ความ เหมือน ของการดูแล เสื้อผ้า ใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์

  1. การดูแลเสื้อผ้าให้ดูใหม่และคงทนน่าใช้อยู่เสมอ
       
    ความ เหมือน ของการดูแล เสื้อผ้า ใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์
              
    การดูแลเสื้อผ้าให้ดูใหม่และคงทนน่าใช้อยู่เสมอนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการถนอมชุดสวยๆ ให้อยู่กับเราไปนานๆ ซึ่งไม่ยากเลยหากเราเพียงทำความเข้าใจและพยายามสังเกตว่าเสื้อผ้าของเราทำจากผ้าประเภทไหน หรือมองหาฉลากผ้าที่ติดอยู่ เท่านี้ก็ถนอมผ้าให้สวยอยู่เสมอได้แล้ว

          หากพูดถึงการถนอมผ้านอกจากการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มหลังซักแล้ว ยังมีวิีีธีการซัก การทำให้แห้ง และการรีดที่ถูกวิธี ที่สามารถช่วยให้ผ้าที่เรารักคงความสวยเหมือนใหม่อยู่เสมอ

  มาดูกันว่าหากเสื้อผ้าที่เรามีไม่มีฉลากแนะนำการดูแลผ้า เราจะถนอมผ้าตามประเภทของผ้าได้อย่างไร 
โดยจะแบ่งประเภทของผ้า ออก 5 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 ผ้าใยเซลลูโลสหรือผ้าใยธรรมชาติ (Natural Cellulosic fibers)

         ผ้าใยเซลลูโลสเช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน และผ้าป่าน ซึ่งผ้าประเภทนี้จะยืดหยุดง่ายและยับง่าย สามารถใช้สารซักฟอกได้แม้จะมีความเป็นด่างเข้มข้น สารฟอกขาวออกซิเจนหรือคลอรีนก็ตาม อีกทั้งผ้าใยเซลลูโลสยังทนความร้อนได้ดีจึงสามารถใช้น้ำร้อนหรือต้มขณะซักได้และสามารถรีดได้ด้วยความร้อนสูง

     ส่วนการทำให้แห้งด้วยการผ้าก็สามารถตากที่แดดจัดได้แต่ก็ไม่ควรนานเกินไปอาจจะทำให้ผ้าเสื่อมสภาพและเก็บที่แห้งและค่อนข้างเย็นเพราะผ้าประเภทนี้ขึ้นราได้และเป็นที่ชื่นชอบของแมลงอีกด้วย

ข้อควรระวัง :ระวังอย่าให้ถูกกรด ไม่อย่างงั้นผ้าสวยๆของเราก็จะเสียหายได้

เพียงเท่านี้ก็สามารถดูแลผ้าที่ทำจากเส้นใยเซลลูโลสให้คงความสวยไปนานๆได้แล้วล่ะ

ประเภทที่ 2 ผ้าใยโปรตีน (Protein fibers)

        ผ้าใยโปรตีน แบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่ ใยขนสัตว์และใยไหม ซึ่งผ้าประเภทนี้มีความยืดหยุ่นได้ดี ไม่ยับง่าย    การซักควรซักในน้ำธรรมดากับสารซักฟอกอย่างอ่อน หรือซักแห้งจะเป็นการรักษาสภาพเส้นใยดีที่สุด  หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนจัด และสารฟอกขาวเข้มข้น แต่หากจำเป็นต้องใช้สารฟอกขาวควรใช้ประเภทออกซิเจน

   ผ้าใยโปรตีนไม่ทนต่อความร้อนและแสงแดดจัดเป็นเวลานานๆ ดังนั้นควรรีดด้วยไฟอ่อนและต้องใช้ความชื้นด้วยหรือควรใช้เตารีดไอน้ำ เพราะการรีดด้วยไฟแรง ผ้าจะแข็งกระด้างทำให้สวมใส่แล้วผ้าดูไม่สวยเหมือนเดิมได้

   การเก็บรักษานั้นก็เพียงระวังมอด,แมลงกินผ้าและควรเก็บในที่ไม่ถูกอากาศ โดยเฉพาะผ้าไหมเพราะออกซิเจนในอากาศจะแยกตัวไหมและทำให้ไหมเสื่อมคุณภาพ ดั้งน้ันใครที่ชอบผ้าประเภทนี้อาจจะใสใจกับรายละเอียดเล็กเพิ่มอีกนิดเพื่อให้เสื้อผ้าที่เรารักอยู่กับเราไปนานๆ

ประเภทที่ 3 ผ้าใยประดิษฐ์จากเซลลูโลส (Man-made cellulosic fibers)         ผ้าประเภทนี้จะพบมากตามท้องตลาดทั่วไป เนื่องจากอุตสาหกรรมผ้าใช้ใยผ้าประดิษฐ์จากเซลลูโลส เช่น ผ้าเรยอน  อะซิเตดและไตรอะซิเตด ซึ่งผ้าเหล่านี้เมื่อมีการซักความเหนียวและความคงทนจะลดลง ทำให้เสียรูปทรงและเส้นใยพองตัว

    โดยผ้าเรยอนจะทนต่อน้ำยาซักแห้งทุกชนิดได้ดีและทนต่อน้ำยาซักฟอกที่ทำจากปิโตรเลียม ดังนั้นจะเนได้ว่าผู้ผลิตผ้าเรยอนส่วนใหญ่จะแนะนำให้ซักแห้งเพื่อรักษาผ้าให้ดูใหม่อยู่เสมอและสีของผ้าไม่ซีดจาง หากต้องซักเองก็ควรใช้สารซักฟอกชนิดอ่อนและไม่ควรแช่ในน้ำนาน ผ้าเรยอนน้ันไม่ทนต่อแสงแดดมากนักแต่ทนความร้อนได้ดีถึง 300 ฟองศาฟาเรนไฮต์

