ตัวอย่างบทความวิจัย 15 หน้า

ส่วนประกอบของบทความวิจัยตามข้อกำหนด รายวิชา 450 112 การศึกษาเอกเทศ

  1. บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐาน วิธีการวิจัย และผลการวิจัยโดยสรุป
  2. บทนำ (Introduction)
    • การบรรยายให้เห็นพัฒนาการของผลการวิจัยก่อนหน้านี้ ความเป็นมา ความสำคัญ และนำเข้าสู่คำถามการวิจัย
    • วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    • สมมติฐานของการวิจัย
    • วิธีการวิจัย เสนอสาระของวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง การนิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการวิจัยที่ใช้
    • การทบทวนวรรณกรรม รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในส่วนทฤษฎี และงานวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องและนำมาสู่การวิจัยครั้งนี้
  3. ผลการวิจัย/ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Results) เสนอเนื้อหาบรรยายแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตารางหรือรูปนั้นจะต้องมีรายละเอียด คำอธิบาย เพื่อบรรยายข้อมูลดังกล่าว มิใช่เสนอเฉพาะตารางและรูปโดยไม่มีการบรรยาย
  4. สรุปและอภิปรายผล (Discussion / Conclusion) เสนอข้อค้นพบโดยสรุป อธิบายข้อค้นพบที่ขัดแย้ง หรือสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยมีเหตุผลประกอบ อภิปรายข้อบกพร่อง ข้อจำกัด ข้อดีของการวิจัยซึ่งนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหรือวิจัยต่อไป
  5. การอ้างอิงและภาคผนวก (References / Appendix) ประกอบด้วยบรรณานุกรม เชิงอรรถ บันทึกหรือหมายเหตุของผู้วิจัย ส่วนภาคผนวกเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการเสนอสาระให้ผู้อ่านได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เสนอในบทความ

หมายเหตุ :

  1. ในการเขียนบทนำ ผู้เขียนอาจจะแยกเสนอทีละประเด็นอย่างชัดเจนเป็นหัวข้อ ๆ ไป คือ ความเป็นมา ความสำคัญ และคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย วิธีการศึกษา และการทบทวนวรรณกรรม/เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2. การเสนอผลการวิจัย ควรแบ่งเป็นประเด็นและนำเสนอทีละหัวข้อตามวัตถุประสงค์การวิจัย
  3. ความยาวของบทความ จำนวนตั้งแต่ 10-15 หน้า ขึ้นไป
  4. ใช้อักษร Th Sarabun New ขนาด 16
  5. ใช้การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ระบบ นาม-ปี

ดาวน์โหลด แบบฟอร์มบทความวิจัย

ตัวอย่างบทความวิจัย 15 หน้า

เทคนิคการเขียนบทความด้วย article map เป็นเคล็ดลับในการการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาระดับชาติ และนานาชาติ ถ้าจัดทำได้ตาม article map นี้ สามารถบอกได้เลยว่างานแล้วเร็จไปแล้ว 60 %

เทคนิคก่อนการเขียน

1. อ่านเทคนิคการเขียน ลีลาการเขียนจากคนอื่นที่เขียนงานดี ๆ และประยุกต์กับงานเขียนของตนเอง

2. ศึกษาคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับของวารสารที่จะตีพิมพ์ และเขียนตามคำแนะนำการเขียนอย่างเคร่งครัด

เพื่อไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขในภายหลัง

3. วางกรอบเวลาที่คาดหวังว่าจะแล้วเสร็จ และดำเนินการตามนั้น

4. ถ้ามีการเขียนหลายคนและแบ่งกันเขียน สุดท้ายต้องมีคนปรับ style การเขียนให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

5. ภาษาที่ใช้ในการเขียนต้องเป็นภาษาวิชาการ ชัดเจน ไม่กำกวม กระชับ คงเส้นคงวา ผู้อ่านไม่สับสน

6. ลำดับเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน มีการอ้างอิงอย่างมีน้ำหนัก มีเหตุผลสมเหตุสมผล

บทคัดย่อ

สาระสมบูรณ์ สอดคล้องกับเนื้อหา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษตรงกัน

เทคนิคก่อนการเขียน

1. อ่านเทคนิคการเขียน ลีลาการเขียนจากคนอื่นที่เขียนงานดี ๆ และประยุกต์กับงานเขียนของตนเอง

2. ศึกษาคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับของวารสารที่จะตีพิมพ์ และเขียนตามคำแนะนำการเขียนอย่างเคร่งครัด

