Smart Contract ข้อดี ข้อเสีย

           สำหรับเหรียญสาย Smart Contract แล้ว ต้องบอกเลยว่าเบื้องหลังมันมีเรื่องของเทคโนโลยีสนับสนุนอยู่ ที่นักพัฒนาทั่วโลกเขาแข่งขันกันอย่างดุเดือด บางคนก็ย้ายจากอีกค่ายไปอีกค่าย แต่ก็วนเวียนอยู่ในสนามรบของบล็อกเชน และถ้าหากคุณสนใจมันจริงๆ สิ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญและติดตามนอกจากดูความเคลื่อนไหวของราคาแล้ว คือ เทคโนโลยีไปถึงไหน มีคนยอมรับใช้งานมากแค่ไหน หนึ่งในทางลัดที่อยากแนะนำคือเข้าห้องเทเลแกรมของแต่ละโปรเจกที่คุณสนใจไปเลย คุณจะได้ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว อ้อ อีกอันคือทวิตเตอร์

ก่อนหน้านี้เราคุยกันไปในเรื่องของคริปโตฯ ซึ่งดำเนินการ (run) อยู่บนระบบบล็อกเชน (blockchain) ซึ่งบนบล็อกเชนมีอีกส่วนสำคัญที่ไม่ใช่แค่การสร้างเหรียญขึ้นมาลิสต์บนกระดาน exchange และโอนย้ายหรือเทรดกันไปมาเท่านั้น แต่มี ‘Smart Contract’ ด้วย

Smart Contract คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กซึ่งถูกเก็บไว้ในรูปของบล็อกเชน และถ้าแปลอย่างตรงไปตรงมาก็คือ ‘สัญญาอัจฉริยะ’ ซึ่งเป็นได้ทั้งสัญญาว่าจ้าง การซื้อขาย หรือสัญญาของเอกสาร แต่แตกต่างจากสัญญาทั่วไปตรงที่สัญญาแสนฉลาดที่ว่านี้สามารถบันทึกข้อมูล ข้อตกลงสัญญา และสามารถยืนยันตัวเองได้ มันดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขที่ถูกเขียนไว้ครบถ้วน และกระจายสำเนาไปถึงทุกคนในระบบให้ตรวจสอบกันเอง โดยไม่ต้องมี ‘ตัวกลาง’ หรือมีคนมานั่งตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ซึ่งข้อดีที่สุดของมัน คือ การที่ไม่มีใครโกงสัญญาดังกล่าวได้ เพราะหากต้องการแก้ไขสัญญาต้องตามแก้ไขทุกสำเนาที่ถูกกระจายไปก่อนหน้านั้น

 

 

การทำงานของ Smart Contract ที่น่าสนใจในโลกคริปโตฯ

การทำงานเบื้องต้น คือ เมื่อคุณเขียนโค้ดโดยบอกว่า ‘ถ้าเกิด…แล้วจะเกิด…’ แล้วนำโค้ดไปใส่บนบล็อกเชน Smart Contract ก็จะพร้อมทำงาน

ในโลกสินทรัพย์ดิจิทัล มีหลายบล็อกเชนที่สนับสนุนการทำงานของ Smart Contract—ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ ‘Ethereum’ ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานของสัญญาอัจฉริยะโดยเฉพาะ โดย วิตาลิก บูเจริน (Vitalik Buterin) ผู้พัฒนา Ethereum บอกว่า บล็อกเชนไม่ใช่แค่ใช้โอนเงินหากันไปมา มันสามารถประมวลผลโค้ด บันทึกการเปลี่ยนแปลงทุกข้อมูลลงในนั้นได้ จึงสร้าง Ethereum ขึ้นมาเป็นบล็อกเชนตัวแรกที่มาพร้อมกับสามารถในการประมวลผลโค้ด และได้นิยาม Smart Contract ว่าคือการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์หรือเงินตราเข้าไปในตัวโปรแกรม และโปรแกรมนี้จะทำงานด้วยตัวของมัน ในจุดหนึ่งมันจะทำการเช็กเงื่อนไขว่า สินทรัพย์นี้ควรจะถูกส่งต่อไปที่ใคร หรือควรจะถูกโอนคืนกลับไปให้เจ้าของ

บนการทำงานของ Ethereum ผู้ใช้งานสามารถเขียน Smart Contract เชื่อมต่อกับอะไรก็ได้ โดยสัญญาจะทำงานเมื่อใส่เหรียญ Ethereum (ETH) เข้าไปในตัวสัญญานั้นๆ โดยระบุกฎระเบียบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเอาไว้ด้วย ซึ่งทำให้มีหลายบริการเกิดขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum นั่นเอง อย่างเรื่องการเทรดหรือประมูล NFT ก็คือหนึ่งในนั้น

