การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ของสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สบค.) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของท่านซึ่งได้แวะเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ ของ สบค.

โปรดทราบว่านโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะแสดงอยู่บนเว็บไซต์นี้ ทั้งนี้ เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระของนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สบค. จะมีข้อความเตือนอย่างชัดเจนเพื่อให้ท่านได้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งจะกระทำล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ

ขอบเขตของนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติของสบค. ต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับหรือจัดเก็บอันสืบเนื่องมาจากการที่ท่านเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ โดยข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุได้ถึงตัวตนของบุคคล และมิใช่ข้อมูลที่โดยปกติสาธารณชนจะเข้าถึงได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ เลขที่บัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง ที่อยู่หรือที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นโยบายฉบับนี้ไม่ได้ใช้กับเว็บไซต์ของบุคคลที่สามซึ่งเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์นี้ หรือเชื่อมโยงไปจากเว็บไซต์นี้

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

ผู้ประสงค์จะใช้บริการผ่านเว็บไซต์นี้ อาจต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่จำเป็นต่อการให้บริการดังกล่าว ตัวอย่างของการดำเนินการที่ผู้ใช้บริการต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การให้ชื่อสำหรับจัดทำประกาศนียบัตร การสำรวจความคิดเห็น เป็นต้น

การใช้ การแลกเปลี่ยน และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะกระทำไปเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านขอให้ดำเนินการเท่านั้น สบค.อาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานจากหน่วยงานอื่น มารวบรวม จัดเก็บ ใช้ และเปิดเผย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้กฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.

สบค. จะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปจำหน่าย หรือนำไปแลกเปลี่ยนหรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่นใด อันเป็นการไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.
  • เป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ที่กำหนดตามกฎหมาย ตามคำสั่งศาล ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หรือกรณีอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือ
  • เป็นการดำเนินการตามที่จำเป็นในกรณีที่อาจกระทบถึงความปลอดภัยในสวัสดิภาพ ชีวิต และร่างกายของบุคคลอื่น หรือในกรณีที่มีการละเมิดข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้เว็บไซต์ของ สบค.
การรักษาความปลอดภัย

สบค. มีมาตรการและกำหนดวิธีปฏิบัติภายในเพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารของท่าน ซึ่งรวมถึงการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลความลับ นอกจากนี้ สบค. ยังมีการใช้โปรโตคอล Secure Socket Layer (SSL) Protocol เพื่อจัดให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ใช้และสบค. กระทำผ่านช่องทางสื่อสารแบบปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับข้อมูลดังกล่าว

การใช้คุกกี้

สบค. ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เว็บไซต์นั้นสามารถให้บริการท่านในครั้งต่อไปได้ตรงตามความต้องการของท่าน แต่ท่านสามารถยกเลิกการให้ข้อมูลคุกกี้ได้ อนึ่ง หากท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสบค. โดยใช้โปรแกรมค้นผ่าน (search engine) โปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวอาจมีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลของท่าน ท่านจึงควรศึกษานโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่กำหนดโดยโปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวด้วย

ข้อตกลงการใช้งาน

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ (สบค) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างประโยชน์จากการเรียนรู้ ให้กับสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของ สบค.ในการบริการวิชาการสู่สังคม

เนื้อหาและสื่อนี้ต้องการให้นักเรียน ประชาชน สามารถเข้ามาศึกษา เรียนรู้ สามารถนำเนื้อหาไปใช้ประโยชน์และ เผยแพร่ต่อได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับสาธารณะเท่านั้นและไม่ถือเป็นการให้คำแนะนำเพื่อใช้ในเชิงวิชาชีพ

ท่านมีอิสระที่จะอ่านและพิมพ์บทความ ข้อความ และสื่ออื่น ๆ นี้โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย สามารถแบ่งปันและนำบทความและสื่ออื่น ๆ ของเรา กลับมาใช้ใหม่ภายใต้ใบอนุญาตแบบ Creative Common และ แบบเปิด ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้:

  • ความรับผิดชอบ - ท่านต้องรับผิดชอบต่อการแก้ไขของคุณ (เนื่องจากเราเป็นผู้ให้บริการเฉพาะเนื้อหา และเนื่องจาก เป็นเนื้อหาทางวิชาการ ตัวเลข ข้อมูล ความรู้ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา ท่านจะต้องใช้วิจารณญาณ และตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเอง)
  • ความสุภาพ – ต้องเคารพสภาพแวดล้อมทางการใช้งานที่ดีต่อสังคมและไม่ก่อกวนผู้ใช้รายอื่น
  • พฤติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย - ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่น ๆ
  • ไม่เป็นอันตราย – ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีของเรา

          ในวันที่โลกเปลี่ยนผ่านจากยุค Analog เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว โลก Metaverse ที่ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ และการพึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนต้องพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยี Digital skill ยิ่งในที่ทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และการทำงานที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต ยิ่งทำให้เทคโนโลยีจำเป็นต่อชีวิตอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดคำว่า Digital Literacy คำศัพท์ใหม่แห่งยุคซึ่งเป็นทักษะจำเป็นของคนยุคใหม่ แล้ว Digital Literacy จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไรในที่ทำงาน เราลองมาค้นหาคำตอบกัน

