พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

สาเหตเและที่มาของขยะ! เกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียนเช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมาก

ในปัจจุบัน! ใครหลายๆคนอาจจะเคยชินกับการทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ว่าจะเป็นที่สวนสาธารณะ ถนน ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียน ต้องมีบ้างล่ะ ถังขยะ! แต่นักเรียนส่วนใหญ่ก็มองข้ามถังขยะไม่ยอมทิ้งลงถัง มีแต่ความมักง่ายที่ชอบซุกขยะไว้บริเวณรอบๆที่ตนเองอยู่ตรงนั้น เช่น โต๊ะหินอ่อน โต๊ะนักเรียน บนพื้น ท่อระบายน้ำ หรือแม้แต่ต้นไม้ที่เป็นซอกเป็นรูก็ยังทิ้งไปได้  มีแต่นักเรียนส่วนน้อยและคุณครูที่เห็นว่าการทิ้งขยะไม่ถูกที่ทำให้โรงเรียนไม่สะอาด ดูไม่งามตา และคุณครูทุกๆคน ก็สั่งสอนลูกของตนให้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย และมีความรักษาความสะอาดอยู่แล้ว ก็มีการจัดเวรทำความสะอาดอยู่ทุกวัน แต่มันการกำจัดเพียงพอบรรเทาไม่ให้ขยะมันมากเกินไป เพราะคนทิ้งมากกว่าคนเก็บ เพราะฉะนั้นทุกคนควรมีความฉุกคิดในเรื่องของภัยขยะที่ตามมา เช่น เกิดมลพิษ โรงเรียนหรือที่ต่างๆไม่สะอาดและไม่น่าอยู่ ถ้ามีคนอยู่ประมาณ 2000 คน ถ้าทิ้งขยะคนละชิ้น ก็จะมีขยะเพิ่มในโรงเรียน 2000 ชิ้น แต่ถ้าเก็บขยะลงถังคนละชิ้น ก็จะมีขยะในโรงเรียนลดลง 2000 ชิ้น คิดดูเอาเองว่าจะเลือกมีโรงเรียนที่แต่ขยะเต็มไปหมด หรือโรงเรียนที่ไม่ขยะ ถึงมีแต่ก็น้อยที่สุด

โรงเรียนที่มีขยะ

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

 โรงเรียนที่ไม่มีขยะเรี่ยราดบนพื้น และมีการคัดแยกขยะที่สามารกรีไซเคิลได้ และนำไปขายสร้างรายได้

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

 การป้องกันและควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะที่สําคัญ คือ การลดขยะที่แหล่งกําเนิด (Source reduction) โดยอาศัยขบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวัน การลดปริมาณขยะจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตั้งแต่การเก็บรวบรวม ขนส่ง การคัดแยกและใช้ประโยชน์ ตลอดจนการกําจัดขั้นสุดท้าย ลดปัญหาสภาวะสิ่งแวดล้อม และประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานองค์กรและชุมชน สามารถลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นได้ ก่อนจะทิ้งขยะ หยุดคิดสักนิดว่าเราจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ไหม

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน
 
พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

Advertisement

แนวคิดด้านการจัดการขยะเพื่อการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน คือก่อนจะทิ้งขยะควรหยุดคิดสักนิดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะ หรือนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ แนวคิดที่น่าสนใจคือแนวคิด 7R ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. Rethink  ( คิดใหม่ )

เป็นการเปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องเหมาะสมไม่ได้ทำตามกระแสแต่อย่างเดียว  แต่ทำจากใจหรือจากจิตสำนึกที่ดี  เช่น

–          การซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

  1. Reduce  ( ลดการใช้ )

เป็นการลดใช้ทรัพยากรให้เหลือเท่าที่จำเป็นหรือนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น

–           ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าหวายเลิกง้อถุงพลาสติก

–          ใช้กล่องข้าวหรือปิ่นโตลดการใช้โฟม

–          ใช้แก้วน้ำส่วนตัวงดใช้แก้วที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