หรือทางด้านเกม ‘Cryptokitties’ ก็เป็นเกมที่สร้างบนบล็อกเชน และใช้สัญญาอัจฉริยะในการบันทึกกระบวนการแลกเปลี่ยน ผสมพันธุ์ รับเลี้ยงแมวในเกม

นอกจากนี้ยังมีบล็อกเชนอื่นๆ ที่รองรับ Smart Contract อย่าง ‘NXT’ แต่เป็นสัญญาแบบสำเร็จรูป เขียนเองเพิ่มเติมไม่ได้

 

ว่าแล้วก็เช็กลิสต์ความสามารถของสัญญาอัจฉริยะกันอีกที โดยมีดังนี้

– ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

– ข้อมูลที่บันทึกไว้จะอยู่ตลอดไป หากมีการเปลี่ยนแปลงสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

– ทุกคนสามารถเข้าถึงและดูโค้ดได้ว่าเขียนอะไรไว้บ้าง

– สัญญาอัจฉริยะทำงานและยืนยันตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อัตโนมัติ

 

 

Smart Contract ปรับใช้กับอะไรได้บ้าง?

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นแล้วกัน ยกตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของ Smart Contract นั่นก็คือ ‘ตู้กดของอัตโนมัติ’ (vending machine) เมื่อคุณใส่เงินเข้าไปตามจำนวนที่กำหนด ตู้ก็จะออกสินค้าที่เราเลือกให้โดยอัตโนมัติ ทอนเงินอัตโนมัติ แต่ถ้าเงินใส่ไปไม่พอ มันก็จะแจ้งให้เราใส่เงินเพิ่ม จนกระทั่งสินค้าไหลลงมาจากเครื่องเมื่อ ‘เงื่อนไข’ —ซึ่งก็คือคำสั่งและจำนวนเงิน—ใส่ลงไปครบ

หรือในชีวิตประจำวัน หากนาย B ซื้อรถจากนาย A ปกติเมื่อนาย B โอนเงินให้แล้ว นาย A จะต้องทำการตรวจสอบยอดโอนว่าเข้าจริงหรือไม่ ยอดครบไหม แต่หากมี Smart Contract เมื่อนาย B โอนเงินครบตามเงื่อนไข สัญญาจะดำเนินการอัตโนมัติ และโอนสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถยนต์ให้นาย B ทันที

Siam Blockchain เคยยกตัวอย่างอื่นๆ ไว้อย่างน่าสนใจด้วยถึงความสามารถของ Smart Contract เช่น การที่มันสามารถปรับใช้กับการทำงานโครงสร้างใหญ่ของสังคมอย่าง ‘การทำใบขับขี่’ ได้ด้วย คือ เมื่อต้องการต่อใบขับขี่ กรมขนส่งจะส่งข้อสอบมาให้ทำในออนไลน์ หลังจากทำเสร็จ สัญญาอัจฉริยะจะรับหน้าที่เช็กว่าผลสอบผ่านเกณฑ์หรือไม่ ถ้าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลการสอบครั้งนี้ก็จะบันทึกไว้ จากนั้นผู้สอบก็โอนคริปโตฯ เป็นค่าเอกสาร เมื่อ Smart Contract ตรวจสอบว่า สอบผ่าน จ่ายเงินครบ ถือว่าบรรลุเงื่อนไขสัญญาที่ตั้งไว้ ก็จะทำการส่งใบขับขี่ให้ ซึ่งใบขับขี่ก็จะมาในรูปแบบดิจิทัลและถูกบันทึกไว้บนบล็อกเชนเช่นกัน

พัฒนาการของ Blockchain นั้น (จากรูปภาพที่ 2) เริ่มจากยุคแรก คือ Blockchain 1.0 เมื่อปี ค.ศ. 2008 โดยได้รับการพัฒนาเป็นครั้งแรกในภาคการเงิน เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เช่น Bitcoin ซึ่งสามารถใช้แทนสกุลเงินจริงได้


Smart Contract ข้อดี ข้อเสีย

ภาพที่ 2 : พัฒนาการของ Blockchain
ที่มารูปภาพ : https://coinsutra.com/3rd-generation-blockchain/

ต่อมา การพัฒนา Blockchain ในระยะต่อมา Blockchain 2.0 คือเมื่อปี ค.ศ. 2014 โดยได้กำเนิดสกุลเงินดิจิทัล (Cyptocurrency) ที่ชื่อว่า Ethereum ขึ้น ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain (พัฒนาขึ้นโดย Vitalik Buterin) โดยในยุคนี้เป็นยุคที่ Blockchain พัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมหรือที่เรียกกันว่า Smart Contract บน Blockchain ที่ไม่มีตัวกลางควบคุมและไม่ต้องกลัวใครไม่ทำตามเงื่อนไข