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

          Digital Literacy หมายถึง ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จัดเป็นทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถงานดิจิทัลในด้านอื่น ๆ เป็นทักษะสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติงาน สื่อสาร และทำงานร่วมกับคนอื่น ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work less but get more” ผ่านการใช้งานเครื่องมือทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอแพด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมและแพลตฟอร์มออนไลน์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Cloud computing ในการทำงาน ซึ่งสามารถแบ่ง ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ได้ออกเป็น 4 มิติ คือ

  1. ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
  2. เข้าใจ (Understand) คือ ชุดของทักษะที่จะช่วยให้เข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ เพราะเทคโนโลยีและโลกอินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และส่งผลต้องพฤติกรรมและมุมมองของผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ความเข้าใจมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลมีวิจารณญาณในการใช้งาน
  3. สร้าง (Create) คือ ความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีที่หลากหลาย
  4. เข้าถึง (Access) คือ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การค้นหาข้อมูลผ่าน Search engine รู้จักช่องทางการค้นหา ซึ่งนี่เป็นฐานรากในการพัฒนาของผู้ใช้งาน

ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในองค์กร

          องค์กรส่วนใหญ่ในตอนนี้มักมีการเปลี่ยนผ่านการทำงานแบบเดิมเข้าสู่การทำงานที่ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มมากขึ้น เราจะเห็นได้จากหลายองค์กรที่มีแผนก Digital Transformation เพื่อช่วยให้องค์กรและพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีได้ ซึ่งทักษะความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในแต่ละแผนกหรือแต่ละบุคคลมักมีความแตกต่าง แต่ก็มีประเด็นที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ สื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงาน และอาจต้องการการเทรนนิ่งหรือฝึกฝนเพื่อให้พนักงานมีทักษะทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากทักษะนี้ในการทำงานได้อย่างเต็มที่

  • สามารถใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลได้

          พนักงานจำเป็นจะต้องรู้จักและเข้าใจการใช้งานเบื้องต้นของเครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้ Search engine การใช้อีเมล Calendar โปรแกรม video conference อย่าง Zoom หรือ MS team ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญและช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวกับโปรแกรมหรือแพลตฟอร์ม รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่บริษัทจะเอามาใช้ในการทำงานในอนาคตได้

  • เข้าใจความสำคัญของดิจิทัลและเทคโนโลยีในการทำงาน

          เพราะเทคโนโลยีและดิจิทัลมีมาเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นและทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการเรียนรู้ที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นเพิ่มเติม ทำให้องค์กรต้องสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานให้ดีว่าทำไมต้องเอาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้ และสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้พนักงานเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหมั่นปรับตัวอยู่เสมอ

  • ความสามารถและความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดีย (Social media literacy)

          บทบาทของโซเชียลมีเดียในตอนนี้แทบจะทำหน้าที่เป็นสื่อหลักในชีวิตประจำวันของทุกคนไปแล้ว ทำให้แทบทุกบริษัทต้องมี official account เป็นของตัวเองเพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้าง branding และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสินค้า บริการ และตัวบริษัทเอง จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่พนักงงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอย่างดี ต้องรู้ถึงประโยชน์และโทษ มีวิจารณญาณในการใช้ เพื่อให้สามารถเอาโซเชียลมีเดียมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานมากที่สุด

  • Cloud-based software และ การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (multi-device)

          หลายบริษัทใช้การเชื่อมโยงการทำงานของพนักงานทุกคนผ่านโปรแกรมในลักษณะของ Cloud-based ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ออฟฟิศเท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงโปรแกรมการทำงานได้ผ่านโน้ตบุ๊กที่สามารถทำให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเฉพาะของบริษัท รวมไปถึงทำงานประสานกับพนักงานคนอื่น ๆ ผ่านทางโปรแกรมและแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากคอมพิวเตอร์ (multi-device) เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็มีความจำเป็นเช่นกัน

           ประเด็นที่กล่าวไปด้านบนเป็นเพียงประเด็นเบื้องต้น บริษัทควรตรวจสอบว่าพนักงานในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ดีพอหรือยัง หรือมีส่วนไหนขาดไป ก็ต้องพร้อมให้ความช่วยเหลือ แนะนำ จัดเทรนนิ่งให้พนักงานเพื่อให้พนักงานในองค์กรมีทักษะ Digital Literacy เป็นอย่างดี เมื่อความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีและดิจิทัลพร้อมแล้ว องค์กรก็สามารถสรรหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการทำงาน เพื่อให้บริษัทก้าวหน้าก้าวไกลไปพร้อม ๆ กับโลกยุคใหม่ที่หมุนเร็วขึ้นในทุก ๆ วัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
Social media age restrictions อายุของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ปัจจัยสำคัญที่คนทำงานดิจิทัลควรใส่ใจ
Cryptocurrency สกุลเงินดิจิทัล สินทรัพย์นักลงทุนควรรู้
เปิดโลก MarTech พลิกกลยุทธ์การตลาดในยุคดิจิทัล
FinTech สายงานสุดฟินมาแรง แห่งยุคดิจิทัล
Negotiation skill: soft skill ที่ควรมีในงานยุคดิจิทัล
NFT Arts สินทรัพย์ดิจิทัล เทรนด์ใหม่ของคนวงการศิลปะ