ ข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถกู
มากหรือน้อย ถ้ามีคนตอบถกู มากข้อสอบข้อนนั้ กง็ ่ายและถ้ามีคนตอบถกู น้อยข้อสอบข้อนน้ั กย็ าก ถ้ามี
คนตอบถกู บ้างตอบผดิ บ้างหรอื มีคนตอบถกู ปานกลางข้อสอบข้อนั้นกม็ ีความยากปานกลาง ขอ้ สอบที่ดี
มีความยากพอเหมาะควรมีคนตอบถูกไมต่ ่ำกว่า 20 คน และไมเ่ กิน 80 คน จากผู้สอบ 100 คน หรอื มี
ค่าตงั้ แต่ 0.2 ถึง 0.8 ค่าความยากหาได้ โดยการนำจำนวนคนที่ตอบถูกหารดว้ ยจำนวนคนที่ตอบ
ท้ังหมด
4. อำนาจจำแนก
อำนาจจำแนกมีความสัมพันธก์ ับความเที่ยงตรงเชิงสภาพในทางบวก กล่าวคือ ถ้าเครือ่ งมือมี
อำนาจจำแนกสูง เครื่องมือนั้นกม็ คี วามเที่ยงตรงเชิงสภาพสงู
5. ความเป็นปรนยั
ความเป็นปรนยั เป็นคณุ สมบตั ิที่จำเป็นต้องสำหรบั เครื่องมอื ทกุ ชนิด หากเครอ่ื งมอื ไม่มีความ
เปน็ ปรนยั แล้วจะทำให้ความเทีย่ งตรงและความเช่อื มั่นตำ่ ไปด้วยความเป็นปรนยั ของเครื่องมอื
ตรวจสอบได้โดยนำไปทดลองวัดกบั กลุ่มตัวอย่างทีม่ ลี ักษณะคล้ายคลึงกันกบั กลมุ่ ทีจ่ ะใช้เครือ่ งมอื วัด
จรงิ เพือ่ ตรวจสอบความชัดเจนของคำถามและอาจนำไปให้ผู้เชีย่ วชาญตรวจสอบอีกคร้ัง

37

9. การทดสอบความเชื่อถอื ไดข้ องเคร่อื งมือประเมิน

ความเชือ่ ถอื ได้

การวัดความเชอ่ื ถือได้เป็นการตรวจสอบเครื่องมอื วดั วา่ ใหผ้ ลการวัดสม่ำเสมอคงทีแ่ น่นอน
มาน้อยเพียงใดสำหรบั การวัดหลายคร้ังถ้าเครือ่ งมอื วดั ใหผ้ ลทีแ่ นน่ อนคงทีม่ ากไมว่ ่าจะวดั กีค่ รง้ั กต็ าม
แสดงว่าเครื่องมอื ทีใ่ ชว้ ัดน้ันมีความน่าเชอ่ื ถือสูงแตถ่ ้าวัดแล้วให้ผลทีไ่ ม่แน่นนอนแสดงวา่ มีความคงที่
น้อยแสดงว่าเครื่องมือน้ันมีความน่าเช่อื ถือต่ำ สำหรบั แบบสอบถาม หากมีการถามหลายๆ ครง้ั แล้ว
พบว่าผลที่ได้เป็นไปในแนวเดียวกนั หรอื สอดคล้องกัน แสดงวา่ เครอ่ื งมอื วัดนั้นมีความน่าเชอ่ื ถือ

1. การทดสอบความเช่อื ถือได้

ค่าความเช่อื ถือได้ของเครือ่ งมือวัดใดๆ หากได้คา่ ทีม่ ากแสดงว่าเครื่องมือวัดนั้นมีความ
เช่อื ถือสูง ซึง่ ค่าความเชอ่ื ม่ันจะมี่ค่าระหว่าง 0 ถึง 1 และถ้ามีค่าสูงทีส่ ดุ คือเทา่ กบั 1 แสดงว่าเครื่องมอื
น้ันมีความนา่ เชื่อถอื อยา่ งสมบรู ณ์ คือไม่มคี วามคลาดเคลื่อนในการวัดเลย วธิ ีการทดสอบความเชื่อถอื
ได้มอี ยูห่ ลายวิธี การจะเลือกใช้วธิ ีใดน้ันข้ึนอยกู่ ับเครื่องมือที่ใชว้ ดั และคุณลักษณะของสง่ิ ทีต่ ้องการ
ศกึ ษา

ตัวอย่างวิธีการทดสอบความเชื่อถือได้ เช่น

1.1 แบบวัดซ้ำ เป็นการทดสอบเครื่องมอื วดั กับกลมุ่ คนกลุม่ เดียวกนั ทั้ง 2 ครั้ง ใน
เวลาต่างกัน ลักษณะการคำนวณจะเปน็ การนำคะแนนทีไ่ ด้จากสองชุดมาหาค่าสัมประสิทธิส์ หสมั พันธ์
ถ้าค่าสัมประสิทธส์ หสัมพันธ์สงู แสดงว่าเครอ่ื งมอื นั้นมือความน่าเช่อื ถือสูง

1.2 แบบคูข่ นาน เป็นการใชเ้ ครื่องมอื วดั สองชดุ ทีม่ วี ัตถุประสงคใ์ นการวดั สิ่ง
เดียวกนั ทั้งสองชุดสามารถทดแทนกันได้ คือ ทั้งสองชุดมีค่าความแปรปรวนของคำถามและความคลาด
เคลือ่ นทีเ่ ท่ากัน