–          พยายามอย่าใช้กระดาษสิ้นเปลือง ควรพิมพ์และถ่ายเอกสารเท่าที่จำเป็น จะช่วยลดการตัดต้นไม้และลดพลังงานในการผลิตได้

–          ลดเว้นขอบกระดาษลงจากมาตรฐาน  เช่น  การลดขอบเอกสารด้านซ้ายจาก 3.175 ซม. เป็น 2.5  ซม. และขอบขวาจาก  3.175 ซม. เป็น 1.25  ซม.สามารถใช้พื้นที่กระดาษเพิ่มได้มากขึ้นถึง  27%

–          ลองลดปริมาณน้ำในถังชักโครก ด้วยการใส่ก้อนอิฐหรือขวดน้ำไปแทนที่น้ำ

–          ปิดน้ำเสมอเมื่อเลิกใช้งาน ร่วมกันสอดส่องไม่ให้น้ำเปิดไหลทิ้งก่อนจะออกจากห้องน้ำ

–          รินน้ำดื่มให้พอดี และดื่มให้หมดทุกครั้ง หากดื่มน้ำเหลือนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ หรือรวบรวมเพื่อทำความสะอาดสิ่งต่างๆ

–          ใช้แก้วน้ำตอนแปรงฟันและล้างหน้า เนื่องจากการแปรงฟันโดยใช้น้ำจากแก้ว…จะใช้น้ำเพียง 0.5 – 1 ลิตร แต่หากปล่อยน้ำไหลออกจากก๊อกตลอดเวลาจะใช้น้ำถึง 20-30 ลิตร

–          เลือกใช้ฝักบัวอาบน้ำและปิดน้ำในขณะที่ถูสบู่…จะใช้น้ำเพียง 30  ลิตร หากไม่ปิดอาจใช้ถึง 90  ลิตร แต่ถ้าใช้อ่างอาบน้ำต้องใช้น้ำถึง  110 – 200 ลิตร  เลยทีเดียว

–          ล้างผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำเพียงพอดีกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก ประหยัดน้ำได้มากกว่า 50%

–          ทานอาหารให้เต็มอิ่ม  แต่อย่าเหลือทิ้ง อย่าเหลือขว้าง  เพราะกว่าจะเป็นอาหาร  ต้องใช้พลังงานในการผลิตนะครับ

–          สนับสนุนการซื้อสินค้าในท้องถิ่นช่วยลดเชื้อเพลงในการขนส่งและช่วยพ่อค้าแม่ค้า  แถวบ้านให้มีงานทำ

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน
พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

  1. Reuse ( ใช้ซ้ำ )

เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือใช้อีกครั้ง หรือหลายๆครั้ง เช่น

–          แยกประเภทกระดาษที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสมกระดาษดีนำมาใช้พิมพ์ใหม่เป็นกระดาษ 2 หน้าสำหรับเอกสารร่าง กระดาษยับนำมาตัดเป็นกระดาษโน้ต  กระดาษ 2 หน้าทำเป็นถุงใส่ของ

–          บริจาคสิ่งของที่เลิกใช้แล้วแต่มีสภาพดีให้กับผู้ที่ขาดแคลน

–          ประกวดนวัตกรรมนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ เช่น การนำกระดาษมาเป็นซองใส่ยา ฯลฯ

–          ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลายๆครั้งตามสภาพความเหมาะสม

                                    

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

  1. Recycle ( นำกลับมาใช้ใหม่ )

เป็นการนำวัสดุที่หมดที่หมดสภาพแล้วหรือที่ใช้แล้วมาแปรสภาพด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาใช้หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่  เช่น

–          คิดก่อนทิ้งว่าขยะช่วยกันแยกประเภทขยะเพื่อให้ได้ขยะรีไซเคิลมากที่สุดและเพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดพลังงานในการกำจัดขยะ  เนื่องจากขยะแต่ละชนิดมีวิธีการกำจัดที่ไม่เหมือนกัน

