ประเทศไทยต้องดำเนินการในฐานะสมาชิกตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องใด

ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ คือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ซึ่งเป็นเวทีการเจรจาระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งไทยได้เข้าร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

     โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำคัญของการเจรจา คือ การควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นระดับที่จะเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติอย่างแก้ไขไม่ได้ 

     ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา UNFCCC เมื่อปี 2537 และเมื่อปี 2545 ได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมรับรองพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยความสมัครใจ

     โและเมื่อปี 2559 ที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา UNFCCC ได้จัดทำความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อกำหนดความร่วมมือการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันระดับโลก
3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 1) การควบคุม การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม 2) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และ 3) การสร้างเงินกองทุนหมุนเวียนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

     ในการเจรจาภายใต้กรอบอนุสัญญา UNFCCC ไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม G77 และจีน ซึ่งประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดรวม 134 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันท่าทีร่วมกัน และเพิ่มน้ำหนักและอำนาจต่อรองในการเจรจาในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้มีการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) ใน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาพลังงานและขนส่ง 2) สาขาของเสีย และ 3) สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าจะลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับการดำเนินการปกติ (Business as Usual : BAU)

     โดยแนวคิดหลักของการจัดทำ NDC ของไทยนั้นมีอยู่ 4 ประการ คือ 1) สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) บูรณาการและต่อยอดนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ 3) มุ่งเน้นแผนที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐที่สนับสนุนการปรับรูปแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และนำไปสู่การดำเนินงานได้จริง ซึ่งสามารถติดตามและประเมินผลได้ และ 4) ต่อยอดจากการดำเนินงานในกรอบ NAMAs (Nationally Determined Mitigation Actions) ที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ ร้อยละ 7-20 ภายในปี 2563 โดยเน้นสาขาพลังงานและขนส่ง ซึ่งเป็นสาขาที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดของประเทศ

     ทั้งนี้ จากรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน พ.ศ. 2559 ซึ่งรวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานที่ลดได้ 45.72 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 12.45 เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

     ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในประเทศไทย มีส่วนสำคัญที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ปัญหาการจราจร ประกอบกับการกระจายตัวของฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศแย่ลง ซึ่งก็มีความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความกดอากาศ ลม และสภาพอากาศที่นิ่ง และหากฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ยังถูกปล่อยเพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้จึงหวังว่าการมุ่งมั่นร่วมมือดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จะมีส่วนช่วยให้สถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในไทยขณะนี้คลี่คลายโดยเร็ว

ขอขอบคุณ ที่มาของข่าว: สำนักข่าวประชาชาติ คอลัมน์แตกประเด็น โดยคุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ประเทศไทยต้องดำเนินการในฐานะสมาชิกตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องใด

โลโก้ UNFCCC (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:UNFCCC_Logo.svg

                อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: United Nations Framework Convention on Climate Change หรือย่อเป็น UNFCCC หรือ FCCC) เป็นอนุสัญญา "กรอบการทำงาน" ที่จำเป็นต้องมีวิธีการทางกฎหมายในการสนับสนุน (เช่นพิธีสารต่างๆ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายแบบไม่ผูกมัด  ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือเท่ากับระดับ พ.ศ. 2533 ภายใน พ.ศ. 2543 แต่จากที่ได้ประเมินในปี พ.ศ. 2538 พบว่าเป้าหมายโดยสมัครใจนี้ไม่เพียงพอ ดังนั้นใน พ.ศ. 2538 ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญากรอบการทำงานแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งกระบวนการในการเจรจาเพื่อพิธีสารที่มีเป้าหมายผูกมัดและกำหนดเวลา "ในฐานะเป็นเรื่องเร่งด่วน" ซึ่งเป็นที่มาของ พิธีสารเกียวโต ซึ่งได้รับความเห็นพ้องในเดือนธันวาคม 2540 และในที่สุดมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ในการประชุมประจำปีของอนุสัญญาฯ เรียกว่า การประชุมสมัชชาภาคี (Conference of Parties; COPS) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ เจ้าหน้าที่รัฐบาล นักวิ่งเต้นจากภาคอุตสาหกรรม กรีนพีซ และอีกหลายๆ กลุ่ม ฝ่ายต่างๆ

               หลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

               วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

               คือรักษาความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพื่อให้ระบบนิเวศน์ธรรมชาติสามารถปรับตัวได้ และเพื่อเป็นการประกันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแต่ไม่ได้กำหนดระดับ หรือปริมาณก๊าซที่จะรักษาปริมาณไว้เป็นตัวเลขที่แน่นอน

               หลักการของอนุสัญญาฯ

               อนุสัญญาฯมีหลักการที่สำคัญดังนี้

               1. "หลักการป้องกันไว้ก่อน" ภายใต้หลักการป้องกันไว้ก่อนนั้น กิจกรรมที่มีโอกาสจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศจะต้องมีการจำกัดหรือห้ามดำเนินการ ถึงแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาเหตุดังกล่าวก็ตาม เนื่องจากหากรอให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์พัฒนาที่จะทำให้พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้ว ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอาจจะสายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ หลักการนี้จึงให้โอกาสในการควบคุมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอย่างเนิ่นๆ เช่น การกำหนดให้มีการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับการปล่อย ณ ปี พ.ศ. 2533 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2543

               2. "หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง" ทุกประเทศภาคีอนุสัญญาฯ มีพันธกรณีในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอนุสัญญาฯ แบ่งประเทศภาคีต่างๆออกเป็น สองกลุ่มใหญ่ คือ ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries) กับกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non Annex I countries)

               3. "หลักการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสาร" ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความโปร่งใส ภายใต้ข้อตกลงที่ว่าต้องมีการจัดทำ รายงานแห่งชาติภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Communication under United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งมีเงื่อนไขในเรื่องของความสมบูรณ์ของเนื้อหา และระยะเวลา ที่แตกต่างกันระหว่างประเทศในภาคผนวก I และนอกภาคผนวก I

               4. "หลักการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยกว่า" เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนามีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูง ดังนั้นหลักการนี้ต้องการให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ความสะดวก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยี กับประเทศกำลังพัฒนาและความช่วยเหลือนี้ต้องเป็นส่วนเพิ่มเติมจากความช่วยเหลือระหว่างประเทศที่ให้อยู่เดิม ปัจจุบัน อนุสัญญาฯ ได้ใช้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเป็นกลไกหนึ่ง ในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินนโยบายถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดให้กับประเทศกำลังพัฒนา

               การดำเนินการในประเทศไทย

               ประเทศไทยได้เห็นความสําคัญของปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 จนเป็นผลให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อ 28 มีนาคม 2538 และลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545

ประเทศไทยต้องดำเนินการในฐานะสมาชิกตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องใด

ที่มา:http://www.navy.mi.th/pnbase/information_center/doc/e9852/985207.doc

                เหตุผลที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เนื่องจาก

                • เป็นปัญหาระหว่างประเทศที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ

               • ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

               • เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยต้องดำเนินการในฐานะสมาชิกตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องใด

ที่มา:http://www.navy.mi.th/pnbase/information_center/doc/e9852/985207.doc

ประเทศไทยต้องดำเนินการในฐานะสมาชิกตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องใด