เพื่อไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขในภายหลัง

3. วางกรอบเวลาที่คาดหวังว่าจะแล้วเสร็จ และดำเนินการตามนั้น

4. ถ้ามีการเขียนหลายคนและแบ่งกันเขียน สุดท้ายต้องมีคนปรับ style การเขียนให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

5. ภาษาที่ใช้ในการเขียนต้องเป็นภาษาวิชาการ ชัดเจน ไม่กำกวม กระชับ คงเส้นคงวา ผู้อ่านไม่สับสน

6. ลำดับเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน มีการอ้างอิงอย่างมีน้ำหนัก มีเหตุผลสมเหตุสมผล

บทคัดย่อ

สาระสมบูรณ์ สอดคล้องกับเนื้อหา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษตรงกัน

ยกตัวอย่างการเขียนบทความวิจัยที่ให้พื้นที่ทั้งหมด 15 หน้า จะแบ่งพื้นที่ในการตีพิมพ์จาก 15 หน้าคิดเป็นร้อยละ 100 ดังนี้

1. บทนำ เขียนในพื้นที่ร้อยละ 10 ประมาณ 1.5 หน้า แบ่งเป็นย่อ 4-5 ย่อหน้า เขียนตามลำดับของคำสำคัญ (keywords)

- ย่อหน้าแรก คำสำคัญที่สุด เป็นประโยชน์ของเรื่องอยู่ย่อหน้าแรก

- ย่อหน้า 2 คำสำคัญลำดับที่ 2

- ย่อหน้า 3 คำสำคัญลำดับที่ 3 เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นหลักฐานที่นำไปสู่การวิจัยครั้งนี้

- ย่อหน้า 4 คำสำคัญลำดับที่ 4 จะนำเสนอนัยที่จะเป็นข้อค้นพบ ที่เสนอว่าวิจัยนี้ต้องการพิสูจน์มีข้อโต้แย้ง

หรือมีความต่างมาก ๆ กับงานวิจัยเก่าๆ ที่มีมาก่อน และเป็นการนำเสนอว่างานวิจัยนั้นมี theoretical background

อย่างไร มีอะไรที่ยังไม่พบ หรือพบแล้วยังต้องการความชัดเจน

2.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เขียนในพื้นที่ร้อยละ 10 ประมาณ 1.5 หน้า

- ระบุแนวคิด/ทฤษฎี ทั้งนี้ปัจจุบันเน้นการพิสูจน์แนวคิด

- ควรเป็นผลงานวิจัยที่ผ่านการตีพิมพ์แล้วเท่านั้น

- เขียนความก้าวหน้าของความรู้ที่มีอยู่และสะท้อนให้เห็นช่องว่างขององค์ความรู้

3.การดำเนินการวิจัย เขียนในพื้นที่ร้อยละ 15 ประมาณ 2 หน้าโดยระบุสิ่งต่อไปนี้

- ระบุระเบียบวิธีวิจัย

- พื้นที่ที่ศึกษา ประชากร สังคมวัฒนธรรมเพื่อให้ผู้อ่านเห็นบริบทที่นำไปสู่การได้ผลการวิเคราะห์ หรือข้อค้นพบ

จากการวิจัย

- กลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์การเลือกกลุ่มตัวอย่างเกณฑ์การคัดออกกลุ่มตัวอย่าง ระบุเหตุผลการคัดเข้า และการคัดออก

เพราะเน้นความเป็นตัวแทน

- วิธีการสุมกลุ่มตัวอย่าง

- การพิทักษ์สิทธิของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย

- วิธีการได้มาของข้อมูล

- แบบสอบถามที่แสดงเนื้อหาสาระ ประเด็นที่ใช้เก็บข้อมูล

-วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ software version ใด เพื่อบ่งบอกความแม่นยำของการวิเคราะห์

4. ผลการวิจัย เขียนในพื้นที่ร้อยละ 25 ประมาณ 4 หน้า

- ย่อหน้าแรกข้อค้นพบหรือผลการวิเคราะห์ประเด็นที่ 1 ที่เป็นคำสำคัญคำแรก และประเด็นย่อยที่พบ

- ข้อค้นพบหรือผลการวิเคราะห์ประเด็นที่

2 ที่เป็นคำสำคัญคำที่2 และประเด็นย่อยที่พบ

- ข้อค้นพบที่บูรณาการประเด็นที่ 1 และ2 หรือเป็น model หรือรูปภาพโดยนำเสนอที่จำแนกเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ

และเชิงคุณภาพ ดังนี้

วิจัยเชิงปริมาณ

- ตาราง 1 ภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง

- ตาราง 2 ผลการวิเคราะห์ 1

- ตาราง 3 ผลการวิเคราะห์ 2

- ตาราง 4 ผลการวิเคราะห์ 3 ที่ควรนำเสนอเป็นกราฟ กราฟที่ 1 กราฟที่ 2

โดยเขียนผลการวิเคราะห์ที่ตกผลึกแล้วเรียบเรียงให้เป็นภาษาแบบแปลผล ไม่ใช่อ่านแบบตรงไปตรงมา ควรเขียน

ในรูปแบบอธิบายแบบแผนของข้อค้นพบแนวโน้ม

วิจัยเชิงคุณภาพ

“theme ที่ 1” เขียนไปพร้อม ๆ กับการอภิปราย

“theme ที่ 2” เขียนไปพร้อม ๆ กับการอภิปราย

“theme ที่ 3” เขียนไปพร้อม ๆ กับการอภิปราย

“theme ที่ 4” เขียนไปพร้อม ๆ กับการอภิปราย

มีแผนภูมิ แผนภาพ หรือ diagram ที่ตกผลึก

5. อภิปรายผล เขียนในพื้นที่ร้อยละ 25 ประมาณ 4 หน้า ดังนี้

- ย่อหน้าที่ 1 เขียนประเด็นข้อค้นพบที่โดดเด่นที่เป็นคำสำคัญหลักที่ 1 และหัวข้อย่อยที่สนับสนุนข้อค้นพบ

ประเด็นหลัก

- ย่อหน้าที่ 2 เขียนประเด็นข้อค้นพบที่โดดเด่นที่เป็นคำสำคัญหลักที่ 2 และหัวข้อย่อยที่สนับสนุนข้อค้นพบ

ประเด็นหลัก

- ย่อหน้าที่ 3 เขียนประเด็นข้อค้นพบที่โดดเด่นที่เป็นคำสำคัญหลักที่ 3 และหัวข้อย่อยที่สนับสนุนข้อค้นพบ

ประเด็นหลัก

หลักการเขียนเป็นการเปรียบเทียบผลการวิจัยที่พบกับงานวิจัยของคนอื่น ๆ ที่ทำมาก่อน

- เขียนให้โดดเด่น แตกต่างจากงานของคนอื่น เช่น ผลการวิจัยนี้ได้ข้อค้นพบที่แตกต่างจาก..อย่างไรก็ตามงานวิจัย

นี้ยังแสดงให้เห็นว่า..ซึ่งแตกต่างจากการวิจัยของ..(ไม่ควรตำหนิงานวิจัยของคนอื่น) ไม่ควรชักแม่น้ำทั้ง 5

- ควรเปรียบเทียบกับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงเปรียบเทียบกับบทความวิจัยใหม่ ๆ เนื่องจากบทความวิจัยผ่าน

peer review

- ข้อจำกัดการวิจัยไม่จำเป็นไม่ต้องเขียน แต่ถ้ามีต้องเป็นผลมาจากระหว่างการดำเนินการรวบรวมข้อมูลและเป็น

ประเด็นที่อยู่นอกเหนือความสามารถของนักวิจัยที่จะรวบรวมข้อมูลได้

6. สรุปและข้อเสนอแนะ เขียนในพื้นที่ร้อยละ 7.5 เขียนประมาณ 1 หน้า แบ่งเป็น 3 ย่อหน้า ดังนี้

-ย่อหน้าแรกสรุปประเด็นที่โดดเด่น 1 (ตรงกับคำสำคัญคำแรก)

-ย่อหน้าสองสรุปประเด็นโดดเด่น 2 (ตรงกับคำสำคัญคำที่2)

-จากข้อค้นพบ 2 สามารถนำไปสู่การกำหนดนโยบายอย่างไรเทคนิคการเขียนบทความวิจัย.pdf

7. เอกสารอ้างอิง เขียนในพื้นที่ร้อยละ 7.5 ประมาณ 1 หน้า โดยเขียนตามที่วารสารที่ต้องการตีพิมพ์กำหนด

อ่านได้ใน file นี้ค่ะ

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/869/488/original_27_article_map.pdf?1358345502

และใช้ template บทความวิจัย ตาม file ที่แนบเป็นแนวทาง

template บทความวิจัย.doc

ผู้ร่วมสรุปความรู้ ดร.บุญสืบ โสโสม ดร.ทองปาน บุญกุศล ดร.อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ และ ดร.ตรีชฏา ปุ่นสำเริง