1.3 แบบสอดคล้องภายในชุดเดียวกัน เป็นการวดั เพียงครั้งเดียวซึง่ จะเปน็ การลด
ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากวิธีการทดสอบในข้อแรก ทีต่ ้องถามคำถามผตู้ อบ 2 ครั้ง ซึ่งอาจเกิดปัญหาทีไ่ ม่สาม
รถหาผู้ตอบคนเดิมได้หรอื ผู้ตอบไมใ่ หค้ วามร่วมมอื เปน็ ต้น

38

วิธีทดสอบมี 2 วธิ ีดงั นี้

1.3.1 แบบแบง่ ครึ่ง เปน็ การแบ่งเครื่องมือวัดเป็น 2 ส่วนในลกั ษณะคู่ขนาน
ที่มขี ้อคำถามคล้ายคลึงหรือเหมอื นกัน เชน่ ในแบบสอบถามทีม่ ี คำถาม 10 ขอ้ อาจแบง่ ข้อคู่กบั ข้อคี่
หรอื ห้าข้อแรกกบั หา้ ข้อหลังมวี ัตถุประสงคใ์ นการวดั คล้ายคลึงหรือเหมอื นกัน โดยแตล่ ะส่วนคือ
คะแนนแต่ละชดุ นำคะแนนทั้งสองชุดนี้หาค่าสัมประสิทธิ์

1.3.2 แบบ Cronbach's Alpha เปน็ คา่ ที่ใชว้ ดั ความสอดคล้องภายใน
คำตอบของเครื่องมอื วดั วธิ ีวัดนี้เปน็ ที่นยิ มใช้กันมาก เพราะไมต่ ้องทำซ้ำหรอื แบ่งคร่ึงและเหมาะกับข้อ
คำถามทีม่ ลี ักษณะให้คะแนนเป็นแบบจัดลำดบั หรอื แบบสอบถาม หรอื แบบวดั ทศั นคตหิ รอื
แบบทดสอบประเมินค่า

2. การเตรียมข้อมูลก่อนการทำการทดสอบความเชื่อถอื ได้

การให้คะแนนต่างๆ จะพบว่าลักษณะหรือระดบั ของขอ้ มลู ของคำตอบจะมีท้ังต่างและเหมือนกัน ซึ่ง
จะต้องใชว้ ิธีทดสอบความเชื่อถือที่แตกตา่ งกนั ด้วยดังน้ี

2.1 กรณีคะแนนทีใ่ ห้กับข้อคำถาม มหี น่วยเหมือนกนั ให้พิจารณาข้อคำถามบางขอ้
อาจจะต้องสลบั คะแนน เช่น ถ้าคำถามเกีย่ วกับระดบั ความพึงพอใจ มากที่สุด (5) มาก (4) ปลานกลาง
(3) นอ้ ย (2) นอ้ ยทีส่ ดุ (1) คำถามใดทีเ่ ป็นคำถามในแง่ดี ให้เรยี งคะแนนตามข้างตน้ แตถ่ ้าบางคำถาม
เปน็ ในแง่ลบใหส้ ลับการให้คะแนน คอื มากที่สดุ (1) มาก (2) ปลานกลาง (3) นอ้ ย (4) น้อยที่สุด (5) เป็น
ต้น

2.2 กรณีคะแนนทีใ่ ห้กบั ข้อคำถาม มีหนว่ ยไม่เหมอื นกนั จะต้องปรบั หนว่ ยใหเ้ ป็น
มาตรฐานเดียวกนั คอื Z-score กอ่ นการทดสอบความเชือ่ ถือได้

39

เอกสารอ้างอิง

เกียรตสิ ดุ า ศรีสขุ .(2552). ระเบียบวิธีวจิ ยั . เชยี งใหม่ : โรงพิมพ์ครองชา่ ง
จนิ ตนา ธนวิบลู ยช์ ัย. (2545). การพัฒนาเครอ่ื งมือสำหรบั การประเมินการศึกษา. หนว่ ยที่ 8-15

นนทบรุ ี; โรงพิมพม์ หาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสงั คมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ศนู ย์หนังสอื

ราชภัฏพระนคร.
เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวจิ ยั ทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรงุ เทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร.์
อทุ มุ พร จามรมาน (2544) แบบสอบถาม: การสร้างและการใช้. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ฟันนี่

พลับบิชชิง่ จำกัด.
Neil J.Salkind (2006). Exploring Research . 6th New jersey ; Pearson Prentice Hall.

ที่มาจากหนังสือ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพ์ ลงั งาน กระทรวงพลังงาน. (2555) บทที่2
ความคลาดเคลื่อนและความเที่ยงตรงในการวัด In คู่มือการวิเคราะหก์ ารอนรุ กั ษ์พลังงานสำหรับ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม (pp. 2-9 - 2-10)

40

ทม่ี า

http://www.plan.doae.go.th/myweb2/Eva.htm

http://www.kpsp.ac.th/doc/file/6.%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203%20%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B
8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B
7%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E
0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B
8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5.pdf
http://thepsadej.go.th/UserFiles/File/unit%205.pdf

https://ienergyguru.com/2015/09/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1
%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%84%E0
%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8
%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/

http://statisticapp.weebly.com/35883623363436173648359436393656362936063639
3629365236043657.html

http://elearning.psru.ac.th/courses/105/Chapter6.pdf