ต่อมาการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ในระยะถัดมา Blockchain 3.0 ในปี ค.ศ. 2017 ซึ่งเป็น ยุคของ Dapp หรือ Decentralized application โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับ Smart Contract เพื่อสร้างกระบวนการแบบกระจายศูนย์ที่เป็นอิสระ ที่ต้องมีการกำหนดกฎการทำธุรกรรมของกลุ่มกันเองและดำเนินการด้วยความเป็นอิสระ ในรูปแบบธุรกรรมอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยผู้ประกอบการสามารถนำ Smart Contract มาสร้างแอปพลิเคชันที่แก้ปัญหาในชีวิตจริงและ disrupt โมเดลธุรกิจเดิม ๆ

Smart Contract คืออะไร

จากที่กล่าวความเป็นมาของ Blockchain ข้างต้นแล้ว คำว่า “Smart Contract” ถือกำเนิดมาในยุคของ Blockchain 2.0 โดยอาจจะเกิดคำถามที่ว่า Smart Contract คืออะไร

Smart Contract หมายถึง กระบวนการทางดิจิทัล ที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง อย่างเช่น ธนาคาร ซึ่งการสร้าง Smart Contract ที่เป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการตกลงกันก่อนหน้านี้ ถึงขั้นตอน กลไก ในการทำรายการธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งการพัฒนานี้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมของธนาคาร

Smart Contract เกิดมาจาก Nick Szabo ที่เป็นผู้เสนอไอเดียว่า Blockchain สามารถใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง หรือใช้พนักงานในการมานั่งตรวจสอบเอกสาร โดยทุกอย่างให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ และการ Hack ข้อมูลทำได้ยาก

Smart Contract ข้อดี ข้อเสีย

ภาพที่ 3 : กระบวนการซื้อขายรถยนต์โดยการทำสัญญาทั่วไป

ที่มารูปภาพ : https://blockchainhub.net/blog/infographics/smart-contracts-explained/

ตัวอย่าง Smart Contract

ในที่นี่จะขอยกตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์ โดยการทำสัญญาทั่วไปจะเป็นการทำสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย จากตัวอย่าง (ในรูปภาพที่ 3) หากอลิซต้องการซื้อรถยนต์จากบ๊อบ ซึ่งต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้จะต้องยืนยันและรับรองความถูกต้องของข้อตกลงซึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน แต่โดยปกติแล้วบุคคลที่สามต้องเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานด้านทะเบียนยานยนต์ร่วมกับทนายความและ / หรือ บริษัท ประกันภัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและใช้เวลานานและต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนมากสำหรับคนกลางเหล่านี้


Smart Contract ข้อดี ข้อเสีย

ภาพที่ 4 : กระบวนการซื้อขายรถยนต์ด้วย Smart Contract
ที่มารูปภาพ : https://blockchainhub.net/blog/infographics/smart-contracts-explained/

Smart Contract ข้อดี ข้อเสีย

ภาพที่ 5 : กระบวนการตรวจสอบความเป็นเจ้าของรถยนต์
ที่มารูปภาพ : : https://blockchainhub.net/blog/infographics/smart-contracts-explained/

กรณีที่เป็น Smart Contract เมื่อทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาอยู่ในเครือข่าย Blockchain แล้ว (ดังรูปภาพที่ 5 และ 6) ถ้าอลิสต้องการซื้อรถจากบ๊อบ โดยใช้ Smart Contract บน Blockchain ธุรกรรมจะได้รับการตรวจสอบโดยแต่ละ Node ในเครือข่าย Blockchain เพื่อดูว่าบ๊อบเป็นเจ้าของรถหรือไม่และถ้าอลิสมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายเงินให้กับบ๊อบ

ภาพที่ 6 : ตัวอย่างของการนำ Smart Contract ไปใช้ ในแบบธุรกรรมทั่วไป ไปถึงธุรกรรมที่มีความซับซ้อน
ที่มารูปภาพ : https://blockchainhub.net/smart-contracts

ข้อแนะนำเกี่ยวกับ Smart Contract

ในบางธุรกิจของบางประเทศที่อาจนำ Smart Contract ไปใช้งานบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ซึ่งต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดและพิจารณาความเหมาะสมของการนำไปใช้โดยอาจจะเริ่มทำเป็นโครงการนำร่องทดลองเพื่อเป็นต้นแบบการใช้งานเพื่อรองรับกรณีที่อาจจะเกิดปัญหาจะสามารถนำข้อมูล เป็นพยานหลักฐานอย่างไร จะต้องมีกระบวนการอย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ สำหรับในฝั่งของภาครัฐเองอาจจะต้องมีการพิจารณาในกระบวนการ Smart Contract ต้องมีการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวด้วยหรือไม่ หากประเทศไทยมีการนำกระบวนการ Smart Contract มาใช้กับธุรกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดผลกระทบจากการใช้งานดังกล่าว