     ผ้าอะติเตดจะมีวิธีการทำความสะอาดคล้ายกับผ้าเรยอนแต่จะมีลักษณะพิเศษ คือนอกจากจะไม่ทนต่อแสงแล้ว อากาศและแก๊สก็ทำให้สีจางได้ด้วยไนโตรเจนออกไซด์ เช่น ความร้อนจากเตาหรือควัน ดังนั้นหากมีการเก็บผ้าชนิดนี้ควรหลีกเลี่ยงจากแสงและไม่ควรโดนอากาศมาก เท่านี้ก็ช่วยยืดอายุผ้าให้อยู่กับเราไปอีก

    ส่วนผ้าไตรอะซิเตดไม่พบปัญหาในการซักรีดมากนักซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำมารีดจับจีบและอัดกลีบถาวร เช่น กระโปรงพลีตจากใยอาร์เนล

ข้อควรระวัง :ระวังอย่าให้ถูกกรดและน้ำยาที่มีส่วนผสมของอะซิโตน เช่น น้ำยาล้างเล็บ ไม่อย่างงั้นผ้าที่ถนุถนอมดูแลมาก็จะละลาย ดังนั้นหากพบการเปื้อนควรล้างออกทันที

ประเภทที่ 4 ผ้าใยสังเคราะห์ (Synthetic fibers)  
   ผ้าใยสังเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะดูแลง่ายเพราะไม่ยับและคืนตัวได้ดี อีกท้ังใช้ความร้อนทำให้อยู่ตัวและคงรูปได้ดี แต่ก็มีข้อเสียคือ ไม่ซับน้ำเมื่อสวยใส่จึงไม่ค่อยสบายตัวเมื่ออากาศร้อน ด้วยคุณสมบัติไม่ซับน้ำจึงทำให้แห้เร็วและไม่เปอะเปื้อนได้ง่าย
   การซักจึงขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของเส้นใยในการผลิตซึ่งสามารถซักในน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นกับสบู่หรือผงซักฟอกอย่างอ่อน จะดีกว่าการใช้กับผงซักฟอกชนิดด่างเข้มข้น แต่หากมีความจำเป็นจะต้องใช้สารฟอกขาว ควรใช้สารฟอกขาวอย่างอ่อนหรือสารฟอกขาวออกซิเจน เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะเ็นการถนอมผ้าดีกว่าการใช้สารฟอกขาวคลอรีน   
   ในการซักผ้าสีและผ้าขาวควรซักแยกเพราะผ้าใยสังเคราะห์เมื่ออยู่นน้ำซักจะถ่ายเทสี (Colour scavanger) และดูดเอาสีสกปรกในน้ำเข้าในผ้า ทำให้ผ้าสีขาวหมองคล้ำได้
   ส่วนการเก็บผ้าใยสังเคราะห์ โดยปกติจะไม่ขึ้นราง่ายและแมลงไม่กัดกินเพราะส่วนประกอบเป็นสารเคมีแต่หากมีการตกแต่งผ้าด้วยแป้ง ควรเก็บในที่แห้งและอากาศค่อนข้างเย็น
 
ประเภทที่ 5 ผ้าใยแร่หรือใยอินทรีย์ (Mineral fibers fabrics)
     มาถึงประเภทผ้าแบบสุดท้ายกันแล้ว มาดูกันสิว่าผ้าใยแร่หรือใยอินทรีย์ได้แก่ผ้าชนิดไหน
ผ้าใยแร่ ได้แก่ ผ้าใยแก้วหรือใยโลหะ ฟังชื่ออาจจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ เนื่องจากผ้าใยแร่ถูกผลิตขึ้นมาใช้เพื่อสร้างความสวยงามให้ผ้าชนิดอื่นๆ เช่นในผ้าม่าน และอุปกรณ์ตกแต่งภายใน การซักและการดูแลจึงต้องอาศัยความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยอาศัยคำแนะนำจากป้ายฉลากผ้า 

    ผ้าใยแก้วไม่ติดไฟง่าย แต่หักง่าย ฉะน้ันเวลาควรเลือกการใช้งานที่เหมาะสม หากผ้าที่ใช้อยู่เป็นผ้าม่าน ก็ไม่ควรแขวนให้ชายผ้าระพื้นหรือขอบหน้าต่าง และอย่ารีดกดตรงรอยพับ แต่ใยแก้มีข้อดีคือการคืนรูปได้ดี
   การซักผ้าใยแก้วสามารถใซักได้ด้วยกรดและสารซักฟอกชนิดอ่อน และหลีกเลี่ยงการขี้แรงๆ หรือการตี ซึ่งอาจทำให้ผ้าหักและไม่ควให้ถูกด่างเพราะจะทำให้ผ้าเเหลือง ดังน้ันจึงควรหลีกเลี่ยงการซักแห้ง ควรปล่อยให้แห้งเองและไม่ต้องรีด

ส่วนใยโลหะสังเคราะห์มักใช้กับใยชนิดอื่นๆเสมอ เช่น การเคลือบด้วยพลาสติกหรือสารโพลีเอสเตอร์ จึงควรอ่านฉลากก่นการทำความสะอาดเช่นกัน

ข้อควรระวัง : ใยแก้วมักจะทำให้คันหากสัมผัสกับร่างกาย

อ้างอิง : รศ.นวลแข ปาลิวนิช. (2542). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย ฉบับปรับปรุงใหม่ภาพโดย"https://pixabay.com/th/users/Monfocus-2516394