ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

ในยุคปัจจุบันคนเราสื่อสารอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลข่าวสารอย่างแผ่หลายเพราะอินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก โดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ สามารถติดต่อกันได้ง่ายรวดเร็วขึ้น

โลกไร้พรมแดน คือ อะไร

โลกไร้พรมแดน ก็คือ โลกแห่งการติดต่อสื่อสาร เราสามารถพบปะเพื่อนฝูง เครือญาติ เพื่อน โดยอาจไร้ตัวตนของคนที่เราสื่อสาร เป็นนิยามของคำว่าติดต่อกัน เพื่อมิตรภาพที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ไม่เลือกเชื้อชาติ ชนชาติ ศาสนา เพศ อายุ และการสื่อสาร อยู่ที่ไหนก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ หากเรารู้จักกันจากเพื่อนของเพื่อน รวดเร็วฉับไว ทันต่อข่าวสารทั่วโลก ทำให้เรารู้ข่าวสารสิ่งต่างๆได้อย่างง่ายดาย  สามารถนำไปใช้ศึกษาเรียนรู้ในชีวิตประจำวันได้เลย

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโลกไร้พรมแดน

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

                  เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPA net) 

การสื่อสารไร้พรมแดนประโยชน์และภัยมืด

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

                 ปัจจุบันโลกของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามามีบทบาทในสังคมไทย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัย จนอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว นั่นอาจหมายถึง คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากใช้อย่างสร้างสรรค์ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ ทั้งด้านการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดจนการค้นหาความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ บนโลกอินเตอร์เน็ต

          นอกจากนี้ก็ยังมีการโจมตีในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล์ (Email Spoofing) หรือที่เรียกกันว่าPhishing ได้ทำการสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอีเมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ เป็นต้นนอกจากนี้ก็ยังมีการโจมตีในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล์ (Email Spoofing) หรือที่เรียกกันว่าPhishing ได้ทำการสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอีเมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ เป็นต้น และยังได้มีช่องทางอื่นๆ ที่ทำให้การเจาะเข้ามาทำลายข้อมูลได้โดยง่ายจากหลายช่องทาง เช่น Wi-Fi ซึ่งคือ แอกเซสพล้อยภายในอาคารที่อำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวัน โดยการติดตั้งระบบต่างๆต้องคำนึงถึงเวลาการติดตั้ง ไม่งั้นจะมีคนเข้ามาใช้และเข้ามาเอาข้อมูลของเราได้ จนอาจทำให้ระบบพังได้

คุณค่าของโลกไร้พรมแดน

          อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic mail = E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Email เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย

2) การโอนถ่ายข้อมูล  (File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง

3) การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น

4) การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat)เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม

5) การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ -สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุนไม่มากนัก

6) การให้ความบันเทิง (Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น

สื่อใหม่หรือภัยโลกพรมแดน

สื่อใหม่ คือ การรวมตัวของสื่อมวลชนเดิมอันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต เป็นสื่อกลางในการทำงาน ซึ่งต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิต ตัดต่อ นำเสนอ

สื่อใหม่ ยังรวมถึง การนำเสนองานในระบบ Interactive ต่างๆ นอกเหนือจากการนำเสนองานโดยมีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อแล้ว ยังมีการนำเสนองานทั้งด้าน CD-ROM, Interactive Television, Broadband, DVD ตลอดจนการนำเสนองานในนิทรรศการต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมกันทำงานระหว่างสื่อ(Media) และ เทคโนโลยี ( IT )

ภัยจากการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต มักลงเอยด้วยการล่อลวงคู่สนทนาเพื่อพาไปข่มขืน ซึ่งช่วงเวลา หนึ่งที่ผ่านมาการกระทำความผิดอาญา อันเกิดจากการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ตนี้จะมีมาก สังเกตได้จากข่าว ในหน้าหนังสือพิมพ์หลายครั้งหลายคราวในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

การใช้กฎหมายเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต จะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหนนั้น เป็นประเด็นที่ประสงค์จะแลก เปลี่ยนทัศนคติกับผู้อ่านและสังคม เพื่อที่คนทุกเพศ จะได้ตระหนักถึงภัยร้ายของสังคมในลักษณะเช่นนี้ จากสถิติการข่มขืนเพียงช่วงระยะเวลา 8 ปี ระหว่างปี 2540 - 2547 มีจำนวนคดีที่มากถึง 5,052 คดี อ้างอิงสถิติจากสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วตามรายงาน ดังกล่าวช่วงอายุของเหยื่อจะอยู่ระหว่าง 20-30 ปี (อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 หน้า 14) ซึ่งสถิติการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ตเพื่อไปข่มขืนก็น่าที่จะถูกนำมารวมเป็นตัวเลขสถิติการกระทำผิดในลักษณะที่กล่าวมานี้ด้วย

ในส่วนของกฎหมายที่น่าจะนำมาใช้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดที่เข้ามาล่อลวงผู้เสียหายทางอินเตอร์เน็ต เพื่อไปข่มขืนกระทำชำเรา จะขอกล่าว ถึงเพียงเฉพาะตามประมวลกฎหมาย อาญา ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศจะแบ่งออกเป็น 6 ฐานใหญ่ๆ คือ

1) ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา

2) ความผิดฐานกระทำอนาจาร

3) ความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเด็กหญิงหรือหญิง

4) ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร

5) ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี

6) ความผิดฐานค้า หรือทำให้แพร่หลาย ซึ่งวัตถุหรือสิ่งของลามก

7) ความผิดฐานสำคัญที่สามารถนำมาปรับใช้กับการกระทำผิดกรณีล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต น่าจะอยู่ที่ข้อ 1 และ 2 โดยที่ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตน กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี

การเข้าสู่โลกไซเบอร์ในยุคไร้พรมแดน

        โลกไซเบอร์ หรือ อินเตอร์เน็ต (Internet) ก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว จากเมื่อก่อนจะใช้ได้เฉพาะภายในสำนัก และองค์กรของรัฐเท่านั้น แต่ขณะนี้ อินเตอร์เน็ตหาได้ทั่ว ๆ ไป เพียงแค่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี ที่พอจะมีประสิทธิ์ภาพในการรองรับการเชื่อมต่อ ก็สามารถเข้าสู่โลกไซเบอร์ได้อย่างง่ายดาย ชีวิตในโลกไซเบอร์ ทุกคนล้วนมีสถานะอิสระ ได้เป็นเท่าที่ตัวเองต้องการ และอยู่บนพื้นฐานที่มีทั้งความเป็นจริง และความหลอกลวงปะปนอยู่ในนั้น และ ณ เวลานี้ เหมือนชีวิตประจำวันได้เชื่อมโยงกับไซเบอร์จนแทบจะแยกกันไม่ออก เว็บบล็อกก้าวเข้ามาสู่ชีวิตเปรียบเสมือนเส้นสายใยระหว่างผู้คน เพื่อนสนิท และเพื่อนร่วมโลก เพียงแค่สร้างบล็อกก็เท่ากับได้เข้าไปยังโลกของผู้คนนับล้าน ๆ อย่างรวดเร็ว

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

การเข้าสู่โลกไซเบอร์ ใช่ว่าจะมีทางเข้าได้แค่เพียง เครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี เท่านั้น ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือ และ พีดีเอโฟน ก็สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวก และ ง่ายดาย แม้ว่าจะมีค่าบริการเพิ่มขึ้น แต่ก็หาใช่เรื่องที่ต้องให้คิดหนัก การจ่ายเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิตนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป โดยเฉพาะวัยรุ่น ถึงแม้วัยรุ่นจะไม่สามารถหารายได้ด้วยตัวเอง หากมีผู้ปกครองสนับสนุนและพร้อมที่จะจ่ายให้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่อาจจะเพราะวิถีชีวิตในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปการทำมาหากินรีบเร่ง และไม่มีเวลาจะดูแลครอบครัวด้วยตัวเองจึงทำให้ต้องพึ่งพาอุปกรณ์สื่อสารและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเพื่อนทดแทน

ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ต่อสังคมโลก

1) ผลกระทบด้านสังคม

               การครอบโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากระบบสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้เกิดการครอบโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมและอำนาจของเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศอื่นอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลก (Neo - Westernization) ครอบงำทาง ความคิด การมองโลก การแต่งกาย การบริโภคนิยม แพร่หลายเข้าครอบคลุมเหนือวัฒนธรรมประจำชาติของแต่ละประเทศ ผลที่ตามมา คือ เกิดระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน

                  จากผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า มีปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า POP CULTURE เกิดขึ้น ปรากฏการณ์นี้ คือรูปแบบวัฒนธรรมที่มีการประพฤติ ปฏิบัติในวงกว้าง เช่นการบริโภค อาหารแบบ FAST FOOD ตามวิถีแบบอเมริกันชนความเป็นอยู่ การศึกษา ต่างๆ ที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ในการดำเนินชีวิต

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

2) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

                   ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า จากการผลิตที่เหมือนกันในปริมาณที่เป็นจำนวนมาก มาเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการผลิต โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอัตราเร็วนี้คือความสามารถที่จะก้าวล้ำหน้า ทำให้มีผลต่อการกระจายอำนาจ และผลกำไรอย่างมากมาย

3) ผลกระทบด้านการเมือง

                   เกิดความรู้สึกท้องถิ่นนิยม ( Localism ) กระแสโลกาภิวัฒน์สร้างความรู้สึกท้องถิ่นนิยม แทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัฒน์เป็นยุคแห่งข่าวสาร ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วจากสื่อต่างๆ อาจเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

ชีวิตในยุคโลกไซเบอร์และการสื่อสารไร้พรมแดน

          ปัจจุบันโลกมีการพัฒนาอย่างก้าวหน้าทันสมัย การติดต่อสื่อสารเป็นที่ง่ายและทำได้สะดวกรวดเร็ว เหมือนดั่งโลกที่ไร้พรมแดน ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสาร สืบค้นหาข้อมูลได้อย่างอิสรเสรี เนื่องจากขณะนี้ สื่ออินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานในทุกระดับได้ง่ายที่สุด อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราที่ประสงค์ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการท่องโลกอินเทอร์เน็ต หาความรู้ใหม่ๆหรือความบันเทิงตามประสาของผู้ที่มีความอยากรู้ทั้งหลาย ถือเป็นการศึกษาต่อยอดความรู้เดิมที่ตนมีอยู่ นับวันผู้คนในสังคมที่มีความรู้ความสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเล่นอินเทอร์เน็ตดังกล่าว จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะสังเกตได้จากจำนวนร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตกันอย่างมากมาย สังคมแห่งการเรียนรู้ที่เราคาดหวังจะให้เกิดในสังคมไทยเรา ย่อมไม่ไกลเกินจริง หากประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้มันเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง

          จากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีในด้านต่างๆ จึงทำให้ทราบว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ไร้พรมแดนได้รับความนิยมจากมนุษย์มากขึ้น ในการที่มนุษย์สามารถใช้ติดต่อสื่อสารหากันได้สะดวกและมนุษย์ของเราได้มีการพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั่วไปทุกวัน ไม่ว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่ผิด แต่อย่างไรก็ตามในโลกนี้ยากที่จะหาสิ่งใดที่ดี และเพียบพร้อมทุกอย่าง สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นของคู่กัน อินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน

       ทุกวันนี้ โลกไร้พรมแดนไม่ใช่เรื่องในจินตนาการอีกต่อไป เทคโนโลยีทางการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ พีซี โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือพีดีเอโฟน ต่างเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตมนุษย์ ทุกผู้ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่น วัยรุ่นกับเทคโนโลยี จึงกลายเป็นคู่ขาปาท๋องโก๋ไปซะแล้ว

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

              นี่ล่ะ ชีวิตในยุคโลกไซเบอร์และการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้โลกอันกว้างใหญ่แคบลงมาถนัดตา เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส อยากไปที่แห่งใด ไกลแค่ไหน ก็ใช้แค่มือและเม้าท์คลี๊กเข้าไป แค่นี้ชีวิตก็ได้มองเห็นกว้างไกล แต่ใคร่อยากแนะนำสักเล็กน้อย โลกไร้พรมแดน ไปแล้วก็จริง ขอให้ใช้อย่างมีสติ ระมัดระวัง และให้ได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อยากให้เกิดทุกข์ เกิดโทษกับตัวเองและผู้อื่น ให้โลกไซเบอร์และการสื่อสารไร้พรมแดน เป็นโลกที่สวยงาม อิสระ และน่าอยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน

ระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน หมายถึง

อ้างอิง

ธนพล   อินทร์วงศ์.  ความหมายของโลกไร้พรมแดน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

ธนพล   อินทร์วงศ์.  การสื่อสารไร้พรมแดนประโยชน์และภัยมืด.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

ธนพล   อินทร์วงศ์.  คุณค่าของโลกไร้พรมแดน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

ธนพล   อินทร์วงศ์.  อนาคตของเด็กในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

ธนพล   อินทร์วงศ์.  สื่อใหม่หรือภัยโลกพรมแดน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

สินีนาฎ   ใฝ่สุข.  ชีวิตในยุคโลกไซเบอร์และการสื่อสารไร้พรมแดน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

อินทิรา   สุขสันต์.  ผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ต่อสังคมโลก.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

ลิงก์เว็บ

http://blogger-1802.blogspot.com/

http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=2970.0

http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1113

http://www2.udru.ac.th/~global/global_lavel_2_02.htm.

http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=2970.0