–          สร้างธนาคารขยะที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน  เพื่อการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

–          คัดแยกขยะประเภทกระดาษ  แก้ว โลหะเพื่อการนำกลับไปรีไซเคิลได้ไม่รู้จบ

–          คัดแยกขยะประเภทกล่องนมเพื่อบริจาคนำไปผลิตแผ่นกรีนบอร์ด

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

  1. Repair  ( ซ่อมแซม )

เป็นการซ่อมแซมให้ใช้การได้ใหม่  เช่น

–          กระป๋องพลาสติก ที่แตกร้าวหรือเป็นรูใช้กาวประสานหรืออุดรูเหล่านั้นมันก็ยังใช้ได้เหมือนเดิมทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น การกลายเป็นขยะก็ยืดเวลาออกไป

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

  1. Reject  ( ปฏิเสธ )

เป็นการปฏิเสธการใช้ทรัพยากรแบบครั้งเดียวทิ้งหรือหารนำเข้าจากแดนไกล  หรือการปฏิเสธใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายโลก  เช่น พลาสติก  กล่องโฟมบรรจุอาหาร

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

  1. Return ( ตอบแทน )

เป็นการตอบแทนสิ่งที่พวกเราได้ทำลายไปคืนสู่โลก เช่น

– ปลูกต้นไม้กันเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวคืนแก่โลก ช่วยโลกสดใส ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปัญหาโลกร้อน

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

หลักเกณฑ์ในการจัดการมูลฝอย
1. การคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด เป็นการจำแนกประเภทของมูลฝอยที่ทิ้งโดยผู้ผลิตมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด

2. การเก็บรวบรวมมูลฝอย คือการเก็บกักมูลฝอยใส่ภาชนะ รวมถึงการรวบรวมมูลฝอยจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำไปใส่ยานพาหนะเพื่อขนส่งไปกำจัด หรือนำไปทำประโยชน์อื่น ๆ ต่อไป

3. การเก็บขน และขนส่งมูลฝอย เป็นการนำมูลฝอยที่เก็บรวบรวมจากชุมชนใส่ยานพาหนะไว้แล้วนั้นไปยังสถานที่กำจัด หรือทำประโยชน์อย่างอื่น

4. การแปรสภาพมูลฝอย เป็นการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือองค์ประกอบทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของขยะมูลฝอยเพื่อให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการขนส่ง การนำกลับไปใช้ประโยชน์ การเก็บรวบรวม การกำจัด หรือการลดปริมาตร

5. การกำจัด หรือทำลาย เป็นวิธีการกำจัดมูลฝอยขั้นสุดท้าย เพื่อให้มูลฝอยนั้น ๆ ไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อม อันอาจส่งผลกระทบต่อมนุษย์ต่อไป ซึ่งวิธีการกำจัดมูลฝอยได้แก่ การทำปุ๋ย การเผาด้วยเตา และการฝังกลบแบบสุขาภิบาล

วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย
การจัดการมูลฝอยนั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ หลายด้าน การเลือกใช้วิธีการแบบไหนก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว วิธีการจัดการมูลฝอยที่สำคัญ ๆ มี 5 วิธี ดังนี้

1.การถม (Dumping)

หมายถึงการที่เรานำขยะมูลฝอยไปถมหรือทิ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยปล่อยให้เน่าเปื่อยไปตมธรรมชาติวิธีนี้อาจแบ่งได้ 2 วิธี คือ

1.1 ถมบนพื้นดิน คือการถมมูลฝอยไว้บนพื้นดินโดยถมในพื้นที่ที่ต่ำหรือที่ลุ่มเพื่อต้องการให้ที่นั้นสูงขึ้น เหมาะกับมูลฝอยประเภท เกษตรกรรม อิฐหัก พวกใบไม้ กิ่งไม้ เป็นต้น ข้อดีของการถมบนพื้นดิน คือ เหมาะกับการกำจัดมูลฝอยในชนบท ไม่ทำลายทรัพยากร ไม่ต้องใช้ความรู้มากในการกำจัด เป็นต้น ส่วนข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำจัดมูลฝอยได้ทุกประเภท อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ เป็นต้น

