ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

การถูกตรวจสอบทางภาษีอากรต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นฝันร้ายที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่อยากพบ การป้องกันจุดเสี่ยงต่างๆ ที่จะถูกตรวจสอบจึงช่วยลดปัญหาลงไปได้

จุดเสี่ยงประกอบด้วย

1. ประเด็นตามแบบแจ้งข้อความของกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ ท้ายแบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 5 ประเด็น ถือเป็นประเด็นสำคัญอันดับแรกๆ ในการตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการ ได้แก่

(1) กิจการขายสินค้า บริการ หรือทรัพย์สิน ให้กู้ยืมเงิน หรือให้เช่าทรัพย์สิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีแต่ต่ำกว่าราคาตลาด อันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญโดยชัดแจ้ง ทั้งนี้ ตามความในมาตรา 64 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับกิจการทั่วไป และมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับกิจการที่มีความสัมพันธ์ และมีการถ่ายโอนกำไร (Transfer Pricing)

(2) กิจการซื้อทรัพย์สิน รวมทั้งรายจ่ายเพื่อซื้อทรัพย์สินดังกล่าวและค่าบริการในราคาที่เกินปกติ อันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญโดยชัดแจ้ง ตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร

(3) กิจการตั้งเจ้าหนี้หรือลูกหนี้โดยไม่มีตัวตน หรือมีตัวตน แต่จำนวนเกินความเป็นจริง อันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญโดยชัดแจ้ง เนื่องจากการจัดทำบัญชีไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง

(4) กิจการเกิดผลขาดทุนสุทธิติดต่อกันเกินกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี แต่มีการขยายกิจการตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร

(5) การหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษี กิจการได้ดำเนินการครบถ้วนแล้วหรือไม่

ในเบื้องต้นหากผู้ประกอบการจัดการความเสี่ยงในประเด็นดังกล่าว โดยดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ก็จะช่วยให้ประกอบกิจการด้วยความมั่นใจทางภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ และคลายความกังวลต่อการถูกตรวสอบภาษีอากร รวมทั้งพร้อมรับมือกับการตรวจสอบที่อาจเกิดมีขึ้น

2. กรณีประมาณการกำไรสุทธิต่ำไปเกินกว่า 25% ของจำนวนกำไรสุทธิประจำรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ได้ยื่นแบบเพิ่มเติมแล้ว

3. กรณีมีรายจ่ายที่เพิ่มจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อน อาทิ ค่าตอบแทนกรรมการ ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าซ่อมแซม

4. กรณีรายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ต่ำกว่ารายได้ตามแบบ ภ.พ.30 สำหรับระยะเวลาเดียวกันโดยไม่มีการพิสูจน์

5. การรับรู้รายได้ไม่ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชี

กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้ประกอบการมิได้หักและนำส่ง หรือหักนำส่งไว้ไม่ครบถ้วน

กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม อาทิ

1. แสดงภาษีขายจำนวน หรือภาษีซื้อสูงเกินไป

2. ประกอบการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. ใช้ใบกำกับภาษีปลอม

กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ อาทิ ดอกเบี้ยรับจากการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การแสดงรายรับที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ครบถ้วน เพราะผู้จ่ายเงินได้ออกภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินแทนผู้ประกอบกิจการ

ประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมโดยรวม  

1. ใช้เงินสดเป็นหลัก

2. สินค้าคงเหลือไม่ถูกต้อง

3. ไม่มีทรัพย์สินหรือมีทรัพย์สินมากเกินไป

4.  เงินกู้ยืมกรรมการมากเกินไป

5. ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน

6. บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง

7. บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน

8. ค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ลดลง

9. ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบรายได้ และสร้างค่าใช้จ่ายเท็จ

พบกับเนื้อหาที่ครบถ้วนได้ใน “เกณฑ์ความเสี่ยง” ถูกตรวจสอบภาษีจากระบบ RBA  คอลัมน์ Cover Story  (วารสารเอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564)

สนใจสมัครสมาชิก รับวารสาร 12 ฉบับ/ปี (เฉลี่ย 192.-/ฉบับ) คลิก

สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกวารสารเอกสารภาษีอากร :

  1. รับหนังสือประมวลรัษฎากร ฉบับสมบูรณ์ ปีละ 1 เล่ม (มูลค่า 500 บาท)
  2. รับสิทธิใช้ฟรี e-Magazine Index & Audio Book (อ่าน สืบค้นข้อมูลบทความด้านบัญชีภาษีในวารสารได้)
  3. รับส่วนลดในการอบรมสัมมนาของบริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด คลิก
  4. รับสิทธิเข้าสัมมนาพิเศษฟรี ปีละ 2 ครั้ง
  5. รับส่วนลดในการซื้อหนังสือของธรรมนิติ คลิก
  6. รับส่วนลดในการลงประกาศหนังสือพิมพ์ข่าวผู้ถือหุ้น คลิก

📚การประมาณการกําไรสุทธิ “เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51)” ให้ถูกต้องและถูกใจกรมสรรพากร

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

📖ทำความรู้จักกับ “การประมาณการกําไรสุทธิ” ??

การประมาณการผลประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ ก่อนสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยผู้เสียภาษีอากรที่มีหน้าที่จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51และชําระภาษีเงินได้ครึ่งปี จากประมาณการกำไรสุทธิที่ได้คาดการณ์ไว้

➡️เหตุผลที่ต้องมีประมาณการกําไรสุทธิ

1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2.เพื่อเป็นการลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องจ่ายปีละครั้งลงกึ่งหนึ่ง

3. เพื่อส่งเสริมความสมัครใจในการเสียภาษี

4.เพื่อให้รัฐจัดเก็บรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รวดเร็วขึ้น

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

👥ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่วาจะประกอบกิจการประเภทใด หรือที่ใด ก็ตาม

2.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทย และเป็นกิจการที่ไม่ใช่การขนส่งระหวางประเทศ

3.กิจการที่หากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทย เป็นกิจการอื่นใดที่ไม่ใช่การ ขนส่งระหว่างประเทศ

4.กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

🏛กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำประมาณการ

1. มาตรา 38 แห่งประมวลรัษฎากร

2. มาตรา 65แห่งประมวลรัษฎากร

• รายได้จากความหมายของ “กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร”

• รอบระยะเวลาบัญชี (ดูมาตรา 72 และมาตรา 73 ประกอบ)

• ประเภทรายได้ทางภาษีอากร

(กิจการและรายได้เนื่องจากกิจการ)

• เกณฑ์รับรู้รายได้ –รายจ่ายทางภาษีอากร

3.มาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

• เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ (ม.65 ทวิ (4)(10)(11)(12)(14))

• เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย (ม.65 ทวิ (1)(2)(7)(8)(9))

• หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สินเพื่อการคํานวณรายได้และรายจ่าย (ม.65 ทวิ (3)(5)(6))

4. มาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

• รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ (ม.65 ตรี (1)(2)(3)(5)(6 ทวิ)(9)(10)(11) (12)(13)(14)(16))

• รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมาย (ม.65 ทวิ (2)(4)(6)(7)(8)(9) (12)(15)(17)(18)(19)(20))

• รายจ่ายที่กฎหมายยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้ (Deductible Exp.)

5. มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร

6. มาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

• เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสีย CIT จากฐานกำไรสุทธิเท่านั้น

7. มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

📑ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบอย่างไร ??

◾️ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดพร้อมกับชําระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบ ระยะเวลาบัญชี

ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 อย่างไร ❓❔

1.กิจการทั่วไป และกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับเดียวกันและนําประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หักออกในรายการที่ 2 (5) เพื่อให้ได้ประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องนําไปคํานวณภาษีเงินได้ครึ่งปี

2.กิจการทั่วไป และกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ROH ให้ยื่น แบบ ภ.ง.ด.51 แยกเป็นรายกิจการ

◾️ ช่องทางการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51

◾️ ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทั่วประเทศ

◾️ยื่นทางอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

🌟วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”

➡️ขั้นตอนที่ 1

การประมาณการโดยนําผลการประกอบกิจการจริง 6 เดือนแรก บวกกับผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่คาดวาจะเกิดขึ้น 2 ด้าน ดังนี้

1. ด้านรายได้ ประกอบด้วย รายได้โดยตรง รายได้อื่น เช่น กำไรจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

2. ด้านรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายขายและ บริหาร รายจ่ายอื่น เช่น ขาดทุนจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

*สำหรับรายจ่ายให้พิจารณาเรื่องรายจ่าย ต้องห้ามด้วย เพราะไม่สามารถนํามารวมคํานวณเป็นรายจ่ายในการ ประกอบกิจการกำไรสุทธิได้เช่นเดียวกับกรณีการยื่น แบบ ภ.ง.ด.50

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

➡️ขั้นตอนที่ 2

นําประมาณการกำไรสุทธิ มาคํานวณ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และพิจารณาว่าภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537ฯ ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ

ทั้งนี้ กรณี มีการลดอัตราภาษีในปีที่ประมาณการ ให้พิจารณาตามข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537ฯ ลงวันที่ 31 ส.ค.2537 ด้วย

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

หากประมาณการกําไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่ ⁉️

▪️มาตรา 67 ตรีในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

▪️ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

▪️กรณีที่ 2 บริษัทหรือหจก. ไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่น ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

ราย ได้ที่ให้ถือเป็น ราย ได้ตาม ประมวลรัษฎากร ภ งด 50

📖บทสรุปการประมาณการกำไรสุทธิ

ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยื่นประมาณการกําไรสุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ

ที่มา : กรมสรรพากร

☑️☑️ สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE

➡️ ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : @accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com

รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร มีอะไรบ้าง

รายได้ตามประมวลรัษฎากร รายได้ตามประมวลรัษฎากรตามมาตรา 39 หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้

สถานะการกรอก ภงด.50 คืออะไร

ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้ กิจการ SME คืออะไร

ทำไมต้องยื่น ภงด.50

.ง.ด.50 คือเอกสารอีกหนึ่งชุดที่เจ้าของธุรกิจที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจะต้องใช้ยื่นเสียภาษี ภายใน 150 วัน นับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี หรือภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ (หากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถยื่นเลยกำหนดได้อีกภายใน 8 วัน) ไม่ว่าเจ้าของธุรกิจจะมีรายได้ออกมากำไรหรือขาดทุนก็ตาม

ยื่นภงด 50 ต้องยื่นงบการเงินไหม

คำตอบ : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ยื่นแบบ .ง.ด.50 ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ต้องส่ง เอกสารงบการเงินให้กับกรมสรรพากร แต่จะต้องมีบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคล ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ...