ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว คือ

ความรู้เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

             

อัตราแลกเปลี่ยนนั้นหมายถึงราคาของเงินสกุลท้องถิ่นหนึ่งหน่วยในรูปของเงินตราต่างประเทศอย่างเช่น  อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทของไทยหนึ่งบาทในรูปของเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาจะหมายถึงราคาของเงินหนึ่งบาท เมื่อเทียบกับเงินหนึ่งเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเท่ากับ 0.025 หรือในทอนองกลับกันนั้นราคาของเงินหนึ่งเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับเงินหนึ่งบาทไทยจะเท่ากับ 40 เป็นต้น

            ระบบของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นจะจำแนกออกได้เป็น 2 ระบบนั้นก็คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว หรือ Floating Exchange Rate แต่ในทางปฏิบัติ อาจจะจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ นั้นก็คือ

            ระบบที่ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจจะเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียวเช่น เหรียญฮ่องกงกับเหรียญสหรัฐอเมริกา อย่างเช่น เหรียญฮ่งกงกับเหรียญสหรัฐ หรืออาจะผูกค่าเข้ากับกลุ่มเงินสกุลเงินต่างๆ ที่เรียกกันว่าระบบตะกร้า อย่างเช่น ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในอดีตเป็นต้น

             ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้ อาจจะคล้ายกับระบบแรกนิดหน่อย แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะเคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า เช่น ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism (ERM) เป็นต้น

             ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศดังที่ได้ศึกษาไปแล้ว ซึ่งค่าของเงินนั้นจะมีความผันผวนมากกว่า 2 ระบบแรกซึ่งภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นสูงนี้ ยังแบ่งได้อีก 2 ระบบ ได้แก่ ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ และ ระบบลอยตัวเสรี

              ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ หรือ Managed หรือ Dirty Float เป็นระบบที่ปล่อยให้ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาดหรือกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน แต่ธนาคารกลางนั้นจะสามารถเข้าไปแทรกแซงตลาดให้เป็นไปตามทิศที่เราต้องการได้ ซึ่งระบบที่ประเทศส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน

               ระบบลอยตัวเสรี Independent หรือว่า Free Float เป็นระบบที่ปล่อยให้ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารกลางอาจจะเข้าไปแทรกแซงในตลาดได้บ้างเพื่อชี้นำทิศทางแต่ไม่ใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราการแลกเปลี่ยนในตลาด

บทความเกี่ยวกับ เงินฝากประจำ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
ข้อดี

• สร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในประเทศเนื่องจากค่าเงินผูกติดกับประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ

• ช่วยสร้างบรรยากาศของความมั่นคงต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ข้อดี

• มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน

• มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับความผันผวนจากภายนอก เนื่องจากเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดโดยกลไกตลาด

ข้อเสีย

• ธนาคารกลางแบกรับภาระในการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ ซึ่งอาจเป็นจุดอ่อนที่นำไปสู่การเก็งกำไรค่าเงิน

• ขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินในประเทศเนื่องจากต้องคำนึงถึงการรักษาอัตราแกลเปลี่ยนเป็นหลัก

ข้อเสีย

• ในการดำเนินนโยบายการเงิน จะมีตัวแปรมากขึ้นที่ต้องพิจารณา ในการดูแลระดับราคาในประเทศ เนื่องจากอัตราแกลเปลี่ยนที่อ่อนค่าสามารถส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

• ในกรณีที่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ธนาคารกลางอาจขาดความโปร่งใสในการดำเนินงาน

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed หรือ Dirty Float)

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ กลไกตลาดยังคงมีความสำคัญในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน แต่ก็เชื่อว่าหากปล่อยให้กลไกตลาดจัดการกับค่าเงินเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ค่าเงินมีความผันผวนได้ ดังนั้นธนาคารกลางจึงต้องเข้าไปแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศบ้าง เพื่อต้องการให้ค่าเงินของประเทศมีเสถียรภาพ ยกตัวอย่างเช่น จากภาพที่ 2 พบว่า เมื่อมีเหตุบางประการส่งผลให้ในตลาดเงินตราระหว่างประเทศมีความต้องการดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น ดังแสดงได้จากเส้นอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐที่เลื่อนขึ้นเป็นเส้นใหม่ โดยธนาคารกลางคาดว่าถ้าไม่มีมาตรการแทรกแซงเงินดอลลาร์สหรัฐจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงเป็น 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ จุดดุลยภาพใหม่ที่จุด B

จากเหตุการณ์ดังกล่าว หากธนาคารกลางต้องการลดความผันผวนอันเกิดจากความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหัน ธนาคารกลางสามารถแทรกแซงได้โดยเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงินตราต่างประเทศ โดยการขายเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ในตลาดมีปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้เกิดเส้นอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐขึ้นมาใหม่ โดยสมมติให้จุดดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความเหมาะสมอยู่ที่จุด C ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวลอยตัวภายใต้การจัดการ ทำให้นโยบายการเงินมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอันจากความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของเงินตรา อีกทั้งทำให้ทางการสามารถดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว คือ

ภาพที่ 2 ดุลยภาพในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อมีอุปสงค์ของเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นและธนาคารกลางแทรกแซงความผันผวนที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างของประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐคีร์กีซ ลาว ไลบีเรีย เมาริตาน่า มอริเชียส เมียนมาร์ ยูเครน แอลจีเรีย สิงคโปร์ วานูอาตู อัฟกานิสถาน บูรุนดี แกมเบีย จอร์เจีย กิวนี ไฮติ จาไมก้า เคนยา มาดากัสการ์ มอลโดวา โมซัมบิก ไนจีเรีย ปาปัวนิวกินี เซาตูเมและปรินซิปี ซูดาน แทนซาเนีย อูกันดา อาร์เมเนีย โคลัมเบีย กาน่า กัวเตมาลา อินโดนีเซีย เปรู โรมาเนีย เซอร์เบีย ไทย อุรุกวัย สาธารณรัฐโดมินิกัน อิยิปต์ อินเดีย มาเลเซีย ปากีสถาน ปารากวัย

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว คืออะไร

อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เป็นระบบที่ตรงข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบกึ่งจัดการ เป็นการปล่อยให้อัตราค่าเงินเป็นไปตามกลไกของตลาด ขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทาน ของสกุลเงินนั้น ๆ โดยธนาคารกลางเป็นผู้คอยควบคุมให้เป็นไปโดยปกติ หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติต่อค่าเงิน เช่น มีการเก็งกำไร ธนาคารกลางก็จะเข้าแทรกแซง

อัตราแลกเปลี่ยนระบบลอยตัวเสรีมีลักษณะสำคัญอย่างไร

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ข้อดี สร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในประเทศเนื่องจากค่าเงินผูกติดกับประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ ช่วยสร้างบรรยากาศของความมั่นคงต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนมีอะไรบ้าง

3.1 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ... .
3.1.1 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่(Fixed Exchange Rate System) ... .
3.1.2 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุน (Modified Fixed Exchange Rate System) ... .
3.1.3 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบจัดการ (Managed Floating Exchange Rate System) ... .
3.1.7 ขอดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเคลื่อนไหวอยางเสรี.

อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวกำหนดจากปัจจัยใด

สำหรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยกลไกตลาดเป็นหลัก ดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในระบบนี้จะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ เช่นจุด A ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ดังภาพที่ 1 โดยเมื่ออุปสงค์และ/หรืออุปทานของเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลง จะทำให้เส้นอุปสงค์และ/หรือเส้นอุปทานเงินตรา ...