1.2 ทิ้งทะเล คือการนำเอาขยะไปทิ้งทะเล ซึ่งก็มีข้อดีคือไม่ต้องเสียงบประมาณในการใช้ที่ดิน ไม่ต้องแยกประเภทของขยะมูลฝอย ข้อเสียคือ มูลฝอยที่ลอยน้ำได้อาจพัดเข้าหาฝั่งได้ ขยะมูลฝอยเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้น้ำ เป็นต้น

2.การฝัง (Burial)

2.1 การฝังโดยทั่วไป หมายถึงการนำเอาขยะมูลฝอยไปฝังในดิน      วิธีนี้เหมาะที่จะใช้ในชนบทเพราะมีพื้นที่มากและอาจนำเอามูลฝอยไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งการฝังแบบนี้มีวิธีในการดำเนินงานคือ ขุดหลุมสี่เหลี่ยมกว้างด้านละประมาณ 0.5-1 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร แล้นำดินที่ขุดได้กองไว้ปากหลุม เมื่อมีขยะมูลฝอยก็เทเกลี่ยให้กระจายทั่วหลุม จากนั้นนำดินที่ปากหลุมเกลี่ยลงทับขยะประมาณ 10 เซนติเมตร กระแทกดินให้แน่นพอสมควร ชั้นต่อไปก็ทำเช่นเดียวกันจนเต็มหลุม ชั้นบนสุดควรจะอัดแน่นและให้มีความหนาประมาณ 1 ฟุตหรือ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันสัตว์เขี่ย

ข้อดีของการฝังคือ สามารถฝังขยะได้ทุกประเภท ถ้ากำจัดดี ๆ จะไม่มีกลิ่นรบกวน

ข้อเสีย คือต้องมีพื้นที่พอสมควรในการฝัง มีข้อจำกัดในเรื่องน้ำท่วม เป็นต้น

2.2 การฝังอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การฝังแบบนี้คล้ายกับการฝังแบบธรรมดา แต่ต่างกันตรงที่ต้องมีการบดอัดขยะมูลฝอยเพื่อให้ยุบตัวแน่นและมีการเอาดินกลบชั้นบน ซึ่งมีการบดอัดอีกครั้งหนึ่ง เหมาะกับชุมชนเมืองเพราะใช้กับพื้นที่ที่ต้องมีปริมาณขยะมาก ๆ โดยมีวิธีทำ 4 ขั้นตอนดังนี้

1. ขุดดินทำเป็นร่อง ให้ขุดร่องให้เพียงพอกับที่ทิ้งขยะในแต่ละวัน และความลึกจะไม่มีการกำหนดที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับว่าปริมาณขยะนั้นมีมากน้อยเพียงใด

2. เทขยะมูลฝอยลงร่องที่ขุดไว้ เมื่อเทขยะลงร่องเรียบร้อยแล้ว ก็กวาดขยะให้มีความลาดเอียงประมาณ 45 องศา เพื่อความสะดวกแก่รถอัดที่จะทำงานช่วงต่อไป

3. บดอัดขยะมูลฝอย เมื่อกวาดให้ลาดเอียงตามข้อ 2 แล้ว รถบดอัดก็จะทำการบดอัดขยะ

4. ปิดขยะมูลฝอยด้วยดิน เมื่อขยะมูลฝอยถูกบดอัดแน่นดีแล้ว ก็เกลี่ยดินกลบแล้วใช้รถบดกดทับอีกเพื่อให้แน่น ความหนาของชั้นระหว่างขยะมูลฝอยที่กั้นวันต่อวัน ความหนาควรไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว แต่ถ้าเป็นชั้นบนสุดต้องไม่น้อยกว่า 2 ฟุต

