หัวใจสำคัญของ Digital Literacy มีกี่ข้อและประกอบด้วยอะไรบ้าง

หัวใจสำคัญของ Digital Literacy มีกี่ข้อและประกอบด้วยอะไรบ้าง

Digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

ทักษะความเข้าใจ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในองค์กร

องค์กรส่วนใหญ่ในตอนนี้มักมีการเปลี่ยนผ่านการทำงานแบบเดิมเข้าสู่การทำงานที่ใช้ Digital literacy เข้ามาช่วยเพิ่มมากขึ้น เราจะเห็นได้จากหลายองค์กรที่มีแผนก Digital Transformation เพื่อช่วยให้องค์กรและพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีได้ ซึ่งทักษะความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในแต่ละแผนกหรือแต่ละบุคคลมักมีความแตกต่าง แต่ก็มีประเด็นที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ สื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงาน และอาจต้องการการเทรนนิ่งหรือฝึกฝนเพื่อให้พนักงานมีทักษะทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากทักษะนี้ในการทำงานได้อย่างเต็มที่

  • สามารถใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลได้
  • เข้าใจความสำคัญของดิจิทัลและเทคโนโลยีในการทำงาน
  • ความสามารถและความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดีย (Social media literacy)
  • Cloud-based software และ การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (multi-device)

1. สามารถใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลได้

พนักงานจำเป็นจะต้องรู้จักและเข้าใจการใช้งานเบื้องต้นของเครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมพื้นฐานต่างๆเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้ Search engine การใช้อีเมล Calendar โปรแกรม video conference อย่าง Zoom หรือ MS team ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญและช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวกับโปรแกรมหรือแพลตฟอร์ม รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่บริษัทจะเอามาใช้ในการทำงานในอนาคตได้
เข้า

2. เข้าใจความสำคัญของดิจิทัลและเทคโนโลยีในการทำงาน

เพราะเทคโนโลยีและดิจิทัลมีมาเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นและทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการเรียนรู้ที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นเพิ่มเติม ทำให้องค์กรต้องสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานให้ดีว่าทำไมต้องเอาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้ และสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้พนักงานเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหมั่นปรับตัวอยู่เสมอ

3. ความสามารถและความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดีย (Social media literacy)

บทบาทของโซเชียลมีเดียในตอนนี้แทบจะทำหน้าที่เป็นสื่อหลักในชีวิตประจำวันของทุกคนไปแล้ว ทำให้แทบทุกบริษัทต้องมี official account เป็นของตัวเองเพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้าง branding และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสินค้า บริการ และตัวบริษัทเอง จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่พนักงงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอย่างดี ต้องรู้ถึงประโยชน์และโทษ มีวิจารณญาณในการใช้ เพื่อให้สามารถเอาโซเชียลมีเดียมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานมากที่สุด

4. Cloud-based software และ การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (multi-device)

หลายบริษัทใช้การเชื่อมโยงการทำงานของพนักงานทุกคนผ่านโปรแกรมในลักษณะของ Cloud-based ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ออฟฟิศเท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงโปรแกรมการทำงานได้ผ่านโน้ตบุ๊กที่สามารถทำให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเฉพาะของบริษัท รวมไปถึงทำงานประสานกับพนักงานคนอื่น ๆ ผ่านทางโปรแกรมและแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากคอมพิวเตอร์ (multi-device) เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็มีความจำเป็นเช่นกัน
            ประเด็นที่กล่าวไปด้านบนเป็นเพียงประเด็นเบื้องต้น บริษัทควรตรวจสอบว่าพนักงานในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ดีพอหรือยัง หรือมีส่วนไหนขาดไป ก็ต้องพร้อมให้ความช่วยเหลือ แนะนำ จัดเทรนนิ่งให้พนักงานเพื่อให้พนักงานในองค์กรมีทักษะ Digital Literacy เป็นอย่างดี เมื่อความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีและดิจิทัลพร้อมแล้ว องค์กรก็สามารถสรรหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้กับการทำงาน เพื่อให้บริษัทก้าวหน้าก้าวไกลไปพร้อม ๆ กับโลกยุคใหม่ที่หมุนเร็วขึ้นในทุก ๆ วัน

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

Digital Literacy  สอนเพื่อให้รู้ และอยู่ได้ในสังคมแห่งอนาคต

    Digital Literacy  หรือการรู้ดิจิทัล       หมายถึง ทักษะความ เข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือ ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กร ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทักษะ ต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่นับวันจะมีความยุ่งยาก และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราเข้าใจและใช้เทคโนโลยีอย่าง สร้างสรรค์ ใช้ความรู้ด้านไอทีให้ได้มากกว่าแค่ความบันเทิง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทั้งนี้เพื่อเตรียมความ พร้อมก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0

ภายใต้ "การรู้ดิจิทัล" คือความหลากหลายของทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันซึ่งทักษะเหล่านั้นอยู่ภายใต้ Literacy ดังนี้

การรู้สื่อ (Media Literacy) 

การรู้สื่อสะท้อนความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับการเข้าถึง การวิเคราะห์ และการผลิตสื่อผ่านความเข้าใจและการตระหนักเกี่ยวกับ 1.ศิลปะ ความหมาย และการส่งข้อความในรูปแบบต่างๆ 2.ผลกระทบและอิทธิพลของสื่อมวลชนและวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยม 3. สื่อข้อความถูกสร้างขึ้นอย่างไรและทำไมถึงถูกผลิตขึ้น และ 4.สื่อสามารถใช้ในการสื่อสารความคิดของเราเองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

การรู้เทคโนโลยี (Technology literacy)

ความชำนาญในเทคโนโลยีส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับความรู้ดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมจากทักษะคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานสู่ทักษะที่ซับซ้อนมากขึ้นเช่นการแก้ไขภาพยนตร์ดิจิทัลหรือการเขียนรหัสคอมพิวเตอร์

การรู้สารสนเทศ (Information literacy)

การรู้สารสนเทศเป็นอีกสิ่งที่สำคัญของการรู้ดิจิทัลซึ่งครอบคลุมความสามารถในการประเมินว่าสารสนเทศใดที่ผู้เรียนต้องการ การรู้วิธีการที่จะค้นหาสารสนเทศที่ต้องการออนไลน์ และการรู้การประเมินและการใช้สารสนเทศที่สืบค้นได้ การรู้สารสนเทศถูกพัฒนาเพื่อการใช้ห้องสมุด มันยังสามารถเข้าได้ดีกับยุคดิจิทัลซึ่งเป็นยุคที่มีข้อมูลสารสนเทศออนไลน์มหาศาลซึ่งไม่ได้มีการกรอง ดังนั้นการรู้วิธีการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับแหล่งที่มาและเนื้อหานับเป็นสิ่งจำเป็น

การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual literacy)

การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็นสะท้อนความสามารถของของผู้เรียนเกี่ยวกับความเข้าใจ การแปลความหมายสิ่งที่เห็น การวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และความสามารถในการใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ รวมถึงการผลิตข้อความภาพไม่ว่าจะผ่านวัตถุ การกระทำ หรือสัญลักษณ์ การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้และการสื่อสารในสังคมสมัยใหม่

การรู้การสื่อสาร (Communication literacy)

การรู้การสื่อสารเป็นรากฐานสำหรับการคิด การจัดการ และการเชื่อมต่อกับคนอื่นๆ ในสังคมเครือข่าย ทุกวันนี้เด็กและเยาวชนไม่เพียงจำเป็นต้องเข้าใจการบูรณาการความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น เพลง วิดีโอ ฐานข้อมูลออนไลน์ และสื่ออื่นๆ พวกเค้ายังจำเป็นต้องรู้วิธีการใช้แหล่งสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้

การรู้สังคม (Social literacy)

การรู้สังคมหมายถึงวัฒนธรรมแบบการมีส่วนร่วม ซึ่งถูกพัฒนาผ่านความร่วมมือและเครือข่าย เยาวชนต้องการทักษะสำหรับการทำงานภายในเครือข่ายทางสังคม เพื่อการรวบรวมความรู้ การเจรจาข้ามวัฒนธรรมที่แตกต่าง และการผสานความขัดแย้งของข้อมูล

ขอขอบคุณข้อมูล  www.nstda.or.th

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท.  อื่นๆ ได้ที่    >>> คลิก <<<

 เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่    >>> คลิก <<<

Digital Literacy มีกี่ข้อและประกอบด้วยอะไรบ้าง

Digital literacy คืออะไร.
การใช้ (Use).
เข้าใจ (Understand).
การสร้าง (create).
เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวใจสำคัญของ Digital Literacy มีกี่ข้อ

การใช้ (Use) เข้าใจ (Understand) การสร้าง (create) เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะที่ครอบคลุมความสามารถด้าน Digital Literacy ประกอบด้วยกี่ด้าน

ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ · การใช้ (Use) · เข้าใจ (Understand) · การสร้าง (create)

ข้อใดคือความหมายของ Digital Literacy

Digital Literacy คือ ความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรมี เพราะทักษะนี้เป็นตัวช่วยในการต่อยอดไปสู่ทักษะอื่น ๆ ที่เฉพาะเจาะจงกับสายอาชีพมากขึ้น