ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ innate immunity คือ

ระบบภูมิคุ้มกัน (IMMUNITY)

Show

             1) ภูมิคุ้มกัน (Immunity) คือ ความสามารถของร่างกายในการต่อต้านและกําจัดจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย

หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย

             2) ภูมิคุ้มกันร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กําเนิด (Innate Immunity) ซึ่งประกอบด้วยกลไกภูมิคุ้มกันร่างกาย 2 ด่านตามลําดับ ดังนี้

  1.1 ระบบปกคลุมร่างกาย (ผิวหนัง) จัดเป็นภูมิคุ้มกันด่านแรกสุดของร่างกาย

        1.2 ภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ (Nonspecific Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันด่านที่สองของร่างกาย

 2. ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังกําเนิด (Acquired Immunity) ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันด่านที่สาม (ด่านสุดท้าย)ของร่างกายและจัดเป็นภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (Specific Immunity)

             3) เพิ่มเติมขยายความกันหน่อย

  1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กําเนิด (Innate Immunity)

  1.1 ระบบปกคลุมร่างกาย (ผิวหนัง)

 - ต่อมผลิตน้ำมันและต่อมเหงื่อจะหลั่งสารช่วยทําให้ผิวหนังมีค่า pH 3-5 ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หลายชนิดได้

 - เหงื่อน้ำตาและน้ำลายมีไลโซไซม์ (Lysozyme) ซึ่งสามารถทําลายแบคทีเรียบางชนิดได้

 - ผิวหนังเป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรียและเชื้อราที่ไม่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่าย

 - ผนังด้านในของอวัยวะทางเดินอาหาร อวัยวะหายใจ และอวัยวะขับถ่าย (ปัสสาวะ)

ประกอบด้วยเซลล์ที่สามารถสร้างเมือก (Mucus) เพื่อดักจับจุลินทรีย์ได้รวมถึงกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารก็สามารถทําลายแบคทีเรียบางชนิดได้

  1.2 ภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ (Nonspecific Immunity)

 - เม็ดเลือดขาว 3 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ มีดังนี้

         1. นิวโทรฟิล (Neutrophil)

  3. Natural Killer Cell (NK Cell)

 - การอักเสบเกิดโดยการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งจะทําให้เลือดไหลไปยังบริเวณ

ที่อักเสบมากขึ้น รวมทั้งหลอดเลือดฝอยบริเวณดังกล่าวจะยอมให้สารต่างๆ ผ่านเข้าออกได้มากขึ้น

 - การเป็นไข้ (Fever) จะไปกระตุ้นการทํางานของเม็ดเลือดขาวกลุ่มฟาโกไซต์ (Phagocyte)เพื่อไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์นั้นๆ

 - อินเทอร์เฟอรอน (Interferon) จะป้องกันการติดเชื้อจากไวรัส โดยการทําลาย RNAของไวรัสชนิดนั้นๆ

  2. ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังกําเนิด (Acquired Immunity)

 ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (Specific Immunity)

 - เป็นการทํางานของเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) โดยการสร้างแอนติบอดี

(Antibody) ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีนขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม (Antigen) ที่เข้าสู่ร่างกาย

 - เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) มีตัวรับอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งสามารถจดจํา

ชนิดของแอนติเจนได้และทําให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ

- อวัยวะที่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะประกอบด้วยอวัยวะน้ำเหลืองปฐมภูมิและอวัยวะน้ำเหลืองทุติยภูมิ อวัยวะน้ำเหลืองปฐมภูมิทําหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้แก่ ไขกระดูก (Bone Marrow)

ต่อมไทมัส (Thymus) อวัยวะน้ำเหลืองทุติยภูมิทําหน้าที่กรองแอนติเจน (จุลินทรีย์ต่างๆ เช่น แบคทีเรีย)ได้แก่ ม้าม (Spleen) ต่อมน้ำเหลือง (Lymph Node) เนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมือก(Mucosal-Associated Lymphoid Tissue : MALT) ได้แก่ ต่อมทอนซิล ไส้ติ่ง และกลุ่มเซลล์ฟอลลิเคิลในชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ด้านใต้ของชั้นเนื้อเยื่อสร้างเมือก

ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามแหล่งที่มาของแอนติบอดี ได้แก่

  1. ภูมิคุ้มกันก่อเอง (Active Immunity) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดี

(Antibody) ขึ้นมาเอง โดยเป็นภูมิคุ้มกันระยะยาวซึ่งถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่อไปนี้

 - การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

 - การฉีดทอกซอยด์ (Toxoid) ป้องกันโรคบางชนิด

 - การคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นโรคนั้นๆ

  วัคซีนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามวัตถุดิบ ดังนี้

 2) เชื้อโรคที่ถูกทําให้อ่อนฤทธิ์ลง

 3) สารพิษจากเชื้อโรค (Toxoid) ซึ่งถูกทําให้หมดสภาพความเป็นพิษแล้ว

 2. ภูมิคุ้มกันรับมา (Passive Immunity) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายรับแอนติบอดี

(Antibody) จากภายนอกเข้ามาเพื่อต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ทันที และเป็นภูมิคุ้มกันในระยะสั้น ตัวอย่าง

ภูมิคุ้มกัน หรือ Immunity คือ กลไกการตรวจสอบและตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อโรคต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยเราจะเรียกสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายว่า แอนติเจน (Antigen) โดยร่างกายเมื่อได้รับแอนติเจนจะผลิตสารก่อภูมิต้านทานขึ้นมาเรียกว่า แอนติบอดี (Antibody) เพื่อกำจัดแอนติเจนนั่นเองค่ะ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาแต่กำเนิด (Innate Immunity)

เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างเองได้ และได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น เยื่อบุ เยื่อเมือกต่างๆ

ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาภายหลัง (Acquired Immunity)

เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแปลกปลอมหรือวัคซีนต่างๆ มี 2 รูปแบบ คือ

ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง (Adaptive Immunity)

เกิดจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม และมีการผลิตกลไกต่อต้านตามธรรมชาติ เกิดเป็นภูมิคุ้มกันช่วงเวลาหนึ่งหรือกลายเป็นภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งแปลกปลอมและความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน เช่น ภูมิต้านทานอีสุกอีใส หัด คางทูม

ภูมิคุ้มกันจากภายนอก (Passive Immunity)

เกิดจากการได้รับสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่ได้สร้างขึ้นเอง เช่น นมแม่ การฉีดเซรุ่มและวัคซีนต่างๆ

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ innate immunity คือ

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ

  • ตอบสนองและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายแบบเฉพาะเจาะจง
  • เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่า B Cell และ T Cell จะทำหน้าที่จับกินแอนติเจนนั้นอย่างเจาะจง
  • หลังจับกินแอนติเจน B Cell จะพัฒนาไปเป็น Plasma Cell เพื่อผลิตสารก่อภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีมาทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ

  • การตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง
  • เปลี่ยนแปลงได้ตามเพศ อายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน และความแข็งแรงของร่างกาย
  • กำจัดสิ่งแปลกปลอมอย่างจำกัด ผ่าน 3 วิธีคือ
  1. ป้องกันภายนอก ด้วยกลไกธรรมชาติของร่างกาย เช่น ผิวหนัง เยื่อบุ เยื่อเมือก ขนอ่อน
  2. ป้องกันโดยการหลั่งสารเคมี เช่น การหลั่งนำ้ตา หลั่งนำ้ลาย
  3. ป้องกันโดยอาศัยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ เข้าไปล้อมสิ่งแปลกปลอมและจับกิน จากนั้นจะย่อยสลายเอง เกิดการอักเสบและเป็นหนองนั่นเองค่ะ

เซลล์เม็ดเลือดขาว เกี่ยวข้องยังไงกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ innate immunity คือ

ให้นึกภาพตามง่ายๆ นะคะ เซลล์เม็ดเลือดขาวจะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดของเรา มีหน้าที่สำคัญต่างๆ มากมาย ดังนี้ค่ะ

  • ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย
  • ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ
  • กำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพแล้ว เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายหรือมีอายุมาก
  • เฝ้าระวังดูเซลล์ที่มีโอกาสเปลี่ยนสภาพไปจากปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง

ภูมิคุ้มกันตก เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ innate immunity คือ

อาหาร

โดยเฉพาะอาหารรสหวานจัด รู้มั้ยคะว่าน้ำตาลปริมาณ 100 กรัม เทียบเท่ากับทานน้ำอัดลมถึง 3 ขวดด้วยกัน ซึ่งการทานหวานเกินไปจะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้การทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายช้าลง

อารมณ์

ท่านไหนที่เครียดง่าย อ่อนไหวต่อสิ่งเร้าภายนอก ชอบคิดเล็กคิดน้อย อันนี้ต้องระวังให้ดีค่ะ เพราะหากเกิดความเครียดสะสม จะทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะต่ำลงไปด้วยเช่นกันค่ะ

อากาศ

มลภาวะ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้เช่นกันค่ะ ทั้งฝุ่นควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ รวมถึงเชื้อโรคขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ายิ่งต้องระวังเลยค่ะ ทางที่ดีก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ควรเตรียมหน้ากากอนามัย สเปรย์ฆ่าเชื้อ และไอเทมดูแลป้องกันสุขอนามัยอื่นๆ พกติดกระเป๋าด้วยทุกครั้ง

อดนอน พักผ่อนน้อย

การนอนสำคัญมากต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย หากคุณภาพการนอนไม่ดี การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

อาการติดเชื้อ และการทานยาบางชนิด

การติดเชื้อไวรัสบางชนิด อาจลดทอนและทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ค่ะ เช่นไวรัส HIV รวมถึงการทานยาบางประเภทอาจไปกดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ โดยเฉพาะยาสเตียรอยด์

วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ทานผักผลไม้ทุกวัน
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • นอนหลับพักผ่อนให้มีคุณภาพ
  • ดูแลสุขอนามัยให้ดี
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • เสริมภูมิคุ้มกันจากภายใน เลือกทานอาหารเสริม ช่วยบำรุงร่างกาย

ภูมิคุ้มกันดี = สุขภาพดี = ชีวิตดี

การมีคุณภาพชีวิตดีที่ ล้วนมาจากพื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือการมีสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ ซึ่งทั้งหมดนี้หากพิจารณาดูให้ดีแล้วล้วนมากจากจุดเริ่มต้นนั่นคือ “การมีภูมิคุ้มกันที่ดี” ซึ่งการจะมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือวินัยและการเอาใจใส่ค่ะ

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ มีอะไรบ้าง

ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ การตอบสนองโดยการใช้สารน้ำ Humoral Immune Response. การตอบสนองชนิดพึ่งเซลล์ Cell Mediated Immune Response.

ข้อใดคือระบบภูมิคุ้มกันแบบ innate immunity ด่านที่ 1

การป้องกันด่านที่ 1 จะเป็นการป้องกันที่บริเวณผิวหนังหรือเยื่อบุต่าง ๆ ประกอบด้วย 3 กลไก กลไกทางกายภาพ เป็นกลไกที่กีดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุทางเดินอาหาร รูขุมขน ต่อมเหงื่อและต่อมใต้ผิวหนังต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ประจำถิ่น

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะมีลักษณะอย่างไร

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Non-Specific Defense Mechanism) หมายถึง ระบบการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายที่ไม่มีเป้าหมายเฉพาะและสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน และความสมบูรณ์ทางร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งส่งผลให้ระบบดังกล่าวมีความสามารถในการป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอย่างจำกัด จากกลไกย่อย ...

ภูมิคุ้มกันที่มีมาตั้งแต่กําเนิด คืออะไร

ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Immunity) คือภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองเพื่อป้องกันและสกัดเชื้อโรค ทำให้มนุษย์ปลอดภัยจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ทำให้มนุษย์ปลอดภัยจากการติดเชื้อที่มาจากสัตว์อื่น ๆ เช่น ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคชั้นแรก