ข้อดี คือ เหมาะที่จะใช้กับชุมชนที่ไม่แออัด สามารถกำจัดมูลฝอยได้เกือบทุกประเภท ยกเว้น ยางรถยนต์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการแยกขยะมูลฝอย

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

ข้อเสีย คือ เป็นวิธีที่ใช้อุปกรณ์ราคาแพง ไม่สามารถปลูกสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ ได้
3.การเผา (Burning)

• การเผากลางแจ้ง หมายถึงการนำเอาขยะมาเผาในที่กลางแจ้งบนพื้นดิน โดยไม่ต้องมีเตาเผา

ข้อดี คือ ใช้ได้ดีกับหมู่บ้านในชนบท ควันไฟใช้ประโยชน์ได้ เช่น ไล่แมลง นอกจากนี้ก็เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก เป็นต้น

ข้อเสีย คือ อาจเกิดไฟไหม้ได้ ขยะเมื่อเผาอาจส่งกลิ่นเหม็นได้ และถ้าไม่มีการนำผงเถ้าเมื่อเผาไหม้เสร็จแล้วไปทิ้ง ก็จะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายได้

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

• การเผาด้วยเตาเผาขยะมูลฝอย ในการเผาในเตาเผาจำเป็นที่จะต้องมีการแยกประเภทของขยะที่ไม่ไหม้ออกก่อน เพราะถ้ามีมูลฝอยที่ไม่ไหม้ไฟอยู่ในเตาเผาก็อาจจะเกิดการอุดตันได้

ข้อดี คือ ใช้เนื้อที่ในการกำจัดน้อย อาจนำความร้อนที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้ และเป็นวิธีที่เหมาะกับชุมชนเมือง เพราะเป็นวิธีกำจัดที่มิดชิดไม่ฟุ้งกระจาย เป็นต้น

ข้อเสีย คือ ค่าก่อสร้างค่อนข้างสูง เปลืองค่าใช้จ่ายในการแยกประเภทขยะมูลฝอย และไม่เหมาะในการเผาตอนฝนตก เป็นต้น

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

4.การหมักขยะมูลฝอยทำปุ๋ย (Composting)

หมายถึง การนำเอาขยะมูลฝอยพวกที่ย่อยสลายได้มาหมักทำปุ๋ยในสภาวะที่มีออกซิเจน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. การแยกขยะมูลฝอย ซึ่งจะแยกเอาแต่มูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้

2. สับขยะมูลฝอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดไม่ควรเกิน 2 นิ้ว

3. คลุกเคล้าขยะมูลฝอยให้เข้ากัน

4. การหมัก เมื่อขยะมูลฝอยคลุกเคล้ากันได้ดีแล้ว ก็นำไปหมัก โดยอาจกองบนพื้นหรือหลุม

ตื้น ๆ และกองสูงไม่น้อยกว่า 3 ฟุต แต่ไม่ควรเกิน 6 ฟุต อุณหภูมิที่เหมะสมควรอยู่ระหว่าง 122-158 องศาฟาเรนไฮต์ ระยะเวลาที่หมักประมาณ 15-21 วัน แต่ทุก ๆ ช่วง 2-3 วัน ต้องมีการกลับขยะมูลฝอยสักครั้งหนึ่ง เมื่อครบกำหนดก็จะได้ปุ๋ยหมักตามที่ต้องการ

ข้อดี คือ สามารถลดปริมาณขยะลงได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากมูลฝอยได้อีกด้วยกระบวนการหมักไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ข้อเสีย คือ ปุ๋ยที่ได้อาจมีคุณภาพต่ำกว่าปุ๋ยเคมี
5.การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycling)

หมายถึง การนำเอาขยะมูลฝอยที่ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ กลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งมูลฝอยที่นำมา Recycle ได้แก่

• กระดาษ เช่น การนำกระดาษเก่ากลับมาใช้ การทำกระดาษสา เป็นต้น

• พลาสติก ได้แก่ การนำมาขึ้นรูปใหม่ เช่น ขึ้นรูปใหม่เป็นแจกัน ถังขยะ เป็นต้น

• อลูมิเนียม เช่น กระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วสามารถที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้

• แก้ว แก้วก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่สามารถหลอมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้

ข้อดี คือ สามารถลดขยะในสิ่งแวดล้อมได้ ลดต้นทุนในการผลิตได้ เป็นต้น

ข้อเสีย คือ วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่บางชนิด อาจมีการปนเปื้อนของสารพิษอยู่ ถ้าไม่มีการฆ่าเชื้อให้ดี เช่น พลาสติก

พฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน

หลักการที่ใช้ในการพิจารณาเลือกวิธีการกำจัดขยะมูลฝอย
1. ลักษณะและปริมาณของขยะมูลฝอย วิธีการกำจัดมูลฝอยแต่ละวิธีอาจใช้ได้กับลักษณะมูลฝอยอีกอย่างหนึ่ง เช่น ขยะมูลฝอยที่เผาได้ก็เหมาะกับขยะที่ต้องนำมาเผา เป็นต้น

2. สถานที่ การเลือกวิธีที่จะกำจัดขยะมูลฝอยควรคำนึงถึงสถานที่ด้วย เช่น ถ้าเลือกวิธีเผากลางแจ้ง ก็ควรคำนึงด้วยว่ากลิ่นหรือควันจากการเผาไหม้มันจะรบกวนประชาชนหรือไม่ เป็นต้น

3. ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ในการกำจัดขยะมูลฝอยเราต้องคำนึงถึงราคาด้วยว่ามันเหมาะสมหรือคุ้มทุนหรือไม่

4. ค่าใช้จ่ายในกระบวนการกำจัด เช่นค่าใช้จ่ายในการซื้อรถบดอัด ในการฝังกลบแบบสุขาภิบาล

5. การนำผลผลิตจากการกำจัดขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ เช่นถ้าต้องการพลังงานความร้อนก็ควรเลือกวิธีเผาด้วยเตาเผาขยะ

6. ผลกระทบของการกำจัดขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะในการที่จะกำจัดขยะมูลฝอยต้องคำนึงถึงผลกระทบเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย

สาเหตุขยะในโรงเรียน มีอะไรบ้าง

เกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียนเช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมาก

นักเรียนจะมีวิธีกำจัดขยะในโรงเรียนอย่างไร

- แยกประเภทกระดาษที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสมกระดาษดีนำมาใช้พิมพ์ใหม่เป็นกระดาษ 2 หน้าสำหรับเอกสารร่าง กระดาษยับนำมาตัดเป็นกระดาษโน้ต กระดาษ 2 หน้าทำเป็นถุงใส่ของ - บริจาคสิ่งของที่เลิกใช้แล้วแต่มีสภาพดีให้กับผู้ที่ขาดแคลน - ประกวดนวัตกรรมนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ เช่น การนำกระดาษมาเป็นซองใส่ยา ฯลฯ

ขยะมีกี่ประเภทในโรงเรียน

กิจกรรมที่ 2 “กิจกรรมการแยกขยะ 4 ฐาน 4 ถัง” เพื่อให้นักเรียนรู้จักประเภทและปลายทางของขยะและสีมาตรฐานของถังขยะ 4 ชนิด เพื่อให้มีการแยกขยะได้ถูกต้อง ได้แก่ ขยะอินทรีย์ (ถังขยะสีเขียว) ขยะรีไซเคิล (ถังขยะสีเหลือง) ขยะทั่วไป (ถังขยะสีฟ้า) และขยะอันตราย (ถังขยะสีส้ม)

นักเรียนจะลงโทษคนที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่อย่างไร

28 ก.ย. 2565 13:57 น. 4 ครั้ง 6 โทษทางกฎหมาย “ทิ้งขยะไม่ถูกที่” สูงสุดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 1) การทิ้งขยะในที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 31(2) และ มาตรา 54)